วันที่: 22/4/2567 ผู้เขียน: Faozee

รายงานสถานการณ์การชุมนุมเดือนมีนาคม 2567

description

ในเดือนมีนาคม 2567 จำนวนการชุมนุมลงลงจากเดือนกุมภาพันธ์แต่ยังมีการชุมนุมเกิดขึ้นอยู่ทั่วไปภายในประเทศอย่างต่อเนื่อง การบันทึกและสังเกตการณ์การชุมนุมของโครงการ Mob Data Thailand พบว่าในเดือนมีนาคม 2567 มีการชุมนุมขนาดเล็กไม่ต่ำกว่า 42 ครั้งแต่หากนับการชุมนุมปักหลักแยกหนึ่งวันเป็นหนึ่งครั้งจะมีการชุมนุมในเดือนนี้ 71 ครั้ง โดยเป็นการชุมนุมในกรุงเทพมหานคร 30 ครั้ง และมีการชุมนุมที่เกิดขึ้นในต่างจังหวัด 12 ครั้ง การชุมนุมที่ปรากฏดังกล่าวในเดือนกุมภาพันธ์นี้ครอบคลุมในหลายประเด็น

ภาพรวมการชุมนุมเดือนมีนาคม 2567

ในเดือนมีนาคม 2567 จำนวนการชุมนุมลงลงจากเดือนกุมภาพันธ์แต่ยังมีการชุมนุมเกิดขึ้นอยู่ทั่วไปภายในประเทศอย่างต่อเนื่อง การบันทึกและสังเกตการณ์การชุมนุมของโครงการ Mob Data Thailand พบว่าในเดือนมีนาคม 2567 มีการชุมนุมขนาดเล็กไม่ต่ำกว่า 42 ครั้งแต่หากนับการชุมนุมปักหลักแยกหนึ่งวันเป็นหนึ่งครั้งจะมีการชุมนุมในเดือนนี้ 71 ครั้ง โดยเป็นการชุมนุมในกรุงเทพมหานคร 30 ครั้ง และมีการชุมนุมที่เกิดขึ้นในต่างจังหวัด 12 ครั้ง การชุมนุมที่ปรากฏดังกล่าวในเดือนกุมภาพันธ์นี้ครอบคลุมในหลายประเด็น ดังนี้

1.ประเด็นเรียกร้องสิทธิในการประกันตัว

asset

ภาพ ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม P-move

เนื่องจากการยังมีการดำเนินคดีประชาชนที่ใช้สิทธิในเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะมาตรา 112 ที่ในเดือนนี้มีเพิ่มขึ้น 6 คดี อีกทั้งยัง ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนรายงานว่า มีการดำเนินคดีสาเหตุจากการชุมนุมตาม พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 กรณีของกลุ่มขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (P-move) ที่ปักหลักชุมนุม บริเวณทำเนียบรัฐบาลตั้งแต่วันที่ 5 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมา โดยดำเนินคดีแกนนำ 2 คนโดยตำรวจแจ้งข้อหาแยกเป็น 4 คดี มีข้อกล่าวหาเกี่ยวกับการชุมนุมในรัศมี 50 เมตรจากทำเนียบฯ และการเคลื่อนขบวนผู้ชุมนุม โดยไม่มีการแจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนล่วงหน้า โดยถือเป็นคดีจากการชุมนุมคดีแรกแรกหลังการเปลี่ยนรัฐบาลภายใต้ รัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน และยังมีผู้ถูกดำเนินคดีจากการใช้สิทธิในเสรีภาพการแสดงออกและการชุมนุมถูกส่งเข้าเรือนจำอย่างต่อเนื่อง โดยเดือนนี้ เพิ่มขึ้น 2 ราย รวมทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 46 คน จึงเป็นเหตุผลให้ประเด็นการเรียกร้องสิทธิในการประกันตัว เป็นประเด็นที่มีการชุมนุมเยอะสุดในเดือนนี้ มีจำนวนถึง 19 ครั้ง

asset

ภาพ Faozee Lateh

โดยส่วนใหญ่ จะเป็นกิจกรรมในลักษณะยืนหยุดขัง โดยมีกิจกรรมยืนหยุดขัง ที่จัดโดยมวลชนอิสระบริเวณหน้าศาลอาญารัชดา ไม่ต่ำกว่า 14 ครั้ง และกิจกรรมยืนหยุดทรราชสัปดาห์ที่ 87 บริเวณประตูท่าแพ เชียงใหม่อย่างน้อย 1 ครั้ง นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมในลักษณะอื่นๆ เช่น การยื่นจดหมายถึงประธานศาลฎีกาของมูลนิธิผสานวัฒนธรรม องค์กรภาคประชาสังคม เพื่อขอให้เร่งดำเนินการตรวจสอบและแก้ไขคำสั่งเกี่ยวกับการปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องขังทางการเมือง การยื่นคำแถลงถึงศาลอาญาพิจารณาทบทวนคำสั่งอนุญาตฝากขัง ตะวันและแฟรงค์ ของมวงชนอิสระ เพื่อเรียกร้องให้ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมและปล่อยนักโทษคดีการเมือง, เรียกร้องสิทธิประกันตัวให้ผู้ต้องขังทางการเมือง นิรโทษกรรมประชาชน และ กิจกรรมที่ใช้ชื่อว่าเมื่อทานตะวันย่ำรุ่ง ที่จัดโดยมวลชนอิสระ บริเวณศูนย์การคาสยามสแควร์ ซึ่งเป็นกิจกรรมวาด เขียน ให้กำลังใจตะวันและแฟรงค์และเรียกร้องสิทธิประกันตัวและให้ปล่อยนักโทษการเมือง เป็นต้น

2.ประเด็นที่ดิน ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม

ประเด็นเรื่องปัญหาที่ดิน ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ถือเป็นประเด็นที่มีการชุมนุมเรียกร้องมากสุดที่เกิดในต่างจังหวัดในทุกๆเดือน เช่นเดียวกับเดือนมีนาคม ที่มีการชุมนุมในประเด็นดังกล่าว ไม่ต่ำกว่า 11 ครั้ง ดังนี้

เมื่อวันที่ 4-6 มีนาคม 2567 เครือข่ายประชาชนชุมพร-ระนอง คัดค้านแลนด์บริดจ์ ประกอบด้วย สภาประชาชนภาคใต้ เครือข่ายรักษ์พะโต๊ะ และเครือข่ายรักษ์ระนอง ซึ่งเป็นกลุ่มผู้คัดค้านโครงการเมกะโปรเจกต์แลนด์บริดจ์ หรือโครงการสะพานเศรษฐกิจเชื่อมฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน (ชุมพร-ระนอง) จัดกิจกรรมยื่นหนังสือคัดค้านโครงการดังกล่าว ทั้งยื่นต่อสถานเอกอัครราชต่างๆได้แก่ สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำราชอาณาจักรไทย สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย และสถานเอกอัครราชทูตเยอรมนีประจำประเทศไทย และองค์การสหประชาชาติ (UN) รวมทั้งติดตามความคืบหน้ากับนายกฯที่ทำเนียบรัฐบาล และเตรียมเดินทางยื่นหนังสือตรวจสอบความไม่โปร่งใสของโครงการแลนด์บริดจ์ ต่อ 4 กรรมาธิการ(กมธ.) ที่รัฐสภา ได้แก่ กมธ. ความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร, ประธาน กมธ.การพัฒนาการเมือง การสื่อมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน, ประธาน กมธ.การป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ, ประธาน กมธ.การที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้บนหน้าเพจของเครือข่ายรักษ์พะโต๊ะมีการลงข้อเรียกร้องที่มีถึง กมธ.ไว้โดยมีรายละเอียดดังนี้

โครงการทั้งหมด ทั้งที่ตั้งท่าเรือฝั่งระนอง และชุมพร เส้นทางรถไฟรางคู่รวมถึงมอเตอร์เวย์ และที่ตั้งนิคมอุตสาหกรรม หรืออื่นๆ จะต้องใช้เนื้อที่จำนวนเท่าไหร่ และเป็นพื้นที่ประเภทอะไรบ้าง และในส่วนของที่ทำกินและที่อยู่อาศัยได้มีการสำรวจอย่างชัดเจนแล้วหรือไม่ว่าจะพาดผ่านที่ดินของใครบ้างจำนวนเท่าไหร กี่ราย และที่ดินเหล่านั้นมีลักษณะการถือครองกรรมสิทธิ์แบบไหน อย่างไร และหากมีการเวนคืนที่ดิน หรือการชดเชยค่าเสียหายต่างๆ รัฐบาลมีการวางแผนที่จะจัดการเรื่องนี้อย่างไร ทั้งในกรณีที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์ และไม่มีกรรมสิทธิ์ จะมีรูปแบบวิธีการจัดการที่เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร และหน่วยงานใดจะเป็นผู้รับผิดชอบหลักในเรื่องนี้

มีการประเมินความเสียหายด้านสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ ทั้งที่เป็นป่าไม้ ป่าชายเลน แหล่งน้ำ ทะเลชายฝั่ง ทรัพยากรประมง และสัตว์ป่าไว้แล้วหรือไม่ อย่างไร และหากมีความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้น จะมีแนวทางในการแก้ไขอย่างไร

การจัดเวทีประชาคม ประชาพิจารณ์ หรือการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ ภายใต้โครงการศึกษาต่างๆ ได้มีการสอบถามหรือศึกษาข้อมูลความเสียหายหรือผลกระทบทั้งด้านที่ดินทำกิน ที่อยู่อาศัย และกับระบบนิเวศของสิ่งแวดล้อมไว้บ้างหรือไม่ อย่างไร

วันที่ 11 มีนาคม 2567 ชาวบ้านคลองมะเดื่อ กลุ่มรักษ์คลองมะเดื่อ มูลนิธิสืบนาคะเสถียร สมาคมพลเมืองนครนายก กลุ่มรักษ์เขาใหญ่ และกลุ่มอนุรักษ์รวม 29 กลุ่ม ร่วมกันออกแถลงการณ์ ให้หยุดสร้างเขื่อนในเขตป่ามรดกโลก ดงพญาเย็น-เขาใหญ่ ผ่านงาน "ปกป้องคลองมะเดื่อ" หยุดสร้างเขื่อนในป่ามรดกโลก เขาใหญ่ ที่วัดบ้านดง จังหวัดนครนายก โดยมีนักวิชาการและภาคีเครือข่ายร่วมแสดงเจตนารมณ์และให้การสนับสนุนและเรียกร้อง ขอให้ยุติโครงการเขื่อนคลองมะเดื่อ และเขื่อนรอบๆ ผืนป่ามรดกโลกดงพญาเย็น-เขาใหญ่ และปกป้องพื้นที่มรดกโลก หยุดการละเมิดสิทธิชุมชนด้วยการผลักดันโครงการเขื่อน และให้รักษาสายน้ำธรรมชาติทุกสาย รวมทั้งคลองมะเดื่อ

วันนี้ 13 มีนาคม 2567 ขบวนชาวบ้านปากมูล กลุ่มสมัชชาคนจน ได้จัดกิจกรรมเดินรณรงค์ เนื่องใน วันหยุดเขื่อนโลก โดยทุก ๆ วันที่ 14 มีนาคม ของทุกปี ได้ถูกกำหนดให้เป็นวันที่ทุกคนต้องรับรู้และตระหนักว่า นโยบายการพัฒนาประเทศ จากการก่อสร้างเขื่อนนั้น ได้สร้างผลกระทบมากมายต่อสิ่งแวดล้อม และแม่น้ำลำธาร โดยขบวนรณรงค์ของชาวบ้านได้ออกเดินรณรงค์ไปยังสันเขื่อนปากมูล เพื่ออ่านประกาศแถลงการณ์รณรงค์ เนื้อหา โดยสรุปว่า การสร้างเขื่อน จะส่งผลกระทบโดยตรง ต่อระบบนิเวศน้ำจืด เนื่องจากเขื่อนเปรียบได้กับกำแพงขนาดใหญ่ ที่ขวางกั้นการไหลของน้ำเอาไว้ และการไหลของน้ำที่เปลี่ยนไป ย่อมทำให้ระบบนิเวศดั้งเดิมเปลี่ยนแปลง อย่างเช่น การอพยพของปลา การวางไข่ หรือการเข้าถึงแหล่งอาหารของชาวบ้าน เป็นต้น หลังจากนั้น ขบวนเดินรณรงค์ของชาวบ้านปากมูล ได้เดินทางเข้าไปรณรงค์ในเขตอำเภอโขงเจียม โดยมีการแจกแผ่นพับประชาสัมพันธ์ เพื่อทำความเข้าใจถึงเรื่องผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากโครงการเขื่อนพูงอยในแม่น้ำโขง ที่รัฐบาลไทยมีความร่วมมือ หลังจากนั้นชาวบ้านทุกคนก็ได้ร่วมกันทำพิธีสืบชะตาแม่น้ำ ตรงบริเวณริมแม่น้ำโขง เพื่อรำลึกถึงบุญคุณของแม่น้ำและรำลึกถึงพี่เลี้ยง ที่ปรึกษาของสมัชชาคนจนที่ล่วงลับไปทุกคน

วันที่ 14 มีนาคม 2567 กลุ่มอนุรักษ์ลำน้ำท่าแซะได้จัดกิจกรรมสืบชะตาแม่น้ำเพื่อต้องการสื่อสารให้กับรัฐบาลและทุกคนได้รับรู้ว่าชาวบ้านท่าแซะ จ.ชุมพร ไม่ต้องการให้มีเขื่อนเข้ามาสร้างในพื้นโดยเด็ดขาด ซึ่งกิจกรรมได้มีการนิมนต์พระมาทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับนักต่อสู้ที่ล่วงลับไปแล้ว และได้ร่วมกันเดินขบวนไปยังลำน้ำท่าแซะเพื่อลอยกระทงขอบคุณ ขอขมาแม่น้ำและสาปแช่งผู้ที่จะนำเขื่อนเข้ามาสร้างในพื้นที่ต้นน้ำ ต่อด้วยการอ่านแถลงการณ์ที่มีเนื้อหาดังนี้

มติ ครม.ยกเลิกเขื่อนท่าแซะ เป็นเป้าหมายเดียวที่พวกเราชาวท่าแซะต้องการมาตลอด การพัฒนาของรัฐไม่เคยสอดรับความต้องการของชาวบ้าน ดิน น้ำ ป่า เป็นของที่ธรรมชาติมอบให้มนุษย์เช่นพวกเรา เพราะฉะนั้น รัฐบาลต้องมีมติครม. ยกเลิกการจะสร้างเขื่อนท่าแซะโดยเด็ดขาด

กรมชลประทานและกระทรวงเกษตรฯ คือหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงเกี่ยวกับการจัดการน้ำ จะต้องจริงใจในการแก้ไขปัญหา

วันที่ 14 มีนาคม 2567 เครือข่ายเยาวชนและชุมชนในลุ่มน้ำยวม-เงา-เมยและสาละวิน ร่วมกันปล่อยแพโดยมีข้อความว่า “No Dam" ในแม่น้ำสาละวิน ที่บ้านท่าตาฝั่ง ต.แม่ยวม อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอนเพื่อเป็นสัญลักษณ์ความเป็นอิสระของสายน้ำที่ไม่มีอะไรขวางกั้น เครือข่ายฯ และชุมชน ยังมีการอ่านแถลงการณ์ข้อเรียกร้องเพื่อย้ำจุดยืน เช่น ยุติโครงการสร้างเขื่อนเพื่อให้น้ำไหลอิสระให้ยุติโครงการพัฒนาของรัฐที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่อชุมชน เช่น โครงการผันน้ำยวม เป็นต้น

asset

ภาพ Pichet Pandam

วันที่ 18 มีนาคม 2567 ชาวบ้านหัวท่า-ท่าต้นโด บ้านคอเอน ต.ไม้ขาว อ.ถลาง จ.ภูเก็ต รวมตัวกันพร้อมถือป้ายที่มีข้อความเช่น ไม่มีความชอบธรรมที่จะไล่เราออกจากบ้านเราเอง เราคือคนคอเอนดังเดิม เป็นต้น กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อต้อนรับ นายอภิชาติ ศิริสุนทรประธานคณะกรรมาธิการการที่ดินทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและคณะ ที่มาลงพื้นที่ และประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ณ องค์การบริหารส่วนตำบลไม้ขาว เพื่อติดตามข้อเท็จจริง กรณี สมาชิกชุมชนถูกคำสั่งไล่รื้อจากกรมเจ้าท่า ข้อหาปลูกสร้างสิ่งรุกล้ำดำน้ำ

วันที่ 20 มีนาคม 2567 องค์กร Protection International รายงานว่านักปกป้องสิทธิมนุษยชนกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดด่านขุนทดได้นัดชุมนุมที่บริเวณถนน 201 นครราชสีมาเพื่อเรียกร้องให้ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมามีคำสั่งปิดเหมืองโปแตชด่านขุนทดที่ส่งผลกระทบอย่างยาวนานกว่าแปดปีในพื้นที่ทันที กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดด่านขุนทดได้เริ่มรวมตัวกันที่วัดสระขี้ตุ่น ต.สระขี้ตุ่น อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา ตั้งแต่เวลา 08.30 ก่อนจะเคลื่อนขบวนไปที่ถนน 201 ปากทางเข้าบ้านหนองไทร บนถนนสายหลักสีคิ้ว-ชัยภูมิ เพื่อเรียกร้องให้ปิดเหมือง ของบริษัทไทยคาลิ จำกัด โดยปักหลักชุมนุมยื่นหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา หลังเจรจากับผู้ว่าราชการจังหวัด ก่อนยุติชุมนุม

วันที่ 21 มีนาคม 2567 ชาวบ้าน ต.เกรียงไกร อ.เมืองนครสวรรค์ จ.นครสวรรค์ ชุมนุมขอความเป็นธรรมถูกเวนคืนที่ดินกว่า 68 ไร่ เพื่อสร้างทางหลวงหมายเลข 122 สายทางเลี่ยงเมืองนครสวรรค์ ด้านตะวันออก ระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร งบประมาณก่อสร้างกว่า 5,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการขยายถนน 4 เลนเชื่อมต่อนครสวรรค์ - เพชรบูรณ์ แต่การจ่ายค่าทดแทนที่ดินไร่ละ 30,000 - 88,000 บาท ชาวบ้านมองว่าไม่เป็นธรรมจึงเรียกร้องขอเพิ่มค่าทดแทนที่ดินไร่ละ 1 ล้านบาท

เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2567 ที่รัฐสภา สมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย เข้ายื่นแถลงการณ์ข้อกังวลต่อการแก้ไขพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558ในหลายประเด็น ถึงนายปลอดประสพ สุรัสวดี ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 พ.ศ. .... ผ่านนายพงษ์สรณัฐ ทองลี เลขานุการรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง และนายวิริภพ วิริยะโรจน์ สส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล ในฐานะรองประธาน กมธ.วิสามัญฯ คนที่สอง เป็นตัวแทนรับหนังสือ พร้อมทั้งทางกลุ่มได้ถือป้ายมีข้อความ เช่น ไม่หนุนกฎหมายส่อทำลายประมง เป็นต้น

3.ประเด็นสิทธิแรงงาน

ประเด็นสิทธิแรงงาน เป็นประเด็นที่มีการชุมนุมเรียกร้องต่อเนื่อง จากเดือนกุมภาพันธ์ โดยส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มพนักงานไรเดอร์ ที่ประสบปัญหาจากนโยบายการลดค่ารอบของบริษัทไลน์แมน โดยในเดือนนี้มีการชุมนุมในประเด็นสิทธิแรงงานไม่น้อยกว่า 6 ครั้ง ดังนี้

เมื่อวันที่ 2 และ และวันที่ 5 มีนาคมที่ผ่านมา กลุ่มไลน์แมนในกรุงเทพและและจังหวัดลพบุรีได้จัดกิจกรรมชุมนุมอย่างต่อเนื่องเพื่อคัดค้านนโยบายการลดค่ารอลของบริษัทไลน์แมน พร้อมทั้งติดตามความคืบหน้าการยื่นฟ้องบริเวณหน้าศาลแรงงาน

วันที่ 5 มีนาคม 2567 ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย อดีตผู้ใช้แรงงานที่ถูกลอยแพจาก 3 บริษัทได้แก่บริษัทสิ่งทอ ประกอบด้วย อัลฟ่าสปินนิ่ง เอเอ็มซีสปินนิ่ง และบอดี้แฟชั่น เดินขบวนจากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ไปที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อไปยื่นหนังสือถึง เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เพื่อให้ช่วยเหลือติดตามดำเนินคดี และชดเชยค่าจ้าง โบนัส ค่าชดเชยเลิกค่าจ้าง จากนายจ้างต่างชาติ โดยมีผู้เสียหายเป็นแรงงานจำนวนกว่า 1พันคน และมีมูลค่าเสียหายจำนวนกว่า 279 กว่าล้านบาท ซึ่งนายจ้างค้างจ่ายกว่า 4 ปี เวลา 12.43 น. ขบวนแรงงานถึงเชิงสะพานชมัยมรุเชฐ หน้าทำเนียบรัฐบาล แต่ถูกตำรวจนำรั้วเหล็ก และรถกระบะ ตั้งสกัด ทำให้แรงงานต้องปักหลักที่เชิงสะพานท่ามกลางอากาศที่ร้อนจัด การปักหลักชุมนุมดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งเวลา 17.40 น. ที่เชิงสะพานชมัยมรุเชฐ ซึ่งขบวนแรงงานได้ปักหลักชุมนุมรอยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีนั้น ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สมคิด เชื้อคง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง และมงคลชัย สมอุดร รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้เชิญตัวแทนอดีตแรงงาน 3 บริษัท ประกอบด้วย เอเอ็มซีสปินนิ่ง อัลฟ่าสปินนิ่ง และบอดี้แฟชั่น จำนวนประมาณ 10 คน เข้าไปหารือเพื่อหาทางออกแก้ไขปัญหาแรงงานถูกลอยแพ และไม่ได้รับเงินค่าจ้าง ค่าชดเชย โบนัส เงินค่าล่วงเวลา และอื่นๆ ที่นายจ้างค้างจ่ายจนกระทั่งเวลาประมาณ 20.10 น. ขบวนแรงงานที่ปักหลักเชิงสะพานชมัยมรุเชฐ เห็นว่าแกนนำแรงงานเข้าไปหารือนานจนผิดสังเกต จึงลอดแนวรั้วเหล็กตำรวจที่กลางสะพานชมัยมรุเชฐ จนตำรวจ คฝ.ต้องเข้ามาตั้งแนวสกัดขบวนแรงงานไม่ให้เดินต่อประชิดทำเนียบรัฐบาล ก่อนจะยุติการชุมนุม

วันที่ 27 มีนาคม 2567 ที่กระทรวงแรงงาน เขตดินแดง จ.กรุงเทพฯ สาวิทย์ แก้วหวาน ประธานสมาพันธ์สมานฉันท์แรงงานไทย (สสรท.) และสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจ (สรส.) เดินมายื่นหนังสือถึง พิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลมีการทบทวนมติคณะกรรมการไตรภาคี ปรับค่าจ้างขั้นต่ำรายตำบลและอำเภอ สูงสุด 400 บาทต่อวัน และเรียกร้องให้มีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาทต่อเดือนเท่ากันทั่วประเทศ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนและผู้ใช้แรงงาน เบื้องต้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ส่งสิรภพ ดวงสอดศรี ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน มารับหนังสือจากตัวแทนแรงงาน

เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2567 เหตุเครนถล่มโรงงานขณะก่อสร้าง จ.ระยอง มีผู้เสียชีวิต 7 ราย แบ่งเป็นเมียนมา 6 คน จีน 1 คน เป็นเหตุให้คนงานปักหลักประท้วงมีการชุมนุมปิดล้อม และไม่ให้เจ้าหน้าที่กู้ภัยนำตัวผู้บาดเจ็บออกมารักษาโรงพยาบาล และนำร่างผู้เสียชีวิตออกมา เพื่อเรียกร้องค่าเยียวยาศพละ 5 ล้านบาท ด้านเจ้าของไม่รับข้อเสนอ ทำให้ตำรวจระดมกำลังเข้าไกล่เกลี่ย

นอกจาก 3 ประเด็นข้างต้น ยังมีการชุมนุมของกลุ่มปกป้องสถาบัน 2 ครั้ง ในประเด็นอื่นๆอย่างน้อย -5 ครั้ง เช่น

การชุมนุมของกลุ่มปกป้องสถาบันฯ 2 ครั้ง คือ 1.การชุมนุมของกลุ่มเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท) และ ศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน (ศปปส.)ที่มีการชุมนุมปักหลัก บริเวณเชิงสะพานชมัยมรุเชษฐ ข้างทำเนียบรัฐบาล ตั้งแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2567 ซึ่งก่อนหน้านี้มีการแจ้งชุมนุมสาธารณะไว้กับ พ.ต.อ.วันชัย วงศ์วาณิชอนันต์ ผกก.สน.ดุสิต ว่า จะชุมนุมเป็นเวลา 1 เดือน ยุติในวันที่ 2 มีนาคม 2567 แต่ยังมีการปักหลักต่อเนื่อง จนถึง 31 มีนาคม 2567 และยังไม่มีการยุติ โดยมีข้อเรียกร้องของ คือ 1. ให้นำตัวนายทักษิณกลับเข้าเรือนจำ 2. ให้หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องต้องถูกลงโทษกรณีช่วยเหลือนายทักษิณ 3. เรียกร้องให้ผู้ตรวจการแผ่นดินออกมาชี้แจงกรณีที่ทางกรมราชทัณฑ์ บอกว่า ได้ขึ้นไปพบนายทักษิณชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ 4. เรียกร้องไปยังบุคลากรด้านกฎหมาย ให้แสดงจุดยืน กรณีของนายทักษิณ ว่าเป็นการทำลายระบบยุติธรรม หรือไม่ 5. เชิญชวนประชาชนเข้าชื่อประชาชน 2 หมื่นรายชื่อ เพื่อดำเนินการกับ ป.ป.ช.ที่ไม่ตรวจสอบผู้กระทำความผิด กรณีช่วยเหลือนายทักษิณ และ 2.การชุมนุมของศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน (ศปปส.) เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2567บริเวณเชิงสะพานมัฆวานรังสรรค์ เพื่อคัดค้านข้อเรียกร้องให้ยุติการดำเนินคดีต่อ 'อานนท์ นำภา' และผู้ถูกดำเนินคดี ม.112 ของผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สหประชาชาติ

การชุมนุมเรียกร้องขับไล่นักท่องเที่ยวต่างชาติที่หาดยามู จ.ภูเก็ต ,การจัดกิจกรรมเนื่องจากวันสตรีสากล ที่ กรุงเทพและเชียงใหม่ ,การรวมตัวของคนเสื้อแดงเชียงใหม่รวหน้า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทวงถามทักษิณและรัฐบาลว่าจะทวงความยุติธรรมให้คนเสื้อแดงที่เสียชีวิตในปี 53 และการชุมนุมของกลุ่มพี่มูฟเนื่องจากโดยแจ้งข้อกล่าวหาในฐานละเมิด พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะฯ ที่กล่าวมาข้างต้น