วันที่: 29/8/2567 ผู้เขียน: mobdatathailand

รายงานสถานการณ์ชุมนุมระหว่างวันที่ 22 พฤศจิกายน - 5 ธันวาคม 2563: การชุมนุมลดลง แต่การดำเนินคดียังดำเนินต่อเนื่อง

description

จากข้อมูลจำนวนการชุมนุมทั่วทั่งประเทศลดลงจากสองสัปดาห์ก่อนหน้าครึ่งหนึ่ง ช่วงเวลาดังกล่าว มีการชุมนุมอย่างน้อย 24 ครั้งเป็นการชุมนุมในพื้นที่กรุงเทพฯ อย่างน้อย 6 ครั้ง และพื้นที่ต่างจังหวัดอย่างน้อย 17 ครั้ง ขณะที่การดำเนินคดีต่อผู้ชุมนุมมีจำนวนเพิ่มขึ้นจากสองสัปดาห์ก่อนหน้านี้ คือ 33 คน จากครั้งก่อน 24 คน และมีการเพิ่มข้อหาใหม่คือ “หมิ่นกษัตริย์” ให้กับแกนนำผู้ชุมนุมด้วย

ภาพรวมการชุมนุม

ระหว่างวันที่ 22 พฤศจิกายน - 5 ธันวาคม 2563 มีสองเหตุการณ์ทางเมืองที่สำคัญ คือ ในวันที่ 25 พฤศจิกายน มีการประกาศชุมนุมบริเวณสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ จนทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องปิดกั้นเส้นทางอย่างหนาแน่นเพื่อไม่ให้ผู้ชุมนุมเดินเข้าไปยังสำนักงานทรัพย์สินฯ ได้ อีกเหตุการณ์คือ วันที่ 2 ธันวาคม ที่ศาลรัฐธรรมนูญมีนัดฟังคำวินิจฉัย “คดีอยู่บ้านพักหลวง” ของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ อย่างไรก็ตามทั้งสองเหตุการณ์ไม่ได้เกิดความรุนแรงจากเจ้าหน้าที่รัฐ 

จากข้อมูลจำนวนการชุมนุมทั่วทั่งประเทศลดลงจากสองสัปดาห์ก่อนหน้าครึ่งหนึ่ง ช่วงเวลาดังกล่าว มีการชุมนุมอย่างน้อย 24 ครั้งเป็นการชุมนุมในพื้นที่กรุงเทพฯ อย่างน้อย 6 ครั้ง และพื้นที่ต่างจังหวัดอย่างน้อย 17 ครั้ง ขณะที่การดำเนินคดีต่อผู้ชุมนุมมีจำนวนเพิ่มขึ้นจากสองสัปดาห์ก่อนหน้านี้ คือ 33 คน จากครั้งก่อน 24 คน และมีการเพิ่มข้อหาใหม่คือ “หมิ่นกษัตริย์” ให้กับแกนนำผู้ชุมนุมด้วย 

asset

มลมหาประชาชนนุมนุมบริเวณหน้าธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ วันที่ 25 ธันวาคม 2563 ภาพโดย ไทยรัฐ

asset

ผู้ชุมนุมนำร่วมกันทำหมวกเป็ดสีเหลือง และนำเป็นยางสีเหลืองมาใช้เป็นสัญลักษณ์ของการชุมนุมอย่างสันติวิธี หน้าธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ วันที่ 25 ธันวาคม 2563 ภาพโดย The Standard

asset

การชุมนุมม็อบราษฎร วันที่ 2 ธันวาคม 2563 บริเวณห้าแยกลาดพร้าว ภาพโดย ไทยรัฐ

ข้อเรียกร้องชุมนุมยังคงยืนยัน 3 ข้อเรียกร้อง 

ข้อเรียกร้องจากการชุมนุมส่วนใหญ่ยังคงยืนยันข้อเรียกร้องเดิมของกลุ่มราษฎร คือ เรียกร้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ,ขับไล่รัฐบาล หรือบุคคลในรัฐบาล และการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ขณะเดียวกันก็มีข้อเรียกร้องที่เกี่ยวเนื่องเพิ่มเติม 

เช่น “#ม็อบ22พฤศจิกา : บ่อวินรวมพล ไม่ทนเผด็จการ” ที่เสนอข้อเรียกร้องให้รัฐธรรมนูญรับรองสิทธิแรงงาน หรือการชุมนุมใหญ่ “#ม็อบ25พฤศจิกา ทวงคืนสมบัติชาติ” ที่ยกระดับการชุมนุมปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ในเชิงสัญลักษณ์ด้วยไปยังธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ ซึ่งเป็นบริษัทที่พระมหากษัตริย์ถือหุ้นใหญ่ และการชุมนุมใหญ่อีกครั้งที่บริเวณห้าแยกลาดพร้าว “#ม็อบ2ธันวาไล่จันทร์โอชาออกไป” เมื่อศาลรัฐธรรมนูญตัดสินว่าพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่มีความผิดกรณีพักบ้านหล โดยครั้งนี้มีข้อเรียกร้องความยุติธรรมในระบบศาล 

asset

#ม็อบ25พฤศจิกา ทวงคืนสมบัติชาติ ภาพโดย ประชาไท

asset

#ม็อบ2ธันวาไล่จันทร์โอชาออกไป ภาพโดย ประชาไท

นอกจากนี้ยังมีการจัดชุมนุมขนาดย่อมอย่าง“#ม็อบ24พฤศจิกา : ทวงคืนความยุติธรรมให้เพื่อนเราชาวฮ่องกง” เพื่อแสดงจุดยืนเคียงข้างนักเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยในฮ่องกงทั้ง 3 รายคือ นายโจชัว หว่อง, นายไอแวน หล่ำ และนางสาวแอกเนส จาว ที่ถูกควบคุมตัว รวมถึงการไม่ยอมจำนนต่ออำนาจเผด็จการ ที่เกิดขึ้นในฮ่องกงและในไทย 

ปิดถนนใช้รั้วลวดหนาม ตู้คอนเทนเนอร์ 

วันที่ 25 พฤศจิกายน 2563 กลุ่มราษฎรประกาศนัดหมายรวมตัวกันบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เพื่อเดินเท้าทางไปยังสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ก่อนหน้าวันนัดหมาย ตั้งแต่กลางดึกของวันที่ 24 พฤศจิกายน ปรากฏภาพตำรวจตรึงกำลังอย่างเข้มงวดในพื้นที่โดยรอบนำรถเมล์ และรั้วลวดหนาม มาวางปิดกั้นถนนโดยรอบ พร้อมกับอุปกรณ์ใหม่ คือ ตู้คอนเทนเนอร์ที่นำมาวางขวางถนนสองชั้น อย่างไรก็ตาม ผู้ชุมนุมประกาศย้ายสถานที่นัดหมายไปที่ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ บริเวณถนนรัชดาภิเษก ใกล้แยกรัชโยธิน  

เมื่อถึงวันนัดหมายชุมนุม ตั้งแต่ช่วงเช้าถึงเย็นของวันที่ 25 พฤศจิกายน 2563 ตำรวจยังคงตรึงกำลังเข้มโดยรอบเส้นทางที่จะไปสู่สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์  

มีการตรึงกำลังหนาแน่นที่สุดด้วยตู้คอนเทนเนอร์สองชั้นและใช้รั้วลวดหนามวางขวางถนน ประชาชนที่อยู่อาศัยบริเวณนั้นขอเดินเข้าออกได้ แต่รถผ่านไม่ได้ ขณะที่เวลา 15.00 การชุมนุมหน้า SCB ก็ดำเนินไป ส่วนการปิดถนนโดยรอบสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ก็ยังปิดอยู่อย่างหนาแน่น ครั้งนี้นับเป็นการนัดชุมนุมใหญ่ที่ตำรวจตรึงกำลังอย่างแน่นหนากว่าครั้งไหนๆ  

asset

วันที่ 24 พฤสจิกายน 2563 เจ้าหน้าที่ได้นำลวดหนามมาทำเป็นแนวกั้นบริเวณสำนักทรัพย์สินพระมหากษัตริย์เพื่อป้องกันการชุมนุมในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2563 ภาพโดย กรุงเทพธุรกิจ

asset

ในการชุมนุมวันที่ 25 ธันวาคม 2563 มีการตรึงกำลังเจ้าหน้าที่ควบคุมฝูงชนอย่างหนาแน่นและวางแผงเหล็กเป็นแนวป้องกันไม่ให้ผู้ชุมนุมเข้าไปในอาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ ภาพโดย แนวหน้า

asset

ในการชุมนุมวันที่ 25 ธันวาคม 2563 เจ้าหน้าที่นำตู้คอนเทนเนอร์มาปิดกั้นเส้นทางการจราจรเพื่อไม่ให้ผู้ชุมนุมเดินเข้าไปยังธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ได้ ภาพโดย The Standard

ดำเนินคดีผู้ชุมนุมอย่างต่อเนื่อง 

การดำเนินคดีกับผู้ชุมนุมจากทุกพื้นที่ทั่วประเทศยังดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ระหว่างวันที่ 22 พฤศจิกายน - 5 ธันวาคม 2563 มีผู้ที่ถูกดำเนินคดีจากการชุมนุมจำนวนอย่างน้อย 33 คน ส่วนใหญ่ถูกต้องข้อหาเกี่ยวข้องกับการฝ่าฝืนข้อห้าม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงจำนวน 22 คน โดย "มายด์" ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล โดยข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ 2 คดี และมีผู้ถูกดำเนินคดีจากตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 อีกจำนวนอย่างน้อย 6 คน โดยเฉพาะแกนนำ เช่น ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล, ทัตเทพ เรืองประไพกิจเสรี และ จุฑาทิพย์ ศิริขันธ์ เป็นต้น  

นอกจากนี้ยังมีแกนนำที่ถูกดำเนินตามกฎหมายอาญามาตรา 112 ในช่วงเวลานี้อีกจำนวนอย่างน้อย 5 คน ประกอบด้วย พริษฐ์ ชิวารักษ์, อานนท์ นำภา, ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล, ภานุพงศ์ จาดนอก และ ปติวัฒน์ สาหร่ายแย้ม โดย พริษฐ์ ถูกดำเนินตามมาตรา 112 แล้วถึง 4 คดี ทั้งนี้พบว่ามีเยาวชนต่ำกว่า 18 ปี ถูกดำเนินคดีจากการเข้าร่วมชุมนุมทางการเมืองอย่างน้อย  4 คน ในข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ