รายงานสถานการณ์การชุมนุมเดือนพฤษภาคม 2567
ในเดือนพฤษภาคม 2567 ยังมีการชุมนุมขนาดเล็กเกิดขึ้นอยู่ต่อเนื่อง การบันทึกและสังเกตการณ์การชุมนุมของโครงการ Mob Data Thailand พบว่าพฤษภาคม 2567 มีการชุมนุมขนาดเล็กไม่ต่ำกว่า 32 ครั้ง แต่หากนับการชุมนุมปักหลักแยกหนึ่งวันเป็นหนึ่งครั้งจะมีการชุมนุมในเดือนนี้ 60 ครั้ง โดยเป็นการชุมนุมในกรุงเทพมหานคร 16 ครั้ง และมีการชุมนุมที่เกิดขึ้นในต่างจังหวัด 16 ครั้ง
อ่านบทความ
รายงานสถานการณ์การชุมนุมเดือนเมษายน 2567
ในเดือนเมษายน 2567 ยังมีการชุมนุมขนาดเล็กเกิดขึ้นอยู่ต่อเนื่อง การบันทึกและสังเกตการณ์การชุมนุมของโครงการ Mob Data Thailand พบว่าในเมษายน 2567 มีการชุมนุมขนาดเล็กไม่ต่ำกว่า 40 ครั้งแต่หากนับการชุมนุมปักหลักแยกหนึ่งวันเป็นหนึ่งครั้งจะมีการชุมนุมในเดือนนี้ 68 ครั้ง โดยเป็นการชุมนุมในกรุงเทพมหานคร 30 ครั้ง และมีการชุมนุมที่เกิดขึ้นในต่างจังหวัด 10 ครั้ง
อ่านบทความ
รายงานสถานการณ์การชุมนุมเดือนมีนาคม 2567
ในเดือนมีนาคม 2567 จำนวนการชุมนุมลงลงจากเดือนกุมภาพันธ์แต่ยังมีการชุมนุมเกิดขึ้นอยู่ทั่วไปภายในประเทศอย่างต่อเนื่อง การบันทึกและสังเกตการณ์การชุมนุมของโครงการ Mob Data Thailand พบว่าในเดือนมีนาคม 2567 มีการชุมนุมขนาดเล็กไม่ต่ำกว่า 42 ครั้งแต่หากนับการชุมนุมปักหลักแยกหนึ่งวันเป็นหนึ่งครั้งจะมีการชุมนุมในเดือนนี้ 71 ครั้ง โดยเป็นการชุมนุมในกรุงเทพมหานคร 30 ครั้ง และมีการชุมนุมที่เกิดขึ้นในต่างจังหวัด 12 ครั้ง การชุมนุมที่ปรากฏดังกล่าวในเดือนกุมภาพันธ์นี้ครอบคลุมในหลายประเด็น
อ่านบทความ
รายงานสถานการณ์การชุมนุมเดือนกุมภาพันธ์ 2567
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2567 มีการชุมนุมเกิดขึ้นอยู่ทั่วไปภายในประเทศอย่างต่อเนื่อง การบันทึกและสังเกตการณ์การชุมนุมของโครงการ Mob Data Thailand พบว่าในเดือนกุมภาพันธ์ 2567 มีการชุมนุมขนาดเล็กไม่ต่ำกว่า 50 ครั้งแต่หากนับการชุมนุมปักหลักแยกหนึ่งวันเป็นหนึ่งครั้งจะมีการชุมนุมในเดือนนี้ 100 ครั้ง โดยเป็นการชุมนุมในกรุงเทพมหานคร 30 ครั้ง และมีการชุมนุมที่เกิดขึ้นในต่างจังหวัด 20 ครั้ง
อ่านบทความ
รายงานสถานการณ์การชุมนุมเดือนมกราคม 2567
จากการบันทึกข้อมูลของอาสาสมัครสังเกตการณ์การชุมนุมโครงการ Mob Data Thailand พบว่ามีการชุมนุมขนาดเล็กเกิดขึ้นทั่วประเทศไม่ต่ำกว่า 27 ครั้ง โดยส่วนใหญ่เกิดขึ้นในต่างจังหวัดจำนวน 18 ครั้ง และในกรุงเทพมหานคร 9 ครั้งโดยมีการชุมนุมในหลากหลายประเด็น
อ่านบทความ
ประมวลสถานการณ์การชุมนุมประจำปี 2566
ตลอดทั้งปี 2566 มีการชุมนุมเกิดขึ้นทั้งหมดทั่วประเทศจำนวนอย่างน้อย 514 ครั้ง ( ข้อมูลถึงวันที่ 15 ธันวาคม 2566 ) โดยแยกเป็นการชุมนุมในกรุงเทพฯ 343 ครั้ง และต่างจังหวัด 171 ครั้ง ในขณะที่ตัวเลขการชุมนุมลดลงจากปี 2565 แต่ในช่วงปี2566 นี้ เป็นปีที่มีหลายคดีจากการแสดงออกและการชุมนุม ตั้งแต่ช่วง ปี 2563 เริ่มมีคำพิพากษา
อ่านบทความ
ประมวลสถานการณ์การชุมนุมและการคุกคาม ประจำเดือนตุลาคม ถึงเดือนพฤศจิกายน 2566
ในช่วงเดือนตุลาคม มีการชุมนุมอย่างน้อย 9 ครั้งทั่วประเทศ และ ในช่วงเดือนพฤศจิกายน มีการชุมนุมรวมอย่างน้อย 7 ครั้งทั่วประเทศ
อ่านบทความ
ประมวลสถานการณ์การชุมนุมและการคุกคาม ประจำเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายน 2566
ในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายน สถานการณ์ทางการเมืองยังคงเข้มข้นอย่างต่อเนื่องแต่มีจำนวนการชุมนุมลดลงจากเดือนกรกฎาคม ซึ่งมีชุมนุมรวม อย่างน้อย 30 ครั้งทั่วประเทศ เกิดขึ้นในต่างจังหวัดจำนวน 15 ครั้ง กรุงเทพ 15 ครั้ง
อ่านบทความ
ประมวลสถานการณ์การชุมนุมและการคุกคาม ประจำเดือนกรกฎาคม 2566
จากการสังเกตการณ์และบันทึกข้อมูลโดย Amnesty International Thailand และ iLaw ผ่านโครงการ Mob Data Thailand ในเดือนกรกฎาคม 2566 สามารถสรุปได้ว่ามีการชุมนุมเกิดขึ้นไม่ต่ำกว่า 73 ครั้งทั่วประเทศ ซึ่งประเด็นในการชุมนุมส่วนใหญ่จะแตกต่างจากเดือนมิถุนายนคือ ประเด็นเรียกร้องให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีตามผลการเลือกตั้งและฉันทามติของประชาชน
อ่านบทความ
ประมวลสถานการณ์ชุมนุม และการคุกคามประชาชนประจำเดือน มิถุนายน 2566
ในเดือนมิถุนายนนี้ มีการชุมนุมเกิดขึ้นอย่างน้อย 54 ครั้ง เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม อย่างน้อย 13 ครั้ง มีการชุมนุมในประเด็นสิ่งแวดล้อมและสิทธิในที่ดินทำกินมากขึ้น ในส่วนของการเลือกตั้ง ยังคงมีการชุมนุมเพื่อเรียกร้องให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) รับรองผลการเลือกตั้งโดยเร็ว อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่มีการชุมนุมมากที่สุด ยังคงเป็นประเด็นเรียกร้องสิทธิในการประกันตัว โดยมีการชุมนุมในประเด็นดังกล่าว อย่างน้อย 29 ครั้ง เป็นกิจกรรมยืนหยุดขัง บริเวณหน้าศาลฎีกา กรุงเทพฯ โดยกลุ่มพลเมืองโต้กลับ อย่างน้อย 26 ครั้ง และยืนหยุดทรราช บริเวณท่าแพ จ.เชียงใหม่ โดยกลุ่มพลเมืองเสมอกัน อย่างน้อย 3 ครั้ง
อ่านบทความ
ประมวลสถานการณ์ชุมนุม และการคุกคามประชาชนประจำเดือน พฤษภาคม 2566
ในเดือนพฤษภาคมนี้ มีการชุมนุมเกิดขึ้นอย่างน้อย 41 ครั้ง เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน อย่างน้อย 9 ครั้ง แม้การเลือกตั้งจะผ่านพ้นไปแล้ว แต่การที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ยังไม่รับรองผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ ทำให้มีการชุมนุมในประเด็นนี้อยู่ อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่มีการชุมนุมมากที่สุด ยังคงเป็นประเด็นเรียกร้องสิทธิในการประกันตัว โดยมีการชุมนุมในประเด็นดังกล่าว อย่างน้อย 27 ครั้ง เป็นกิจกรรมยืนหยุดขัง บริเวณหน้าศาลฎีกา กรุงเทพฯ อย่างน้อย 23 ครั้ง และยืนหยุดทรราช บริเวณท่าแพ จ.เชียงใหม่ อย่างน้อย 1 ครั้ง
อ่านบทความ
ประมวลสถานการณ์การชุมนุมและการคุกคาม ประจำเดือนเมษายน 2566
ในเดือนเมษายนนี้ มีการชุมนุมเกิดขึ้นอย่างน้อย 33 ครั้ง โดยลดลงจากเดือนมีนาคม อย่างน้อย 10 ครั้ง เนื่องจากเป็นช่วงใกล้เลือกตั้ง พรรคการเมืองต่างๆ จึงลงพื้นที่หาเสียงทั่วประเทศอย่างคึกคัก ทำให้ความเข้มข้นในการจัดกิจกรรมชุมนุมลดลง ประเด็นที่มีการชุมนุมมากที่สุด ยังคงเป็นประเด็นเรียกร้องสิทธิในการประกันตัว โดยมีการชุมนุมในประเด็นดังกล่าว อย่างน้อย 29 ครั้ง เป็นกิจกรรมยืนหยุดขัง บริเวณหน้าศาลฎีกา กรุงเทพฯ อย่างน้อย 16 ครั้ง
อ่านบทความ
ประมวลสถานการณ์การชุมนุมและการคุกคาม ประจำเดือนมีนาคม 2566
ในเดือนมีนาคมนี้ มีการชุมนุมทั่วประเทศอย่างน้อย 42 ครั้ง ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์อย่างน้อย 36 ครั้ง โดยประเด็นที่มีการชุมนุมมากที่สุด
อ่านบทความ
ประมวลสถานการณ์การชุมนุมและการคุกคาม ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566
ในเดือนกุมภาพันธ์นี้ มีการชุมนุมทั่วประเทศอย่างน้อย 78 ครั้ง แม้ว่าศาลจะมีคำสั่งปล่อยตัวผู้ต้องขังทางการเมืองทั้งหมด 15 คนในเดือนนี้ แต่เนื่องจากยังมีผู้ถูกคุมขังอยู่ ได้แก่ คทาธร เขาถูกคุมขังจากการถูกกล่าวหาว่ามีวัตถุระเบิดในครอบครอง ตั้งแต่วันที่ 11 เม.ย. 2565 เป็นเวลามากกว่า 300 วัน
อ่านบทความ
ประมวลสถานการณ์การชุมนุมและการคุกคาม ประจำเดือนมกราคม 2566
ในเดือนมกราคมนี้ มีการชุมนุมทั่วประเทศอย่างน้อย 78 ครั้ง ส่วนใหญ่เป็นการชุมนุมในประเด็นเรียกร้องสิทธิในการประกันตัวให้ผู้ต้องขัง
อ่านบทความ
ประมวลสถานการณ์การชุมนุมและการคุกคาม ประจำเดือนธันวาคม 2565
ในเดือนธันวาคมนี้ มีการชุมนุมเกิดขึ้นทั่วประเทศไม่ต่ำกว่า 40 ครั้ง โดยประเด็นที่มีการชุมนุมมากที่สุด ได้แก่ ประเด็นเรียกร้องสิทธิประกันตัวให้ผู้ต้องขังคดีทางการเมืองอย่างน้อย 33 ครั้ง เป็นกิจกรรมยืนหยุดขัง 32 ครั้ง แบ่งเป็นการจัดกิจกรรมโดยกลุ่มพลเมืองโต้กลับ บริเวณหน้าศาลฎีกา กรุงเทพฯ ทั้งหมด 27 ครั้ง ในต่างจังหวัด มีการจัดกิจกรรมยืนหยุดทรราชที่ลานท่าแพ จ.เชียงใหม่ ทั้งหมด 2 ครั้ง ยืนหยุดขังที่ จ.อยุธยา 2 ครั้ง และยืนหยุดขังที่ จ.นครปฐม 1 ครั้ง นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรม “ซานต้ามาตามเพื่อนกลับบ้าน” ของกลุ่มทะลุแก๊ส บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย โดยกลุ่มผู้ชุมนุมจะทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อเรียกร้องสิทธิประกันตัวให้คนในเรือนจำ ไม่ว่าจะเป็นการยืนหยุดขัง, เขียนป้ายผ้า, เขียนจดหมายถึงเพื่อนในเรือนจำ และร่วมเล่าเรื่องราวการต่อสู้ของประชาชนผ่านดนตรีฮิปฮอป
อ่านบทความ
ประมวลสถานการณ์การชุมนุมและการคุกคาม ประจำเดือนพฤศจิกายน 2565
ในเดือนพฤศจิกายนนี้ มีการชุมนุมและการแสดงออกเกิดขึ้นทั่วประเทศไม่ต่ำกว่า 65 ครั้ง มากกว่าเดือนตุลาคมอย่างน้อย 10 ครั้ง โดยประเด็นที่มีการชุมนุมมากที่สุด ได้แก่ ประเด็นเรียกร้องสิทธิประกันตัวให้ผู้ต้องขังคดีทางการเมืองอย่างน้อย 36 ครั้ง เป็นกิจกรรมยืนหยุดขังทั้งหมด แบ่งเป็นการจัดกิจกรรมโดยกลุ่มพลเมืองโต้กลับ บริเวณหน้าศาลฎีกา กรุงเทพฯ ทั้งหมด 27 ครั้ง ในต่างจังหวัด มีการจัดกิจกรรมยืนหยุดทรราชที่ลานท่าแพ จ.เชียงใหม่ ซึ่งจัดขึ้นอาทิตย์ละครั้ง ทั้งหมด 5 ครั้ง ยืนหยุดขังที่ จ.อยุธยา อีก 4 ครั้ง
ประเด็นที่มีการชุมนุมมากที่สุด ได้แก่ ประเด็นเรียกร้องสิทธิประกันตัวให้ผู้ต้องขังคดีทางการเมืองอย่างน้อย 32 ครั้ง มีกิจกรรมยืนหยุดขัง 31 ครั้ง แบ่งเป็นการจัดกิจกรรมโดยกลุ่มพลเมืองโต้กลับ บริเวณหน้าศาลฎีกา กรุงเทพฯ ทั้งหมด 20 ครั้ง กลุ่มอิสระ จัดกิจกรรมเรียกร้องให้ปล่อยตัวผู้ต้องขังทางการเมือง 2 ครั้ง ที่ศาลฎีกา และที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ ในต่างจังหวัด มีการจัดกิจกรรมยืนหยุดทรราชที่ลานท่าแพ จ.เชียงใหม่ ซึ่งจัดขึ้นอาทิตย์ละครั้ง ทั้งหมด 5 ครั้ง ยืนหยุดขังที่ จ.อยุธยา อีก 4 ครั้ง นอกจากนี้ กลุ่มทะลุฟ้า ยังได้จัดกิจกรรม “Free Our Friends” ยื่นหนังสือรายงานสถานการณ์การใช้กฎหมายดำเนินคดีทางการเมืองกับประชาชน และเรียกร้องให้คืนสิทธิประกันตัวให้ผู้ถูกคุมขังทางการเมืองต่อสถานทูตอเมริกาและเยอรมนี โดยมีกิจกรรมเป่าเค้กวันเกิด (opens new window)ครบรอบ 32 ปีของ แซมพรชัย ยวนยี ผู้ต้องหามาตรา 112 ที่ไม่ได้รับการประกันตัวระหว่างการพิจารณาคดีด้วย
อ่านบทความ
ประมวลสถานการณ์การชุมนุมและการคุกคาม ประจำเดือนตุลาคม 2565
หลังรัฐบาลยกเลิกการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2565 โดยมีการนำพ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะฯ มาเป็นกฎหมายหลักในการดูแลการชุมนุมแทน อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีรายงานการดำเนินคดีที่เกี่ยวกับการชุมนุมคดีใหม่เกิดขึ้น แต่มีการนำคดีเกี่ยวกับการชุมนุมตั้งแต่ปี 2563 ขึ้นสู่ชั้นศาลอย่างต่อเนื่อง และมีคำพิพากษาในหลายคดี ในเดือนตุลาคมนี้ มีการชุมนุมและการแสดงออกเกิดขึ้นทั่วประเทศไม่ต่ำกว่า 55 ครั้ง มากกว่าเดือนกันยายนอย่างน้อย 10 ครั้ง
ประเด็นที่มีการชุมนุมมากที่สุด ได้แก่ ประเด็นเรียกร้องสิทธิประกันตัวให้ผู้ต้องขังคดีทางการเมืองอย่างน้อย 32 ครั้ง มีกิจกรรมยืนหยุดขัง 31 ครั้ง แบ่งเป็นการจัดกิจกรรมโดยกลุ่มพลเมืองโต้กลับ บริเวณหน้าศาลฎีกา กรุงเทพฯ ทั้งหมด 20 ครั้ง กลุ่มอิสระ จัดกิจกรรมเรียกร้องให้ปล่อยตัวผู้ต้องขังทางการเมือง 2 ครั้ง ที่ศาลฎีกา และที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ ในต่างจังหวัด มีการจัดกิจกรรมยืนหยุดทรราชที่ลานท่าแพ จ.เชียงใหม่ ซึ่งจัดขึ้นอาทิตย์ละครั้ง ทั้งหมด 5 ครั้ง ยืนหยุดขังที่ จ.อยุธยา อีก 4 ครั้ง นอกจากนี้ กลุ่มทะลุฟ้า ยังได้จัดกิจกรรม “Free Our Friends” ยื่นหนังสือรายงานสถานการณ์การใช้กฎหมายดำเนินคดีทางการเมืองกับประชาชน และเรียกร้องให้คืนสิทธิประกันตัวให้ผู้ถูกคุมขังทางการเมืองต่อสถานทูตอเมริกาและเยอรมนี โดยมีกิจกรรมเป่าเค้กวันเกิด (opens new window)ครบรอบ 32 ปีของ แซมพรชัย ยวนยี ผู้ต้องหามาตรา 112 ที่ไม่ได้รับการประกันตัวระหว่างการพิจารณาคดีด้วย
อ่านบทความ
ประมวลสถานการณ์การชุมนุมและการคุกคาม ประจำเดือนกันยายน พ.ศ2556
ปลายเดือนกันยายน รัฐบาลได้ประกาศยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เนื่องจากสถานการณ์โรคโควิด 19 ได้คลี่คลายลงอย่างมาก จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมี พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯอีก โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2565 หากนับตั้งแต่ที่รัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินครั้งแรกเมื่อวันที่ 26 มี.ค. 2563 และมีการขยายอายุการบังคับใช้ต่อเนื่องทุก 1-2 เดือน รวมทั้งหมด 19 ครั้ง รวมระยะเวลาที่ประเทศไทยอยู่ภายใต้ภาวะฉุกเฉินคิดเป็น 919 วัน หรือ 2 ปี 6 เดือน กับอีก 6 วัน อย่างไรก็ตาม ในเดือนนี้ คดี พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ยังคงมีทั้งการสั่งฟ้องเพิ่ม พิพากษายกฟ้อง และมีคำสั่งไม่ฟ้องคดีในข้อหาดังกล่าว จึงเป็นที่น่าติดตามว่า การยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ จะทำให้ภาระการต่อสู้คดีของนักกิจกรรมลดลงหรือไม่
การชุมนุมและการแสดงออกเกิดขึ้นทั่วประเทศไม่ต่ำกว่า 45 ครั้ง เป็นกิจกรรมในประเด็นเรียกร้องสิทธิประกันตัวให้ผู้ต้องขังคดีทางการเมืองโดยมีกิจกรรมยืนหยุดขังทั้งหมด 27 ครั้ง แบ่งเป็นการจัดกิจกรรมโดยกลุ่มพลเมืองโต้กลับ บริเวณหน้าศาลฎีกา กรุงเทพฯ ทั้งหมด 23 ครั้ง และเป็นการจัดกิจกรรมยืนหยุดทรราชที่ลานท่าแพ จ.เชียงใหม่ ซึ่งจัดขึ้นครั้งละอาทิตย์ โดยกลุ่ม We, the people ทั้งหมด 4 ครั้ง กลุ่มทะลุแก๊ส จัดกิจกรรม “ยืน เหยียบ ย่ำ คืนความยุติธรรมให้เพื่อนเรา” บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และกิจกรรม “ยุทธการส่งสารฝ่านรก” ที่จัดขึ้นหน้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพ ซึ่งเป็นกิจกรรมในประเด็นเดียวกันคือเรียกร้องสิทธิประกันตัว
อ่านบทความ
ประมวลสถานการณ์การชุมนุมและการคุกคาม ประจำเดือนสิงหาคม 2565
ตามทีรัฐบาลยังคงประกาศใช้พระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม - 31 กันยายน 2565 ซึ่งนับเป็นการประกาศใช้เป็นครั้งที่ 19 นอกจากนี้ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคง เรื่อง ห้ามชุมนุม การทำกิจกรรม การมั่วสุมที่ก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื่อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ฉบับที่ 15 (ประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบฯ ฉบับที่ 15) ซึ่งในประกาศได้ระบุถึงการห้ามชุมนุมและนำหลักเกณฑ์การจัดและการแจ้งการชุมนุมตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 แต่หากมีผู้ฝ่าฝืนก็ให้ใช้บทลงโทษตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯขณะเดียวกันตัวเลขผู้ถูกดำเนินคดีในข้อหาฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องแม้ว่าจะไม่มีการชุมนุมขนาดใหญ่แล้วก็ตาม โดยนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2563 มีผู้ถูกดำเนินคดีด้วยข้อหาดังกล่าวอย่างน้อย 1,467 คน ในจำนวน 647 คดี
อ่านบทความ
ประมวลสถานการณ์การชุมนุมและการคุกคาม ประจำเดือนกรกฎาคม 2565
ตามทีรัฐบาลยังคงประกาศใช้พระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน - 31 กรกฎาคม 2565 ซึ่งนับเป็นการประกาศใช้เป็นครั้งที่ 19 และยังคงขยายระยะเวลาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2565 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2565 โดยระบุว่าโควิด-19 กลับมาระบาดอย่างรุนแรงมากขั้นทั่วโลกและประเทศไทย นอกจากนี้ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคง เรื่อง ห้ามชุมนุม การทำกิจกรรม การมั่วสุมที่ก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื่อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ฉบับที่ 15 (ประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบฯ ฉบับที่ 15) ซึ่งในประกาศได้ระบุถึงการห้ามชุมนุมและนำหลักเกณฑ์การจัดและการแจ้งการชุมนุมตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 แต่หากมีผู้ฝ่าฝืนก็ให้ใช้บทลงโทษตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯขณะเดียวกันตัวเลขผู้ถูกดำเนินคดีในข้อหาฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องแม้ว่าจะไม่มีการชุมนุมขนาดใหญ่แล้วก็ตาม โดยนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2563 มีผู้ถูกดำเนินคดีด้วยข้อหาดังกล่าวอย่างน้อย 1,465 คน ในจำนวน 645 คดี
อ่านบทความ
ประมวลสถานการณ์การชุมนุมและการคุกคาม ประจำเดือนมิถุนายน 2565
ในเดือนมิถุนายน 2565 การชุมนุมและการแสดงออกเกิดขึ้นทั่วประเทศไม่ต่ำกว่า 86 ครั้ง แบ่งเป็นกิจกรรมการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ เพื่อเรียกร้องคืนสิทธิการประกันตัวของนักกิจกรรมทางการเมืองที่ถูกคุมขังในระหว่างพิจารณาคดีเกิดขึ้นอย่างน้อย 52 ครั้ง แบ่งเป็น กิจกรรมของกลุ่มพลเมืองโต้กลับทำกิจกรรมหยุดยืนขัง 29 ครั้ง ซึ่งเป็นกิจกรรมที่กลับมาทำเป็นรอบที่ 3 เริ่มต้นเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2565 ที่หน้าศาลฎีกา กลุ่ม We, The People ที่ท่าแพ จังหวัดเชียงใหม่ 4 ครั้ง และพระนครศรีอยุธยา 3 ครั้ง กิจกรรมดังกล่าวแปรผันตรงกับที่ในเดือนนี้ สถานการณ์การคุมขังนักกิจกรรมทางการเมืองและสถานการณ์ในเรือนจำเข้มข้นมากขึ้น
อ่านบทความ
ประมวลสถานการณ์การชุมนุมและการคุกคาม ประจำเดือนพฤษภาคม 2565
ในเดือนพฤษภาคม 2565 การชุมนุมและการแสดงออกเกิดขึ้นทั่วประเทศไม่ต่ำกว่า 52 ครั้ง ซึ่งมากขึ้นเป็น 1 ใน 3 ของการชุมนุมเดือนเมษายน (จำนวนการชุมนุมเกิดขึ้น 35 ครั้ง) แบ่งเป็นกิจกรรมการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ เพื่อเรียกร้องคืนสิทธิการประกันตัวของนักกิจกรรมทางการเมืองที่ถูกคุมขังในระหว่างพิจารณาคดีเกิดขึ้นอย่างน้อย 34 ครั้ง
อ่านบทความ
ประมวลสถานการณ์การชุมนุมและการคุกคาม ประจำเดือนเมษายน 2565
ในเดือนเมษายน 2565 การชุมนุมและการแสดงออกเกิดขึ้นทั่วประเทศไม่ต่ำกว่า 35 ครั้ง และมีการทำกิจกรรมยืนหยุดขังอย่างน้อย 12 ครั้ง ที่บริเวณศาลอาญา และอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวผู้ต้องขังทางการเมือง เนื่องจากจำนวนผู้ถูกคุมขังในเดือนเมษายนเพิ่มขึ้นถึง 7 ราย
อ่านบทความ
ประมวลสถานการณ์การชุมนุมและการคุกคาม ประจำเดือนมีนาคม 2565
ในเดือนมีนาคมนี้ มีการชุมนุมทั่วประเทศอย่างน้อย 32 ครั้ง ลดลงมากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนการชุมนุมในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ซึ่งเป็นรูปแบบการชุมนุมขนาดเล็กและเน้นไปที่การแสดงออก โดยการชุมนุมในประเด็นต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการเมืองและปัญหาปากท้อง ได้แก่ เรียกร้องสิทธิในการประกันตัวและให้กำลังใจนักกิจกรรมทางการเมือง รวมถึงเพื่อไว้อาลัย มานะ หงส์ทอง ผู้เสียชีวิตจากการสลายการชุมนุมของตำรวจในเดือนมีนาคม, เรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจ, เพื่อแสดงจุดยืนว่าสนับสนุนประเทศยูเครน และกิจกรรมทำโพลแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสถาบันของกลุ่มทะลุวัง
อ่านบทความ
ประมวลสถานการณ์การชุมนุมและการคุกคาม ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565
เนื่องด้วยสถานการณ์โควิดโอไมครอน ในเดือนมกราคม 2565 พาประเทศไทยเข้าสู่การระบาดระลอกที่ 4 โดยประเทศไม่ได้มีมาตรการเข้มงวดเท่าในปี 2564 ในวันที่ 25 มกราคม 2565 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศขยายระยะเวลาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (ครั้งที่ 16) ไปจนถึง 31 มีนาคม 2565 ลงนามเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2565 ส่งผลประเทศไทยอยู่ภายใต้กฎหมายเฉพาะในสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นเวลาเกือบ 2 ปี เนื่องจากสถานการณ์โควิดไอไมครอนระบาดต่อเนื่อง ส่งผลกระทบด้านเศรษฐกิจต่อประชาชน ส่วนผู้ที่ออกมาใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกและชุมนุมกลับถูกดำเนินคดีด้วยข้อหาฝ่าฝืนพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 จากข้อมูลของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนระบุว่า เฉพาะปีพุทธศักราช 2564 ที่ผ่านมามีผู้ถูกดำเนินคดีในข้อหาฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉินไม่ต่ำกว่า 1,244 คน เป็นคดีกว่า 542 คดี
อ่านบทความ
ประมวลสถานการณ์การชุมนุมและการคุกคาม ประจำเดือนมกราคม 2565
ในเดือนมกราคม 2565 สถานการณ์โควิดโอไมครอนพาประเทศไทยเข้าสู่การระบาดระลอกที่ 4 แม้รัฐบาลจะออกมาตรการภายใต้สถานการณ์โควิดที่ผ่อนคลายกว่าในปี 2564 แต่ในวันที่ 25 มกราคม 2565 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศขยายระยะเวลาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (ครั้งที่ 16) ไปจนถึง 31 มีนาคม 2565 ลงนามเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2565 ส่งผลประเทศไทยอยู่ภายใต้กฎหมายเฉพาะในสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นเวลากว่า 2 ปี ขณะที่ผู้ที่ออกมาใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกและชุมนุมกลับถูกดำเนินคดีด้วยข้อหาฝ่าฝืนพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 จากข้อมูลของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนระบุว่า เฉพาะปีพุทธศักราช 2564 ที่ผ่านมามีผู้ถูกดำเนินคดีในข้อหาฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉินไม่ต่ำกว่า 1,244 คน เป็นคดีกว่า 542 คดี
อ่านบทความ
ประมวลสถานการณ์การชุมนุม เดือนมิถุนายน 2564
ในช่วงเดือนมิถุนายน 2564 สถานการณ์โควิด-19 ยังคงระบาดหนักต่อเนื่องจากการระบาดระลอกที่ 3 เดือนเมษายน 2564 และมีแนวโน้มจะเข้าสู่ระลอกที่ 4 จากการระบาดของสายพันธุ์เดลต้า ในช่วงเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม ซึ่งสะท้อนการบริหารงานของรัฐบาลไทยที่ไม่สามารถจัดการควบคุมสถานการณ์การระบาดและการนำเข้าวัคซีนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ประชาชนและภาคประชาสังคมผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิดออกมาแสดงออกเพื่อเรียกร้องการเยียวยาจากรัฐบาล ขณะเดียวกันจำนวนผู้ถูกดำเนินคดีก็พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในฉพาะเดือนมิถุนายนนี้ สถานการณ์การแสดงออกและการชุมนุมเกิดขึ้นทั้งสิ้นไม่ต่ำกว่า 125 ครั้ง
อ่านบทความ
ประมวลสถานการณ์การชุมนุม เดือนเมษายน 2564
ในช่วงเดือนเมษายน 2564 สถานการณ์โควิด-19 กลับมาระบาดเป็นระลอกที่สามในประเทศไทย ส่งผลให้การชุมนุมใหญ่ไม่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตามด้วยสถานการณ์การดำเนินคดีทางการเมืองที่ยังมีอย่างต่อเนื่อง ทำให้การชุมนุมยังคงดำเนินต่อไปในรูปแบบ #ยืนหยุดขัง เพื่อเรียกร้องปล่อยตัวผู้ต้องขังทางการเมือง ทั้งนี้มีข้อสังเกตว่า คดีความของผู้ถูกดำเนินคดีจาการแสดงออกและการชุมนุมเข้าสู่ชั้นศาลอย่างรวดเร็วในช่วงเวลาที่ผ่านมา เช่น การสั่งฟ้องคดีของผู้ชุมนุมจากหมู่บ้านทะลุฟ้า เเละกลุ่ม We Volunteer เป็นต้น ทำให้สถานการณ์การแสดงออกและการชุมนุมเกิดขึ้นทั้งสิ้นไม่ต่ำกว่า 180 ครั้ง เพิ่มขึ้นจากการชุมนุมเมื่อเดือนมีนาคมกว่าเท่าตัว มีการดำเนินคดีภายหลังการชุมนุม อย่างน้อย 2 ครั้งในเดือนเมษายน
อ่านบทความ
ประมวลสถานการณ์การชุมนุม เดือนมีนาคม 2564
Mob Data Thailand พบว่าการชุมนุมในเดือนมีนาคม ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีการดำเนินคดีกับผู้ชุมนุมเป็นจำนวนมาก ซึ่งศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนรายงานว่ามีมากถึง 581 คน ใน 268 คดีภายในรอบ 3 เดือน มีการสลายการชุมนุมรวม 3 ครั้ง แสดงให้เห็นถึงสถานการณ์การจำกัดสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมและการแสดงออกจากรัฐที่ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
อ่านบทความ
ประมวลสถานการณ์การชุมนุมเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564
จากข้อมูล Mob Data Thailand ตั้งแต่วันที่ 1 – 28 กุมภาพันธ์ 2564 มีการชุมนุมเกิดขึ้นไม่น้อยกว่า 73 ครั้งทั่วประเทศ โดยแบ่งเป็น การชุมนุมในพื้นที่กรุงเทพมหานครจำนวน 44 ครั้ง เชียงใหม่ 8 ครั้ง ขอนแก่น 4 ครั้ง และจังหวัดอื่น เช่น เชียงราย อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด นครราชสีมา ชัยภูมิ สงขลา จังหวัดละ 2 ครั้ง และที่ ยะลาและนราธิวาสจังหวัดละ 1 ครั้ง โดยมีการดำเนินคดีหลังจากการจัดกิจกรรมอย่างน้อย 10 ครั้ง
อ่านบทความ
ประมวลสถานการณ์การชุมนุมเดือนมกราคม พ.ศ. 2564
ก้าวขึ้นปีใหม่ 2564 ประเทศไทยตกอยู่ภายใต้การล็อคดาวน์อย่างกลายๆ อันเป็นผลจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ระลอกที่ 2 การชุมนุมเพื่อแสดงออกทางการเมืองเหมือนว่าจะต้องหยุดชะงักไปเช่นเดียวกับช่วงการแพร่ระบาดระลอกแรก แต่ก็เพียงอึดใจเดียว เพราะกลุ่มกิจกรรมมต่างๆ ยังคงเดินหน้าเรียกร้องในประเด็นสำคัญอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มที่การชุมนุมจะขยายไปยังประเด็นทางสังคมต่างๆ ไม่ว่าจะเรื่องนโยบายการจัดหาวัคซีน, มาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ หรือการให้กำลังใจผู้ที่ถูกจับกุมดำเนินคดีทางการเมือง เพื่อแสดงออกถึงความไม่เห็นด้วยในการใช้คดีปิดปากผู้ใช้เสรีภาพ
อ่านบทความ
รายงานสถานการณ์ชุมนุมระหว่างวันที่ 20 – 31 ธันวาคม 2563: ท้ายปียังมีชุมนุมต่อเนื่อง แม้ขายกุ้งก็เป็นชุมนุม
การชุมนุมช่วงสองสัปดาห์สุดท้ายของปี 2563 หรือตั้งแต่วันที่ 20 - 31 ธันวาคม มีการชุมนุมเกิดขึ้นอย่างน้อย 8 ครั้ง ลักษณะการชุมนุมยังคงเหมือนสองสัปดาห์ก่อนหน้านี้ คือ มีเป้าหมายเพื่อให้กำลังใจผู้ที่ถูกดำเนินคดีหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 รวมทั้งการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์เพื่อรณรงค์คัดค้านการใช้มาตรา 112 รวมทั้งยังมีการชุมนุมเพื่อเรียกร้องสิทธิในประเด็นอื่นๆ นอกจากนี้ยังคงมีการคุกคามผู้ชุมนุมอย่างต่อเนื่องทั้งการแจ้งข้อกล่าวหาและการสลายการชุมนุมของกลุ่ม WeVo หรือ We Volunteer
อ่านบทความ
รายงานสถานการณ์ชุมนุมระหว่างวันที่ 22 พฤศจิกายน - 5 ธันวาคม 2563: การชุมนุมลดลง แต่การดำเนินคดียังดำเนินต่อเนื่อง
จากข้อมูลจำนวนการชุมนุมทั่วทั่งประเทศลดลงจากสองสัปดาห์ก่อนหน้าครึ่งหนึ่ง ช่วงเวลาดังกล่าว มีการชุมนุมอย่างน้อย 24 ครั้งเป็นการชุมนุมในพื้นที่กรุงเทพฯ อย่างน้อย 6 ครั้ง และพื้นที่ต่างจังหวัดอย่างน้อย 17 ครั้ง ขณะที่การดำเนินคดีต่อผู้ชุมนุมมีจำนวนเพิ่มขึ้นจากสองสัปดาห์ก่อนหน้านี้ คือ 33 คน จากครั้งก่อน 24 คน และมีการเพิ่มข้อหาใหม่คือ “หมิ่นกษัตริย์” ให้กับแกนนำผู้ชุมนุมด้วย
อ่านบทความ
รายงานสถานการณ์ชุมนุมระหว่างวันที่ 8 – 21 พฤศจิกายน 2563: มีข้อเสนอจากการชุมนุมที่หลากหลายมากขึ้น ขณะที่รัฐใช้ความรุนแรงมากขึ้นเช่นกัน
การชุมนุมระหว่างวันที่ 8 – 21 พฤศจิกายน 2563 มีการชุมนุมทั่วประเทศอย่างน้อย 43 ครั้ง เป็นการชุมนุมในกรุงเทพฯ อย่างน้อย 12 ครั้ง และต่างจังหวัดอย่างน้อย 26 ครั้ง นอกจากนี้ยังมีการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อเหลืองอีกอย่างน้อย 7 ครั้ง จากสถิติดังกล่าวจะพบว่า การชุมนุมในช่วงสองสัปดาห์นี้จำนวนการชุมนุมลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับสองสัปดาห์ก่อนหน้าที่มีการชุมนุมทั่วประเทศรวมกันอย่างน้อย 77 ครั้ง
อ่านบทความ
รายงานสถานการณ์ระหว่าง 22 ตุลาคม –7 พฤศจิกายน 2563: ชุมนุมหลังยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉินฯ และการปล่อยตัวผู้ชุมนุม
หลังการยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่ร้ายแรงในกรุงเทพมหานคร รวมทั้งความพยายามหาทางออกของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ด้วยขอให้รัฐสภาเปิดการประชุมสมัยวิสามัญระหว่างวันที่ 26-27 ตุลาคม 2563 เพื่อรับฟังข้อเสนอจากรัฐสภา แต่การกระทำดังกล่าวก็ไม่ได้ช่วยให้สถานการณ์การชุมนุมของนักเรียน นักศึกษา และประชาชนเบาบางลง เนื่องจากข้อเรียกร้องของพวกเขายังไม่ได้รับการตามสนองจากรัฐบาลสักข้อเดียว ขณะเดียวกันแกนนำผู้ชุมนุมยังคงถูกคุมขังและการดำเนินคดีอยู่เป็นระยะ โดยการชุมนุมเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกวันและกระจายไปทั่วประเทศส่วนใหญ่ดำเนินไปอย่างไร้แกนนำ ตั้งแต่วันที่ 22 ตุลาคม –7 พฤศจิกายน 2563 มีการชุมนุมเกิดขึ้นในกรุงเทพมหานครอย่างน้อย 22 ครั้ง และต่างจังหวัดอย่างน้อย 50 ครั้ง
อ่านบทความ
ประมวลสถานการณ์การชุมนุมและการคุกคามระหว่างวันที่ 13 – 21 ตุลาคม 2563
มีการชุมนุมทั่วประเทศอย่างน้อย 76 ครั้ง ระหว่างวันที่ 13 – 21 ตุลาคม 2563 แบ่งเป็นกรุงเทพฯ อย่างน้อย 16 ครั้ง โดยการชุมนุมอย่างน้อย 15 ครั้งเป็นการชุมนุมภายใต้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิกที่มีความร้ายแรงในเขตกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัดอย่างน้อย 60 ครั้ง
อ่านบทความ