ปี 64 อ้างโควิดสลายชุมนุม 60 ครั้ง ใช้กระสุนยางขัดหลักสากลตลอดปี

ปี 2564 ตำรวจใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุม 60 ครั้ง ในจำนวนนี้มี 42 ครั้งที่ถูกสลายการชุมนุมเพราะเข้าไปในพื้นที่หวงห้าม เช่น สนามหลวง, ทำเนียบรัฐบาล และกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ (ราบ 1) กรณีของราบ 1 นั้นเป็นพื้นที่ที่นักกิจกรรมวางเป้าหมายแรกเริ่มไว้ แต่ไม่สามารถไปได้ เป็นเหตุให้เกิดการสลายการชุมนุมในบริเวณนี้ 35 ครั้ง ขณะที่เดือนกันยายน 2564 เป็นเดือนที่มีการสลายการชุมนุมมากที่สุด 18 ครั้ง รองลงมาคือ เดือนสิงหาคม 2564 ที่ 17 ครั้ง

สามารถแบ่งรูปแบบของการสลายการชุมนุมคือ การคุมตัวโดยมีเป้าหมายให้การชุมนุมยุติ แต่ไม่ได้มีการแจ้งข้อกล่าวหา, การจับกุมผู้เข้าร่วมชุมนุมออกจากพื้นที่, การแสดงกำลังเพื่อให้ผู้ชุมนุมเลิกการชุมนุม, การแสดงกำลังและใช้อุปกรณ์ควบคุมฝูงชน แต่ไม่มีการจับกุมในทันที, การใช้อุปกรณ์ควบคุมฝูงชนและการจับกุม และการแสดงกำลัง พร้อมๆ กับการจับกุมเป็นผลให้การชุมนุมดำเนินต่อไปไม่ได้

# ปราบหนักชุมนุมที่หวงห้าม เมื่อโควิด 19 ไม่ใช่ความสำคัญลำดับแรกในการดูแลชุมนุม

ตั้งแต่ต้นปี 2564 ประชาชนหลายกลุ่มยังเดินหน้าจัดการชุมนุมบนท้องถนนอีกครั้ง เพื่อยืนยันถึงข้อเรียกร้องเดิมในปี 2563 และแสดงออกถึงความไม่พอใจต่อการรับมือสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ของรัฐบาล ต้นเดือนเมษายน 2564 เกิดการแพร่ระบาดของโควิด 19 ระลอกใหม่จากสถานบันเทิงย่านทองหล่อ เป็นเหตุให้การชุมนุมซาลง แต่ในเดือนกรกฎาคม 2564 การชุมนุมขยายตัวอีกครั้ง ผู้ชุมนุม “ไม่รออีกต่อไปแล้ว” เพราะการรอคอยภายใต้การบริหารงานของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา อาจหมายถึงชีวิตจำนวนมากขึ้นที่ต้องเสียไป เพียงแต่การกลับมาชุมนุมรอบใหม่ พวกเขาพยายามออกแบบกิจกรรมที่จะหลีกเลี่ยงการแพร่ระบาดของโรค เช่น การจัดคาร์ม็อบ หรือการชุมนุมที่ใช้เวลาไม่นานนัก

ขณะเดียวกันรัฐบาลก็ขยายเวลาในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ มาอย่างต่อเนื่องโดยอ้างเหตุจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 และใช้มาตรการควบคุมโรคมาเป็นข้อห้ามหลักในการชุมนุมและการจัดกิจกรรมทางการเมือง แม้ไม่เคยมีหลักฐานเชิงประจักษ์ว่า การชุมนุมในที่โล่งแจ้งเป็นต้นเหตุของการแพร่ระบาดหรือกลายเป็นคลัสเตอร์ของโควิด 19 แต่อย่างใด แต่ผู้ชุมนุมก็ยังคงถูกดำเนินคดีตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ อย่างต่อเนื่องและกว้างขวาง

อีกทั้ง ตำรวจก็ไม่ได้แสดงให้เห็นถึงความพยายามในการป้องกันโรค มีเพียงการดำเนินคดี, ประกาศข้อกฎหมายหรือหากมีการใช้อุปกรณ์คัดกรองก็ไม่ได้ใช้อย่างเคร่งครัดนัก ยกตัวอย่างเช่น การชุมนุมที่บริเวณสกายวอล์ค ปทุมวันเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2564 มีการตั้งจุดคัดกรองอุณหภูมิ แต่ไม่ได้บังคับตรวจ และผู้ชุมนุมบางคนยังเดินเข้าออกพื้นที่ชุมนุมโดยไม่ต้องตรวจคัดกรอง และปรากฏประปรายว่า ตำรวจได้ตักเตือนให้ผู้ชุมนุมสวมหน้ากากอนามัยและเว้นระยะห่าง

ในทางกลับกันจากการรวบรวมข้อมูลพบว่า ปัจจัยที่ตำรวจให้ความสำคัญ เพื่อพิจารณาใช้มาตรการต่างๆ เข้าควบคุมการชุมนุม ขึ้นอยู่กับ “พื้นที่เป้าหมาย” มากกว่า “รูปแบบของการชุมนุม” ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับการแพร่ระบาดโควิด19 มาตรการที่รัฐเลือกใช้อยู่เสมอ คือ การวางกำลังปิดกั้นการเข้าถึงพื้นที่หวงห้ามของรัฐ อย่างเช่น

  • แยกสะพานผ่านพิภพ ถนนราชดำเนินใน มุ่งหน้าศาลฎีกา
  • แยกสะพานผ่านฟ้า ถนนราชดำเนินนอกมุ่งหน้าทำเนียบรัฐบาล
  • แยกพาณิชยการมุ่งหน้าทำเนียบรัฐบาล
  • แยกวัดเบญจฯ มุ่งหน้าลานพระบรมรูปทรงม้า
  • แยกราชเทวี มุ่งหน้าแยกปทุมวัน
  • กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ (ราบ 1)

โดยจากจำนวนการสลายการชุมนุม 60 ครั้ง มี 42 ครั้งที่ถูกสลายในพื้นที่ดังกล่าว และเนื่องจากเมื่อประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ กฎหมายอย่าง พ.ร.บ.ชุมนุมฯ ที่กำหนดให้ห้ามชุมนุมในรัศมี 150 เมตรจากเขตพระราชฐานและ 50 เมตรจากทำเนียบรัฐบาล ไม่มีผลบังคับใช้ แต่รัฐก็ยังเลือกใช้กำลังการชุมนุมโดยใช้ “พื้นที่” เป็นปัจจัยหลัก เสมือนยังมีอำนาจตามพ.ร.บ.ชุมนุมฯ​ อยู่ โดยที่ประชาชนไม่อาจเข้าใจได้ว่า พื้นที่ใดบ้างที่กฎหมายอนุญาตให้ชุมนุมได้หรือไม่ได้ และการนัดหมายชุมนุมในพื้นที่ใดจะถูกใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุมหรือไม่

# ตัวอย่างของการสลายการชุมนุมที่สะท้อนให้เห็นว่า ตำรวจต้องการปกป้องหรือรักษาพื้นที่เป็นความสำคัญสูงสุด

กรณีของวันที่ 18 กรกฎาคม 2564 กลุ่มเยาวชนปลดแอกเคลื่อนขบวนจากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยไปทำเนียบรัฐบาล ตำรวจวางกำลังและแนวสิ่งกีดขวางบริเวณแยกสะพานผ่านฟ้า และทุกซอยบนถนนนครสวรรค์ที่เดินไปถึงถนนราชดำเนินนอกได้ เมื่อผู้ชุมนุมยืนยันจะเคลื่อนขบวนผ่านถนนราชดำเนินนอก ตำรวจประกาศไม่ให้ผู้ชุมนุมฝ่าแนวกั้นเข้ามา ทั้งที่ตามข้อกำหนดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ฉบับที่ 25 (ฉบับที่มีการบังคับใช้ ณ ขณะนั้น) ไม่ได้ให้อำนาจตำรวจในการกำหนดสถานที่ห้ามชุมนุม ดังนั้น การที่ตำรวจจะใช้กำลังเพื่อห้ามไม่ให้ผู้ชุมนุมเดินผ่านถนนบางเส้น หรือไปยังสถานที่บางแห่ง จึงเป็นการกระทำที่ไม่มีกฎหมายรองรับ อีกทั้งตำรวจยังใช้ความรุนแรงที่เกินสมควรแก่เหตุกับผู้ชุมนุม เช่น การฉีดน้ำแรงดันสูง การใช้แก๊สน้ำตาและกระสุนยาง ซึ่งไม่สัมพันธ์กับเหตุผลของกฎหมายที่ใช้อ้างอิงเพื่อป้องกันโรคแต่อย่างใด

กรณีของวันที่ 1 สิงหาคม 2564 สมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บก.ลายจุดจัดกิจกรรมคาร์ม็อบเพื่อขับไล่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในพื้นที่กรุงเทพมหานครมีการจัดกิจกรรมคู่ขนานห้าแห่ง ใกล้กับอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ทำเนียบรัฐบาลและถนนวิภาวดี ซึ่งเป็นที่ตั้งของราบ 1 ตำรวจวางแนวสิ่งกีดขวางบริเวณสะพานผ่านฟ้า ฝั่งราชดำเนินนอกและหน้าราบ 1 หลังประกาศยุติกิจกรรมแล้วยังมีผู้ชุมนุมจำนวนมากอยู่ที่ถนนวิภาวดี ใกล้กับราบ 1 ซึ่งเป็นที่พักของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา มีรายงานจากสำนักข่าวมติชนว่า มีผู้ชุมนุมขว้างปาสิ่งของและประทัดใส่ตำรวจ ในขณะที่ตำรวจก็ตอบโต้ด้วยการยิงแก๊สน้ำตาเข้าหาผู้ชุมนุม ทำให้ผู้ชุมนุมต้องวิ่งหนีข้ามถนนมาทางฝั่งตรงข้ามบริเวณทางเข้าสน.ดินแดง แต่แม้ผู้ชุมนุมล่าถอยตำรวจยังยิงแก๊สน้ำตาข้ามมาอีกระลอก

จากนั้นเวลา 18.04 น. บริเวณสามเหลี่ยมดินแดง ตำรวจเดินแถวเข้าหาผู้ชุมนุมและยิงแก๊สน้ำตาใส่ผู้ชุมนุมต่อเนื่อง อีกทั้ง ยังมีการเผยแพร่วิดีโอในทวิตเตอร์ ที่พบตำรวจขณะยิง “อุปกรณ์พิเศษ” บนทางด่วนดินแดงลงมาที่สามเหลี่ยมดินแดง และทางวอยซ์ทีวีก็มีการเผยแพร่ภาพตำรวจใส่ปืนลูกซองจ่อที่ศีรษะผู้ชุมนุมในระยะประชิด นอกจากนี้ยังมีภาพตำรวจถือปืนลูกซองในระดับไหล่และไม่ได้กดปลายปืนลงต่ำขณะยิง ซึ่งไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากล

# ส่องอุปกรณ์คุมม็อบ ใช้แล้วเกือบครบทุกรายการ

19 สิงหาคม 2564 จิตภัสร์ ตั๊น กฤดากร รองประธานกรรมาธิการตำรวจ สภาผู้แทนราษฎรแถลงข่าวหลังพล.ต.ท.ภัคพงศ์ พงษ์เภตรา ผู้บัญชาการตำรวจนครบาลเข้าชี้แจงเหตุการสลายการชุมนุมที่แยกดินแดง ระบุว่า "การดำเนินงานเพื่อควบคุมสถานการณ์ชุมนุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจในปัจจุบัน แม้พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ 2558 จะไม่ได้นำมาบังคับใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจยังคงยึดหลักและกรอบขั้นตอนการดำเนินการตามแผนการดูแลชุมนุมสาธารณะตามพระราชบัญญัติชุมนุมสาธารณะในการควบคุมและสลายการชุมนุม"

แผนการดูแลการชุมนุมสาธารณะในปัจจุบันได้รับการปรับปรุงในปี 2563 และถูกเผยแพร่ทางเว็บไซต์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติเมื่อต้นปี 2564 หน้าที่ 48 ว่าด้วยประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี (opens new window) เรื่อง เครื่องมือควบคุมฝูงชนในการชุมนุมสาธารณะ ที่กำหนดให้ใช้เครื่องมือในการควบคุมฝูงชนชนิดต่างๆ เท่าที่สามารถสืบค้นจากราชกิจจานุเบกษาประกาศดังกล่าวเป็นประกาศที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือควบคุมฝูงชนฉบับเดียวเท่านั้น ระบุเครื่องมือไว้ทั้งหมด 48 รายการ แบ่งเป็นประเภทหลักๆ ดังนี้

  • อุปกรณ์ป้องกันของเจ้าหน้าที่ควบคุมการชุมนุม ได้แก่ หมวกปราบจราจล หรือหมวกกันกระสุน, โล่ใสหรือโล่กันกระสุน, ชุดป้องกันสะเก็ด (สนับแข้ง สนับเข่า สนับศอก), หน้ากากป้องกันแก๊สพิษ, เสื้อเกราะอ่อนป้องกันกระสุน
  • อุปกรณ์สำหรับการป้องกันสถานที่ ได้แก่ แผงกั้นเหล็ก, กรวยยาง, แท่นปูน, ลวดหนามหีบเพลงและอุปกรณ์การตรวจหาอาวุธบุคคลและพาหนะ
  • อุปกรณ์สำหรับใช้ควบคุมและสลายการชุมนุม ได้แก่ รถฉีดน้ำแรงดันสูงและรถบรรทุกน้ำ, เครื่องส่งคลื่นเสียงรบกวนระยะไกล, แก๊สน้ำตาผสมน้ำและชนิดเผาไหม้, ปืนยิงแก๊สน้ำตาพร้อมอุปกรณ์, ลูกขว้างแก๊สน้ำตา, ลูกขว้างแบบควัน, ลูกขว้างแบบแสง-เสียง, สีผสมน้ำ, ระเบิดควัน, กระบองยาง, ปืนลูกซองสำหรับกระสุนยางหรือแก๊สน้ำตา, ปืนช้อตไฟฟ้า, ปืนยิงตาข่ายและสปอตไลท์ส่องสว่าง
  • อุปกรณ์สำหรับการสืบสวนหาข่าว ได้แก่ กล้องถ่ายภาพและวิดีโอ, เครื่องบันทึกเสียงและเครื่องวัดระดับเสียง

อุปกรณ์ดังกล่าวถูกนำมาใช้แทบทั้งหมดแล้ว เว้นแต่ปืนช็อตไฟฟ้าที่พบเห็นตำรวจควบคุมฝูงชนพกเข้ามาในระหว่างการสลายการชุมนุมเท่านั้นและปืนตาข่ายที่ยังไม่ได้นำมาใช้เลย ระยะหลังในช่วงการชุมนุมที่แยกดินแดง ตำรวจเริ่มใช้อุปกรณ์ชนิดใหม่ คือ ปืน FN - 303 ซึ่งในต่างประเทศมีข้อครหาเรื่องความอันตรายของอุปกรณ์ชนิดดังกล่าว

สำหรับการใช้อุปกรณ์ควบคุมฝูงชน เดิมทีตำรวจไม่ได้เตรียมอุปกรณ์อย่างครบครันในการชุมนุมทุกครั้ง แต่มักจะนำมาใช้ระหว่างการชุมนุมขนาดใหญ่และการชุมนุมที่มีเป้าหมายในพื้นที่หวงห้ามปกป้องเท่านั้น อย่างไรก็ตามหลังการสลายการชุมนุมของผู้ชุมนุมอิสระเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2564 ที่แฟลตดินแดง ตำรวจมีแนวโน้มเตรียมอุปกรณ์ครบมือมากขึ้นแม้ในการชุมนุมขนาดเล็กหรือการชุมนุมในประเด็นเฉพาะก็ตาม อุปกรณ์ที่เห็นได้ชินตา คือ ปืนลูกซองและปืน FN-303 รวมทั้งปืนพกสั้น ซึ่งเดิมทีตำรวจจะไม่พกปืนดังกล่าวในที่ชุมนุม

# [

](https://freedom.ilaw.or.th/sites/default/files/imagecache/wysiwyg_imageupload_colorbox_preset/wysiwyg_imageupload/1/photo_2021-11-14_14-01-51.jpg)ปราบม็อบหนัก ละเลยหลักสากลโดยเฉพาะกระสุนยาง

ในปี 2564 อุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมฝูงชนที่มีข้อวิจารณ์มากที่สุด คือ กระสุนยาง การใช้ครั้งแรกในรอบกว่าสิบปีนับแต่การสลายการชุมนุมคนเสื้อแดงเมื่อปี 2553 เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 บริเวณหน้ากรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ โดยไม่มีเหตุให้นำมาใช้ได้ตามหลักสากลในการใช้ที่จะต้องสอดคล้องกับแนวปฏิบัติด้านสิทธิมนุยชนของสหประชาชาติว่าด้วยการใช้อาวุธที่มีความร้ายแรงต่ำในการบังคับใช้กฎหมาย (United Nations Human Rights Guidance on Less-Lethal Weapons in Law Enforcement) คือ ควรเล็งไปที่ ‘ท้องส่วนล่าง หรือขา ของบุคคลที่ใช้ความรุนแรงเท่านั้นและเฉพาะในกรณีที่เล็งเห็นว่ากำลังจะเกิดอันตรายต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือสาธารณชน’ การใช้กระสุนยางไม่ควรเล็งไปที่ ‘หัว หน้า หรือคอ’ ด้วย โดยการเล็งไปที่ส่วนเหล่านั้น อาจส่งผลให้กระโหลกศีรษะแตก สมองบาดเจ็บ เกิดอันตรายต่อดวงตา หรือเสียชีวิตได้

หลังจากนั้นตำรวจใช้กระสุนยางเรื่อยมาหลายครั้งโดยไม่มีประกาศแจ้งเตือนและยังปรากฏการใช้อย่างผิดหลักสากล เห็นจากการชุมนุมที่แยกดินแดงระหว่างเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม 2564 มีผู้ชุมนุมที่ไม่ได้ใช้ความรุนแรงถูกยิงเข้าที่บริเวณร่างกายส่วนบน กลางขมับ, หน้าผากและกลางหลัง ผู้สื่อข่าวยังได้รับบาดเจ็บอีกหลายราย มีการยิงกระสุนยางไปถูกประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่ชุมนุมหรือขับรถผ่าน นอกจากนี้ยังมีการซุ่มยิงหรือยิงกระสุนยางในระยะประชิด

# ตัวอย่างการยิงกระสุนยางที่ขัดต่อหลักสากลตลอดปี 2564

  • 28 กุมภาพันธ์ 2564 สายน้ำ เยาวชนวัย 16 ปีถูกตำรวจยิงด้วยกระสุนยางเข้าที่สะบักหลัง
  • 20 มีนาคม 2564 ผู้สื่อข่าวช่อง 8 ถูกยิงเข้าที่ขมับศีรษะ, ผู้สื่อข่าวประชาไทถูกยิงเข้าที่สะบักหลังและผู้ ชุมนุมถูกยิงเข้าที่กลางหน้าอก (opens new window)
  • 18 กรกฎาคม 2564 เยาวชนอายุ 16 ปีถูกยิงด้วยกระสุนยางเข้าที่ใบหน้าและผู้ชุมนุมถูกยิงด้วยกระสุนยางเข้าที่สันจมูก
  • 10 สิงหาคม 2564 ประชาชนทั่วไปที่ขออนุญาตผ่านแนวตำรวจมาเก็บของที่ร้านค้าบริเวณแยกดินแดงถูกยิงเข้าที่กลางหลัง
  • 13 สิงหาคม 2564 ธนกร ผ่านพินิจ อายุ 46 ปี ขับรถจักรยานยนต์ผ่านเข้ามาที่แยกดินแดงในเวลา 17.00 น. ถูกคฝ.ระดมยิงกระสุนยางใส่ โดยกระสุนทะลุหมวกกันน็อคเข้ามาผ่านตาทั้งสองข้าง เฉียดที่ตาซ้ายและเต็มเบ้าตาขวาและผู้ชุมนุมถูกยิงที่ใต้ราวนม
  • 19 สิงหาคม 2564 มี่ อายุ 20 ปี ผู้เข้าร่วมชุมนุมกับกลุ่มทะลุฟ้าที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย กลับจากการชุมนุมผ่านเส้นทางแยกดินแดง ถูกตำรวจยิงด้วยกระสุนยางหลายนัด พบบาดแผลที่คอ ไหปลาร้า ต้นแขนและสะโพกจนเสื้อผ้าเปียกโชกไปด้วยเลือด
  • 20 สิงหาคม 2564 เด็กอายุ 13 ปี ถูกยิงด้วยกระสุนยาง พบบาดแผลที่ร่างกายจำนวน 8 นัด ยิงเข้าบริเวณ หลัง ท้อง แขนขวา กระสุนเข้าฝังใน 3 นัด ต้องผ่าตัดเพื่อนำกระสุนออก โดยบริเวณหลังเป็นแผลขนาด 4 เซนติเมตรและบริเวณต้นแขนด้านขวาเป็นแผลขนาด 2 เซนติเมตร
  • 22 สิงหาคม 2564 เยาวชน อายุ 15 ปีได้รับบาดเจ็บจากกระสุนยางที่กลางหน้าผาก ค่อนข้างลึกและต้องเย็บ แต่ผู้ได้รับบาดเจ็บไม่ยอมไปโรงพยาบาลจะเข้าไปสู้ต่อ จากนั้นมีรายงานเพิ่มเติมว่า ผู้บาดเจ็บถูกนำส่งโรงพยาบาลในเวลา 17.30 น.
  • 23 สิงหาคม 2564 เยาวชนอายุ 15 ปีนั่งซ้อนรถจักรยานยนต์ของพี่ชายที่กำลังขับผ่านกรมดุริยางค์ทหารบกและถูกวัตถุยิงเข้าที่บริเวณกกตา จากการตรวจสอบบาดแผลเป็นรอยฉีกขาดจากกระสุนยาง อาสากู้ภัยระบุด้วยว่า ผู้บาดเจ็บและพี่ชายไม่ใช่ผู้ที่มาร่วมการชุมนุมเพียงขับรถผ่านเข้ามา
  • 25 สิงหาคม 2564 ซอยรางน้ำ ชายวัย 19 ปีถูกยิงด้วยกระสุนยาง บริเวณด่านที่ถูกตั้งขึ้น ทะลุหมวกกันน็อคเข้าศีรษะ
  • 6 กันยายน 2564 เยาวชนวัย 17 ปีระบุว่า ตอนที่ตำรวจชุดเคลื่อนที่เร็วขับรถมอเตอร์ไซด์มาจับกุมที่บริเวณแยกดินแดง เขาถูกยิงด้วยกระสุนยางที่หลังและถูกตีที่บริเวณใบหน้า มีบาดแผลที่มุมปาก
  • 14 พฤศจิกายน 2564 (opens new window) ผู้ชุมนุมถูกยิงในระยะประชิด 3 คน สามารถยืนยันว่า บาดแผลเกิดจากกระสุนยาง 2 คน คือ กรณีของอลงกต อายุ 33 ปีที่บริเวณไหปลาร้าและอนันต์ อายุ 19 ปีที่บริเวณหัวไหล่ ส่วนภิญโญ อายุ 23 ปีถูกยิงด้วยกระสุนไม่ทราบชนิดบริเวณกลางหน้าอก จากรายงานการตรวจสอบของกรรมาธิการพัฒนาการเมืองฯ ระบุว่า จนถึงปัจจุบันตำรวจไม่เคยแสดงหลักฐานที่ได้จากแพทย์ว่า กระสุนที่ยิงออกมานั้นเป็นชนิดใ