วันที่: 8/8/2566 ผู้เขียน: Faozee Lateh

ประมวลสถานการณ์การชุมนุมและการคุกคาม ประจำเดือนมกราคม 2566

description

ในเดือนมกราคมนี้ มีการชุมนุมทั่วประเทศอย่างน้อย 78 ครั้ง ส่วนใหญ่เป็นการชุมนุมในประเด็นเรียกร้องสิทธิในการประกันตัวให้ผู้ต้องขัง

รายงานการชุมนุมและสถานการณ์ การคุกคาม ประจำเดือนมกราคม 2566

ในเดือนมกราคมนี้ มีการชุมนุมทั่วประเทศอย่างน้อย 78 ครั้ง ส่วนใหญ่เป็นการชุมนุมในประเด็นเรียกร้องสิทธิในการประกันตัวให้ผู้ต้องขัง เนื่องจากในเดือนนี้มีคำสั่งถอนประกันนักกิจกรรมทางการเมือง 4 คน ได้แก่ โสภณ สุรฤทธิ์ธำรง และใบปอ (สงวนชื่อนามสกุล) นอกจากนี้ ทานตะวัน ตัวตุลานนท์ และแบม อรวรรณ (สงวนนามสกุล) ยังได้ยื่นคำร้องขอถอนประกันตนเอง หลังจากทั้งคู่ยื่นคำร้องแล้ว ศาลได้มีคำสั่งให้ถอนประกัน ทำให้ทั้งคู่ถูกนำตัวไปคุมขังที่ทัณฑสถานหญิง ต่อมาไม่นาน ทานตะวันและแบมได้ประกาศยกระดับการเคลื่อนไหวด้วยการอดน้ำอดอาหาร ต่อมา มีการคุมขัง สิทธิโชค เศรษฐเศวต จากการถูกกล่าวหาว่านำของเหลวคล้ายว่าเป็นน้ำมันไปฉีดพ่นใส่กองเพลิงที่ลุกไหม้อยู่บริเวณฐานพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 10 และพระราชินี บริเวณเกาะกลางถนนราชดำเนินนอก แยกผ่านฟ้าลีลาศ ระหว่างการชุมนุม #ม็อบ18กรกฎา2564 ซึ่งสิทธิโชคเองก็ได้ยกระดับการเคลื่อนไหวในเรือนจำด้วยการอดอาหารและน้ำเช่นกัน ด้วยเหตุดังกล่าว ทำให้มีการชุมนุมในประเด็นเรียกร้องสิทธิในการประกันตัวให้ผู้ต้องขังทางการเมืองมากที่สุด อย่างน้อย 69 ครั้ง ทั่วประเทศ โดยเป็นกิจกรรม ยืนหยุดขัง ที่จังหวัดกรุงเทพมหานครและปริมนฑล อย่างน้อย 42 ครั้ง จัดกิจกรรมโดยกลุ่มพลเมืองโต้กลับ หน้าศาลฎีกา อย่างน้อย 28 ครั้ง

asset

@faozee

asset

@Chanakran

จัดกิจกรรมโดยกลุ่มทะลุฟ้า บริเวณหอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพฯ อย่างน้อย 10 ครั้ง ซึ่งเคยถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.ปทุมวัน เข้ามาอ่านประกาศ ให้เลิกการชุมนุมภายใน 30 นาทีอีกด้วย และจัดกิจกรรมโดยกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม บริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และท่าพระจันทร์ อย่างน้อย 4 ครั้ง

asset

@jarik

นอกจากนี้ ยังมีการจัดกิจกรรมยืนหยุดขังในภูมิภาคต่างๆทั่วประเทศ อย่างน้อย 17 ครั้ง เป็นการจัดกิจกรรมยืนหยุดทรราช บริเวณท่าแพ จังหวัดเชียงใหม่ อย่างน้อย 5 ครั้ง จังหวัดแพร่ มีการจัดกิจกรรมยืนหยุดขังโดยเครือข่ายผู้รักประชาธิปไตยจังหวัดแพร่ ซึ่งมีการจัดกิจกรรมยืนหยุดขังในรูปแบบ Flashmob 10 จุดทั่วจังหวัด จังหวัดพิษณุโลก มีการจัดกิจกรรมยืนหยุดขังอย่างน้อย 2 ครั้ง โดยกลุ่มพิราบขาว และกลุ่ม NU-movement จังหวัดนครสวรรค์ มีการจัดกิจกรรมโดยกลุ่มราษฎรนครสวรรค์อย่างน้อย 1 ครั้ง จังหวัดลำพูน อย่างน้อย 1 ครั้ง จังหวัดลำปาง โดยกลุ่มพิราบขาวเพื่อมวลชนและเครือข่าย อย่างน้อย 2 ครั้ง จังหวัดน่าน โดยกลุ่มเครือข่ายนักเรียนนักศึกษาน่าน อย่างน้อย 1 ครั้ง จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยกลุ่มเยาวชนอุตรดิตถ์ปลดแอกและคณะก้าวหน้าอุตรดิตถ์ อย่างน้อย 1 ครั้ง จังหวัดนครสวรรค์ มีการจัดกิจกรรมโดยกลุ่มราษฎรนครสวรรค์ อย่างน้อย 1 ครั้ง จังหวัดพัทลุง อย่างน้อย 1 ครั้ง และจังหวัดขอนแก่น อย่างน้อย 1 ครั้ง

asset

@Chanakarn

ไม่เพียงแต่กิจกรรมในรูปแบบยืนหยุดขังเท่านั้น ยังมีการจัดกิจกรรมในรูปแบบอื่นอย่างน้อย 11 ครั้ง เพื่อสนับสนุน 3 ข้อเรียกร้องของทานตะวันและแบม ได้แก่ กิจกรรมเลือดแลกเลือด ของทานตะวัน ตัวตุลานนท์ และแบม อรวรรณ (สงวนนามสกุล) มีการเทของเหลวสีแดงลงบนร่างกาย พร้อมประกาศถอนประกันตนเอง เพื่อเรียกร้องให้ศาลปล่อยเพื่อนๆ และนักกิจกรรมทางการเมืองที่ยังไม่ได้ประกันตัวมาตั้งแต่ปี 2565 ก่อนที่พวกเธอจะถูกถอนประกันและถูกส่งตัวเข้าเรือนจำ กิจกรรมปักหลักชุมนุมปล่อยเพื่อนเรา บริเวณศาลอาญา รัชดา ของกลุ่มศิลปินเพลงเพื่อราษฎร กลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัด Performance art 5 ชั่วโมง 12 นาที โดยการใส่ชุดคล้ายนักโทษ มีโซ่พันแขนขา ใช้ชีวิตร่วมกับบัณฑิตที่กำลังมางานรับปริญญา ระหว่างการจัดกิจกรรมมีตำรวจเข้ามาสอบถาม พยายามห้ามปราม ก่อนจะเข้าล้อมและพยายามพาตัวไปพูดคุยด้วยนอกจากนี้ ยังพบการแขวนป้ายผ้า “เพื่อนเรากำลังจะตาย” ตามมหาวิทยาลัยในจังหวัดเชียงใหม่ เช่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ เป็นต้น กลุ่มเฟมินิสต์ปลดแอกอีสาน จัดกิจกรรม อดอาหารด้วยกันกับเพื่อน เป็นเวลา 8 ชั่วโมง ที่บริเวณลานหน้าบึงศรีฐาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น

asset

@Faozee

กลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย พร้อมแนวร่วม จัดกิจกรรม Car mob for freedom จากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยไปศาลอาญา องค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อบจ.) ร่วมกับกลุ่มเกียมอุดมไม่ก้มหัวให้เผด็จการ จัดกิจกรรม เดินหยุดขัง 1.12 กิโลเมตร เพื่อร่วมกิจกรรมยืนหยุดขัง 112 ชั่วโมง ของกลุ่มทะลุฟ้า

asset

@Faozee

กิจกรรม ยื่น หยุด ขัง ของกลุ่มทะลุฟ้า จัดกิจกรรมเดินขบวนไปที่ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก เพื่อยื่นขอประกันตัวนักกิจกรรมการเมืองร่วมกับทนายความ และญาตินักโทษการเมือง กลุ่มทะลุวัง เดินเท้าจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ไปยังศาลฎีกา เพื่อยื่นรายชื่อสนับสนุน 3 ข้อของทานตะวันและแบม ที่รวบรวมโดยเว็บไซต์ Change.org มีผู้ร่วมลงชื่อมากกว่า 6,514 รายชื่อ และ 16 รายชื่อของคณาจารย์คณะนิติศาสตร์ทั่วประเทศ นอกจากนี้ กลุ่มทะลุวังและแนวร่วมยังได้ไปยื่นหนังสือถึงผู้บริหารพรรคเพื่อไทย เพื่อเสนอนโยบายเร่งด่วนเกี่ยวกับ 3 ข้อเรียกร้องดังกล่าว วรรณวลี ธรรมสัตยา ยังได้จำลองเหตุการณ์คดีของคทาธร คงเพชร และพรพจน์ ที่หน้าศาลอาญา เพื่อเรียกร้องสิทธิในการประกันตัวให้ผู้ต้องขังทางการเมืองด้วย

กิจกรรมที่มีการชุมนุมรองลงมาคือประเด็นเรียกร้องให้ปฏิรูปการศึกษา มีการชุมนุมอย่างน้อย 4 ครั้งในวันเด็กแห่งชาติ กลุ่มนักเรียนเลวอย่างน้อย 4 คน ได้แจกคู่มือเอาตัวรอดในโรงเรียน บริเวณกระทรวงศึกษาธิการ โดยเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการทำตามข้อเรียกร้องสามข้อ คือปรับปรุงหลักสูตร แก้ปัญหาความรุนแรงภายในโรงเรียนรวมถึงเรียกร้องให้กระทรวงศึกษาธิการต้องปรับกฎระเบียบต่างๆ ที่ล้าหลัง ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจในเครื่องแบบทั้งหญิงและชายจำนวนไม่น้อยกว่า 20 คน ยืนสังเกตการณ์บริเวณที่ทำกิจกรรม นักกิจกรรมเด็ก 4 คน พยายามขอเข้างานวันเด็กที่ทำเนียบรัฐบาล แต่ถูกเจ้าหน้าที่ในเครื่องแบบห้ามไม่ให้เข้าพื้นที่ และมีการล็อกแขน เอียร์ หนึ่งในนักกิจกรรมเด็กอายุ 14 ปี จนได้รับบาดเจ็บด้วย ในวันเดียวกัน งานวันเด็กที่กองบิน 41 จังหวัดเชียงใหม่ แยม เยาวชนอายุ 18 ปี ถูกเจ้าหน้าที่ของกองบินยึดป้ายผ้าและสีเทียน ขณะทำกิจกรรมเขียนป้ายผ้า “เด็กบอกอะไรกับผู้ใหญ่” โดยแจ้งว่าไม่สามารถเขียนป้ายในงานได้ เนื่องจากกิจกรรมไม่สร้างสรรค์ พร้อมทั้งอธิบายต่อว่าคำว่า “ทรงอย่างแบด แซดอย่างบ่อย” เป็นคำที่ดูแย่ เขียนทำไม ขณะที่แยมและเพื่อนกำลังเดินจะออกจากงานได้มีเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบวิ่งตามมาถามว่า “เมื่อกี้น้องถ่ายคลิปอะไรไว้ พี่ไม่อนุญาตให้คลิปนะ” และดึงแขนแยมจนล้มลง ทำให้เข่าเป็นแผลถลอก แยมจึงได้ตะโกนขอความช่วยเหลือจากคนที่อยู่ในบริเวณนั้น เจ้าหน้าที่จึงได้ยอมปล่อยตัวแยมและเพื่อนออกจากงาน กลุ่มนักเรียนปฏิรูป/ นักเรียนมูฟออน จัดกิจกรรมแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ คำสอนคุณครูดี (ที่ไม่ใช่ยุคสมัยของหนู) เพื่อเรียกร้องให้มีการปฏิรูปการศึกษา

ในเดือนนี้ ยังมีการชุมนุมในประเด็นเรียกร้องให้รัฐบาลลาออกและประท้วงคำสั่งย้ายข้าราชการอย่างน้อย 3 ครั้ง ได้แโรงพยาบาลจะนะ เครือข่ายภาคประชาชนจังหวัดสงขลา ก็ได้ยื่นหนังสือและปราศรัยในประเด็นของ นพ.สุภัทร ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลาอีกด้วย นอกจากนี้ ยังมีการส่งจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข นายอนุทิน ชาญวีรกูล ในประเด็นดังกล่าว[3]

ประเด็นสุดท้าย คือ ประเด็นเรียกร้องด้านสิ่งแวดล้อมและสิทธิที่ดินทำกิน โดยมีการชุมนุมอย่างน้อย 2 ครั้ง เพื่อคัดค้านโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ ซึ่งมีการเสวนาและร่วมลงชื่อคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานขยะที่ตำบลทาขุมเงิน อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูนต่อมา ชาวบ้านได้รวมตัวกันยื่นหนังสือถึงผู้ว่าฯ ย้ำไม่ให้สร้างโรงไฟฟ้าพลังงานขยะในหมู่บ้านเด็ดขาด

สถานการณ์ก่ กลุ่มพิราบขาวเพื่อมวลชน จัดกิจกรรมชูป้ายต้อนรับรองนายกรัฐมนตรีที่จังหวัดลำปาง ระหว่างจัดกิจกรรมถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจและฝ่ายความมั่นคงไม่น้อยกว่า 30 นาย ใช้กำลังเข้าควบคุมการชูป้าย “หยุดมรดก คสช.” และ “ไอ่สัสป้อม #พอกันที 8 ปีที่กูเจอ” นอกจากนั้น มีการพูดปราศรัยเกี่ยวกับมรดก คสช. ผลพวงจากอำนาจของคณะรัฐประหาร และการบริหารงานที่ล้มเหลวของรัฐบาล พร้อมไม่ให้สื่อบันทึกภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เนื่องจากมีกระแสว่า นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ผอ.รพ.จะนะ จะถูกสั่งย้ายโดยไม่ทราบสาเหตุ ทำให้เครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น และมวลชนเดินทางไปให้กำลังใจ นพ.สุภัทร ที่การดำเนินคดี ประจำเดือนมกราคม 2566

ในเดือนมกราคมนี้ สถานการณ์การดำเนินคดีประชาชนยังเป็นไปอย่างเข้มข้น ศาลชั้นต้นทยอยมีคำพิพากษาคดีต่างๆ ออกมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งคดีมาตรา 112 จำนวน 6 คดี, คดี พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ อีก 8 คดี พร้อมกับการที่มีการดำเนินคดีมาตรา 112 คดีใหม่เพิ่มอีกไม่น้อยกว่า 4 คดี นอกจากนี้ ยังมีการถอนประกันนักกิจกรรม 2 คน ได้แก่ โสภณ สุรฤทธิ์ธำรง และใบปอ (สงวนชื่อและนามสกุล) ในคดีมาตรา 112 จากเหตุเข้าร่วมการชุมนุมช่วง APEC และการยื่นขอถอนประกันตนเองของ ทานตะวัน ตัวตุลานนท์ และแบม อรวรรณ (สงวนนามสกุล) ในคดีมาตรา 112 หลังจากนั้น ทานตะวันและแบมได้ประกาศอดอาหารและอดน้ำ เพื่อเรียกร้องเกี่ยวกับสิทธิประกันตัวและปัญหาในกระบวนการยุติธรรม

ตั้งแต่เริ่มการชุมนุมของ “เยาวชนปลดแอก” เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2563 จนถึงวันที่ 31 มกราคม 2566 มีประชาชนที่ถูกดำเนินคดีจากสถานการณ์ชุมนุมและการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ไปแล้วอย่างน้อย 1,890 คน ในจำนวน 1,169 คดี เป็นเด็กและเยาวชนที่อายุต่ำกว่า 18 ปี จำนวน 284 ราย ใน 211 คดี โดยแยกเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี จำนวน 41 คน และเยาวชนอายุระหว่าง 15-18 ปี จำนวน 243 คน เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนธันวาคม 2565 มีผู้ถูกดำเนินคดีรายใหม่เพิ่มขึ้น 2 คน คดีเพิ่มขึ้น 4 คดี (นับเฉพาะผู้ที่ไม่เคยถูกดำเนินคดีมาก่อน) โดยเป็นเด็กและเยาวชนรายใหม่ 1 คน หากนำจำนวนผู้ถูกดำเนินคดีทั้งหมดมาเรียงต่อกันโดยไม่หักผู้ถูกดำเนินคดีซ้ำออก จะพบว่ามีการถูกดำเนินคดีอย่างน้อย 3,772 ครั้ง

สำหรับสถิติการดำเนินคดี แยกตามข้อกล่าวหาสำคัญ ได้แก่

1. ข้อหา “หมิ่นประมาทกษัตริย์” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 มีผู้ถูกกล่าวหาอย่างน้อย 228 คน ในจำนวน 247 คดี

ในเดือนมกราคมนี้ มีการดำเนินคดีเพิ่มขึ้น 3 คน ใน 4 คดี ได้แก่ โชคดี ร่มพฤกษ์ กรณีร่วมกิจกรรมเดินขับไล่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในโอกาส #8ปีประยุทธ์ จากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ มายังทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 23-24 ส.ค. 2565 และได้ร้องเพลง "โชคดีที่มีคนไทย" โดยเขาถูกแจ้งข้อกล่าวหามาตรา 112 เพิ่ม ตี๋ (สงวนชื่อสกุล) แจกหนังสือ “รวมบทปราศรัยคัดสรรคดี 112” ในงานรับปริญญาของมหาวิทยาลัย ตั้งแต่เมื่อวันที่ 30 ธ.ค. 2564 อรรถพล บัวพัฒน์ เขาถูก ปารีณา ไกรคุปต์ แจ้งข้อกล่าวหามาตรา 112 จากกรณีปราศรัยในการชุมนุมทางการเมืองบริเวณแยกราชประสงค์ เมื่อวันที่ 15 พ.ย. 2563 โดยก่อนหน้านั้น อรรถพลได้ยื่นฟ้องคดีต่อปารีณาในข้อหาหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา จากการโพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กกล่าวหาว่าเขาปราศรัยในทำนองประกาศจะฆ่าพระมหากษัตริย์ ซึ่งศาลได้มีคำพิพากษาเห็นว่าปารีณามีความผิด นอกจากนี้ ยังมีการดำเนินคดีเด็กหญิง อายุ 14 ปี ซึ่งถือว่าเป็นเด็กที่อายุน้อยที่สุดที่ถูกดำเนินคดีในข้อหาดังกล่าว เธอถูกแจ้งข้อกล่าวหาโดยอานนท์ กลิ่นแก้ว แกนนำกลุ่มศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน (ศปปส.) เบื้องต้นยังไม่ทราบสาเหตุที่เธอถูกแจ้งข้อกล่าวหาดังกล่าว

นอกจากการดำเนินคดีเพิ่มแล้ว ยังมีการสั่งฟ้องคดีเพิ่มอย่างน้อย 5 คน ใน 5 คดี ได้แก่ อานนท์ นำภา และพริษฐ์ ชิวารักษ์ทั้งคู่ถูกกล่าวหาจากการร่วมขึ้นปราศรัยในการชุมนุมที่ใช้ชื่อว่า “ปาร์ตี้ริมเขา เป่าเค้กวันเกิด พลเรือเอกก๊าบๆ” ที่ลานหอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 23 พ.ย. 2563 และคดีของพริษฐ์ ชิวารักษ์ กรณีการโพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กเมื่อวันที่ 28 พ.ย. 2563 เนื้อหาเกี่ยวกับการนำพระแก้วมรกตไปขายในสมัยรัชกาลที่ 7 และความจำเป็นในการแก้ไข พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ อติรุจ (สงวนนามสกุล) กรณีถูกกล่าวหาว่าตะโกนวิจารณ์ว่า “ไปไหนก็เป็นภาระ” ใส่ขบวนเสด็จขากลับของรัชกาลที่ 10 และราชินี ขณะเคลื่อนผ่านออกจากศูนย์การประชุมสิริกิติ์ เมื่อช่วงค่ำของวันที่ 15 ต.ค. 2565 แม็ค (นามสมมติ) เขาถูกกล่าวหาว่าใช้เฟซบุ๊กส่วนตัวแสดงความคิดเห็นในเฟซบุ๊กของ “Somsak Jeamteerasakul” เกี่ยวกับข่าวลืออาการป่วยของรัชกาลที่ 10 เมื่อช่วงเดือนพฤษภาคม ปี 2564 คาริม นักกิจกรรมกลุ่มทะลุฟ้า ถูกสั่งฟ้องจากกรณีถูกกล่าวหาว่าเผาซุ้มเฉลิมพระเกียรติ-ป้อมจราจร หน้า รร.ราชวินิต มัธยม ระหว่างการชุมนุมวันที่ 19 กันยายน 2564

ในเดือนนี้ มีคำพิพากษาคดีในข้อหามาตรา 112 ทั้งหมด 5 คดี โดยมีคดีที่ศาลพิพากษาว่ามีความผิดตามฟ้อง 2 คดี ได้แก่ มงคล ถิระโคตร กรณีโพสต์เฟสบุ๊คจำนวน 27 โพส คดีของมงคลถูกศาลสั่งให้พิจารณาเป็นการลับมาตลอด เขาถูกพิพากษาลงโทษจำคุกกระทงละ 3 ปี และได้รับการลดโทษให้เหลือกระทงละ 2 ปี รวมโทษจำคุก 28 ปี แต่ได้รับการประกันตัวออกมาสู้คดีในชั้นอุทธรณ์ สิทธิโชค เศรษฐเศวต ถูกศาลตัดสินจำคุกตามข้อหามาตรา 112 ทั้งหมด 3 ปี และจำคุกในข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ อีก 6 เดือน ลดโทษเหลือจำคุกรวม 2 ปี 4 เดือน จากการถูกกล่าวหาว่านำของเหลวคล้ายว่าเป็นน้ำมันไปฉีดพ่นใส่กองเพลิงที่ลุกไหม้อยู่บริเวณฐานพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 10 และพระราชินี บริเวณเกาะกลางถนนราชดำเนินนอก แยกผ่านฟ้าลีลาศ ระหว่างการชุมนุม #ม็อบ18กรกฎา2564 ทั้งนี้ สิทธิโชคไม่ได้รับสิทธิประกันตัวและถูกนำตัวเข้าเรือนจำทันที

มีคำพิพากษายกฟ้อง 3 คดี ได้แก่ ไลลา (นามสมมติ) กรณีถูกกล่าวหาว่าปลดพระบรมฉายาลักษณ์ในการชุมนุมของนักศึกษาที่มธ.ลำปาง เมื่อวันที่ 17 ต.ค. 2563 โดยศาลชี้ว่าไม่มีหลักฐานว่าจำเลยได้ร่วมกระทำการดังกล่าว นคร (นามสมมติ) กรณีแชร์โพสต์ข้อความจากเพจ “Thai Athoist เพจคนไม่เชื่อพระเจ้า V2” และ “KonthaiUK” เนื่องจากหลักฐานพยานโจทก์ไม่น่าเชื่อถือ พิสูจน์ไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้แชร์โพสต์ดังกล่าว นักศึกษาและประชาชนรวม 5 คน จากการแขวนป้ายผ้าที่มีข้อความ “งบสถาบันกษัตริย์>วัคซีนCOVID19” บริเวณสะพานรัษฎาภิเศก เมื่อวันที่ 30 ธ.ค. 2563 ศาลยกฟ้องข้อหามาตรา 112 และยกฟ้อง พ.ร.บ.คอมฯ ของพินิจ ชี้ไม่มีหลักฐานเพียงพอ แต่ลงโทษปรับพินิจ ฐาน พ.ร.บ.ความสะอาด 5,000 บาท และให้ยึดป้ายผ้าของกลางในคดีดังกล่าว

ทั้งนี้ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights: ICCPR) ที่ประเทศไทยเป็นรัฐภาคี ได้ให้การคุ้มครองบุคคลใช้สิทธิและเสรีภาพการแสดงออกภายใต้ข้อ 19 และสิทธิและเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบภายใต้ข้อ 21 อีกทั้ง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ได้ระบุถึงข้อห่วงกังวลต่างๆ เกี่ยวกับกฏหมายว่าด้วยการหมิ่นพระมหากษัตริย์ทั่วโลก โดยกล่าวว่า บุคคลสาธารณะทุกคน รวมถึงผู้ที่มีอำนาจสูงสุดทางการเมือง ล้วนเป็นผู้ที่ควรถูกวิพากษ์วิจารณ์ได้อย่างชอบธรรม และการต่อต้านคัดค้านทางการเมือง รวมถึงการวิพากษ์วิจารณ์สถาบันของรัฐนั้นไม่ควรเป็นเรื่องต้องห้าม แม้ในกรณีที่ข้อกล่าวหาเกี่ยวกับการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนั้นอาจถูกมองว่าเป็นโทษที่เกี่ยวข้องกับการหมิ่นประมาท คณะกรรมการฯ ได้ลงความเห็นว่า “โทษจำคุกไม่ใช่เป็นการลงโทษที่เหมาะสมในทุกกรณี”

2. ข้อหา “ยุยงปลุกปั่น” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 มีผู้ถูกกล่าวหาอย่างน้อย 128 คน ในจำนวน 40 คดี

3. ข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ มีผู้ถูกกล่าวหาอย่างน้อย 1,467 คน ในจำนวน 663 คดี

ในเดือนนี้ ยังคงมีการสั่งฟ้องคดีข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เพิ่มอีก 2 คดี ได้แก่ นิรันดร์ ลวดเงิน และวิสณุพร สมนาม ถูกอัยการสั่งฟ้องคดี กรณีเข้าร่วมกิจกรรมคาร์ม็อบสุรินทร์ไล่เผด็จการ เมื่อวันที่ 1 และ 15 ส.ค. 2564 ก่อนศาลมีคำสั่งให้ปล่อยตัวชั่วคราวโดยทำสัญญาว่าจะมาตามนัดศาลทุกนัด หากไม่มาจะต้องเสียค่าปรับ 20,000 บาท

มีการพิพากษาคดีในข้อหาดังกล่าวทั้งหมด 7 คดี ศาลพิพากษายกฟ้อง 6 คดี ได้แก่ ณรงค์ชัย อินทรกวีเหตุจากการเข้าร่วมกิจกรรมคาร์ม็อบในจังหวัดสิงห์บุรี เมื่อวันที่ 31 ก.ค. 2564 เนื่องจากไม่มีหลักฐานว่าจำเลยได้กระทำการนั้น นักกิจกรรม 6 คน กรณีเข้าร่วมกิจกรรม “โคราษฎร์ปฏิวัติ Car Mob and Mini Market” ของกลุ่ม Korat Movement เมื่อวันที่ 21 ส.ค. 2564 เนื่องจากไม่ใช่ผู้จัดการชุมนุมชลธิชา แจ้งเร็ว กรณีจัดการชุมนุมขีดเส้นตายไล่เผด็จการ ที่บริเวนถนนราชดำเนินกลาง รอบอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 16 ส.ค. 2563 ศาลชี้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ไม่ใช่เครื่องมือทางการเมืองเพื่อปราบปรามการชุมนุมอย่างไร้เหตุผล เฉลิมชัย วัดจัง และธนเดช ศรีสงคราม กรณีการจัดเดินขบวนไปร่วมตั้งหมู่บ้านทะลุฟ้า ที่บริเวณข้างทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2564 ศาลให้เหตุผลว่าเป็นการชุมนุมโดยสงบปราศจากอาวุธตามรัฐธรรมนูญ และมาตรการที่บังคับใช้ต้องสอดคล้องกับกฎหมายลำดับศักดิ์สูงกว่า ไม่เป็นภาระต่อประชาชนเกินสมควร แต่ให้ลงโทษปรับตาม พ.ร.บ.เครื่องขยายเสียงฯ คนละ 200 บาท ปิยรัฐ จงเทพ, ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล และพริษฐ์ ชิวารักษ์ จากการชุมนุม #StandWithMyanmar หน้าสถานเอกอัครทูตสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาประจำประเทศไทย ถนนสาธรเหนือ เพื่อต่อต้านการรัฐประหารของ พล.อ.อาวุโส มิน อ่อง หล่าย เมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2564 ศาลยกฟ้องเนื่องจากบริเวณที่ชุมนุมไม่ใช่สถานที่แออัด และไม่ได้ยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย และยกฟ้องข้อหาตาม พ.ร.บ.เครื่องขยายเสียงฯ เนื่องจากโจทก์ไม่ได้นำสืบให้ทราบว่าจำเลยใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต ชาติชาย แกดำ กรณีเข้าร่วมคาร์ม็อบรังสิต เริ่มต้นบริเวณหน้ามหาวิทยาลัยรังสิต มุ่งสู่ถนนวิภาวดี-รังสิต เพื่อนำขบวนรถไปสมทบกับคาร์ม็อบในพื้นที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2564 เนื่องจากไม่ใช่ผู้จัด จึงไม่มีหน้าที่ขออนุญาตจัดกิจกรรม-จัดมาตรการป้องกันโรค ศาลพิพากษาว่ามีความผิด ได้แก่ ปิยรัฐ จงเทพ จากการชุมนุมแต่งชุดไทยให้กำลังใจผู้ถูกดำเนินคดี “หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เมื่อวันที่ 17 ธ.ค. 2563 บริเวณหน้าสถานีตำรวจนครบาลยานนาวา ศาลพิพากษายกฟ้องฐานกีดขวางจราจร และใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่ข้อหาหลักตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และ พ.ร.บ.ชุมนุมฯ ให้ลงโทษปรับ 2,000 บาท ที่ผ่านมา มีการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เพื่อดำเนินคดีผู้ใช้สิทธิและเสรีภาพในการชุมนุมเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะกลุ่มที่วิพากษ์วิจารณ์การบริหารงานของรัฐบาล ซึ่งการแสดงออกดังกล่าว ได้รับการคุ้มครองภายใต้ ข้อ 21 ของ ICCPR เสรีภาพในการแสดงออกและในข้อมูล ภายใต้ข้อ 19 ของ ICCPR เสรีภาพในการเคลื่อนไหว ภายใต้ข้อ 12 ของ ICCPR และสิทธิในการที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารรัฐกิจ ภายใต้ข้อ 25 ของ ICCPR อย่างไรก็ตาม การดำเนินคดีเหล่านั้นต่อประชาชนไม่ถือว่ามีความจำเป็นและได้สัดส่วน และข้อที่ 4 ของ ICCPR จะให้รัฐภาคีสามารถเลี่ยงพันธกรณีของตนภายใต้ ICCPR ได้เท่าที่จำเป็นและได้สัดส่วนตามสถานการณ์ฉุกเฉินของสถานการณ์ โดยประเทศไทยได้แจ้งให้เลขาธิการสหประชาชาติได้รับรู้ มีผลบังคับใช้วันที่ 26 มี.ค. 2563 ถึง 30 มิ.ย. 2563 ซึ่งไม่ได้ทำการแจ้งเลขาธิการสหประชาชาติเพิ่มเติมเกี่ยวกับการขยายเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ประเทศไทยจึงไม่ได้มีการใช้สิทธิในการเลี่ยงพันธกรณีภายใต้ ICCPR หลังจากวันที่ 30 มิถุนายน 2563

4. ข้อหาตาม พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ อย่างน้อย 132 คน ในจำนวน 76 คดี

5. ข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ อย่างน้อย 159 คน ในจำนวน 179 คดี

ศาลมีคำพิพากษา 3 คดี โดยเป็นคำพิพากษายกฟ้อง 2 คดี ได้แก่ สนธยา (สงวนนามสกุล) กรณีทวีตภาพถ่ายพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 10 ที่ถูกพ่นสีสเปรย์เป็นข้อความ “กษัตริย์[…]” อยู่ใต้ฐาน พร้อมข้อความประกอบว่า “พัทยากลางค่ะ” ในช่วงวันที่ 16 ต.ค. 2563 ชี้ฟ้องโจทก์ไม่บรรยายให้เข้าใจว่าเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรฐานใด ไม่ชอบด้วยวิ.อาญา ให้คืนของกลางที่ยึดไว้ซึ่งเป็นโทรศัพท์มือถือ นอกจากนี้ ศาลยังยกฟ้องประชาชนอีกราย เขาถูกกล่าวหาจากการเผยแพร่ภาพถ่ายเหตุการณ์เดียวกันกับสนธยาบนเฟซบุ๊ค พร้อมข้อความประกอบว่า “แยกพัทยาใต้” ชี้เพิ่มไม่ปรากฎว่ารูปภาพถูกตัดต่อโดยจำเลย ไม่เป็นการนำเข้าข้อความอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์

คดีของดนัย อุศมา กรณีใช้เฟซบุ๊กบัญชีชื่อ “Zen Wide” โพสต์ข้อความเมื่อวันที่ 16 มี.ค. 2563 ว่าได้เดินทางกลับจากเมืองบาร์เซโลน่า ประเทศสเปน เข้าประเทศไทยโดยที่ไม่มีเจ้าหน้าที่มาตรวจคัดกรองผู้โดยสารที่สนามบินสุวรรณภูมิ ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษากลับคำพิพากษายกฟ้องของศาลชั้นต้น สั่งลงโทษจำคุก 1 ปี และ ปรับ 50,000 บาท โทษจำคุกรอลงอาญา 2 ปี ส่วนโทรศัพท์ที่ใช้โพสต์ข้อความ ศาลเห็นว่าเป็นของกลางที่ใช้ในการกระทำความผิด ให้ริบไว้ หลังฟังคำพิพากษา ทนายความและดนัยได้หารือว่าจะเตรียมฎีกาคำพิพากษานี้ต่อไป

6. ข้อหาละเมิดอำนาจศาล อย่างน้อย 36 คน ใน 20 คดี และคดีดูหมิ่นศาล อย่างน้อย 27 คน ใน 8 คดีในส่วนของคดีละเมิดอำนาจศาล ศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษา 4 คดี ได้แก่ คดีของ เบนจา อะปัญ และณัฐชนน ไพโรจน์ จากการร่วมชุมนุมต่อเนื่องที่ด้านหน้าของศาลอาญาเพื่อเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวนักโทษทางการเมือง เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2564 โดยศาลอุทธรณ์เปลี่ยนโทษจำคุก 6 เดือน เป็นจำคุก 1 เดือน ก่อนให้กักขังแทน แต่เบนจาเคยถูกขังระหว่างอุทธรณ์จนเกินโทษแล้ว จึงไม่ต้องถูกขังอีก ศาลอนุญาตให้ประกันตัวณัฐชนน วางหลักทรัพย์ 50,000 บาท เลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ และนวพล ต้นงาม เหตุร่วมชุมนุมเพื่อให้กำลังใจแกนนำในคดีชุมนุม #19กันยาทวงอํานาจคืนราษฎร บริเวณหน้าศาลอาญา รัชดาฯ เมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2564 ศาลอุทธรณ์ชี้การกระทำของทั้งสองไม่ใช่การใช้สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น จำคุก 1 เดือน ปรับ 500 บาท และให้รอลงอาญา 1 ปี

จากจำนวนคดี 1,169 คดีดังกล่าว มีจำนวน 301 คดี ที่สิ้นสุดไปแล้ว เท่ากับยังมีคดีอีกกว่า 868 คดี ที่ยังดำเนินอยู่ในกระบวนการชั้นต่างๆ

ผู้ถูกคุมขังระหว่างต่อสู้คดี

ในเดือนนี้ สถานการณ์การถอนประกันนักกิจกรรมเป็นสิ่งที่น่าจับตามองอย่างยิ่ง โดยมีการถอนประกันนักกิจกรรมที่ถูกดำเนินคดีมาตรา 112 เพิ่ม 4 คน ได้แก่ โสภณ สุรฤทธิ์ธำรง กรณีปราศรัยในการชุมนุมทัวร์มูล่าผัว เมื่อวันที่ 22 เม.ย. 2565 และใบปอ (สงวนชื่อนามสกุล) จากการแชร์โพสต์ข้อความเกี่ยวกับ “งบสถาบันกษัตริย์” และ การโพสต์ข้อความเชิญชวนให้เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นผ่านโพลเรื่องการใช้อำนาจของสถาบันกษัตริย์ จากเพจ “ทะลุวัง” เมื่อวันที่ 17 เม.ย. 2565 ทั้งคู่ถูกร้องขอถอนประกันเนื่องจากร่วมชุมนุมช่วงคัดค้านการประชุม #APEC2022 เมื่อวันที่ 17 และ 19 พ.ย. 2565 นอกจากนี้ ทานตะวัน ตัวตุลานนท์ และแบม อรวรรณ (สงวนนามสกุล) ยังได้ยื่นคำร้องขอถอนประกันตนเอง เพื่อเรียกร้องให้มีการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม, ยุติการดำเนินคดีกับประชาชนที่ออกมาใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออก และให้พรรคการเมืองทุกพรรค เสนอนโยบายยกเลิกมาตรา 112 และมาตรา 116 โดยทานตะวันได้ขอถอนประกันในกรณีไลฟ์สดหน้า UN ก่อนเวลาที่ขบวนเสด็จจะผ่านถนนราชดำเนินนอก เมื่อวันที่ 5 มี.ค. 2565 ส่วนแบมขอถอนประกันจากกรณีทำโพลขบวนเสด็จที่พารากอน หลังจากทั้งคู่ยื่นคำร้องแล้ว ศาลได้มีคำสั่งให้ถอนประกัน ทำให้ทั้งคู่ถูกนำตัวไปคุมขังที่ทัณฑสถานหญิง ต่อมาไม่นาน ทานตะวันและแบมได้ประกาศยกระดับการเคลื่อนไหวด้วยการอดน้ำอดอาหาร หลังจากข้อเรียกร้องทั้ง 3 ข้อยังไม่ได้รับการตอบรับ นอกจากนี้ ยังมีการคุมขัง สิทธิโชค เศรษฐเศวต จากการถูกกล่าวหาว่านำของเหลวคล้ายว่าเป็นน้ำมันไปฉีดพ่นใส่กองเพลิงที่ลุกไหม้อยู่บริเวณฐานพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 10 และพระราชินี บริเวณเกาะกลางถนนราชดำเนินนอก แยกผ่านฟ้าลีลาศ ระหว่างการชุมนุม #ม็อบ18กรกฎา2564 เพิ่มอีก 1 คน ซึ่งสิทธิโชคเองก็ได้ยกระดับการเคลื่อนไหวในเรือนจำด้วยการอดอาหารและน้ำเช่นกัน เพื่อเรียกร้องสิทธิในการประกันตัวให้ผู้ต้องขังทุกคน หลังจากนั้น จึงมีการยื่นคำร้องขอประกันตัวผู้ต้องขังทางการเมืองทุกคนอย่างต่อเนื่อง แต่ยังไม่มีผู้ใดได้รับการประกันตัว ทำให้ในเดือนมกราคม มีผู้ถูกคุมขังระหว่างต่อสู้คดีทั้งหมด 16 คน

สถานการณ์การคุกคามประชาชน ประจำเดือนมกราคม 2566

ในเดือนมกราคม ไม่พบการคุกคามประชาชนมากนัก แม้ว่าจะมีการชุมนุมเพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2565 จากการที่ทานตะวันกับแบมประกาศอดน้ำอดอาหารเพื่อเรียกร้องสิทธิประกันตัวให้ผู้ต้องขังทางการเมืองทุกคน ทำให้มีการชุมนุมในประเด็นเรียกร้องสิทธิประกันตัวให้ผู้ต้องขังเพิ่มขึ้น โดยสามารถแบ่งรูปแบบการคุกคามได้ ดังนี้

การคุกคามเนื่องจากมีบุคคลสำคัญลงพื้นที่

สมาชิกราชวงศ์

ฟ้า (นามสมมติ) และนิสิตอีก 2 ราย เปิดเผยว่า ถูกตำรวจนอกเครื่องแบบ 2 นาย อ้างมาจาก สภ.เมืองมหาสารคาม ไปพบที่หอพักย่านใกล้เคียงมหาวิทยาลัย และบอกว่า มาเฝ้าที่หอพักตั้งแต่ช่วงเวลา 05.00 น. เกรงว่าฟ้าจะเคลื่อนไหวทางการเมืองในช่วงทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯเดินทางมาที่มหาสารคาม นอกจากฟ้า ยังมีรายงานว่ามีนิสิตอีกอย่างน้อย 2 ราย ที่ถูกติดตามคุกคามในช่วงทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ ไปที่ จ.มหาสารคาม

บุคคลสำคัญ

นักกิจกรรมกลุ่มพิราบขาวเพื่อมวลชน 2 คน เปิดเผยว่า ถูกเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบไม่ทราบสังกัดกว่า 20 รายเข้าล้อม ขณะเดินทางไปต้อนรับ พล.อ.ประวิตร ซึ่งเดินทางมาลงพื้นที่จังหวัดลำปาง ระหว่างที่ขบวนรถแล่นผ่าน กลุ่มตำรวจนอกเครื่องแบบได้เข้าล้อมและกางร่มเพื่อบังแผ่นป้าย "หยุด มรดกคสช."

การคุกคามเพื่อขัดขวางการจัดกิจกรรม

กัญจน์ โฉมยงค์ ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจ สถานีตำรวจภูธรจังหวัดปราจีนบุรี จำนวน 2 นาย เดินทางเพื่อขอเข้าพบ บิดา-มารดาของกัญจน์ที่บ้านพักอาศัย อ้างว่ามีการแชร์ข้อความจากเฟซบุ๊ก 'Andrew MacGregor Marshall' ของ แอนดรูว์ แม็คเกรเกอร์ มาร์แชล เมื่อวันที่ 15 ธ.ค.2565 ที่กล่าวถึงสถาบันกษัตริย์และองค์รัชทายาท โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ มีความประสงค์ให้ลบโพสต์บนเฟซบุ๊กส่วนตัวของกัญจน์

การคุกคามโดยไม่ทราบสาเหตุ

กลุ่ม MoveHight มมส. ได้โพสต์เฟสบุ๊คกรณีเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยส่งชื่อและข้อมูลนิสิตที่ออกมาเคลื่อนไหวทางการเมืองให้ตำรวจทั้งที่นิสิตบางคนแทบไม่ได้เกี่ยวข้องแต่อย่างใด

กานต์ (นามสมมติ) เปิดเผยว่าเขาถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเครื่องแบบจำนวน 4 นาย ไปรอพบหน้าที่พักอาศัย ก่อนจะนำตัวไปควบคุมไว้โดยไม่มีหมายจับ เป็นเวลากว่า 2 ชั่วโมง ตำรวจได้ขอทราบรหัสเข้าใช้อีเมลและสื่อออนไลน์ต่างๆ พร้อมกับให้ลงนามในเอกสาร MOU โดยอ้างเหตุการโพสต์ข้อความแสดงความคิดเห็นเรื่องการแต่งงานกันเองภายในเชื้อสายราชวงศ์บนทวิตเตอร์ ว่าอาจมีเนื้อหาเป็นไปในลักษณะหมิ่นสถาบันกษัตริย์

แนวโน้มการคุกคามในเดือนกุมภาพันธ์ 2566

เจ้าหน้าที่รัฐยังคงจับตามองการแสดงออกของประชาชนอย่างหนัก การทำกิจกรรมทางการเมืองใดๆ ไม่ว่าจะเป็นการชุมนุมที่มีผู้เข้าร่วม หรือแม้แต่การที่เยาวชนเขียนป้ายผ้าก็นำไปสู่การควบคุมตัวได้แล้ว ซึ่งเจ้าหน้าที่รัฐไม่ลังเลที่จะใช้อำนาจในการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน เพื่อควบคุมความสงบเรียบร้อยและความมั่นคง ดังนั้น จึงสามารถวิเคราะห์แนวโน้มการคุกคามในเดือนกุมภาพันธ์ได้ว่า การคุกคามจะทวีความเข้มข้น และมีแนวโน้มว่าจะมีการใช้ความรุนแรงมากขึ้นกว่าเดิม การจัดกิจกรรมในประเด็นทางการเมืองทุกรูปแบบ โดยนักกิจกรรมกลุ่มเล็กๆหรือแม้แต่จะมีผู้จัดกิจกรรมเพียงคนเดียวก็ตาม จะยังคงถูกเพ่งเล็งและขัดขวางโดยเจ้าหน้าที่รัฐ โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่มีบุคคลสำคัญลงพื้นที่