วันที่: 7/2/2567 ผู้เขียน: Faozee

ประมวลสถานการณ์การชุมนุมประจำปี 2566

description

ตลอดทั้งปี 2566 มีการชุมนุมเกิดขึ้นทั้งหมดทั่วประเทศจำนวนอย่างน้อย 514 ครั้ง ( ข้อมูลถึงวันที่ 15 ธันวาคม 2566 ) โดยแยกเป็นการชุมนุมในกรุงเทพฯ 343 ครั้ง และต่างจังหวัด 171 ครั้ง ในขณะที่ตัวเลขการชุมนุมลดลงจากปี 2565 แต่ในช่วงปี2566 นี้ เป็นปีที่มีหลายคดีจากการแสดงออกและการชุมนุม ตั้งแต่ช่วง ปี 2563 เริ่มมีคำพิพากษา

1.ภาพรวมสถานการณ์ทางการเมืองการแสดงออก การชุมนุม การจับกุม และการคุมขัง

ในช่วงปี 2566 เป็นช่วงการเปลี่ยนผ่านรัฐบาลหลังจากการบริหารประเทศภายใต้รัฐบาลที่นำโดยนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในสองสมัย ตั้งแต่ปี 2557 ที่มีมติการแต่งตั้งของสภานิติบัญญัติเลือกพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี หลังจากการรัฐประหาร ตลอดจนถึงการเลือกตั้งปี 2562 พรรคเพื่อไทยมีคะแนนชนะเป็นอันดับหนึ่งและเสนอนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ในขณะนั้นเป็นนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้พรรคพลังประชารัฐเสนอชื่อพลเอกประยุทธ์เป็นนายกรัฐมนตรี และได้รับคะแนนไว้วางใจเกินกึ่งหนึ่งของรัฐสภา จึงได้เป็นนายกรัฐมนตรีสมัยที่สอง ดำรงตำแหน่งรวมทั้งสองสมัย 8 ปี ก่อนประกาศยุบสภา วันที่ 20 มีนาคม 2566 ท่ามกลางสถานการณ์ทางการเมืองในช่วง 3 เดือนแรกของปี ก่อนประกาศยุบสภา มีประชาชนถูกดำเนินคดีกว่า 1,890 คน ถูกคุมขังในเรือนจำในขณะนั้น 16 คนโดยที่การชุมนุมเรียกร้องสิทธิการประกันตัวเข้มข้นขึ้นหลังจาก ทานตะวัน ตัวตุลานนท์ และ แบม อรวรรณ (สงวนนามสกุล) ขอถอนประกันตนเอง และถูกคุมขังตั้งแต่วันที่ 16 ม.ค. 2566 อดอาหารรวมกว่า 45 วัน

หลังจากประกาศยุบสภาของในช่วงแรกสถานการณ์การชุมนุมและการแสดงออกทางการเมืองยังคงมีเป็นระยะ เนื่องจากในเดือนมีนาคม หยก เยาวชนอายุ 15 ปี โดนจับกุมในคดีมาตรา 112 ซึ่งเป็นผู้ถูกดำเนินคดีด้วยข้อกล่าวหามาตรา 112 ที่อายุน้อยที่สุด ขณะที่หยกตามไปไลฟ์สดกรณี บังเอิญ (นามสมมติ) ศิลปินอิสระถูกกล่าวหาว่าก่อเหตุพ่นสีข้อความ 112 พร้อมขีดทับ และเครื่องหมายสัญลักษณ์ “อนาคิสต์” ใส่กำแพงพระบรมมหาราชวัง ที่ สน.พระราชวัง ในวันที่ 28 มีนาคม 2566 ทำให้หยกถูกคุมขังที่ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนหญิงบ้านปรานีรวม 51 วัน

ช่วงเดือนเมษายนสถานการณ์ทางการเมืองเข้าสู่บรรยากาศการหาเสียงเลือกตั้ง หลังจากที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต.กำหนดวันเลือกตั้ง เป็นวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 จึงเป็นพื้นที่ของพรรคการเมืองในการตั้งเวทีปราศรัยทั่วประเทศรวมถึงเวทีพูดคุยประเด็นต่างๆของสื่อมวลชนและภาคประชาสังคม ทำให้การชุมนุมทั่วประเทศลดลงแต่ยังมีการชุมนุมอย่างประปรายซึ่งประเด็นส่วนใหญ่ในการชุมนุมขณะนั้น คือการเรียกร้องสิทธิในการประกันตัว

ผลการเลือกตั้งในวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 พรรคก้าวไกลมาเป็นอันดับหนึ่ง 14,438,851 คะแนน ได้จำนวน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขณะนั้น 151 ที่นั่ง และอันดับสองคือพรรคเพื่อไทย รองลงมาคือพรรคภูมิใจไทย พรรคพลังประชารัฐ และพรรครวมไทยสร้างชาติ(มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรค) หลังการเลือกตั้ง สิ่งที่สังคมจับตามองอย่างยิ่งก็คือการรับรองผลการเลือกตั้งจากคณะกรรมการการเลือกตั้งซึ่งต้องรับรองผลการเลือกตั้งภายใน 60 วัน และการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ และการโหวตนายกรัฐมนตรี ซึ่งการโหวตนายกรัฐมนตรีนั้น หากไม่สามารถรวบรวมเสียง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสภาให้มากกว่า 375 เสียง ก็จำเป็นต้องได้เสียงจากสมาชิกวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2560 ทำให้ ประเด็นเกี่ยวกับการเลือกตั้ง เป็นประเด็นในการชุมนุมรองลงมา ซึ่งเป็นการเรียกร้องให้ กกต.รับรองผลการเลือกตั้งและเรียกร้องให้สมาชิกวุฒิสภา เคารพเสียงของประชาชน

ในช่วงเดือนกรกฎาคม 2566 สถานการณ์ทางการเมืองเริ่มกับมาเข้มข้นอีกครั้ง หลังจากมีพระราชกฤษฎีกาเปิดสมัยประชุมสภาครั้งที่หนึ่งประชุมสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ 26 ปีที่หนึ่ง หลังจากมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา และรัฐสภานัดได้ประชุมเพื่อโหวตนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของประเทศไทยครั้งที่หนึ่ง ในวันที่ 13 กรกฎาคม 2566 ท่ามกลางกระแสข่าวกระแสข่าวต่อการไม่เห็นด้วยจากสมาชิกวุฒิสภาที่จะโหวตนาย พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ จากพรรคก้าวไกลซึ่งเป็นพรรคอันกับหนึ่งที่ชนะการเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยจับมือกับพรรคเพื่อไทยที่เป็นพรรคอันดับสองและพรรคร่วมอื่นๆรวมเป็นเสียงข้างมาก ซึ่งผลโหวตออกมาปรากฎว่าเสียงเห็นชอบไม่เกินกึ่งหนึ่งของสภามีผู้ลงมติเห็นชอบแค่ 324 เสียง หลังจากที่ก่อนหน้านี้ (12 กรกฎาคม 2566) สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อพิจารณาวินิจฉัยสมาชิกภาพของ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคและแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีพรรคก้าวไกล จากเหตุมีชื่อถือครองหุ้นบริษัทไอทีวี จำกัด (มหาชน)1หลังจากเหตุดังกล่าวเป็นผลให้ อานนท์ นำภา ได้นัดชุมนุมทันทีในช่วงเย็นของวันดังกล่าวที่สกายวอร์คหน้าห้างมาบุญครองเพื่อเรียกร้องให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาเลือกนายกรัฐมนตรีตามผลการเลือกตั้งและฉันทามติของประชาชน ภายหลังปรากฎว่าในวันดังกล่าวมีการชุมนุมเกิดขึ้นหลายจุดทั่วประเทศ ตลอดทั้งสัปดาห์จนกระทั้งวันที่ 19 กรกฎาคม 2566 ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ 7 ต่อ 2 เสียงให้รับร้องที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ขอให้วินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 82 ว่าสมาชิกภาพ ส.ส.ของ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคและแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พรรคก้าวไกล สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 101 (6) ประกอบมาตรา 98 (3) หรือไม่ จากเหตุมีชื่อถือครองหุ้นบริษัท ไอทีวี จำกัด มหาชน จำนวน 42,000 หุ้น รวมทั้งคำขอให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้นายพิธา หยุดปฏิบัติหน้าที่ไว้จนกว่าจะมีคำวินิจฉัยโดยทันที ในวันเดียวกันเป็นวันที่รัฐสภามีการประชุมเพื่อโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีครั้งที่สอง พรรคเสียงข้างมากยังคงเสนอนายพิธา เป็นนายกยกรัฐมนตรี ผลปรากฏว่าได้เสียงเห็นชอบเพียง 317 เสียงซึ่งไม่เกินกึ่งหนึ่งของสภา ทำให้ในช่วงเวลาดังกล่าว(กรกฎาคม)มีการชุมนุมเพิ่มขึ้นถึง 73 ครั้งทั่วประเทศ

ทั้งนี้การเลือกนายกครั้งที่ 3 กำหนดการประชุมประชุมรัฐสภา วาระพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคล ซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 272 คือวันที่ 22 สิงหาคม 2566 ซึ่งการพยายามรวมเสียงข้างมากในครั้งนี้นำโดยพรรคอันดับสองคือพรรคเพื่อไทย ซึ่งรวมเสียงแบบสลายขั้วรวมกับฟากรัฐบาลเดิมและไม่มีพรรคก้าวไกลอยู่ในสมการนี้ซึ่งนายเศรษฐา ทวีสิน ผู้ถูกเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ได้รับมติจากที่ประชุมสภาเห็นชอบ 482 เสียง ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ทำให้เดือนสิงหาคมนอกจากมีการชุมนุมในประเด็นเรียกร้องสิทธิการประกันตัวแล้วอีกหนึ่งประเด็นที่สำคัญคือการมุ่งเป้าไปสู่พรรคเพื่อไทยเพื่อเรียกร้องให้พรรคเพื่อไทยตั้งนายกตามเสียงข้างมากของประชาชน

นอกจากประเด็นเรียกร้องสิทธิในการประกันตัว จำนวน 290 ครั้ง และประเด็นเกี่ยวกับการเลือกตั้งและการจัดตั้งรัฐบาลจำนวน 70 ครั้งซึ่งเป็นประเด็นที่มีการชุมนุมมากที่สุดแล้วที่กล่าวมาข้างต้น ยังมีประเด็นอื่นๆ ที่มีการชุมนุมในปี 2566 เช่น การชุมนุมประเด็นเกี่ยวกับกฎหมายและความยุติธรรม 60 ครั้ง ประเด็นที่ดินและสิ่งแวดล้อม 40 ครั้ง ประเด็นเรียกร้องให้ยุบสภา 2 ครั้ง ประเด็นการศึกษา 4 ครั้ง ประเด็นเศรษฐกิจและปากท้อง 9 ครั้ง ประเด็นความเท่าเทียวทางเพศและเด็ก 5 ครั้ง และประเด็นอื่นๆ 41 ครั้ง นอกจากนี้ยังมีการชุมนุมของกลุ่มปกป้องสถาบันตลอดทั้งปีอย่างน้อย 15 ครั้ง ในปี 2566 ไม่มีการสลายการชุมนุมเกิดขึ้น แต่มีการจับกุมขณะประชาชนใช้เสรีภาพในการแสดงออกอย่างน้อย 3 กรณี คือ กรณีแรกคือ เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2566 วันทนา อายุ 61 ปี และเพื่อน ได้ชูสามนิ้วรอขบวนนายกรัฐมนตรี เพื่อร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหาสภาพเศรษฐกิจ ปรากฏว่า วันทนาถูกเจ้าหน้าตำรวจที่ลากตัวออกไป ต่อมาทราบว่าเขา ถูกดำเนินคดี 3 ข้อหา ฐานขัดคำสั่ง ต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน และทำให้เกิดเสียงหรือกระทำความอื้ออึงในที่สาธารณะ กรณีที่สอง กรณีการจับกุมศิลปินอิสระที่พ่นสีข้อความ 112 พร้อมขีดทับ และสัญลักษณ์อนาคิสต์บนกำแพงวัดพระแก้วเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2566 ซึ่งได้ปรากฏว่ามีการจับกุม “หยก” เด็กหญิงวัย (เพิ่งจะ) 15 ปี โดยในภายหลังเจ้าหน้าที่ตำรวจอ้างหมายจับจากคดี 112 ที่มีอานนท์ กลิ่นแก้ว แกนนำกลุ่ม ศปปส. เป็นผู้แจ้งความไว้ที่ สน.สำราญราษฎร์ และกรณีที่สาม วันนี้ 10 พฤษภาคม 2566 ที่สถานีตำรวจนครบาล (สน.) สำราญราษฎร์ กลุ่มนักกิจกรรมทางการเมือง รวมตัวเพื่อทวงถามต่อผู้กำกับการ สน.สำราญราษฎร์ มีการเข้าแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมกับ หยก-ธนลภย์ ผลัญชัย เยาวชนอายุ 15 ปี บริเวณหน้า สน.สำราญราษฎร์ มีตำรวจควบคุมฝูงชนยืนตรึงกำลังพร้อมนำรั้วเหล็กมากั้นเพื่อป้องกันไม่ให้กลุ่มมวลชนเข้าไปด้านใน สน.อย่างไรก็ตามมีรายงานว่า ประตูทางเข้าแตกเสียหาย และมีการนำสีน้ำสาดใส่ตามบันไดทางเดินและกำแพงของ สน.หลังเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวเจ้าหน้าที่ได้ควบคุมตัวผู้อยู่ในที่เกิดเหตุไว้ได้ 9 ราย โดยมี ตะวัน-ทานตะวัน ตัวตุลานนท์ และ สายน้ำ-นภสินธุ์ ตรีรยาภิวัฒน์ รวมอยู่ด้วย4

นอกจากนี้แล้วในปี 2566 ถึงแม้ไม่มีการสลายการชุมนุมเกิดขึ้นแต่การชุมนุมยังมีการถูกขัดขวางโดยเจ้าหน้าที่รัฐประกาศให้เลิกชุมนุม/ขัดขวางการชุมนุมอย่างน้อย 13 ครั้ง โดยเกิดขึ้นในเดือน มกราคม 2 ครั้ง เดือนกุมภาพันธ์ 4 ครั้ง เดือนมีนาคม 2 ครั้ง เดือนกันยายน 2 ครั้ง และเดือนตุลาคม 2 ครั้ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการประกาศกำหนดพื้นที่การชุมนุม ตามพ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558

จากการเก็บรวบรวมข้อมูลขออาสาสมัคร Mob Data Thailand มีการชุมนุมเกิดขึ้นทั้งหมดทั่วประเทศจำนวนอย่างน้อย 514 ครั้ง( ข้อมูลถึงวันที่ 15 ธันวาคม 2566 ) โดยแยกเป็นการชุมนุมในกรุงเทพฯ 343 ครั้ง และต่างจังหวัด 171 ครั้ง ซึ่งถ้านับยอดการชุมนุม ตั้งแต่ กรฎาคม ปี 2563 มีการชุมนุม 799 ครั้ง ปี 2564 มีการชุมนุมไม่ต่ำกว่า 1,516 ครั้ง ปี 2565 มีการชุมนุมไม่ต่ำกว่า 753 ครั้ง และอย่างที่กล่าวมาข้างต้น 15 ธันวาคม ปี 2566 มีการชุมนุม มีการชุมนุมไม่ต่ำกว่า 514 ครั้ง จะมีจำนวนการชุมนุมรวม 3,582 ครัง ในขณะที่ตัวเลขการชุมนุมลดลงจากปี 2565 แต่ในช่วงปี 2566 นี้ เป็นปีที่มีหลายคดีจากการแสดงออกและการชุมนุม ตั้งแต่ช่วง ปี 2563 เริ่มมีคำพิพากษา โดยเฉพาะช่วงหลังการเลือกตั้งในเดือนพฤษภาคม ทำให้ในปีนี้มีผู้ถูกพิพากษาจำคุก 47 คดี ในจำนวนนี้ เป็นเยาวชน 3 คน ทำให้ในปี 2566(ข้อมูลถึง 15 ธันวาคม 2566) ยังคงมีผู้ถูกคุมขังในเรือนจำจากการแสดงออกทางการเมือง หรือมีมูลเหตุเกี่ยวข้องกับการเมือง โดยไม่ได้รับการประกันตัวระหว่างการต่อสู้คดี อย่างน้อย 24 คน เป็นคดีตามมาตรา 112 จำนวน 15 คน (เป็นเยาวชน 2 คน ที่ถูกคุมขังตามคำสั่งมาตรการพิเศษแทนการมีคำพิพากษาของศาล) ยังมีผู้ต้องขังที่คดีถึงที่สุดแล้ว อย่างน้อย 13 คน

asset

แผนภูมิแสดงตัวเลขการชุมนุมปี 2566 รวม 514 ครั้ง

asset

ตารางแสดงจำนวนประเด็นการชุมนุม ปี 2566

2 สถานการณ์การชุมนุมปี 2566

2.1 สถานการณ์การแสดงออกและการชุมนุมเดือนมกราคม

เดือนมกราคม มีการชุมนุมทั่วประเทศอย่างน้อย 78 ครั้ง ส่วนใหญ่เป็นการชุมนุมในประเด็นเรียกร้องสิทธิในการประกันตัวให้ผู้ต้องขัง เนื่องจากในเดือนนี้มีคำสั่งถอนประกันนักกิจกรรมทางการเมือง 4 คน ได้แก่ โสภณ สุรฤทธิ์ธำรง และใบปอ นอกจากนี้ ทานตะวัน ตัวตุลานนท์ และแบม อรวรรณ) ยังได้ยื่นคำร้องขอถอนประกันตนเอง หลังจากทั้งคู่ยื่นคำร้องแล้ว ศาลได้มีคำสั่งให้ถอนประกัน ทำให้ทั้งคู่ถูกนำตัวไปคุมขังที่ทัณฑสถานหญิง ต่อมาไม่นาน ทานตะวันและแบมได้ประกาศยกระดับการเคลื่อนไหวด้วยการอดน้ำอดอาหาร ต่อมา มีการคุมขัง สิทธิโชค เศรษฐเศวต จากการถูกกล่าวหาว่านำของเหลวคล้ายว่าเป็นน้ำมันไปฉีดพ่นใส่กองเพลิงที่ลุกไหม้อยู่บริเวณฐานพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 10 และพระราชินี บริเวณเกาะกลางถนนราชดำเนินนอก แยกผ่านฟ้าลีลาศ ระหว่างการชุมนุม #ม็อบ18กรกฎา2564 ซึ่งสิทธิโชคเองก็ได้ยกระดับการเคลื่อนไหวในเรือนจำด้วยการอดอาหารและน้ำเช่นกัน ด้วยเหตุดังกล่าว ทำให้มีการชุมนุมในประเด็นเรียกร้องสิทธิในการประกันตัวให้ผู้ต้องขังทางการเมืองมากที่สุด อย่างน้อย 69 ครั้ง ทั่วประเทศ โดยเป็นกิจกรรม ยืนหยุดขัง ที่จังหวัดกรุงเทพมหานครและปริมนฑล อย่างน้อย 42 ครั้ง จัดกิจกรรมโดยกลุ่มพลเมืองโต้กลับ หน้าศาลฎีกา อย่างน้อย 28 ครั้ง

asset

จัดกิจกรรมโดยกลุ่มทะลุฟ้า บริเวณหอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพฯ อย่างน้อย 10 ครั้ง ซึ่งเคยถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.ปทุมวัน เข้ามาอ่านประกาศ ให้เลิกการชุมนุมภายใน 30 นาทีอีกด้วย และจัดกิจกรรมโดยกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม บริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และท่าพระจันทร์ อย่างน้อย 4 ครั้ง นอกจากนี้ ยังมีการจัดกิจกรรมยืนหยุดขังในภูมิภาคต่างๆทั่วประเทศ อย่างน้อย 17 ครั้ง เป็นการจัดกิจกรรมยืนหยุดทรราช บริเวณท่าแพ จังหวัดเชียงใหม่ อย่างน้อย 5 ครั้ง จังหวัดแพร่ มีการจัดกิจกรรมยืนหยุดขังโดยเครือข่ายผู้รักประชาธิปไตยจังหวัดแพร่ ซึ่งมีการจัดกิจกรรมยืนหยุดขังในรูปแบบ Flashmob 10 จุดทั่วจังหวัด จังหวัดพิษณุโลก มีการจัดกิจกรรมยืนหยุดขังอย่างน้อย 2 ครั้ง โดยกลุ่มพิราบขาว และกลุ่ม NU-movement จังหวัดนครสวรรค์ มีการจัดกิจกรรมโดยกลุ่มราษฎรนครสวรรค์อย่างน้อย 1 ครั้ง จังหวัดลำพูน อย่างน้อย 1 ครั้ง จังหวัดลำปาง โดยกลุ่มพิราบขาวเพื่อมวลชนและเครือข่าย อย่างน้อย 2 ครั้ง จังหวัดน่าน โดยกลุ่มเครือข่ายนักเรียนนักศึกษาน่าน อย่างน้อย 1 ครั้ง จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยกลุ่มเยาวชนอุตรดิตถ์ปลดแอกและคณะก้าวหน้าอุตรดิตถ์ อย่างน้อย 1 ครั้ง จังหวัดนครสวรรค์ มีการจัดกิจกรรมโดยกลุ่มราษฎรนครสวรรค์ อย่างน้อย 1 ครั้ง จังหวัดพัทลุง อย่างน้อย 1 ครั้ง และจังหวัดขอนแก่น อย่างน้อย 1 ครั้ง

asset

ภาพ Chanakarn

ไม่เพียงแต่กิจกรรมในรูปแบบยืนหยุดขังเท่านั้น ยังมีการจัดกิจกรรมในรูปแบบอื่นอย่างน้อย 11 ครั้ง เพื่อสนับสนุน 3 ข้อเรียกร้องของทานตะวันและแบม ได้แก่ กิจกรรมเลือดแลกเลือด ของทานตะวัน ตัวตุลานนท์ และแบม อรวรรณ (สงวนนามสกุล) มีการเทของเหลวสีแดงลงบนร่างกาย พร้อมประกาศถอนประกันตนเอง เพื่อเรียกร้องให้ศาลปล่อยเพื่อนๆ และนักกิจกรรมทางการเมืองที่ยังไม่ได้ประกันตัวมาตั้งแต่ปี 2565 ก่อนที่พวกเธอจะถูกถอนประกันและถูกส่งตัวเข้าเรือนจำ กิจกรรมปักหลักชุมนุมปล่อยเพื่อนเรา บริเวณศาลอาญา รัชดา ของกลุ่มศิลปินเพลงเพื่อราษฎร กลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัด Performance art 5 ชั่วโมง 12 นาที โดยการใส่ชุดคล้ายนักโทษ มีโซ่พันแขนขา ใช้ชีวิตร่วมกับบัณฑิตที่กำลังมางานรับปริญญา ระหว่างการจัดกิจกรรมมีตำรวจเข้ามาสอบถาม พยายามห้ามปราม ก่อนจะเข้าล้อมและพยายามพาตัวไปพูดคุยด้วย นอกจากนี้ ยังพบการแขวนป้ายผ้า “เพื่อนเรากำลังจะตาย” ตามมหาวิทยาลัยในจังหวัดเชียงใหม่ เช่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ เป็นต้น กลุ่มเฟมินิสต์ปลดแอกอีสาน จัดกิจกรรม อดอาหารด้วยกันกับเพื่อน เป็นเวลา 8 ชั่วโมง ที่บริเวณลานหน้าบึงศรีฐาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น

asset

ภาพ Faozee

กลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย พร้อมแนวร่วม จัดกิจกรรม Car mob for freedom จากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยไปศาลอาญา องค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อบจ.) ร่วมกับกลุ่มเกียมอุดมไม่ก้มหัวให้เผด็จการ จัดกิจกรรม เดินหยุดขัง 1.12 กิโลเมตร เพื่อร่วมกิจกรรมยืนหยุดขัง 112 ชั่วโมง ของกลุ่มทะลุฟ้า

asset

ภาพ Faozee

กิจกรรม ยื่น หยุด ขัง ของกลุ่มทะลุฟ้า จัดกิจกรรมเดินขบวนไปที่ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก เพื่อยื่นขอประกันตัวนักกิจกรรมการเมืองร่วมกับทนายความ และญาตินักโทษการเมือง กลุ่มทะลุวัง เดินเท้าจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ไปยังศาลฎีกา เพื่อยื่นรายชื่อสนับสนุน 3 ข้อของทานตะวันและแบม ที่รวบรวมโดยเว็บไซต์ Change.org มีผู้ร่วมลงชื่อมากกว่า 6,514 รายชื่อ และ 16 รายชื่อของคณาจารย์คณะนิติศาสตร์ทั่วประเทศ นอกจากนี้ กลุ่มทะลุวังและแนวร่วมยังได้ไปยื่นหนังสือถึงผู้บริหารพรรคเพื่อไทย เพื่อเสนอนโยบายเร่งด่วนเกี่ยวกับ 3 ข้อเรียกร้องดังกล่าว วรรณวลี ธรรมสัตยา ยังได้จำลองเหตุการณ์คดีของคทาธร คงเพชร และพรพจน์ ที่หน้าศาลอาญา เพื่อเรียกร้องสิทธิในการประกันตัวให้ผู้ต้องขังทางการเมืองด้วย กิจกรรมที่มีการชุมนุมรองลงมาคือประเด็นเรียกร้องให้ปฏิรูปการศึกษา มีการชุมนุมอย่างน้อย 4 ครั้งในวันเด็กแห่งชาติ กลุ่มนักเรียนเลวอย่างน้อย 4 คน ได้แจกคู่มือเอาตัวรอดในโรงเรียน บริเวณกระทรวงศึกษาธิการ โดยเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการทำตามข้อเรียกร้องสามข้อ คือปรับปรุงหลักสูตร แก้ปัญหาความรุนแรงภายในโรงเรียนรวมถึงเรียกร้องให้กระทรวงศึกษาธิการต้องปรับกฎระเบียบต่างๆ ที่ล้าหลัง ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจในเครื่องแบบทั้งหญิงและชายจำนวนไม่น้อยกว่า 20 คน ยืนสังเกตการณ์บริเวณที่ทำกิจกรรม นักกิจกรรมเด็ก 4 คน พยายามขอเข้างานวันเด็กที่ทำเนียบรัฐบาล แต่ถูกเจ้าหน้าที่ในเครื่องแบบห้ามไม่ให้เข้าพื้นที่ และมีการล็อกแขน เอียร์ หนึ่งในนักกิจกรรมเด็กอายุ 14 ปี จนได้รับบาดเจ็บด้วย ในวันเดียวกัน งานวันเด็กที่กองบิน 41 จังหวัดเชียงใหม่ แยม เยาวชนอายุ 18 ปี ถูกเจ้าหน้าที่ของกองบินยึดป้ายผ้าและสีเทียน ขณะทำกิจกรรมเขียนป้ายผ้า “เด็กบอกอะไรกับผู้ใหญ่” โดยแจ้งว่าไม่สามารถเขียนป้ายในงานได้ เนื่องจากกิจกรรมไม่สร้างสรรค์ พร้อมทั้งอธิบายต่อว่าคำว่า “ทรงอย่างแบด แซดอย่างบ่อย” เป็นคำที่ดูแย่ เขียนทำไม ขณะที่แยมและเพื่อนกำลังเดินจะออกจากงานได้มีเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบวิ่งตามมาถามว่า “เมื่อกี้น้องถ่ายคลิปอะไรไว้ พี่ไม่อนุญาตให้คลิปนะ” และดึงแขนแยมจนล้มลง ทำให้เข่าเป็นแผลถลอก แยมจึงได้ตะโกนขอความช่วยเหลือจากคนที่อยู่ในบริเวณนั้น เจ้าหน้าที่จึงได้ยอมปล่อยตัวแยมและเพื่อนออกจากงาน กลุ่มนักเรียนปฏิรูป/ นักเรียนมูฟออน จัดกิจกรรมแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ คำสอนคุณครูดี (ที่ไม่ใช่ยุคสมัยของหนู) เพื่อเรียกร้องให้มีการปฏิรูปการศึกษา

ในเดือนนี้ ยังมีการชุมนุมในประเด็นเรียกร้องให้รัฐบาลลาออกและประท้วงคำสั่งย้ายข้าราชการอย่างน้อย 3 ครั้ง ได้แก่โรงพยาบาลจะนะ เครือข่ายภาคประชาชนจังหวัดสงขลา ก็ได้ยื่นหนังสือและปราศรัยในประเด็นของ นพ.สุภัทร ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลาอีกด้วย 1นอกจากนี้ ยังมีการส่งจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข นายอนุทิน ชาญวีรกูล ในประเด็นดังกล่าว ประเด็นสุดท้าย คือ ประเด็นเรียกร้องด้านสิ่งแวดล้อมและสิทธิที่ดินทำกิน โดยมีการชุมนุมอย่างน้อย 2 ครั้ง เพื่อคัดค้านโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ ซึ่งมีการเสวนาและร่วมลงชื่อคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานขยะที่ตำบลทาขุมเงิน อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูนต่อมา ชาวบ้านได้รวมตัวกันยื่นหนังสือถึงผู้ว่าฯ ย้ำไม่ให้สร้างโรงไฟฟ้าพลังงานขยะในหมู่บ้านเด็ดขาด และกลุ่มพิราบขาวเพื่อมวลชน จัดกิจกรรมชูป้ายต้อนรับรองนายกรัฐมนตรีที่จังหวัดลำปาง ระหว่างจัดกิจกรรมถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจและฝ่ายความมั่นคงไม่น้อยกว่า 30 นาย ใช้กำลังเข้าควบคุมการชูป้าย “หยุดมรดก คสช.” และ “ไอ่สัสป้อม #พอกันที 8 ปีที่กูเจอ” นอกจากนั้น มีการพูดปราศรัยเกี่ยวกับมรดก คสช. ผลพวงจากอำนาจของคณะรัฐประหาร และการบริหารงานที่ล้มเหลวของรัฐบาล พร้อมไม่ให้สื่อบันทึกภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เนื่องจากมีกระแสว่า นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ผอ.รพ.จะนะ จะถูกสั่งย้ายโดยไม่ทราบสาเหตุ ทำให้เครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น และมวลชนเดินทางไปให้กำลังใจ นพ.สุภัทร ที่การดำเนินคดี ประจำเดือนมกราคม 2566

2.2 สถานการณ์การแสดงออกและการชุมนุมเดือนกุมภาพันธ์

ในเดือนกุมภาพันธ์ มีการชุมนุมทั่วประเทศอย่างน้อย 78 ครั้ง แม้ว่าศาลจะมีคำสั่งปล่อยตัวผู้ต้องขังทางการเมืองทั้งหมด 15 คนในเดือนนี้ แต่เนื่องจากยังมีผู้ถูกคุมขังอยู่ ได้แก่ คทาธร เขาถูกคุมขังจากการถูกกล่าวหาว่ามีวัตถุระเบิดในครอบครอง ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2565 เป็นเวลามากกว่า 300 วัน และยังไม่ได้รับสิทธิประกันตัว อีกทั้ง ศาลยังสั่งลงโทษจำคุก ถิรนัย และ ชัยพร ผู้ชุมนุมกลุ่มทะลุแก๊ซ ซึ่งถูกจับกุมที่ด่านตรวจก่อน ม็อบ 29 สิงหา 64 และตรวจพบระเบิดปิงปอง ทำให้ถูกดำเนินคดีข้อหามีวัตถุระเบิดในครอบครอง ทั้งคู่ให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุก 6 ปี ลดเหลือจำคุก 3 ปี ทั้งคู่จึงถูกนำตัวไปคุมขังตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2565และยังไม่ได้รับการประกันตัว

asset

ภาพ @Chanakarn

เมื่อศาลยังไม่คืนสิทธิประกันตัวให้ผู้ต้องขังทางการเมืองทั้งหมด ทานตะวัน ตัวตุลานนท์ และ แบม อรวรรณ จึงยืนยันที่จะอดน้ำอดอาหารต่อไป แต่เปลี่ยนสถานที่จากโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เป็นหน้าศาลฎีกา จึงทำให้การเคลื่อนไหวในประเด็นเรียกร้องสิทธิในการประกันตัวให้ผู้ต้องขังทางการเมืองเป็นไปอย่างเข้มข้นโดยในเดือนนี้ มีการชุมนุมในประเด็นดังกล่าวอย่างน้อย 53 ครั้ง เป็นการจัดกิจกรรม ยืนหยุดขัง ที่จังหวัดกรุงเทพมหานครและปริมนฑล อย่างน้อย 37 ครั้ง จัดโดยกลุ่มกิจกรรมทางการเมืองต่างๆ ได้แก่ กลุ่มพลเมืองโต้กลับ ที่จัดกิจกรรมยืนหยุดขังบริเวณหน้าศาลฎีกาทั้งวันจำนวน 29 ครั้ง ซึ่งมีเจ้าหน้าที่รัฐออกคำสั่งให้แก้ไขการชุมนุม มิฉะนั้นอาจจะถูกสลายการชุมนุมอย่างน้อย 2 ครั้ง กลุ่มทะลุฟ้า จำนวน 6 ครั้ง กลุ่มทะลุแก๊ส 1 ครั้ง และกลุ่มเครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิมนุษยชน 1 ครั้ง กิจกรรม ยืนหยุดทรราช จัดขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่ อย่างน้อย 14 ครั้ง นอกจากกิจกรรมยืนหยุดขังแล้ว ยังมีกิจกรรมเรียกร้องสิทธิประกันตัวในรูปแบบอื่นอย่างน้อย 2 ครั้งได้แก่ เสวนาคำขานรับข้อเสนอตะวัน-แบม แนวทางการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมไทย จัดโดยองค์กรสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยหลายองค์กร เพื่อเรียกร้องให้ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม คืนสิทธิประกันตัวแก่ผู้ต้องขัง และลดเงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราว 1จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มลานยิ้มการละคร ได้จัดกิจกรรม วาดหวัง เพื่อวาดรูปส่งกำลังใจให้ตะวัน-แบม และผู้ต้องขังทางการเมืองคนอื่นที่ถูกคุมขังอย่างไม่เป็นธรรม ขณะที่ทานตะวันและแบมปักหลักอยู่บริเวณหน้าศาลฎีกา ปรากฏว่ามีกลุ่มคนเข้ามาคุกคาม จึงอาจทำให้ประชาชนและเจ้าหน้าที่ศาลไม่ได้รับความสะดวกในการเข้า-ออกศาลฎีกา ทั้งคู่จึงส่งตัวแทนไปยื่นหนังสือต่อประธานศาลฎีกา เพื่อขอเข้าไปอดน้ำอดอาหารบริเวณด้านหน้าของพระรูปกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ หน้าอาคารศาลฎีกาด้านทิศเหนือและขอความอนุเคราะห์ในการใช้น้ำและไฟฟ้า รวมถึงอุปกรณ์ฉุกเฉิน

asset

ภาพ Faozee

กิจกรรมที่มีการชุมนุมรองลงมาคือประเด็นต่อต้านคำสั่งโยกย้ายข้าราชการอย่างไม่เป็นธรรมของ นายแพทย์สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ อย่างน้อย 13 ครั้ง แบ่งเป็นการจัดกิจกรรมโดยภาคีกลุ่มเพื่อนหมอสุภัทรจำนวน 10 ครั้ง ซึ่งมีการจัดกิจกรรมหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการปักหลักชุมนุมค้างคืนที่กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี ตั้งแต่วันที่ 6-15 กุมภาพันธ์ 2566 ระหว่างปักหลักชุมนุม มีเจ้าหน้าที่รัฐมาแจ้งมวลชนให้ออกจากที่ชุมนุมอย่างน้อย 2 ครั้ง การยื่นหนังสือคัดค้านคำสั่งย้ายหมอสุภัทรที่กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรีด้วย มีรายงานว่าเจ้าหน้าที่ปิดประตูกระทรวงเพื่อไม่ให้ชาวบ้านเข้าไปยื่นหนังสือ รวมถึงยื่นหนังสือร้องเรียนต่อรัฐสภาและรัฐบาล นอกจากกิจกรรมดังกล่าว ยังมีการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ โดยการแขวนกล้วยหน้าเขตสุขภาพที่ 12 กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดสงขลา 5แจกใบปลิวที่หน้าหอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพ กิจกรรมนี้ตำรวจได้แจ้งแก่ผู้ชุมนุมว่าขอให้อยู่เป็นจุดและประกาศว่าเป็นการชุมนุมที่ผิดกฎหมาย เนื่องจากไม่ได้ขออนุญาตชุมนุม นอกจากนี้ ยังมีการเสวนาและวางพวงหรีดหน้าสำนักงานพรรคภูมิใจไทยด้วย ซึ่งจัดร่วมกับเครือข่ายรามคำแหงเพื่อประชาธิปไตย ไม่เพียงเท่านั้น ในจังหวัดสงขลา นักศึกษาชมรมอนุรักษ์ ม.อ.ปัตตานี ยังจัดกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ และมีการอ่านแถลงการณ์กล่าวว่าการย้ายหมอสุภัทรที่เกิดจากกระบวนใช้อำนาจอันไม่ชอบธรรม นักวิชาการ ม.อ.ปัตตานีก็ได้ออกแถลงการณ์เพื่อสนับสนุนนายแพทย์สุภัทรเช่นกัน

ในส่วนประเด็นเรียกร้องให้มีการแก้ไขข้อกฎหมาย มีการชุมนุมอย่างน้อย 6 ครั้ง เป็นการชุมนุมโดย สหภาพลูกจ้างของรัฐแห่งประเทศไทย จัดกิจกรรมยื่นหนังสือที่กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี เพื่อขอให้รัฐบาลทำตามข้อเรียกร้องเกี่ยวกับสวัสดิการของลูกจ้างและพนักงานกระทรวงสาธารณสุขทั้งหมด 6 ข้อ

asset

ภาพ Faozee

นอกจากนี้ หยก เด็กหญิงอายุ 14 ปี ซึ่งเป็นเด็กที่อายุน้อยที่สุดที่ถูกดำเนินคดีในข้อหาตามมาตรา 112 ของประเทศไทย ได้อ่านแถลงการณ์ถึงการใช้มาตรา 112 ในการลิดรอนเสรีภาพเด็กและเยาวชนจากรัฐไทย นอกจากนี้ หยกยังเป่าเค้กวันเกิด และฉีกหมายเรียกให้ไปรายงานตัวในข้อหาดังกล่าวหน้าองค์การสหประชาชาติ เพื่อเป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ต่อประชาคมโลก นักเคลื่อนไหวไร้สัญชาติ จัดกิจกรรมทำโพลสำรวจว่า “คุณคิดว่าคนไร้สัญชาติควรมีสิทธิ์ในการเลือกตั้งหรือไม่” ที่ประตูท่าแพและอ่างแก้ว จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อรับฟังความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าว

ในเดือนกุมภาพันธ์ คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติเห็นชอบ (ร่าง) พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ.2565 พ.ศ. .... ที่ให้แก้ไขพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ.2565 ซึ่งจะมีผลบังคับในวันที่ 22 ก.พ. 2566 โดยให้เลื่อนการบังคับใช้ มาตรา 22 มาตรา 23 มาตรา 24 และมาตรา 25 ซึ่งเป็นมาตราเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจขณะตรวจค้น จับกุม ควบคุมตัวและขัง เพื่อป้องกันมิให้เจ้าหน้าที่ใช้อำนาจโดยมิชอบ ออกไปก่อน ด้วยเหตุดังกล่าว องค์กรภาคประชาชนหลายองค์กร จึงได้รวมตัวกันยื่นหนังสือคัดค้านมติคณะรัฐมนตรีที่เห็นชอบให้ตรา พ.ร.ก. แก้ไข พ.ร.บ.ทรมาน-อุ้มหาย ที่ทำเนียบรัฐบาล แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ก็ได้ยื่นหนังสือข้อเรียกร้องต่อกระทรวงยุติธรรม เพื่อผลักดันให้มีการบังคับใช้ พ.ร.บ.ทรมาน-อุ้มหาย ตามกำหนด

มีการจัดกิจกรรมเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ต่างๆ อย่างน้อย 2 ครั้ง ได้แก่ กลุ่ม Bright Future นัดรวมตัวกันทำกิจกรรมครบรอบ 2 ปี รัฐประหารในประเทศเมียนมา บริเวณสถานทูตเมียนมาประจำประเทศไทย โดยมีการอ่านแถลงการณ์และจำลองเหตุการณ์ทหารเมียนมาทำร้ายประชาชน กลุ่มผู้ชุมนุมชาวยูเครน รวมถึงชาติอื่นๆ ได้รวมตัวกันแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ เนื่องในโอกาสครบรอบ 1 ปี สงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน เพื่อต่อต้านการรุกรานยูเครนของประเทศรัสเซีย พร้อมกับแสดงจุดยืนไม่เอาสงคราม ที่หน้าสถานเอกอัครราชทูตยูเครนประจำประเทศไทย

นอกจากนี้ ยังมีการจัดกิจกรรมในประเด็นสิ่งแวดล้อมอย่างน้อย 1 ครั้ง ได้แก่ ชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จังหวัดอุดรธานี รวมตัวกันเดินรณรงค์คัดค้านสัมปทานเหมืองแร่โปแตชพร้อมกระจายข่าวหาแนวร่วมในการยื่นฟ้องร้องต่อศาลปกครองในปลายเดือนมีนาคม และมีการชุมนุมในประเด็นอื่นๆ อย่างน้อย 1 ครั้ง ได้แก่ ศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย รวมตัวกันเพื่อแสดงจุดยืนในการคัดค้านในการย้ายสถานที่ตั้งของมหาวิทยาลัย ออกจากสถานที่ตั้งเดิมในที่ดินปัจจุบัน และยื่นหนังสือถึงอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชมงคลตะวันออก

2.3 สถานการณ์การแสดงออกและการชุมนุมเดือนมีนาคม

ในเดือนมีนาคมนี้ มีการชุมนุมทั่วประเทศอย่างน้อย 42 ครั้ง ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์อย่างน้อย 36 ครั้ง โดยประเด็นที่มีการชุมนุมมากที่สุด ยังคงเป็นการชุมนุมเรียกร้องให้ปล่อยตัวผู้ต้องขังทางการเมืองอย่างน้อย 32 ครั้ง เป็นการจัดกิจกรรมยืนหยุดขัง บริเวณศาลฎีกา จังหวัดกรุงเทพ อย่างน้อย 27 ครั้ง ยืนหยุดทรราช บริเวณประตูท่าแพ จังหวัดเชียงใหม่ อย่างน้อย 4 ครั้ง อีกหนึ่งกิจกรรม เป็นการจัดกิจกรรมเดินขบวนยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี เพื่อเรียกร้องให้ยกเลิกข้อกล่าวหาและปล่อยตัวนักกิจกรรมทางการเมือง ของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ตำรวจในเครื่องแบบอย่างน้อย 20 คน วางแนวและตั้งแผงสกัดกั้นไม่ให้เข้าไปยื่นหนังสือบริเวณทำเนียบรัฐบาลได้

ประเด็นเรียกร้องปัญหาปากท้องและสวัสดิการ มีการชุมนุมอย่างน้อย 3 ครั้ง ได้แก่ ระหว่างนายกรัฐมนตรีลงพื้นที่ อ.บ้านโป่ง จ.จันทบุรี วันทนา อายุ 61 ปี และเพื่อน ได้ชูสามนิ้วรอขบวนนายกรัฐมนตรี เพื่อร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหาสภาพเศรษฐกิจ ปรากฏว่า วันทนาถูกเจ้าหน้าที่ลากตัวออกไป โดยเจ้าหน้าที่ได้ใช้ร่มมากางปิด เพื่อกันไม่ให้ถ่ายภาพเหตุการณ์ และใช้มือปิดปากจนได้รับบาดเจ็บตามร่างกาย เธอถูกควบคุมตัวไปที่ สภ.บ้านโป่ง และถูกแจ้งข้อกล่าวหาไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงานฯ, ส่งเสียงดังอื้ออึงในที่สาธารณะ และต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าพนักงานฯ ต่อมา ตำรวจให้ประกันชั้นสอบสวนด้วยหลักทรัพย์ 10,000 บาท

ม็อบสหพันธ์เกษตรกรฯ เดินขบวนจากหน้ากระทรวงเกษตรฯ มุ่งหน้าไปยังทำเนียบรัฐบาล เพื่อยื่นหนังสือให้กับนายกรัฐมนตรี เรียกร้องให้ช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรที่ประสบปัญหาในเรื่องต่างๆของกองทุนฟื้นฟู ภายหลัง คณะรัฐมนตรีมีมติปรับโครงสร้างหนี้เกษตรกร 50,000 คน และจะดำเนินการช่วยเหลือเกษตรกรทั่วประเทศต่อไป พนักงานบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC รวมตัวกันยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลชำระหนี้ที่ติดค้างบริษัทอยู่เป็นจำนวนกว่า 50,000 ล้านบาท

assetasset

ภาพ กันต์ แสงทอง

เนื่องจากวันที่ 8 มีนาคม เป็นวันสตรีสากล จึงมีการชุมนุมประเด็นสิทธิสตรีในวันดังกล่าวอย่างน้อย 2 ครั้ง ได้แก่ เครือข่ายภาคประชาสังคมเพื่อความเสมอภาคทางเพศ จังหวัดเชียงใหม่ ได้จัดกิจกรรมลุกขึ้นเพื่อเสรีภาพและความเป็นธรรม โดยเดินขบวนจากพุทธสถานไปจนถึงประตูท่าแพ และมีเวทีเสวนาเพื่อสนับสนุนสิทธิเสรีภาพของสตรี เครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน ได้จัดกิจกรรมแรงงานรวมพล วันสตรีสากล 66 โดยเป็นการปราศรัยและอ่านแถลงการณ์สื่อสารนโยบายแรงงาน-สวัสดิการ ถึงทุกพรรคการเมืองก่อนเลือกตั้ง และมีกิจกรรมยืน หยุด ขัง 112 วินาทีด้วย ระหว่างการชุมนุม มีเจ้าหน้าที่ตำรวจนครบาลชุดกากี และตำรวจหญิงตั้งแถวล้อมรอบ ไม่ต่ำกว่า 20 คน

asset

ภาพ Faozee

ในเดือนนี้ มีการชุมนุมประเด็นที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง อย่างน้อย 2 ครั้ง ได้แก่ กลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ได้จัดกิจกรรม ยุบสภาล้างจังไร ไล่เผด็จการ โดยมีการนัดหมายประชาชนมาร่วมกันทำความสะอาดรัฐสภาจากการแปดเปื้อนของเผด็จการก่อนเลือกตั้ง ขณะที่ตัวแทนกำลังประกาศเหตุผลของการทำกิจกรรม มีตำรวจในเครื่องแบบจำนวน 6 นาย เข้ามาแทรกเข้ามาบริเวณป้ายอาคารรัฐสภาและห้ามไม่ให้ใช้อุปกรณ์ทำความสะอาดจนประชาชนที่มาร่วมกิจกรรมตะโกนขับไล่ตำรวจออกไป นักกิจกรรมกลุ่มราษฎรและเครือข่าย จัดกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์และอ่านแถลงการณ์ต่อการยุบสภาและการเลือกตั้ง และเปิดตัวแคมเปญโหวตเพื่อเปลี่ยน สำหรับการเลือกตั้ง 2566 บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เพื่อแสดงจุดยืนและข้อเรียกร้องทางการเมือง

นอกจากนี้ ยังมีการชุมนุมเรียกร้องให้มีการแก้ไขกฎหมาย อย่างน้อย 1 ครั้ง ได้แก่ ม็อบรถตู้โดยสาร จัดโดยสมาคมธุรกิจรถตู้โดยสารทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด ได้รวมตัวกันยื่นหนังสือที่กระทรวงคมนาคม และทำเนียบรัฐบาล เพื่อเรียกร้องให้แก้ไขกฎเกณฑ์ที่เป็นปัญหาต่อการเดินรถตู้โดยสารที่สะสมเป็นเวลานาน เช่น การจำกัดอายุการใช้งานรถตู้ และมีการชุมนุมในประเด็นสิ่งแวดล้อม อย่างน้อย 1 ครั้ง ได้แก่ ชาวบ้านสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้จัดพิธีสืบชะตาแม่น้ำสาละวิน ในวันหยุดเขื่อนโลก โดยมีพิธีกรรมและวงเสวนา เพื่อแสดงถึงจุดยืนว่าไม่เห็นด้วยต่อนโยบายการสร้างเขื่อนของรัฐ

2.4 สถานการณ์การแสดงออกและการชุมนุมเดือนเมษายน

ในเดือนเมษายนนี้ มีการชุมนุมเกิดขึ้นอย่างน้อย 33 ครั้ง โดยลดลงจากเดือนมีนาคม อย่างน้อย 10 ครั้ง เนื่องจากเป็นช่วงใกล้เลือกตั้ง พรรคการเมืองต่างๆ จึงลงพื้นที่หาเสียงทั่วประเทศอย่างคึกคัก ทำให้ความเข้มข้นในการจัดกิจกรรมชุมนุมลดลง ประเด็นที่มีการชุมนุมมากที่สุด ยังคงเป็นประเด็นเรียกร้องสิทธิในการประกันตัว โดยมีการชุมนุมในประเด็นดังกล่าว อย่างน้อย 29 ครั้ง เป็นกิจกรรมยืนหยุดขัง บริเวณหน้าศาลฎีกา กรุงเทพฯ อย่างน้อย 16 ครั้ง

asset

ภาพ ไข่แมวชีส

จากกรณี หยก ธนลภย์ (สงวนนามสกุล) เด็กอายุ 15 ปี ผู้ถูกดำเนินคดีด้วยมาตรา 112 ที่อายุน้อยที่สุด เธอถูกควบคุมตัวที่บ้านปราณี จ.นครปฐม ทำให้หยกเสียโอกาสด้านการศึกษา และเธออาจจะหมดสิทธิเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หากไม่ได้ไปรายงานตัวเข้าเรียนในวันเปิดภาคเรียน ด้วยเหตุนี้ ทำให้มีกลุ่มนักเคลื่อนไหวร่วมกันจัดกิจกรรมเพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวหยกและผู้ต้องขังทางการเมืองอย่างน้อย 12 ครั้ง

asset

นอกจากนี้มีกิจกรรมแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ อย่างน้อย 8 ครั้ง นำโดยกลุ่มเพื่อนหยก เช่น ทานตะวัน ตัวตุลานนท์, อรวรรณ ภู่พงษ์, โสภณ สุรฤทธิ์ธำรง, สายน้ำ (สงวนชื่อนามสกุล) และอันนา (สงวนชื่อนามสกุล) ได้แก่ การชูป้าย “มีเยาวชน 15 ติดคุกเพราะมาตรา 112”ที่บริเวณอาคารกีฬาเวสน์ 2 สนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง ซึ่งเป็นสถานที่เปิดรับสมัคร ส.ส. กรุงเทพฯ ทั้ง 33 เขตซึ่งในงานมีเจ้าหน้าที่ตำรวจคอยรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด 1 ครั้ง กลุ่มนักกิจกรรมนำโดย อันนา ได้จัดกิจกรรมแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ Performance Art และแจกใบปลิว "ปล่อยหยก" เพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวหยกและอธิบายข้อมูลการดำเนินคดี ม.112 บริเวณสยามสแควร์ ทั้งนี้ ยังมีการจัดกิจกรรมแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ Performance Art “ขอใฝ่ฝัน ในฝันอันวาดได้” และเชิญชวนให้ประชาชนร่วมวาดรูปให้กำลังใจหยก บริเวณสยามสแควร์เช่นกัน ทั้งสองกิจกรรมนี้ได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นจำนวนมาก ทานตะวัน และโสภณ ได้เดินทางไปแจกใบปลิวเกี่ยวกับหยก บริเวณย่านดิโอลด์สยาม ถนนตรีเพชร เขตพระนคร กรุงเทพฯ แต่ไม่สามารถเดินทางเข้าไปในพื้นที่ได้เนื่องจากถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจตั้งแนวสกัดรวมถึงมีกลุ่มปกป้องสถาบัน อาทิ กลุ่ม ศปปส. อยู่ในพื้นที่ ทั้งสองกลุ่มมีปากเสียงกันเป็นระยะ จนเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องตั้งแนวเสริมกำลังเพื่อรักษาความปลอดภัย มีการทำโพลสำรวจความคิดเห็นประชาชน ในหัวข้อ "คุณคิดว่าเด็ก 15 ควรได้มางานหนังสือหรือ ติดคุก เพราะ ม.112" ที่งานหนังสือ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิต์ นักกิจกรรมหลายกลุ่ม นำโดยโสภณ ได้จัดกิจกรรมแจกใบปลิว และตะโกนตามหาความรับผิดชอบจากอัยการสูงสุดที่ปล่อยให้มีผู้ถูกดำเนินคดีทางการเมืองจำนวนมากบริเวณ BTS อนุสาวรีย์ชัยฯ นอกจากนี้ ยังมีป้ายที่พูดถึงหยก และโปสเตอร์ ”สงกรานต์นี้มีคนไม่ได้กลับบ้าน” ที่สื่อถึงเพื่อนที่ยังถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำ ทานตะวัน และ อรวรรณ ได้จัดกิจกรรมแจกจดหมายของหยก ซึ่งเป็นจดหมายที่หยกเขียนเองจากสถานพินิจ และแถลงข่าวข้อเท็จจริงในคดี บริเวณศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง กลุ่มราษฎร 888 ได้ร่วมกันไปผูกโบว์เขียวให้กำลังใจหยก ที่สถานพินิจบ้านปราณี จ.นครปฐมและยังมีการสอบถามพรรคการเมืองเกี่ยวกับการปล่อยตัวหยกอย่างน้อย 3 ครั้ง ได้แก่ กลุ่มนักกิจกรรม นำโดย ทานตะวัน และ อรวรรณ ได้เดินทางไปทำกิจกรรมในงานปราศรัยใหญ่ของพรรคพลังประชารัฐ และขอพบรัฐมนตรีกระทรวงดิจิตอลฯ เพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวผู้ต้องขังทางการเมือง ทำให้เกิดเหตุปะทะกันระหว่างนักกิจกรรม เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของงาน และผู้มาฟังปราศรัย โดยนักกิจกรรมคนหนึ่งถูกกลุ่มวัยรุ่นรุมทำร้าย นักกิจกรรมคนดังกล่าวถูกส่งตัวไปโรงพยาบาลศิริราชหลังเกิดเหตุ และเข้าแจ้งความที่ สน.บางยี่ขันในเวลาต่อมา หลังจบงานเสวนาเรื่องการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นักกิจกรรมได้สอบถามตัวแทนพรรคการเมืองในประเด็นของหยกและผู้ต้องขังทางการเมืองคนอื่นเรื่องสิทธิประกันตัว และยังมีการสอบถามตัวแทนนักการเมืองในประเด็นดังกล่าวอีก ที่เวทีดีเบตนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน ของแอมเนสตี้ ณ ลานคนเมือง กรุงเทพฯ

นอกจากนี้ กลุ่มมวลชนอิสระ จัดกิจกรรม “คำสั่งจากกำแพงวัง เสียงดังที่โลกต้องได้ยิน” และยื่นหนังสือถึงผู้แทนองค์การสหประชาชาติ (UN) ประจำประเทศไทย กรณีของหยก และ 'หิน' (นามสมมติ) เยาวชนอายุ 19 ปี ซึ่งปัจจุบันทั้งคู่ถูกควบคุมตัวอยู่ในสถานพินิจ ในวันเดียวกัน ยังมีการเปิดเผยภาพการจับกุม ซึ่งไม่ชอบด้วยกฎหมายของรัฐไทยที่ปฏิบัติกับเยาวชนทั้ง 2 คนด้วย

ประเด็นที่มีการจัดกิจกรรมรองลงมา ได้แก่ ประเด็นเรื่องการเลือกตั้ง เครือข่ายกลุ่มราษฎร “โหวตเพื่อเปลี่ยน” ได้เดินทางไปยังสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เพื่อยื่นหนังสือร้องเรียนให้คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดการเลือกตั้งให้โปร่งใสและตรวจสอบได้ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนฯ ได้จัดเวทีนำเสนอนโยบายยุติการดำเนินคดีทางการเมือง ซึ่งพรรคเพื่อไทย, ก้าวไกล, และสามัญชน ล้วนเห็นด้วยกับข้อเสนอว่าการนิรโทษกรรมคดีทางการเมืองต้องย้อนถึงปี 2549 เป็นอย่างน้อย

ในเดือนนี้ มีกิจกรรมรำลึกถึงบุคคลที่เสียชีวิตหรือสูญหายจากเหตุการณ์ทางการเมือง อย่างน้อย 2 ครั้ง คณะประชาชนทวงความยุติธรรม 2553 ได้จัดงานรำลึก “13 ปีเมษา พฤษภา 53” เนื่องในวาระครบรอบ 13 ปี เหตุการณ์สลายการชุมนุมแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ โดยมีพิธีสงฆ์ เพื่ออุทิศบุญส่วนกุศลให้กับวีรชนที่เสียชีวิต และมีการวางพวงหรีดจากองค์กร พรรคการเมือง กลุ่มนักกิจกรรมต่างๆ กลุ่มมวลชนอิสระ ใส่ชุดนักโทษขึ้น BTS แสดงออกเชิงสัญลักษณ์ เรียกร้องปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม เนื่องในโอกาสครบรอบ 9 ปี ที่บิลลี่ พอละจี หายตัวไป

2.5 สถานการณ์การแสดงออกและการชุมนุมเดือนพฤษภาคม

ในเดือนพฤษภาคมนี้ มีการชุมนุมเกิดขึ้นอย่างน้อย 41 ครั้ง เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน อย่างน้อย 9 ครั้ง แม้การเลือกตั้งจะผ่านพ้นไปแล้ว แต่การที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ยังไม่รับรองผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ ทำให้มีการชุมนุมในประเด็นนี้อยู่ อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่มีการชุมนุมมากที่สุด ยังคงเป็นประเด็นเรียกร้องสิทธิในการประกันตัว โดยมีการชุมนุมในประเด็นดังกล่าว อย่างน้อย 27 ครั้ง เป็นกิจกรรมยืนหยุดขัง บริเวณหน้าศาลฎีกา กรุงเทพฯ อย่างน้อย 23 ครั้ง และยืนหยุดทรราช บริเวณท่าแพ จ.เชียงใหม่ อย่างน้อย 1 ครั้ง

จากกรณี หยก ธนลภย์ (สงวนนามสกุล) เด็กอายุ 15 ปี ผู้ถูกดำเนินคดีด้วยมาตรา 112 ที่อายุน้อยที่สุด เธอถูกควบคุมตัวที่บ้านปราณี จ.นครปฐม ตั้งแต่วันที่ 29 มี.ค. 2566 ก่อนที่หยกจะได้รับการปล่อยตัวในวันที่ 18 พ.ค. 2566 จึงมีกลุ่มนักเคลื่อนไหวร่วมกันจัดกิจกรรมเพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวหยกอย่างน้อย 3ครั้ง เป็นกิจกรรม “เดินเพื่อเพื่อน” ของกลุ่มโมกหลวงริมน้ำ ซึ่งเป็นการเดินทางจากศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง โดยมีการปราศรัยเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมที่จุดพักต่างๆระหว่างทางไปบ้านปรานี จ.นครปฐม รวมถึงมีการยื่นรายชื่อของประชาชนกว่า 5,000 รายชื่อที่ศาลเยาวชนและครอบครัวกลางด้วย นักกิจกรรมอิสระ เช่น ทานตะวัน ตัวตุลานนท์, แบม อรวรรณ และสายน้ำ ร่วมกันจัดกิจกรรม “ใครใคร่สาด สาด ใครใคร่ด่า ด่า #saveหยก” ที่ สน.สำราญราษฎร์ จุดประสงค์เพื่อสอบถามผู้กำกับของ สน. ดังกล่าว เรื่องการแจ้งข้อหาเพิ่มขณะหยกยังถูกควบคุมตัวอยู่ ซึ่งกิจกรรมนี้มีการปะทะกันระหว่างตำรวจกับผู้ชุมนุม ตำรวจได้ใช้ความรุนแรงในการจับกุมตัวนักกิจกรรมทั้ง 9 คน ก่อนแจ้งข้อกล่าวหาภายหลัง กลุ่มเกียมพัฒนาประชาธิปไตย จัดกิจกรรม “ยืนหยุดขัง #saveหยก” เป็นเวลา 112 นาที เพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวหยกออกมาเรียนหนังสือ บริเวณหน้าโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ซึ่งเป็นโรงเรียนของหยกเอง ปรากฏว่า หลังจัดกิจกรรม มีรายงานว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 2 คน ถูกครูเรียกไปพบเพื่อตักเตือนด้วย

หลังการเลือกตั้ง สิ่งที่สังคมจับตามองอย่างยิ่งก็คือการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ และการโหวตนายกรัฐมนตรี ซึ่งการโหวตนายกรัฐมนตรีนั้น หากไม่สามารถรวบรวมเสียง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสภาให้มากกว่า 375 เสียง ก็จำเป็นต้องได้เสียงจากสมาชิกวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2560 ทำให้ ประเด็นเกี่ยวกับการเลือกตั้ง มีการชุมนุมรองลงมา อย่างน้อย 5 ครั้ง ซึ่งเป็นการเรียกร้องให้ ส.ว. เคารพเสียงของประชาชน ด้วยการโหวตนายกรัฐมนตรีที่มาจากพรรคเสียงข้างมากทั้งหมด ได้แก่ ประชาชนจังหวัดลำปาง จัดกิจกรรมแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ขานชื่อ ส.ว. 250 คน พร้อมจุดเทียน โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมประมาณ 20 คน เครือข่ายผู้รักประชาธิปไตยแพร่ จัดกิจกรรมแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ เพื่อถามถึงการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีของ ส.ว. ชมรมประชาธิปไตย สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นัดหมายแสดงสัญลักษณ์ “ส.ว.ต้องเคารพเจตนารมณ์ของประชาชน” และเปิดโหวตเสียงประชาชน “ส.ว.ควรเคารพเสียงประชาชน โดยโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีตามเสียงข้างมากของส.ส.”คณะราษฎรล้านนาและสามัญชนเหนือ จัดกิจกรรมคาราวานร่างรัฐธรรมนูญในฝัน “คนเชียงใหม่อยากฝากอะไรถึงส.ว.” ภายในงานมีการทำพิธีจุดธูปสาบแช่งตามวัฒนธรรมล้านนา และมีกิจกรรมการเขียนป้ายเพื่อส่งข้อความถึง ส.ว. ด้วย

asset

ภาพ Faozee

กลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม จัดกิจกรรม "อย่าให้ใครขโมยความฝันและความหวังของเรา ส.ว.ต้องไม่สวนมติประชาชน" ประกอบด้วยวงเสวนา 2 วง และมีการอ่านจดหมายเปิดผนึก บริเวณหน้ารัฐสภา ซึ่งในเวลาเดียวกัน มีกลุ่มมวลชนอิสระ นำโดยสายน้ำ และอาย มาชูป้ายด่า ส.ว. และคัดค้านมาตรา 112 มีผู้มาร่วมฟังเสวนาบางคนไม่เห็นด้วยกับกิจกรรมดังกล่าว การ์ดของงานจึงขอให้กลุ่มมวลชนยุติกิจกรรม จากนั้นได้มีการโปรยกระดาษที่มีการเรียกร้องให้ ส.ว. เคารพเสียงของประชาชนกันด้วย

ประเด็นต่อมา คือการจัดงานรำลึกถึงเหตุการณ์สำคัญต่างๆ ซึ่งมีการชุมนุมในประเด็นดังกล่าวอย่างน้อย 3 ครั้ง ได้แก่ งานรำลึกครบรอบ 13 ปี เหตุการณ์สลายการชุมนุมคนเสื้อแดง จัดโดยคณะประชาชนทวงความยุติธรรม บริเวณแยกราชประสงค์ ในงานจะมีถวายสังฆทาน และฉายวิดีทัศน์เพื่อสรุปเหตุการณ์ โดยมีพิธีจุดเทียนรำลึกถึงผู้เสียชีวิตในตอนท้าย มูลนิธิผสานวัฒนธรรม จัดงานรำลึก “4 ปี สยาม ธีรวุฒิ” หนึ่งในผู้ลี้ภัยทางการเมืองถูกบังคับสูญหาย บอกเล่าเส้นทางการต่อสู้เพื่อความยุติธรรมของครอบครัวสยาม และความสำคัญของ พ.ร.บ. ทรมาน-อุ้มหายฯ สหภาพคนทำงาน และประชาชน นำป้ายผ้าขนาดใหญ่ มีข้อความว่า "เอาผิด คสช. 3 ป. ต้องติดคุก" เนื่องในโอกาสวันครบรอบ 9 ปี ทำรัฐประหารโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติมาแขวนที่สกายวอล์คปทุมวัน หน้าศูนย์ศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร

ในส่วนของประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม มีการชุมนุมอย่างน้อย 1 ครั้ง ได้แก่ ประชาชนในพื้นที่ ต.รือเสาะออก อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส รวมตัวแสดงออกคัดค้านการทำเหมืองหินหินแกรนิตในพื้นที่ดังกล่าว ในเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อการขอสัมปทานเหมืองหินแกรนิต เนื่องจากกังวลในเรื่องผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ซึ่งประชาชนที่มาร่วมงานไม่มีใครเห็นด้วย

นอกจากนี้ ยังมีการชุมนุมในประเด็นอื่นๆอย่างน้อย 2 ครั้ง ได้แก่ นักกิจกรรม จ.เชียงใหม่ จำนวน 6 คน ได้เดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหา “ดูหมิ่นศาลรัฐธรรมนูญ” โดยมีตำรวจทั้งในและนอกเครื่องแบบกว่า 30 นายคุมเข้มหน้า สภ. ก่อนจะมีการยึดแย่งป้ายผ้า “ปฏิรูปสถาบันตุลาการ” ที่พวกเขานำมากาง ก่อนเข้ารับทราบข้อกล่าวหา กลุ่มนักกิจกรรมได้จัด Performance Art ทุบศาลพระภูมิ เพื่อเป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ด้วย หน่วยงานเอกชนพร้อมด้วยองค์กรภาคประชาชนและองค์กรเครือข่ายต่างๆ ร่วมกันจัดกิจกรรม “Chiang Mai Pride 2023” โดยมีการจัดขบวนพาเหรดหลากสี เพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศ และมีการจัดฉายหนังกลางแปลงระหว่างการจัดงานด้วย

ในเดือนนี้ กลุ่มศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน (ศปปส.) เป็นตัวหลักในการจัดการชุมนุมอย่างน้อย 3 ครั้ง ได้แก่ จัดกิจกรรม “#save112” ถือแผ่นป้ายรณรงค์คัดค้านการแก้ไข และการยกเลิกมาตรา 112 พร้อมเปิดเพลง เรารักแผ่นดิน ระหว่างเดินขบวน ใน จ.อยุธยา และยังมีการจัดกิจกรรมยื่นหนังสือเพื่อเรียกร้องไม่ให้ประเทศสหรัฐอเมริกาเข้า แทรกแซงกิจการภายในประเทศไทย โดยเฉพาะเรื่องสถาบันกษัตริย์อย่างน้อย 2 ครั้ง บริเวณสถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ในกรุงเทพ และ จ.เชียงใหม่

2.6 สถานการณ์การแสดงออกและการชุมนุมเดือนมิถุนายน

เดือนมิถุนายนนี้ มีการชุมนุมเกิดขึ้นอย่างน้อย 54 ครั้ง เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม อย่างน้อย 13 ครั้ง มีการชุมนุมในประเด็นสิ่งแวดล้อมและสิทธิในที่ดินทำกินมากขึ้น ในส่วนของการเลือกตั้ง ยังคงมีการชุมนุมเพื่อเรียกร้องให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) รับรองผลการเลือกตั้งโดยเร็ว อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่มีการชุมนุมมากที่สุด ยังคงเป็นประเด็นเรียกร้องสิทธิในการประกันตัว โดยมีการชุมนุมในประเด็นดังกล่าว อย่างน้อย 29 ครั้ง เป็นกิจกรรมยืนหยุดขัง บริเวณหน้าศาลฎีกา กรุงเทพฯ โดยกลุ่มพลเมืองโต้กลับ อย่างน้อย 26 ครั้ง และยืนหยุดทรราช บริเวณท่าแพ จ.เชียงใหม่ โดยกลุ่มพลเมืองเสมอกัน อย่างน้อย 3 ครั้ง

ประเด็นที่มีการชุมนุมรองลงมา คือประเด็นสิ่งแวดล้อมและสิทธิในที่ดินทำกิน อย่างน้อย 10 ครั้ง ได้แก่ ชาวบ้านขวัญคีรีนอก จ.ลำปาง พร้อมสมาชิกสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.) เครือข่ายชาติพันธุ์ลำปาง เข้ายื่นหนังสือถึงผู้อำนวยการสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 3 (ลำปาง) ณ ศาลากลาง จ.ลำปาง ปฏิเสธโครงการปลูกป่าทั้งหมดในพื้นที่ เนื่องจากอาจจะส่งผลกระทบต่อวิถีชาติพันธุ์ 1กลุ่มอนุรักษ์น้ำซับคำป่าหลาย ยื่นหนังสือค้านอนุญาตโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานลม ที่ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าดงหมูแปลง 2 ต่อผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร ประชาชนรอบบึงกุดทิง จ.บึงกาฬ รวมตัวกันคัดค้านผลการรับฟังความคิดเห็นร่างแผนการอนุรักษ์และคุ้มครองพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่ากุดทิง เรียกร้องให้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงและเพิกถอนเขตห้ามล่าสัตว์ป่ากุดทิงออกไปจากที่สาธารณะ เครือข่ายประชาชนพิทักษ์เขาเตราะปลิง และพันธมิตร ยื่นหนังสือถึงผู้ว่าฯปัตตานี ขอให้การรับรองเวทีรับฟังความเห็นชุมชนเรื่องขอประทานบัตรเหมืองแร่แกรนิต อ.สายบุรี เป็นโมฆะ เนื่องจากมีความไม่โปร่งใสหลายเรื่อง และเชิญแต่ชาวบ้านที่เห็นด้วยเท่านั้น สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.) ได้ยื่นหนังสือถึง พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ในเวทีพรรคก้าวไกลพบภาคประชาสังคมกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง จ.เชียงใหม่ ยืนยันข้อเสนอจากเครือข่ายที่ดิน-ป่าไม้ชาติพันธุ์ 4 ข้อ และแสดงความกังวลเรื่องนโยบายชาติพันธุ์ 7 ด้านของพรรคก้าวไกลไม่ปรากฏใน MOU พรรคร่วมรัฐบาล ซึ่งกลุ่ม สกน. ก็ได้จัดงานแถลงการณ์แสดงเจตจำนงเดินหน้าเคลื่อนไหวยืนหยัดสิทธิในที่ดินถิ่นที่อยู่อาศัย ณ พื้นที่ปฏิรูปที่ดินบ้านท่ากอม่วง จ.ลำพูน ประชาชนในพื้นที่ชุมชนวังหีบและเครือข่ายศิลปินปกป้องป่าวังหีบ ได้จัดกิจกรรมงานดนตรีกล่อมไพร "หัวใจรักษ์ป่า ครั้งที่ 2” มีการแสดงดนตรี อ่านบทกวี งานศิลปะ เสวนา อ่านแถลงการณ์ และแสดงออกเชิงสัญลักษณ์เพื่อคัดค้านการสร้างเขื่อนในพื้นที่ กลุ่มผู้คัดค้านการทำเหมือง อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน ได้ประชุมหารือเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและร่วมกันคัดค้านการทำเหมืองในพื้นที่ ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะจัดทำเวทีรับฟังความคิดเห็นของชาวบ้านต่อไป กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดด่านขุนทด รวมตัวกันชุมนุม “หยุดโปแตซดอนหนองโพธิ์ฟื้นฟูที่หนองไทร” เพื่อเรียกร้องให้หน่วยงานรัฐแก้ปัญหาความเดือดร้อนของชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองแร่โปแตซ พร้อมปักหลักชุมนุมหากไม่ได้คำตอบจากผู้ว่าฯ จังหวัดนครราชสีมา ภายหลังผู้ว่าฯ แจ้งจะระงับการดำเนินงานของโครงการก่อน เครือข่ายชาวเล อันดามัน ยื่นหนังสือถึงคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติให้ตรวจสอบการอนุญาตให้เอกชนทำโรงแรมทับพื้นที่เพื่อคุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล และที่อนุรักษ์แหล่งเต่าทะเลวางไข่

asset

ภาพ กันต์ แสงทอง

แม้ว่า กกต. จะมีกำหนดเวลา 60 วัน ในการรับรองผลการเลือกตั้ง แต่การใช้เวลานาน ยิ่งส่งผลต่อความมั่นใจของประชาชน ทำให้เกิดความกังวลว่าจะมีการเตรียมการอื่นใดที่จะทำให้การเลือกตั้งครั้งนี้มีผลเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ จึงทำให้มี การชุมนุมใน ประเด็นเกี่ยวกับการเลือกตั้ง อย่างน้อย 5 ครั้ง ซึ่งเป็นการเรียกร้องให้ กกต. รับรองผลการเลือกตั้งโดยเร็วทั้งหมด ได้แก่ ประชาชนชาวเชียงใหม่ จัดกิจกรรม “ประชาธิปไตยต้องไปต่อ กกต.ต้องรับรองผลการเลือกตั้งทันที” เพื่อเรียกร้องในประเด็นดังกล่าว และเรียกร้องให้หยุดดำเนินการยุบพรรคการเมืองด้วย นักกิจกรรมกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย ยื่นหนังสือถึง กกต. เพื่อเรียกร้องให้รับรองผลการเลือกตั้ง และต้องไม่รับคำร้องเรื่องหุ้นสื่อ iTV ของพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล เนื่องจากไม่มีหลักฐานว่ายังประกอบกิจการสื่ออยู่ ประชาชน และเครือข่ายนักวิชาการ จ.เชียงใหม่ รวมตัวกันยื่นจดหมายเปิดผนึกถึง กกต. หลังครบ 30 วัน นับจากวันเลือกตั้ง แต่ยังไม่รับรองผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการกลุ่มประชาชน รวมตัวกันบริเวณหน้าหอศิลป์ เพื่อทวงผลการเลือกตั้งที่ กกต. ยังไม่รับรอง แม้ว่าการเลือกตั้งจะผ่านพ้นไป 33 วันแล้ว ในประเด็นที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง คณะประชาชนรักในหลวง รวมตัวกันยื่นหนังสือที่รัฐสภา เพื่อให้กำลังใจ ส.ว. ไม่ให้สนับสนุนพรรคการเมืองที่มีนโยบายล้มล้างสถาบัน

วันที่ 24 มิถุนายน 2475 มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย นับจากวันดังนั้นก็เป็นเวลา 91 ปี แล้ว จึงมีการจัดงานรำลึกถึงวันดังกล่าว อย่างน้อย 4 ครั้ง ได้แก่ เครือข่ายประชาชนกลุ่มก่อการล้านนาใหม่ จัดกิจกรรม “แห่ไม้ก้ำประชาธิปไตย ปักหมุดหมายกระจายอำนาจ” มีการนำไม้ค้ำพร้อมป้ายข้อความมาติดตั้งบริเวณกลางลานอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ มีการตีกลองสะบัดชัย, อ่านประกาศคณะราษฎรฉบับที่ 1 ก่อนตัวแทนอ่านประกาศข้อเรียกร้องเพื่อให้เกิดการปกครองที่ดีขึ้น นอกจากกิจกรรมของกลุ่มก่อการล้านนาใหม่แล้ว ยังมีการจัดงานรำลึกในรูปแบบงานเสวนาจาก คณะรณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน หรือ ครช. และเครือข่าย จัดกิจกรรม "มุ่งหน้าธรรมศาสตร์ เฉลิมฉลองวันชาติราษฎร" ที่ลานประติมากรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ พรรคก้าวไกล จัดกิจกรรม "ยุคสมัยใหม่ รัฐธรรมนูญใหม่ 24 มิถุนา รุ่งอรุณแห่งประชาธิปไตยและความหวัง" และกลุ่มโมกหลวงริมน้ำ จัดกิจกรรม “Democuisine เสพความหวังกลืนความจริง” เพื่อร่วมรับประทานอาหารและฟังเสวนาเรื่องการต่อสู้ในเส้นทางประชาธิปไตย

อย่างไรก็ตาม มีการคัดค้านการจัดงาน “แห่ไม้ก้ำประชาธิปไตย ปักหมุดหมายกระจายอำนาจ” อย่างน้อย 2 ครั้ง จาก กลุ่มเครือข่ายคนไทยรักชาติสถาบัน (ภาคเหนือ) ได้เข้ายื่นหนังสือคัดค้านการจัดกิจกรรมให้อธิบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กลุ่มศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน (ศปปส.) ได้เดินขบวนมาแสดงเจตจำนงแสดงความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ บริเวณหน้าโรงแรม iBis Styles ระหว่างจัดเสวนางานดังกล่าว

ในเดือนนี้ กลุ่มประชาชนผู้รักสถาบันได้จัดกิจกรรมอย่างน้อย 4 ครั้ง นอกจากกิจกรรมข้างต้น กลุ่มศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน (ศปปส.) ยังรวมตัวยื่นหนังสือถึงพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เพื่อให้ตรวจสอบงานเสวนาเปิดตัวขบวนการนักศึกษาแห่งชาติ ที่อาจมีกิจกรรมเข้าข่ายความผิดแบ่งแยกดินแดน และฐานกบฏ และยังมีการยื่นหนังสือถึงกองอํานวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) เพื่อแสดงความกังวลว่ามีขบวนการแบ่งแยกดินแดนทำกิจกรรมล้างสมองกระจายตัวตามภูมิภาคต่างๆ และต้องการทราบความชัดเจนว่าจะปกป้อง 3 สถาบันหลักของชาติอย่างไร

asset

ภาพ Faozee

นอกจากนี้ หลายหน่วยงานยังร่วมกันจัดงาน Bangkok Pride 2023 เป็นการเดินขบวนเพื่อเรียกร้องให้ทุกคนมีสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน ในประเด็นสำคัญคือ การรับรองเพศสภาพ, สมรสเท่าเทียม, สิทธิของ Sex Workers และ สวัสดิการถ้วนหน้าสำหรับ LGBTQ+ ในวันเดียวกันนั้น กลุ่มมวลชนอิสระ จัดกิจกรรม “3 ปี เราไม่ลืมวันเฉลิม” เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์การอุ้มหายผู้ลี้ภัยทางการเมือง วันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ และทวงคืนความยุติธรรมให้กับครอบครัวของวันเฉลิม ควบคู่ไปกับการเดินขบวนในงาน Bangkok Pride 2023

2.7 สถานการณ์การแสดงออกและการชุมนุมเดือนกรกฎาคม

asset

ภาพ Faozee

ในช่วงเดือนกรกฎาคม 2566 สถานการณ์ทางการเมืองเริ่มกับมาเข้มข้นอีกครั้ง หลังจากมีพระราชกฤษฎีกาเปิดสมัยประชุมสภาครั้งที่หนึ่งประชุมสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ 26 ปีที่หนึ่ง หลังจากมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา และรัฐสภานัดได้ประชุมเพื่อโหวตนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของประเทศไทยครั้งที่หนึ่ง ในวันที่ 13 กรกฎาคม 2566 ท่ามกลางกระแสข่าวกระแสข่าวต่อการไม่เห็นด้วยจากสมาชิกวุฒิสภาที่จะโหวตนาย พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ จากพรรคก้าวไกลซึ่งเป็นพรรคอันกับหนึ่งที่ชนะการเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งผลโหวตออกมาปรากฎว่าเสียงเห็นชอบไม่เกินกึ่งหนึ่งของสภา หลังจากที่ก่อนหน้านี้ (12 กรกฎาคม 2566) สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อพิจารณาวินิจฉัยสมาชิกภาพของ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคและแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีพรรคก้าวไกล จากเหตุมีชื่อถือครองหุ้นบริษัทไอทีวี จำกัด (มหาชน)

asset

ภาพ Faozee

หลังจากเหตุดังกล่าวเป็นผลให้ อานนท์ นำภา ได้นัดชุมนุมทันทีในช่วงเย็นของวันดังกล่าวที่สกายวอร์คหน้าห้างมาบุญครองเพื่อเรียกรองให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาเลือกนายกรัฐมนตรีตามผลการเลือกตั้งและฉันทามติของประชาชน ภายหลังปรากฎว่าในวันดังกล่าวมีการชุมนุมเกิดขึ้นหลายจุดทั่วประเทศ ตลอดทั้งสัปดาห์จนกระทั้งวันที่ 19 กรกฎาคม 2566 ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ 7 ต่อ 2 เสียงให้รับร้องที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ขอให้วินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 82 ว่าสมาชิกภาพ ส.ส.ของ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคและแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พรรคก้าวไกล สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 101 (6) ประกอบมาตรา 98 (3) หรือไม่ จากเหตุมีชื่อถือครองหุ้นบริษัท ไอทีวี จำกัด มหาชน จำนวน 42,000 หุ้น รวมทั้งคำขอให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้นายพิธา หยุดปฏิบัติหน้าที่ไว้จนกว่าจะมีคำวินิจฉัย

จากการสังเกตการณ์และบันทึกข้อมูลโดย Amnesty International Thailand และ iLaw ผ่านโครงการ Mob Data Thailand ในเดือนกรกฎาคม 2566 สามารถสรุปได้ว่ามีการชุมนุมเกิดขึ้นไม่ต่ำกว่า 73 ครั้งทั่วประเทศ ซึ่งประเด็นในการชุมนุมส่วนใหญ่จะแตกต่างจากเดือนมิถุนายนคือ ประเด็นเรียกร้องให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีตามผลการเลือกตั้งและฉันทามติของประชาชน ประกอบด้วยหลายจังหวัดดังนี้ ในกรุงเทพมหานคร 29 ครั้ง เช่น การนัดชุมของอานนท์ นำภา ที่สกายวอร์คหน้าห้างมาบุญครองก่อนวันเลือกนายกรัฐมนตรีครั้งที่หนึ่ง

asset

ภาพ Faozee

กิจกรรมคาร์ม็อบเอาใบลาออกไปยื่นให้สมาชิดวุฒิสภาที่เป็นผู้นำเหล่าทัพ การนัดชุมนุมของคณะรณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน(ครช.)เพื่อร่วมติดตามการโหวตนายกรัฐมนตรีภายใต้แคมเปญ Respect My Vote บริเวณสวนเฉลิมพระเกียรติเกียกกาย,ชุมนุมใหญ่หน้าลานหอศิลปะและวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร, ชุมนุม 19 กรกฎาคม ณาปนกิจ ส.ว. การชุมนุมของนักศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมขจัด ส.ว.ใจทราม

asset

#ม็อบพร้อมครั้งที่ 1 ภาพ Faozee

asset

#ม็อบพร้อมครั้งที่ 2 ภาพ กันต์ แสงทอง

ม็อบพร้อมครั้งที่หนึ่งและครั้งที่สองที่นัดชุมนุมโดยสมบัติ บุญงามอนงค์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการชุมนุมในประเด็นดังกล่าวในต่างจังหวัด 44 ครั้ง เช่น จังหวัด เชียงใหม่ ขอนแก่น ลำปาง นครราชสีมา อุบลราชธานี สุรินทร์ พิษณุโลก พิจิตร น่าน ศรีศรีสะเกษ อยุธยา อุตรดิตถ์ นครปฐม ลำพูน เชียงราย พะเยา ร้อยเอ็ด ตาก สุราษฎร์ธานี และ นครศรีธรรมราช เป็นต้น รองลงมาคือประเด็นเรียกร้องการคืนสิทธิในการประกันตัว เช่น กิจกรรมยืนหยุดทรราชทุกวันเสาร์ จังหวัดเชียงใหม่ และกิจกรรมยืนหยุดขังครั้งที่ 3 บริเวณหน้าศาลฎีกา จังหวัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งในเดือนนี้เป็นยืนหยุดขังครั้งที่ 3 ครบ 365 วัน ในวันที่ 5 กรกฎาคม 2566 ซึ่งทางกลุ่มได้ประกาศยุติการยืนหยุดขังครั้งที่ 3 ในวันดังกล่าวเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีการชุมนุมในประเด็นสิ่งแวดล้อม ของชาวบ้านรักเขากะลา จังหวัดนครสวรรค์ ออกมาชุมนุมเพื่อ ค้านการทำ EIA โครงการเหมืองแร่ปูน ซึ่งหวั่นกระทบชาวบ้าน-สมดุลระบบนิเวศ และการชุมนุมของเครือข่ายคนฮักทุ่งกุลาจังหวัดร้อยเอ็ด การทำ EIA โรงน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวล การชุมนุมในประเด็นต่างประเทศ ของชาวเมียนมาที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยรวมตัวกันเพื่อเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลเมียนมา ณ องค์การสหประชาชาติ สำนักงานประจำประเทศไทย ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพมหานคร เนื่องจากวันคล้ายวันเกิดมินอ่องลาย และ การชุมนุมของศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน

2.8 สถานการณ์การแสดงออกและการชุมนุมเดือนสิงหาคม

ในช่วงเดือนสิงหาคมสถานการณ์ทางการเมืองยังคงเข้มข้นอย่างต่อเนื่องแต่มีจำนวนการชุมนุมลดลงจากเดือนกรกฎาคม ซึ่งมีชุมนุมรวม อย่างน้อย 15 ครั้งทั่วประเทศ ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในต่างจังหวัดจำนวน 10 ครั้ง เรียงลำดับตามประเด็นได้แก่ ประเด็นเรียกร้องสิทธิในการประกันตัวให้กับนักกิจกรรมทางการเมือง ประกอบด้วย กิจกรรมยืนหยุดทรราชจังหวัดเชียงใหม่ทุกวันเสาร์ของสัปดาห์อย่างน้อย 4 ครั้ง รองลงมาคือประเด็นที่ดินและสิ่งแวดล้อม 2 ครั้ง ประกอบด้วย การชุมนุมของชาวบ้านแม่เสียง หมู่ที่ 7 ตำบลเสริมขวา อำเภอเสริมงามจังหวัดลำปางเพื่อคัดค้านเหมืองแร่แม่เสียง,การชุมนุมของกลุ่มประชาชนสันผีเสื้อ จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อคัดค้าน โครงการสร้าง ‘เล่งเน่ยยี่’ วัดจีนแบบเยาวราช 2และประเด็นอื่น ๆ อย่างน้อย 4 ครั้ง เช่น ประเด็นการตัดเบี้ยผู้สูงอายุ ประเด็นชาติพันธุ์และประเด็นเรียกร้องให้โหวตนายกรัฐมนตรีตามมติของประชาชน ทั้งนี้มีการชุมนุมเกิดขึ้นในกรุงเทพอย่างน้อย 5 ครั้ง จากการที่มีการพยายามโหวตเพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีซึ่งมีพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล และมีกระแสในการจัดตั้งรัฐบาลข้ามขั้ว ทำให้มีการชุมนุมเกิดขึ้น ที่เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว อย่างน้อย 3 ครั้ง

asset

ภาพ Faozee

asset

ภาพ กันต์ แสงทอง

ประกอบด้วย CarMob แห่มาลัยวิวาร์คล้องใจ นำโดยกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม

asset

การชุมนุมที่ใช้ชื่อกิจกรรมว่า ไล่หนูตีงูเห่า...เพื่อนวร๊ากกก จัดโดยกลุ่มโมกหลวงริมน้ำ และกิจกรรมการชุมนุม ส่งไฟให้ทาง จัดโดยกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม นอกจากนี้ยังมีประเด็นอื่นๆ อีกอย่างน้อย 2 ครั้ง เช่น ประเด็นวันครบรอบการเสียชีวิตของเด็กชายวาฤทธิ์จากการถูกยิงด้วยกระสุนจริงในการชุมนุมหน้า สถานีตำรวจดินแดงช่วงปี 2564

asset

ภาพ Chanakarn

และประเด็นต่างประเทศเช่น ประเด็นการจับกุมนักเคลื่อนไหวในประเทศเมียนมา เป็นต้น

2.9 สถานการณ์การแสดงออกและการชุมนุมเดือนกันยายน

ในช่วงเดือนกันยายน แม้ว่าสถานการณ์ทางการเมืองได้มีการเปลี่ยนรัฐบาลจากมติในที่ประชุมรัฐสภา วันที่ 22 สิงหาคม 2566 มีมติ 482 เสียง ต่อ 165 เสียง เห็นชอบให้นายเศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ในจำนวนนี้ เป็นคะแนนจาก สมาชิกวุฒิสภา ถึง 152 เสียง สนันสนุนแคนดิเดตนายกฯ จากพรรคเพื่อไทยด้วย (พท.) และต่อมา ในวันที่ 2 กันยายน 2566 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่พระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี โดยมีการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีแบบผสมขั้วทางการเมือง แต่ทั้งนี้การชุมนุมไม่ได้มีการเพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม ซึ่งมีชุมนุมรวม อย่างน้อย 15 ครั้งทั่วประเทศ แบ่งเป็นกรุงเทพมหานครอย่างน้อย 10 ครั้ง

asset

ประกอบด้วย การชุมนุมเรียกร้องสิทธิการประกันตัวภายใต้ชื่อ กิจกรรมผู้พิพากษาความตาย ที่นัดชุมนุมโดย ทานตะวัน ตัวตุลานนท์ การชุมนุมเรียกร้องให้สานต่อแนวทางการแก้ไขปัญหาชุมชนกะเหรี่ยงบ้านบางกลอย ตามมติของคณะกรรมการอิสระเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหาขุมชนกะเหรี่ยงบางกลอย ของกลุ่มภาคี Save บางกลอย การชุมนุมเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีรับรองร่างพระราชบัญญัติขจัดการเลือกปฏิบัติต่อบุคคล โดยกลุ่มคณะภาคประชาชน การชุมนุมแรงงานเมียนมาในไทยต่อต้านเผด็จการมินอ่องหล่ายนัดหมายชุมนุมโดย Bright Future

asset

ภาพ Chanakarn

การชุมนุมเรียกร้องให้รัฐบาลปฏิบัติตามกฎหมายแรงงาน จัดโดยกลุ่มเครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิมนุษยชน การชุมนุมประเด็นร่างรัฐธรรมนูญของกลุ่มตัวแทนกลุ่มประชาชนร่างรัฐธรรมนูญ การชุมนุมเพื่อยื่นหนังสือถึงกระทรวงยุติธรรม ขอให้ส่งตัว ‘เอกชัย หงส์กังวาน’ ไปรักษาที่ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ ของกลุ่มมวลชนอิสระ การชุมนุมเพื่อยื่นหนังสือถึง 'พรรคเพื่อไทย' เพื่อช่วยเร่งดำเนินการลงทะเบียนไรเดอร์ให้สามารถทำงานได้ถูกกฎหมาย จัดโดยกลุ่มไรเดอร์ "Grab เคลื่อนที่เร็วเราช่วยกัน" และการชุมนุมของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย สองครั้ง คือ ประเด็นเรียกร้องสิทธิในการประกันตัว

2.10 สถานการณ์การแสดงออกและการชุมนุมเดือนตุลาคม

จากการสังเกตการณ์และบันทึกข้อมูลโดย Amnesty International Thailand และ iLaw ผ่านโครงการ Mob Data Thailand ในช่วงเดือนตุลาคม มีการชุมนุมอย่างน้อย 9 ครั้งทั่วประเทศ แต่ถ้าหากนับแยกการปักหลักค้างคืน เป็นวันละครั้ง รวมอย่างน้อย 60 ครั้ง โดยลักษณะการชุมนุมส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก (ต่ำกว่า 100 คน) และปานกลาง (อย่างน้อย 100 คน) แบ่งเป็นประเด็นเรียกร้องสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองอย่างน้อย 3 ครั้ง ได้แก่ การเรียกร้องสิทธิในการประกันตัวให้กับผู้ถูกดำเนินคดีจากการแสดงออกและการชุมนุมทางการเมือง

asset

ภาพ Faozee

ประกอบด้วยปักหลัก แสดงออก เชิงสัญลักษณ์พร้อมผู้ชุมนุมที่หน้าศาลอาญารัชดาของบัสบาส นักกิจกรรมทางการเมือง ตั้งแต่วันที่ 1 – 15 ตุลาคม 2566 การชุมนุมนำโดยกลุ่มทะลุวังทำกิจกรรมแสดงออกเชิงสัญลักษณ์แต่งชุดนักโทษเดินเท้าจาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์ ไปศาลฎีกาในวันที่ 6 ตุลาคม 2566 กิจกรรมยืนหยุดทรราชนำโดยกลุ่ม We, The People ซึ่งจัดเป็นสัปดาห์ที่ 67 ด้วยการยืนเรียกร้องสิทธิ การประกันตัว ที่ลานท่าแพ จังหวัดเชียงใหม่ ในประเด็นเรียกร้องสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม มีการชุมนุมเกิดขึ้นอย่างน้อย 4 ครั้ง ประกอบด้วย การชุมนุมของกลุ่ม สลัม 4 ภาค จัดกิจกรรม “เดินเพื่อบ้าน” เนื่องในวันที่อยู่อาศัยโลก ในลักษณะเคลื่อนขบวนเพื่อเรียกร้องในประเด็นที่อยู่อาศัยต่อหน่วยงานรัฐ ทั้งกรุงเทพมหานคร กระทรวงคมนาคม และทำเนียบรัฐบาล และองค์กรระหว่างประเทศอย่างองค์การสหประชาชาติ

asset

ภาพ Chanakarn

การชุมนุมของกลุ่มพีมูฟ ปักหลักชุมนุมที่ทำเนียบรัฐบาล โดยมีข้อเรียกร้องเชิงนโยบายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม รวมถึงข้อกังวลต่อนโยบายการสนับสนุนคาร์บอนเครดิตของรัฐบาล และการกระจายอำนาจ ตั้งแต่วันที่ 3 - 17 ตุลาคม ซึ่งพีมูฟยุติการชุมนุม หลังจากรัฐบาลรับข้อเสนอในการแก้ไขปัญหาเชิงนโยบาย และแต่งตั้งคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหา ที่เกี่ยวข้อง 7 คณะ เช่น การแก้ปัญหาที่ดินทั้งระบบ ผลกระทบจากการพัฒนาภาครัฐ สวัสดิการโดยรัฐ สิทธิที่อยู่อาศัย ฯลฯ

asset

ภาพ Chanakarn

กลุ่มสมััชชาคนจน ชุมนุมปักหลักที่ทำเนียบรัฐบาล ตั้งแต่วันที่ 8 ตุลาคม เป็นเวลาหนึ่งเดือน หลังจากรัฐบาลตั้ง คณะกรรมการย่อยเพื่อแก้ปัญหา นอกจากนี้ ในประเด็นแรงงาน กลุ่มสหภาพแรงงานเดินขบวนเรียกร้องให้ รัฐบาลดำเนินการลงนามให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 ว่าด้วยเสรีภาพ ในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว และฉบับที่ 98 ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวและการเจรจาต่อรอง ในประเด็นที่เป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์เพื่อสื่อสารความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันต่อประเด็นการละเมิดสิทธิในต่างประเทศเกิดขึ้น 2 ครั้งคือ กลุ่ม Bright Future แรงงานเมียนมาในไทย ชุมนุมหน้าองค์การสหประชาชาติประณามมิน อ่อง หล่าย และชุมนุมต่อต้านการกระทำสงครามของประเทศอิสราเอลซึ่งกระทำต่อชาวปาเลสไตน์ที่บริเวณหน้าสถานทูตอิสราเอล

ในกรณีที่บัสบาสปักหลักทำกิจกรรมเรียกร้องสิทธิประกันตัวที่หน้าศาลอาญาถนนรัชดาภิเษกสำนักข่าวประชาไทและMob Data Thailand รายงานว่าในวันที่15 ตุลาคม2566 ช่วงเวลาประมาณ17.00 น.ที่หน้าศาลอาญาถนนรัชดาภิเษก  บัสบาสปีนขึ้นไปบนป้ายของสำนักงานศาลยุติธรรมศาลอาญาพร้อมกับไลฟ์ลงเพจของตนโดยระบุว่าเหตุที่เขาปีนขึ้นไปเพราะของส่วนตัวถูกขโมยซึ่งเขาทราบภายหลังว่าถูกเทศกิจยึดไปและมีการไปแจ้งความกับตำรวจว่าเขาเป็นคนไร้บ้าน

asset

ต่อมาอานนท์กลิ่นแก้วประธานกลุ่มศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน (ศปปส.) พร้อมชายฉกรรจ์3 คนในจำนวนนี้มีคนถือแท่งเหล็กและขว้างปาขวดน้ำใส่บัสบาสและแสดงท่าทีก้าวร้าวตะโกนโวยวายด่าทอรวมทั้งมีรายงานผู้ร่วมทำกิจกรรมถูกทำร้ายจากการชกที่ใบหน้าจากกลุ่มบุคคลดังกล่าวหลังจากเหตุการณ์ช่วงแรกสงบไปในเวลา18.30 น.กลุ่มศปปส. ได้เดินทางไปที่สน.พหลโยธินและดำเนินการลงบันทึกประจำวันถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยมีการกล่าวว่าที่ออกมาขับไล่บัสบาสครั้งนี้เนื่องจากเห็นเหตุการณ์ตั้งแต่บ่ายแล้วแต่ตำรวจไม่สามารถจัดการบัสบาสลงมาจากป้ายศาลอาญาได้พวกตนจึงต้องออกมาจัดการกันเอง

2.11 สถานการณ์การแสดงออกและการชุมนุมเดือนพฤศจิกายน

ในช่วงเดือนพฤศจิกายน มีการชุมนุมรวมอย่างน้อย 7 ครั้งทั่วประเทศ แต่ถ้าหากนับแยกการปักหลักค้างคืน เป็นวันละครั้ง รวมอย่างน้อย 16 ครั้งโดยการชุมนุมในเดือนนี้มีการชุมนุมในกรุงเทพฯอย่างน้อย 5 ครั้ง เชียงใหม่อย่างน้อย 1 ครั้ง และบึงกาฬอย่างน้อย 1 ครั้ง แบ่งเป็นเรียกร้องสิทธิในประเด็นสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง

asset

ภาพ Chanakarn

ประกอบด้วยยื่นหนังสือให้รัฐบาลเรียกร้องกฏหมายนิรโทษกรรมให้แก่นักโทษการเมือง เพื่อทวงถามหาความยุติธรรม นำโดยกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตยและกลุ่มครณะรณรงค์ยกเลิก 112 ประเด็นแรงงานประกอบด้วยการทวงถามค่ารอบการทำงานที่เป็นธรรม โดยกลุ่มไรเดอร์ ไดรเวอร์ ลาล่ามูฟ ประเด็นผู้หญิงและเด็กประกอบด้วย เรียกร้องต่อภาครัฐเพื่อรับทราบและจัดการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของกลุ่มแรงงานหญิงและเด็ก โดยกลุ่มคนงานหญิงเพื่อความยุติธรรม และเครือข่าย และประเด็นสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมและประเด็นสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วยการเรียกร้องให้สั่งยุติการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างแผนการอนุรักษ์และคุ้มครองพื้นที่ เขตห้ามล่าสัตว์ป่ากุดทิง พ.ศ.2566-2575 โดยชาวบ้านจาก 3 ตำบล อำเภอเมืองบึงกาฬยื่นหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัด การทวงถามคำสั่งแก้ไขปัญหา เนื่องจากรัฐบาลเศรษฐา มีแนวโน้มสูงที่จะบิดพลิ้วและไม่แก้ปัญหา โดยกลุ่มขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (P-move) และการชุมนุมปักหลักเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการช่วยเหลือและแก้ปัญหาของชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากโครงการพัฒนาของรัฐ โดยได้ประกาศการยุติการชุมนุมเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2566 หลังจากได้ข้อสรุปและข้อตกลงร่วมกันกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รวมแล้วปักหลักการชุมนุมทั้งหมด 31 วัน

2.12 สถานการณ์การแสดงออกและการชุมนุมเดือนธันวาคม ( ข้อมูลถึงวันที่ 15 ธันวาคม 2566 )

เดือนธันวาคมถือเป็นเดือนที่มีวันสำคัญต่อบริบททางสังคมอย่างยิ่ง โดยเฉพาะบริบททางการเมือง เช่น วันที่ 10 ธันวาคม 2566 ตรงกับวันสิทธิมนุษยชนสากล และวันรัฐธรรมนูญไทย โดยในปีนี้ นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง แถลงข่าวการจัดงานวันรัฐธรรมนูญ 10 ธันวาคม 2566 นี้ ที่ลานประชาชน ด้านหน้าอาคารรัฐสภา เกียกกาย ซึ่งเป็นการจัดงานเฉลิมฉลองวันรัฐธรรมนูญเป็นครั้งแรกในรอบ 66 ปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2500 ที่เลิกจัดไป โดยการจัดงานในครั้งนี้มีประธานรัฐสภา อดีตประธานรัฐสภา เป็นกรรมการในการจัดงานครั้งนี้ ภายในงานมีภาคประชาสังคมหลายภาคส่วนเข้ามีส่วนร่วม ทั้งนี้ในช่วงเวลา 13.00 มีประชาชนประมาน 8-10 คน แต่งกายด้วยชุดไทย พร้อมแขวนป้ายที่มีข้อความว่า “ไม่แก้หมวด1 หมวด2 ในรัฐธรรมนูญ” และ “สนับสนุน มาตรา 112” เดินวนรอบงาน ซึ่งไม่มีการกระทบกระทั่งจากฝ่ายใด

ในเดือนธันวาคม (ข้อมูลถึงวันที่ 15 ธันวาคม 2566) มีการชุมนุมเกิดขึ้นทั่วประเทศไม่ต่ำกว่า 8 ครั้งทั่วประเทศ ในจำนวนนี้เป็นการชุมนุมในต่างจังหวัด 5 ครั้ง และในกรุงเทพฯ 3 ครั้ง ประเด็นที่มีการชุมนุมมากที่สุดคือประเด็นการเรียกร้องสิทธิในการประกันตัว คือ กิจกรรมยืนหยุดทรราช ที่ ประตูท่าแพเชียงใหม่ 2 ครั้ง นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมร่วมให้กำลังใจครอบครัวนักสู้ทางการเมืองที่ถูกคุมขังและติตามการยื่นหนังสือติดตามขอพักโทษคดีการเมือง ที่กระทรวงยุติธรรม ซึ่งจัดโดยมวลชนอิสระ ภายในกิจกรรมมีการชูป้ายข้อความ "ผู้ต้องขังคดีการเมืองคือมนุษย์ที่มีความฝัน และความปรารถนาให้โลกดีขึ้น เป็นกำลังใจให้ครอบครัวนักสู้คดีการเมือง” และข้อความ “ปล่อยเพื่อนในเรือนจำ”

ประเด็นรองลงมาคือ ประเด็นสิ่งแวดล้อม เช่น เครือข่ายฮักน้ำโขงและภาคประชาชน ร่วมกันจัดกิจกรรม "งานฮอมปอย ศรัทธาแม่น้ำโขง" ณ โฮงเฮียนแม่น้ำโขง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ในวันที่ 9 ธันวาคม 2566 ซึ่งภายในงานมีการเล่าถึงแม่น้ำโขงและการต่อต้านเขื่อนในลุ่มน้ำโขงรวมไปถึงการกล่าวรำลึกถึงนักปกป้องแม่น้ำโขงผู้วายชนม์, ทั้งนี้ทางเครือข่ายดังกล่าวได้มีการจัดกิจกรรมล่องเรือรณรงค์แม่น้ำโขง ในวันที่ 10 ธันวาคม 2566 พร้อมกล่าวคำประกาศแม่น้ำโขง ณ โฮงเฮียนน้ำของ อ.เชียงของ จ.เชียงราย โดยภายในงานมีการล่องเรือพร้อมกับป้ายต่อต้านเขื่อนปากแบง รวมถึงกิจกรรมพายเรือคายัคเก็บขยะจากแม่น้ำโขง เป็นต้น

ทั้งนี้ยังมีประเด็นอื่นๆอีกอย่างน้อย 3 ครั้ง เช่น กิจกรรมในวันที่ 8 ธันวาคม 2566 จักรพันธ์ ศรีวิชัย พร้อมกับประชาชนผู้เข้าร่วมการแสดงสาธิตเส้นทางการเดินรถไฟฟ้าเชียงใหม่สายสีน้ำเงินผ่านการเดินบนถนนด้วยรูปแบบ Performing Art “รถไฟล่องหน” (Invisible Train) ตั้งแต่เวลา 12:00 - 16:00 น. วัตถุประสงค์ของการแสดงสาธิตในครั้งนี้ คือเพื่อต้องการสะท้อนให้เห็นถึงสภาพจริงที่จะเกิดขึ้นหากโครงการรถไฟฟ้าถูกผลักดันให้เกิดขึ้นจริง โดยรายละเอียดของการแสดงสาธิตในครั้งนี้ได้ถอดแบบมาจากโมเดลโครงการรถไฟฟ้าที่ออกแบบโดย สนข.เชียงใหม่ ก่อนที่กิจกรมมสิ้นสุดหลังการแสดงสาธิต Performing Art รถไฟล่องหนสายสีน้ำเงิน มีระยะทางประมาณ 11 กิโลเมตร ประกอบไปด้วย 13 สถานี แต่ละสถานีจะใช้เวลาเดินทางสั้นที่สุดที่ประมาณ 15 นาที นานที่สุดประมาณ 40 นาที , กลุ่มประชาชนร่างรัฐธรรมนูญ หรือ Con for All จัดงาน ‘Con for All ปักธงส่งต่อ สสร. เลือกตั้ง’ในวันที่ 9 ธันวาคม 2566 ณ อนุสรณ์สถาน 14 ตุลาฯ (แยกคอกวัว) เนื่องในวันรัฐธรรมนูญ ภายในงานมีการปราศรัยเสนอข้อเรียกร้องไปยังรัฐบาล และยืนยันแนวทางแก้รัฐธรรมนูญโดย ‘เขียนใหม่ทั้งฉบับ เลือกตั้ง 100% และสุดท้ายคือ การรวมตัวของ สมาพันธ์สมานฉันท์แรงงานไทย (สสรท.) สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) หน้าทำเนียบรัฐบาลในวันที่ 10 ธันวาคม 2566 เพื่อยื่นจดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรี และ รัฐบาล เรียกร้องให้มีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำต้องเป็นธรรม ต้องเลี้ยงคนในครอบครัวได้ตามหลักการสากล ต้องเท่ากันทั้งประเทศ พร้อมกับมาตรการควบคุมราคาสินค้า

3.สถานการณ์การดำเนินคดี

ข้อมูลของศูนทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนระบุว่าตั้งแต่เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2563 จนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2566 มีประชาชนที่ถูกดำเนินคดีจากสถานการณ์ชุมนุมและการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ไปแล้วอย่างน้อย 1,935 คน ในจำนวน 1,262 คดี ในจำนวนนี้ เป็นเด็กและเยาวชนที่อายุต่ำกว่า 18 ปี จำนวน 286 ราย ใน 217 คดี ผู้หญิง 448 คน และ LGBTQ+ 68 คน

หากนับจำนวนบุคคลที่ถูกดำเนินคดีซ้ำในหลายคดี โดยไม่หักออก แต่นำจำนวนมาเรียงต่อกันแล้ว จะพบว่ามีจำนวนการถูกดำเนินคดีไปอย่างน้อย 3,939 ครั้ง

สำหรับสถิติการดำเนินคดี แยกตามข้อกล่าวหาสำคัญ ได้แก่

1. ข้อหา “หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 มีผู้ถูกกล่าวหาอย่างน้อย 262 คน ในจำนวน 285 คดี ในจำนวนนี้ เป็นเด็ก 20 คน ใน 23 คดี 2. ข้อหา “ยุยงปลุกปั่น” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 มีผู้ถูกกล่าวหาอย่างน้อย 135 คน ในจำนวน 43 คดี 3. ข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ มีผู้ถูกกล่าวหาอย่างน้อย 1,469 คน ในจำนวน 663 คดี (นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2563 ที่เริ่มมีการดำเนินคดีข้อหานี้ต่อผู้ชุมนุมและทำกิจกรรมทางการเมือง) 4. ข้อหาตาม พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ มีผู้ถูกกล่าวหาอย่างน้อย 179 คน ในจำนวน 91 คดี 5. ข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มีผู้ถูกกล่าวหาอย่างน้อย 195 คน ในจำนวน 213 คดี 6. ข้อหาละเมิดอำนาจศาล อย่างน้อย 42 คน ใน 24 คดี และคดีดูหมิ่นศาล อย่างน้อย 34 คน ใน 10 คดี

จากจำนวนคดี 1,262 คดีดังกล่าว มีจำนวน 463 คดี ที่สิ้นสุดไปแล้ว เท่ากับยังมีคดีอีกกว่า 800 คดี ที่ยังดำเนินอยู่ในกระบวนการชั้นต่าง ๆ

4.สถานการณ์การสิทธิในการประกันตัว

จากการติดตามของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ในปี 2566 ในปีนี้มีผู้ถูกพิพากษาจำคุก 47 คดี ในจำนวนนี้ เป็นเยาวชน 3 คน ปัจจุบัน (ข้อมูลวันที่ 15 ธันวาคม 2566) ยังคงมีผู้ถูกคุมขังในเรือนจำจากการแสดงออกทางการเมือง หรือมีมูลเหตุเกี่ยวข้องกับการเมือง โดยไม่ได้รับการประกันตัวระหว่างการต่อสู้คดี อย่างน้อย 24 คน เป็นคดีตามมาตรา 112 จำนวน 15 คน (เป็นเยาวชน 2 คน ที่ถูกคุมขังตามคำสั่งมาตรการพิเศษแทนการมีคำพิพากษาของศาล)

นอกจากนั้น ยังมีผู้ต้องขังที่คดีถึงที่สุดแล้ว อย่างน้อย 13 คน ได้แก่ อัญชัญ (ม.112 ถูกคุมขัง 19 มกราคม 2564), “มะ” ณัฐชนน (ครอบครองวัตถุระเบิด ถูกคุมขัง 9 สิงหาคม 2565), พลทหาร “เมธิน” (ม.112 ถูกคุมขัง 11 สิงหาคม 2565), กฤษณะ และวรรณภา (คดีสหพันธรัฐไท ข้อหาอั้งยี่ ถูกคุมขัง 30 พฤศจิกายน 2565), “ปริทัศน์” (ม.112 ถูกคุมขัง 12 ตุลาคม 2565) สุวิทย์ (ครอบครองวัตถุระเบิด ถูกคุมขัง 24 เม.ย. 2566), ทัตพงศ์ (ครอบครองและขว้างปาวัตถุระเบิด ถูกคุมขัง 1 มีนาคม 2566), เอกชัย หงส์กังวาน (พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ถูกคุมขัง 6 กันยายน 2566), “วัฒน์” (นามสมมติ) (ม.112 ถูกคุมขัง 17 กรกฎาคม 2566), สุดใจ (ครอบครองวัตถุระเบิด ถูกคุมขัง 12 ตุลาคม 2566), “กิจจา” (ม.112 ถูกคุมขัง 1 พฤศจิกายน 2566) และ “โย่ง” (ม.112 ถูกคุมขัง 1 ธันวาคม 2563)