วันที่: 17/7/2566 ผู้เขียน: mobdatathailand

ประมวลสถานการณ์การชุมนุมและการคุกคาม ประจำเดือนสิงหาคม 2565

description

ตามทีรัฐบาลยังคงประกาศใช้พระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม - 31 กันยายน 2565 ซึ่งนับเป็นการประกาศใช้เป็นครั้งที่ 19 นอกจากนี้ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคง เรื่อง ห้ามชุมนุม การทำกิจกรรม การมั่วสุมที่ก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื่อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ฉบับที่ 15 (ประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบฯ ฉบับที่ 15) ซึ่งในประกาศได้ระบุถึงการห้ามชุมนุมและนำหลักเกณฑ์การจัดและการแจ้งการชุมนุมตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 แต่หากมีผู้ฝ่าฝืนก็ให้ใช้บทลงโทษตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯขณะเดียวกันตัวเลขผู้ถูกดำเนินคดีในข้อหาฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องแม้ว่าจะไม่มีการชุมนุมขนาดใหญ่แล้วก็ตาม โดยนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2563 มีผู้ถูกดำเนินคดีด้วยข้อหาดังกล่าวอย่างน้อย 1,467 คน ในจำนวน 647 คดี

#ภาพรวมสถานการณ์การชุม

ตามทีรัฐบาลยังคงประกาศใช้พระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม - 31 กันยายน 2565 ซึ่งนับเป็นการประกาศใช้เป็นครั้งที่ 19 นอกจากนี้ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคง เรื่อง ห้ามชุมนุม การทำกิจกรรม การมั่วสุมที่ก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื่อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ฉบับที่ 15 (ประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบฯ ฉบับที่ 15) ซึ่งในประกาศได้ระบุถึงการห้ามชุมนุมและนำหลักเกณฑ์การจัดและการแจ้งการชุมนุมตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 แต่หากมีผู้ฝ่าฝืนก็ให้ใช้บทลงโทษตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯขณะเดียวกันตัวเลขผู้ถูกดำเนินคดีในข้อหาฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องแม้ว่าจะไม่มีการชุมนุมขนาดใหญ่แล้วก็ตาม โดยนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2563 มีผู้ถูกดำเนินคดีด้วยข้อหาดังกล่าวอย่างน้อย 1,467 คน ในจำนวน 647 คดี

asset

การชุมนุมวันที่ 23 สิงหาคม 2565 โดยกลุ่มสหภาพแรงงานที่ทำเนียบรัฐบาล กรุงเทพฯ เนื่องในโอกาสครบรอบ 8 ปีการดำรงตำแหน่งทางการเมืองของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา

asset

การชุมนุมวันที่ 24 สิงหาคม 2565 ที่ท่าแพ จังหวัด เชียงใหม่ ชุมนุมครบรอบ 8 ปี การดำรงตำแหน่งทางการเมืองของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในเดือนสิงหาคม 2565 การชุมนุมและการแสดงออกเกิดขึ้นทั่วประเทศไม่ต่ำกว่า 83 ครั้ง แบ่งเป็นกิจกรรมการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ เพื่อเรียกร้องคืนสิทธิการประกันตัวของนักกิจกรรมทางการเมืองที่ถูกคุมขังในระหว่างพิจารณาคดีเกิดขึ้นอย่างน้อย 44 ครั้ง โดยวันที่ 27 กรกฎาคม 2565 มีการชุมนุมในรูปแบบยืนหยุดขังดาวกระจายมากกว่า 24 ครั้ง ทั่วประเทศ ขณะที่กลุ่มที่จัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องได้แก่ กลุ่มพลเมืองโต้กลับที่เกิดขึ้นเป็นครั้งที่ 108 และ กลุ่ม We, The People ที่จัดขึ้นเป็นสัปดาห์ที่ 18 ที่ท่าแพ จังหวัดเชียงใหม่ นอกจากนี้ยังมีอีกหลายพื้นที่ที่ทำกิจกรรมในลักษณะเดียวกันเช่น ยืนหยุดขังอุบลราชธานี ที่หน้ามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ยืน หยุด ขัง นครปฐมที่มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยกิจกรรมดังกล่าวแปรผันตรงกับ สถานการณ์การคุมขังนักกิจกรรมทางการเมืองและสถานการณ์ในเรือนจำเข้มข้นต่อเนื่อง เนื่องจากระหว่างต่อสู้คดีทางการเมืองทั้งสิ้น 29 คน

นอกจากนี้ การชุมนุมยังมีการเรียกร้องในประเด็นอื่นๆ ได่แก่

เรียกร้องให้รัฐบาลลาออกอย่างน้อย 21 ครั้ง สืบเนื่องมาจากกระแสการดำรงตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ครบ 8 ปี ที่รัฐธรรมนูญนับตั้งแต่รัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 และ ฉบับปี 2560 ระบุว่านายกรัฐมนตรีไม่สามารถอยู่ในตำแหน่งได้ 8 ปี ติดต่อกัน หากนับจากการทำรัฐประหาร และขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 24 สิงหาคม 2557 ซึ่งจะครบวาระในวันที่ 24 สิงหาคม ภาคประชาชนในหลายภูมิภาคออกมาแสดงออกและชุมนุมเพื่อกดดันสอดคล้องกับประเด็นทางการเมืองดังกล่าว โดยในวันที่ 24 สิงหาคม 2565 มีการชุมนุมทั่วประเทศไม่ต่ำกว่า 14 ครั้งที่เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีออกจากตำแหน่ง เช่น ในพื้นที่การศึกษา อาทิ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ จัดกิจกรรมทำโพลสอบถามความคิดเห็น “แปดปีพอแล้วหรือยัง” หรือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นักศึกษาจัดเวทีปราศรัยเนื่องในโอกาส 24 ส.ค. 2565 ประยุทธ์ครบ 8 ปี เป็นต้น ในภูมิภาคอื่น เช่นที่ลำปาง เชียงใหม่ เชียงราย ขอนแก่น และ อุดรธานี

ส่วนความเคลื่อนไหวในส่วนของการเมือง ส.ส. พรรคร่วมฝ่ายค้านเข้าชื่อยื่นต่อนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่ขอให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยวาระการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 8 ปี ของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาว่า สิ้นสุดในวันที่ 23 สิงหาคมนี้หรือไม่ ต่อมาวันที่ 24 สิงหาคม 2565 ศาลรัฐธรรมนูญมีมติรับคำร้องของ ส.ส. ฝ่ายค้าน ที่ขอให้วินิจฉัยวาระการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไว้พิจารณา และมีคำสั่งให้นายกฯ หยุดปฏิบัติหน้าที่ เป็นผลให้ พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ ขึ้นรักษาการนายกฯ และในวันที่ 30 กันยายน 2565 ศาลรัฐธรรมนูญนัดอ่านวินิจฉัยคดี

assetasset

นอกจากนี้ วันที่ 10 สิงหาคม 2565 แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม จัดการชุมนุมใหญ่ที่ลานพญานาค มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในหัวข้อ 10 สิงหาประชาธิปไตยต้องไปต่อ  (opens new window)เนื้อหาชูการเลือกตั้งปี 2566 โดยมีผู้เข้าร่วมไม่ต่ำกว่า 1,200 คน สำหรับการชุมนุมครั้งนี้มีการแสดงออกทั้งโดยตรงและเสียดสีด้วยวิธีการต่างๆเช่น ป้ายผ้าที่เขียนข้อความต่างๆ และเช่นเคยที่มีการปราศรัยจากตัวแทนนักกิจกรรมในประเด็นต่างๆ ไม่ว่าจะเรื่องการบังคับใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ, การบังคับใช้มาตรา 112 และการเลือกตั้งในปี 2566

assetasset

ชุมนุมเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2565 สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ เรียกร้องรัฐแก้ไขปัญหาที่ดิน ป่าไม้ ที่โรงแรมเลอ เมอริเดียน เชียงใหม่

ประเด็นเรื่องเศรษฐกิจ ที่ดิน และชนเผ่าพื้นเมือง อย่างน้อย 10 ครั้ง เช่น ในวันที่ 23-24 สิงหาคม 2565 สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ หรือ สกน. เครือข่ายประชาชนกลุ่มเกษตรกรและกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ได้รับผลกระทบจากกฎหมาย นัดหมายชุมนุมที่โรงแรมเลอ เมอริเดียน เชียงใหม่  (opens new window)โดยเรียกร้องข้อเสนอ 7 ข้อเรียกร้องแก้ปัญหาที่ดิน-ป่าไม้ ถึง วราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้นำเข้าที่ประชุมรัฐมนตรีเอเปคด้านป่าไม้ ครั้งที่ 5 ซึ่งจัดการประชุมในระหว่างวันที่ 23-25 ส.ค. นี้ ในวันที่ 24 สิงหาคม 2565 ระหว่างทางการเดินเพื่อไปตั้งขบวนคู่ขนาน เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ปิดถนนและตั้งแนวแผงเหล็กเพื่อไม่ให้ผู้ชุมนุมเข้าไปในพื้นที่บริเวณหน้าโรงแรม ผู้ชุมนุมพยายามฝ่าแนวกั้นรั้วเหล็กที่เจ้าหน้าที่เอามากั้นไว้ แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ยินยอม จึงเกิดกันปะทะกันเล็กน้อยระหว่างเจ้าหน้าที่และผู้ชุมนุม

asset

การชุมนุมเมื่อวันที่ 8 สิงหาคมที่ประตูท่าแพ จังหวัดเชียงใหม่ จัดกิจกรรมรำลึกเหตุการณ์ 888 ซึ่งครบ 34 ปี เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1988 ได้เกิดเหตุการณ์ลุกฮือ ต่อต้านรัฐบาลทหาร ประชาชนได้ลุกขึ้นมาต่อต้านรัฐบาลเนวิน โดยการเดินขบวน ขับไล่รัฐบาลดังกล่าว ทหารสังหารประชาขนอย่างโหดร้าย จับกุมนักศึกษาและประชาชาเป็นจำนวนมาก

และประเด็นอื่นๆ รวมกันอย่างน้อย 8 ครั้ง สืบเนื่องจากเหตุการณ์สำคัญทางการเมืองทั้งในและนอกประเทศ เช่น วันที่ 8 สิงหาคม 2565 ที่ท่าแพจังหวัด เชียงใหม่ มีการจัดกิจกรรมร่วมรำลึกประวัติศาสตร์การปฏิวัติเมียนมาร์ ครบรอบ 34 ปี เหตุการณ์ 8888 วันที่ 16 สิงหาคม 2565 ที่บริเวณหน้าสน.ดินแดง มีกิจกรรมรำลึกถึงน้องวาฤทธิ์ ครบรอบ 1 ปี วันที่เกิดเหตุผู้เสียชีวิตจากการโดนยิงในพื้นที่การชุมนุม

ถึงแม้การชุมนุมขนาดใหญ่จะยังไม่มีแนวโน้มที่จะกลับมาอีกครั้ง แต่การชุมนุมขับเคลื่อนประเด็นสิทธิยังคงดำรงต่อเนื่อง ผู้ที่ออกมาชุมนุมเคลื่อนไหวถูกดำเนินคดีโดยเฉพาะกลุ่มที่มีความคิดเห็นทางการเมืองแตกต่างจากรัฐบาล อย่างไรก็ตามสถานการณ์การเมืองในเดือนกันยายนยังน่าจับตามอง เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญมีกำหนดวินิจฉัยเรื่องการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 8 ปี ของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา

#อัพเดทสถานการณ์คุกคามประชาชน เดือนสิงหาคม

ในเดือนสิงหาคมนี้ มีรายงานการคุกคามมากขึ้น ซึ่งส่วนมากยังเป็นการคุกคามจากเจ้าหน้าที่รัฐ นอกจากนี้ ยังมีการคุกคามเด็กและเยาวชนอย่างน้อย 3 ราย รวมถึงมีการขัดขวางการแสดงออกทางการเมืองในสถานศึกษาด้วย โดยแบ่งตามสาเหตุการคุกคามได้ดังนี้

การคุกคามเนื่องจากมีบุคคลสำคัญลงพื้นที่

เพจตามปุยดู รายงานว่า กลุ่มผู้เคยไปชุมนุมทะลุแก๊ส ถูกตำรวจที่จังหวัดกาญจนบุรีตั้งด่านสกัด และถูกคุมตัวมาที่ สภ.กาญจนบุรี โดยไม่มีหมายจับใด คาดว่าเกี่ยวเนื่องกับการที่ พล.อ.ประยุทธ์ เดินทางไปลงพื้นที่จ.กาญจนบุรีในวันนี้ ทั้งที่ทั้งหมดยังไม่ได้มีแผนว่าจะจัดกิจกรรมใด

การคุกคามขณะทำกิจกรรมทางการเมือง

กลุ่มเครือข่ายเกษตรกรภาคเหนือ นัดหมายชุมนุมผู้ได้รับผลกระทบจากนโยบายป่าไม้-ที่ดิน จ.เชียงใหม่ มีรายงานว่าตำรวจพยายามเจรจาไม่ให้มีการเคลื่อนขบวนไปที่โรงแรมเลอเมอริเดียน ซึ่งเป็นสถานที่จัดประชุม โดยอ้างเหตุภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยว นอกจากนี้ ตำรวจยังมีความพยายามที่จะควบคุมตัวผู้ชุมนุม 3 คน ก่อนที่จะได้รับการปล่อยตัวออกมา อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยขอนแก่น กลุ่มผู้ชุมนุมจำนวนหนึ่ง ร่วมแถลงกรณีศาลรัฐธรรมนูญมีมติให้ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยุติการทำงานและรับวินิจฉัยกรณีเป็นนายกฯ ครบ 8 ปี โดยมีตำรวจเข้ามาดูป้ายที่เกี่ยวข้องกับสถาบันฯ ก่อนถูกกันออกไปเพราะป้ายดังกล่าว โดยที่ตำรวจก็บอกไม่ได้ว่าป้ายนั้นผิดกฎหมายข้อไหน ศิลปินกลุ่มแพะในกุโบร์ 3 คน ถูกตำรวจสายสืบจาก สน.บางซื่อ ควบคุมตัวไปทำประวัติและลงบันทึกประจำวัน จากเหตุติดสติกเกอร์ภาพงานศิลปะ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จำนวน 40 แผ่น พร้อมมีข้อความประกอบภาพว่า “หมดเวลา 8 ปี นายกเถื่อน” ก่อนจะปล่อยตัวทั้งหมด และแจ้งให้ไปชำระค่าปรับคนละ 1,000 บาทภายหลัง

ในส่วนของการคุกคามเยาวชน อันนาและพิ้งค์ นักกิจกรรมเยาวชน ได้เดินทางเข้าร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์ และทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ จำนวน 101 รูป เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแก่พระพันปีหลวง ในงานนั้น อันนาขอเข้าพื้นที่เพื่อร่วมทำบุญกับรัฐบาล แต่ตำรวจไม่ยอมให้เข้า แจ้งว่าเป็นกิจกรรมเฉพาะ VIP และจับตามองการเคลื่อนไหวของทั้งคู่ตลอดเวลา เมื่ออันนาไม่ยอมออกจากพื้นที่ ตำรวจก็ลากเธอไปขึ้นรถตำรวจและพาออกไปจากสนามหลวง อันนาเปิดเผยว่าในระหว่างที่ถูกกันออกจากบริเวณพิธีการ เธอถูกตำรวจยึดโทรศัพท์ไปในขณะที่ไลฟ์สดอยู่ ก่อนจะคืนโทรศัพท์เธอในภายหลังที่ได้ออกจากพื้นที่แล้ว ซึ่งอันนาระบุว่า การยึดโทรศัพท์ของเธอไม่มีหมายค้นและไม่ทราบสาเหตุอีกด้วย ภาคีนักเรียน KKC รายงานว่า โรงเรียนแก่นนครฯ และโรงเรียนขอนแก่นวิทยายน ใน จ.ขอนแก่น มีนักเรียนติดป้ายข้อความว่า #ขออนาคตคือจากรัฐบาลประยุทธ์ และ #ประยุทธ์ออกไป ก่อนถูกโรงเรียนสั่งปลดอย่างรวดเร็ว

การคุกคามโดยไม่ทราบสาเหตุ

ฟ้า อภิชญา สมาชิกเครือข่ายรามคำแหงเพื่อประชาธิปไตย ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.ร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช คุกคามถึงบ้านที่มีผู้สูงอายุอาศัยอยู่ ซึ่งตัวเธอไม่ได้อาศัยอยู่มานานแล้ว โดยทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้พยายามขอเบอร์โทรศัพท์ของฟ้าจากยาย และเมื่อไม่ได้ก็พูดจาข่มขู่ทำนองว่า “หลานจะมีอนาคตไม่ดี” และ “เดี๋ยวจะไม่มีงานทำ” นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ต่อว่ายายของฟ้าด้วยอีกว่า “ไม่สั่งสอนหลาน” รวมทั้งกล่าวหาฟ้ากับยายด้วยว่ามีพฤติกรรมยุ่งเกี่ยวกับเรื่องของสถาบันฯ เยาวชนอายุ 18 ปี ในจังหวัดกระบี่ ถูกตำรวจควบคุมตัวไปพูดคุยที่ศาลากลางกระบี่ เพราะแชร์โพสต์ข้อความเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ โดยไม่มีหมายและไม่มีการแจ้งข้อหาใด เจ้าหน้าที่ระบุว่าเป็นเพียงการพูดคุยตักเตือนเท่านั้น ลูกหนัง (นามสมมติ) ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจสันติบาลจำนวน 4-5 คน ควบคุมตัวไปยังกองบังคับการตำรวจสันติบาล เพื่อให้ลงนามในเอกสารข้อตกลงที่ว่าจะไม่โพสต์หรือแชร์ข้อความวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ในเฟซบุ๊กส่วนตัว ทั้งที่การบันทึกข้อความนั้นไม่ได้เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย เขาถูกควบคุมตัวนานกว่า 7 ชั่วโมง

แนวโน้มการคุกคามเดือนกันยายน

ในเดือนนี้ วันที่ 24 สิงหาคม 2565 ซึ่งเป็นวันที่ประยุทธ์ต้องพ้นจากตำแหน่งตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ เนื่องจากดำรงตำแหน่งครบ 8 ปีแล้ว จึงมีการจัดกิจกรรมทางการเมืองของกลุ่มต่างๆในวันดังกล่าว ซึ่งพบว่ามีรายงานการคุกคามขณะจัดกิจกรรมเหล่านั้นทั่วประเทศ แม้ว่าบางกิจกรรมจะเป็นเพียงการแขวนป้ายหรือติดสติ๊กเกอร์ ไม่ใช่การชุมนุมขนาดใหญ่ที่มีผู้เข้าร่วมจำนวนมากก็ตาม ขณะเดียวกัน ก็พบว่ามีนักกิจกรรมเยาวชนถูกคุกคามเพิ่มจากการแชร์โพสต์เกี่ยวกับสถาบัน จึงสามารถประเมินการคุกคามในเดือนกันยายนได้ว่า การจัดกิจกรรมในประเด็นทางการเมืองทุกรูปแบบ จะยังคงถูกเพ่งเล็งและขัดขวางโดยเจ้าหน้าที่รัฐ และประเด็นเกี่ยวกับสถาบันยังคงเป็นประเด็นอ่อนไหวที่ทำให้มีการคุกคามประชาชนทุกเพศทุกวัย ทั้งนี้ การคุกคามจะมากขึ้นหรือน้อยลงอย่างไร ย่อมขึ้นอยู่กับการจัดกิจกรรมในเดือนนั้นๆด้วย

สถานการณ์คดีประจำเดือนสิงหาคม 2565

สถานการณ์การดำเนินคดีกับประชาชนยังคงดำเนินไปอย่างเข้มข้น ในเดือนสิงหาคมนี้ ยังมีการจับกุมและสั่งฟ้องในคดีมาตรา 112 เป็นระยะ และมีหลายคดีที่ตำรวจจะขอศาลออกหมายจับทันที โดยที่ไม่มีการออกหมายเรียกก่อน ขณะที่คดี พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ จากการชุมนุมทางการเมือง ศาลมีคำพิพากษายกฟ้องคดีอย่างต่อเนื่อง และมีคำตัดสินว่ามีความผิดตามข้อหาดังกล่าว 2 คดี

จากการติดตามของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ตั้งแต่เริ่มการชุมนุมของ “เยาวชนปลดแอก” เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2563 จนถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2565 มีประชาชนที่ถูกดำเนินคดีจากสถานการณ์ชุมนุมและการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ไปแล้วอย่างน้อย 1,853 คน ในจำนวน 1,120 คดี ในจำนวนนี้ เป็นกลุ่มเยาวชน  (opens new window)ที่อายุต่ำกว่า 18 ปี จำนวน 283 ราย ใน 210 คดี มีการสั่งฟ้องคดีไปแล้วอย่างน้อย 38 ราย ใน 37 คดี เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดือนกรกฎาคม 2565  (opens new window)มีผู้ถูกดำเนินคดีรายใหม่เพิ่มขึ้น 10 คน คดีเพิ่มขึ้น 12 คดี (นับเฉพาะผู้ถูกกล่าวหาที่ไม่เคยถูกดำเนินคดีมาก่อน) หากนับจำนวนบุคคลที่ถูกดำเนินคดีซ้ำในหลายคดีโดยไม่หักออก จะพบว่ามีจำนวนการถูกดำเนินคดีไปอย่างน้อย 3,685 ครั้ง

สำหรับสถิติการดำเนินคดี แยกตามข้อกล่าวหาสำคัญ ได้แก่

1. ข้อหา “หมิ่นประมาทกษัตริย์” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 มีผู้ถูกกล่าวหาอย่างน้อย 210 คน ในจำนวน 228 คดี เป็นเยาวชนจำนวน 17 ราย ใน 20 คดี ถูกสั่งฟ้องไปแล้ว 11 คดี อย่างไรก็ตาม คดีในข้อหา ม.112 ยังถูกสั่งฟ้องส่งขึ้นสู่ชั้นศาลอย่างต่อเนื่อง ไม่มีคดีใดที่อัยการสั่งไม่ฟ้องคดีเลย นอกจากนี้ ยังพบว่า นักกิจกรรมที่ถูกจับกุมตามหมายจับโดยที่ไม่มีหมายเรียกมาก่อนมีจำนวนเพิ่มขึ้น

ในเดือนนี้ มีการสั่งฟ้องคดีเพิ่มจากเดือนก่อนหน้า 4 ราย ใน 2 คดี และมีผู้ถูกจับกุมเพิ่มเติม ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นผู้ที่ถูกจับกุมตามหมายจับ โดยที่ไม่ได้รับหมายเรียกมาก่อนทั้งสิ้น ได้แก่ เก็ท โสภณ สุรฤทธิ์ธำรง, โจเซฟ และ มิ้นท์ จากกรณีเข้าร่วมปราศรัยในกิจกรรม “ฟื้นฝอยหาตะเข็บ 240 ปี ใครฆ่าพระเจ้าตาก” เมื่อวันที่ 6 เม.ย. 2565 บริเวณอนุสาวรีย์พระเจ้าตากสิน วงเวียนใหญ่ นอกจากนี้ ศาลได้ไต่สวนคำร้องขอถอนประกันมิ้นท์ จากกรณีเข้าร่วมกิจกรรม “ทวงคืนพลังงาน ให้ประชาชน”  (opens new window)ซึ่งจัดโดยกลุ่มคณะหลอมรวมประชาชน เมื่อวันที่ 3 ก.ค. 2565 และยกคำร้องขอถอนประกันของพนักงานสอบสวน อย่างไรก็ตาม มิ้นท์ ถูกจับกุมอีกครั้ง และถูกดำเนินคดี ม.112 เป็นคดีที่ 2 จากกรณีโพสต์ภาพที่ตนเองชูป้ายข้อความวิจารณ์กระบวนการพิจารณาในคดีม.112 ที่หน้าศาลอาญากรุงเทพใต้ จำนวน 3 โพสต์ ซึ่งศาลอนุญาตให้ประกันตัวภายใต้เงื่อนไข แต้ม (นามสมมติ) ผู้ป่วยจิตเวช ถูกสั่งฟ้อง ม.112 เพิ่ม จากกรณีทุบทำลายป้ายพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 10 รวม 3 จุด ในอำเภอตระการพืชผล เมื่อวันที่ 6 พ.ย. 2564 แม้แต้มและทนายได้ยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมอัยการให้มีคำสั่งไม่ฟ้องคดีในข้อหาตามม.112 แล้วก็ตาม บาส มงคล ถิระโคตร ถูกจับกุม จากกรณีโพสต์ข้อความ 2 โพสต์

ในส่วนของกระบวนการพิจารณาคดี ยังไม่มีการออกหมายเรียกพยานหลักฐานเอกสารการใช้จ่ายของ ร.10 และเอกสารการเดินทางไปที่ประเทศเยอรมนี เพื่อประกอบการพิจารณาคดีฝั่งจำเลยทั้ง 22 คน ของม็อบ 19 กันยา ทวงอำนาจคืนราษฎร ทำให้มีการเลื่อนนัดพิจารณาคดีออกไปหลายครั้ง เนื่องจากฝั่งจำเลยยังไม่ได้หมายเรียกเอกสารดังกล่าว ศาลจึงเลื่อนนัดสืบพยานเป็นวันที่ 20 กันยายน 2565

เดือนสิงหาคม มีคำพิพากษา ม.112 อย่างน้อย 4 คดี มีคดีที่จำเลยสารภาพผิด 2 คดี ได้แก่ โอม ชลสิทธิ์ กรณีแชร์สตอรี่ภาพวาดชายหน้าคล้ายรัชกาลที่ 10 ลงในเฟซบุ๊ก และตัดสินใจลบไปภายในไม่กี่นาที ศาลพิพากษาให้รอกำหนดโทษ 2 ปี พลทหารเมธิน กรณีถูกกล่าวหาว่าพูดพาดพิงถึงรัชกาลที่ 10 ขณะโต้เถียงกับคู่กรณีที่ขับรถยนต์มาเฉี่ยวชนกลางดึก ศาลทหารพิพากษาลงโทษจำคุก 5 ปี ให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์ต่อรูปคดี จึงลดโทษกึ่งหนึ่งเหลือโทษจำคุก 2 ปี 6 เดือน ไม่รอลงอาญา ส่วนคดีที่จำเลยต่อสู้คดี ได้แก่ กัลยา (นามสมมติ) กรณีโพสต์เฟซบุ๊ก 2 กรรม รวม 4 ข้อความ ศาลพิพากษาว่ามีความผิด ลงโทษกระทงละ 3 ปี สองกระทง รวมลงโทษจำคุก 6 ปี โดยไม่รอลงอาญา ปริญญา ชีวินกุลปฐม หรือพอร์ท ไฟเย็น กรณีโพสต์เฟซบุ๊ก ตุรกีรัฐประหารไม่สำเร็จ เพราะไม่มีกษัตริย์เซ็นรับรอง และอีก 2 ข้อความ เมื่อปี 2559 ศาลพิพากษาว่ามีความผิดทั้ง 3 ข้อความ ลงโทษจำคุกกระทงละ 3 ปี แต่จำเลยให้การเป็นประโยชน์อยู่บ้าง จึงลดโทษให้กระทงละ 1 ใน 3 เหลือโทษจำคุกรวม 6 ปี ทั้ง 2 คดี ศาลให้ประกันตัวสู้คดีชั้นอุทธรณ์ อย่างไรก็ตาม ในเดือนกันยายน มีนัดฟังคำพิพากษาคดี 112 ของนิว จตุพร แซ่อึง กรณีแต่งชุดไทยเข้าร่วมเดินแฟชั่นโชว์ในการชุมนุม #ภาษีกู เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2563 บนถนนสีลม ซึ่งเป็นคดีที่น่าจับตามองอีกคดีหนึ่ง

2. ข้อหา “ยุยงปลุกปั่น” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 มีผู้ถูกกล่าวหาอย่างน้อย 126 คน ในจำนวน 39 คดี

ในเดือนนี้ มีการสั่งฟ้องคดีในข้อหา ม.116 เพิ่ม 2 คดี ได้แก่ 13 นักศึกษา-นักกิจกรรม จากอดีตขบวนการประชาธิปไตยใหม่ (NDM) และดาวดิน กรณีชุมนุมต่อต้านอำนาจ คสช. หน้า สน.ปทุมวัน เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 2558 หรือกว่า 7 ปีหลังเกิดเหตุการณ์ รุ้ง ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล, ไมค์ ภาณุพงศ์ จาดนอก, อานนท์ นำภา, ณัฐชนน ไพโรจน์, เพนกวิน พริษฐ์ ชิวารักษ์ และบอล ชนินทร์ วงษ์ศรี ถูกฟ้องจากกรณีการชุมนุม #ธรรมศาสตร์จะไม่ทน เมื่อวันที่ 10 ส.ค. 2563 ที่ลานพญานาค มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต หลังผ่านไปนานกว่า 2 ปี โดยอ้างว่า เป็นกิจกรรมที่อันตรายต่อความมั่นคงของรัฐ

3. ข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ มีผู้ถูกกล่าวหาอย่างน้อย 1,467 คน ในจำนวน 647 คดี (นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2563)

มีการยกฟ้องคดี พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯเพิ่มอีก 6 คดี ได้แก่ คดีคาร์ม็อบสระบุรี ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2564,คาร์ม็อบในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ใช้ชื่อกิจกรรมว่า “ราษฎรสุราษฎร ขับไล่ตู่” เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2564, ม็อบ2สิงหา64 เพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวเพื่อนกลุ่มทะลุฟ้า ด้านหน้า บก.ตชด. ภาค 1 เมื่อวันที่ 2 ส.ค. 2564, แซน สุปรียา ใจแก้ว กรณีเป็นพิธีกรในกิจกรรมการชุมนุม #คนเจียงฮายก่ายคนง่าวบ่เอาคนหลายใจ ที่บริเวณหอนาฬิกาจังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 25 ก.ค. 2563, ฟอร์ด เส้นทางสีแดง หรือ อนุรักษ์ เจนตวนิชย์ พร้อมประชาชนรวม 8 ราย กรณีจัดกิจกรรมรำลึก 10 ปีการเสียชีวิตของ พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล หรือเสธ.แดง ที่ทางขึ้นลงสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินสีลม เมื่อวันที่ 13 พ.ค. 2563 และคาร์ม็อบยะลา ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 7 ส.ค. 2564 โดยเหตุผลสำคัญที่ศาลใช้พิจารณายกฟ้องคดี ยังคงเป็นการชุมนุมโดยสงบตามรัฐธรรมนูญ และไม่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรค

นอกจากนี้ อัยการยังมีคำสั่งไม่ฟ้องคดีเพิ่มอีก 2 คดี ได้แก่ ประชาชน 8 ราย ถูกกล่าวหาจากการไปสังเกตการณ์ชุมนุมที่ดินแดง เมื่อวันที่ 11ก.ย. 2564 โดยให้เหตุผลว่า บุคคลเหล่านั้นเป็นเพียงบุคคลที่ตำรวจจับตามองพฤติกรรม ไม่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรค และอัยการได้ยื่นฟ้องประชาชนและนักกิจกรรมกลุ่มทะลุฟ้า รวม 10 คน ข้อหาร่วมกันกีดขวางทางสาธารณะ และกีดขวางการจราจร กรณีชุมนุมม็อบ18สิงหา ไล่ล่าทรราช ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 18 ส.ค. 2564 โดยที่ไม่มีการฟ้องข้อหา พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เหมือนประชาชนที่โดนฟ้องในคดีเดียวกันก่อนหน้านั้น

ในเดือนนี้ ยังมีคำพิพากษาว่ามีความผิดตามข้อหาดังกล่าวอีก 2 คดี ได้แก่ ประชาชน 8 ราย กรณีชุมนุมเมื่อวันที่ 11 ส.ค. 2564 หรือ #ม็อบ11สิงหาไล่ล่าทรราช จัดโดยกลุ่มทะลุฟ้า ที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ศาลพิพากษาลงโทษ คุก 1 ปี ปรับคนละ 20,000 บาท ให้รอการลงโทษไว้ 3 ปี คุมประพฤติ 2 ปี ยกฟ้องข้อหารวมตัวมั่วสุม 10 คนขึ้นไปและข้อหาต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน โดยศาลชี้ว่า เมื่อพิจารณาถึงวัตถุประสงค์ของบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อใช้รักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง การที่จำเลยทั้ง 8 คนออกไปชุมนุมก็นับว่าเป็นความผิดแล้ว จ่านิว สิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์, จัสติน ชูเกียรติ แสงวงค์ และนันทพงศ์ ปานมาศ กรณีชุมนุม ที่หน้าสำนักงานสำนักข่าวเนชั่น และเดินขบวนไปยังสี่แยกบางนา เมื่อวันที่ 1 พ.ย. 2563 โดยศาลตีความ ‘ผู้ปราศรัย’ ว่าเป็น ‘ผู้จัดชุมนุม’ แม้ไม่มีหลักฐานชัดเจน ลงโทษปรับ 2 คดีรวด รวม 12,900 บาท อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 22 กันยายน 2565 จะมีการพิพากษาคดี พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และกีดขวางทางจราจร ของมีมี่ ณิชกานต์ กรณีปราศรัยม็อบ15ตุลาไปราชประสงค์ ปี 2563 ซึ่งคดีนี้จะเป็นคดีเยาวชนรายแรกที่สู้คดีแล้วมีคำพิพากษา

สำหรับข้อหา พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ รวมแล้วมีคดีที่ศาลยกฟ้องไปแล้วอย่างน้อย 24 คดี และอัยการสั่งไม่ฟ้องไปแล้ว 20 คดี คดีที่ศาลเห็นว่ามีความผิดมีจำนวน 7 คดี ส่วนใหญ่วินิจฉัยลงโทษปรับ แสดงให้เห็นว่าเป็นข้อหาที่เจ้าหน้าที่ตำรวจนำมาใช้กับผู้ชุมนุมมากกว่าการจัดการโควิด สร้างภาระให้ประชาชนด้วยคดีจำนวนมาก แม้จะไม่มีความผิดภายหลัง แต่ก็ยังมีการดำเนินคดีในข้อหาดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง สินบุรี แสนกล้า หรือแม็ก ทะลุฟ้า ถูกฝากขังหลังเข้ามอบตัวตามหมายจับ ทั้งที่ไม่เคยได้รับหมายเรียกมาก่อน จากกรณีเข้าร่วมการชุมนุมครบรอบ 15 ปี รัฐประหาร 2549 ที่บริเวณแยกนางเลิ้ง เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2564 และอัยการได้สั่งฟ้องกลุ่มทะลุแก๊ส 8 คน ที่ถูกคุมขังในเรือนจำจากกรณีเข้าร่วมชุมนุมบริเวณดินแดง ช่วงกลางเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา

4. ข้อหาตาม พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ อย่างน้อย 107 คน ในจำนวน 75 คดี

5. ข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ อย่างน้อย 144 คน ในจำนวน 165 คดี

วารียา โรจนมุกดา ถูกสั่งฟ้องจากกรณีโพสต์ในเฟซบุ๊กเพจ “นครพนมสิบ่ทน -Nakhon Phanomsibòrton” วิจารณ์ ส.ส.และนักการเมืองท้องถิ่นของจังหวัดนครพนม ในช่วงครบรอบ 15 ปี รัฐประหาร 19 กันยา รวม 4 โพสต์ ในเดือนนี้ มีคำพิพากษาคดีของ สรญา ธนพุทธิสิริ กรณีโพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก ว่าอาจมีการยิงแก๊สน้ำตาออกมาจากพื้นที่ที่ทำการของบริษัทบุญรอด ขณะที่มีการสลายการชุมนุมบริเวณใกล้อาคารรัฐสภา เมื่อวันที่ 17 พ.ย. 2563 ศาลพิพากษายกฟ้อง และ วชิระ (สงวนนามสกุล) กรณีถูกกล่าวหาว่าแฮกเข้าไปเปลี่ยนแปลงหน้าเว็บไซต์ของศาลรัฐธรรมนูญ พร้อมกับเปลี่ยนชื่อเป็นเว็บเป็น ‘Kangaroo Court’ และได้ฝังคลิปวิดีโอเพลงจากยูทูป ชื่อว่า ‘Guillotine (It goes Yah)’ โดยศิลปิน Death Grips เมื่อวันที่ 11 พ.ย. 2564 โดยศาลพิพากษาจำคุก 3 ปี แต่จำเลยรับสารภาพ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง เหลือจำคุก 1 ปี 6 เดือน ไม่รอลงอาญา ศาลเห็นว่าควรชดใช้เพียงค่าเสียหายของระบบเท่านั้น ไม่ต้องชดใช้ค่าเสื่อมเสียชื่อเสียงจำนวน 10,000,000 บาท และมีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัว

6. ข้อหาละเมิดอำนาจศาล อย่างน้อย 36 คน ใน 20 คดี และคดีดูหมิ่นศาล อย่างน้อย 27 คน ใน 7 คดี มีรายงานว่า ตำรวจได้เข้าจับกุม มานี เงินตา คำแสน และจินนี่ จิรัชยา สกุลทอง ตามหมายจับด้วยข้อหาดูหมิ่นศาล จากการปราศรัยวิจารณ์การทำงานของศาลระหว่างกิจกรรมเรียกร้องสิทธิการประกันตัวของ “บุ้ง-ใบปอ” ที่หน้าศาลแพ่งกรุงเทพใต้ เมื่อวันที่ 15 ก.ค. 2565 ก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกันตัวทั้งสองคน ชี้การกระทำถือเป็นภัยอันตรายอย่างร้ายแรงต่อศาล

จากจำนวนคดี 1,120 คดีดังกล่าว มีจำนวน 219 คดี ที่สิ้นสุดไปแล้ว โดยมากเป็นคดีที่ผู้ถูกกล่าวหายินยอมให้เปรียบเทียบปรับในชั้นตำรวจ หรือในชั้นศาล ในจำนวนนี้มีกรณีอัยการสั่งไม่ฟ้องจำนวน 23 คดี

#ผู้ถูกคุมขังระหว่างต่อสู้คดีทางการเมือง

ในเดือนนี้ มีการปล่อยตัวนักกิจกรรม 4 คน ได้แก่ บุ้ง เนติพร และใบปอ หลังจากทนายยื่นขอประกันตัวทั้งหมด 8 ครั้ง ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง 1 ครั้ง ทั้งคู่ได้รับการปล่อยตัวจากทัณฑสถานหญิงกลาง วันที่ 4 ส.ค. 2565 จึงเป็นการสิ้นสุดการคุมขัง 94 วัน และสิ้นสุดการประท้วงอดอาหาร รวมระยะเวลา 64 วัน พุฒิพงษ์ ถูกกล่าวหาว่าเผายางรถยนต์ในการชุมนุมบริเวณดินแดง เมื่อวันที่ 15 มิ.ย. 2565 เขาถูกคุมขังตั้งแต่วันที่ 17 มิ.ย. 2565 ได้รับการปล่อยตัวเมื่อวันที่ 3 ส.ค. 2565 รวมถูกคุมขัง 48 วัน เนื่องจากอัยการส่งฟ้องไม่ทันผลัดฟ้อง ไบร์ท ชินวัตร จันทร์กระจ่าง ถูกจับกุมถึงบ้านพักในจังหวัดนนทบุรี จากกรณีเข้าร่วมปราศรัยกิจกรรมเรียกร้องขอคืนสิทธิการประกันตัวให้ “บุ้ง-ใบปอ” ที่บริเวณหน้าศาลอาญากรุงเทพใต้ เมื่อวันที่ 28 ก.ค. 2565 เขาถูกฝากขังและได้รับการปล่อยตัวในวันที่ 26 สิงหาคม 2565 รวมระยะเวลาการถูกคุมขัง 26 วัน ทำให้เดือนสิงหาคมนี้ มีผู้ต้องขังในเรือนจำรวม 31 คน