วันที่: 20/8/2567 ผู้เขียน: Faozee

รายงานสถานการณ์การชุมนุมเดือนพฤษภาคม 2567

description

ในเดือนพฤษภาคม 2567 ยังมีการชุมนุมขนาดเล็กเกิดขึ้นอยู่ต่อเนื่อง การบันทึกและสังเกตการณ์การชุมนุมของโครงการ Mob Data Thailand พบว่าพฤษภาคม 2567 มีการชุมนุมขนาดเล็กไม่ต่ำกว่า 32 ครั้ง แต่หากนับการชุมนุมปักหลักแยกหนึ่งวันเป็นหนึ่งครั้งจะมีการชุมนุมในเดือนนี้ 60 ครั้ง โดยเป็นการชุมนุมในกรุงเทพมหานคร 16 ครั้ง และมีการชุมนุมที่เกิดขึ้นในต่างจังหวัด 16 ครั้ง

Cover Image ไข่แมวชีส

ภาพรวมการชุมนุมเดือนพฤษภาคม 2567

ในเดือนพฤษภาคม 2567 ยังมีการชุมนุมขนาดเล็กเกิดขึ้นอยู่ต่อเนื่อง การบันทึกและสังเกตการณ์การชุมนุมของโครงการ Mob Data Thailand พบว่าพฤษภาคม 2567 มีการชุมนุมขนาดเล็กไม่ต่ำกว่า 32 ครั้ง แต่หากนับการชุมนุมปักหลักแยกหนึ่งวันเป็นหนึ่งครั้งจะมีการชุมนุมในเดือนนี้ 60 ครั้ง โดยเป็นการชุมนุมในกรุงเทพมหานคร 16 ครั้ง และมีการชุมนุมที่เกิดขึ้นในต่างจังหวัด 16 ครั้ง

ท่ามกลางสถานการณ์ในการชุมนุมประท้วงที่มีตลอดทั้งเดือนแต่กระบวนการพิจารณาคดีก็ยังคงดำเนินอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกันจึงทำข้างในเรือนจำยังคงมีผู้ถูกคุมขังจากการแสดงออกทางการเมือง หรือมีมูลเหตุเกี่ยวข้องกับการเมือง รวมจำนวนอย่างน้อย 42 คน ผู้ต้องขังที่ไม่ได้รับการประกันตัวระหว่างการต่อสู้คดี อย่างน้อย 24 คน เยาวชน 1 คน ถูกคุมขังในสถานพินิจฯ ตามคำสั่งมาตรการพิเศษแทนการมีคำพิพากษาของศาล ในคดีมาตรา 112 และผู้ต้องขังที่คดีถึงที่สุดแล้วถูกคุมขังในเรือนจำ จำนวนอย่างน้อย 17 คน

asset

ภาพ ไข่แมวชีส

ทั้งนี้ บุ้ง เนติพร เสน่ห์สังคม นักกิจกรรมทางการเมือง หนึ่งในผู้ถูกคุมขังและอยู่ในความควบคุมของกรมราชทัณฑ์จากการที่ศาลอาญากรุงเทพใต้สั่งจำคุก 1 เดือนในคดีละเมิดอำนาจศาล และต่อเนื่องมาในคดีมาตรา 112 ทำโพลสำรวจความเดือดร้อนจากขบวนเสด็จที่ศาลอาญากรุงเทพใต้สั่งถอนประกันไป ตั้งแต่เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2567 จากนั้นในวันที่ 27 มกราคม 2567 บุ้งได้ปฏิบัติการอดอาหารและน้ำ จนถึงช่วงเดือนเมษายน เป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 65 วัน เพื่อประท้วง โดยมี 2 ข้อเรียกร้อง ดังนี้ ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมและจะต้องไม่มีคนเห็นต่างทางการเมืองถูกคุมขังอีก จนกระทั่งในเช้าวันที่ 14 พฤษภาคม 2567 เธอได้หมดสติขณะอยู่การควบคุมของกรมราชทัณฑ์ ในเวลา 6 นาฬิกา 15 นาที และต่อมาโรงพยาบาลราชทัณฑ์ตรวจไม่พบชีพจรจึงทำให้ต้องส่งตัว บุ้ง ไปรักษา ณ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ และได้มีการแจ้งเสียชีวิตของบุ้ง เนติพร เสน่ห์สังคม ในเวลา 11 นาฬิกา 22 นาที ในอายุ 28 ปี ทั้งนี้การเสียชีวิตของเธอ ทางครอบครัวและทนายความที่รับผิดชอบคดีของเธอ ยังคงคับข้องใจในการเสียชีวิตและกระบวนการช่วยเหลือและกู้ชีพของโรงพยาบาลราชทัณฑ์และยังคงสืบสวนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งภายหลังกรมราชทัณฑ์ได้ออกแถลงการณ์กรณ๊การเสียชีวิตของ บุ้ง เนติพร เสน่ห์สังคม พร้อมทั้งแจ้งว่ารัฐมนตีว่าการกระทรงยุติธรรมได้มีการสั่งให้มีการตั้งกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงในกรณีดังกล่าว

รายละเอียดประเด็นในการชุมนุม

จากเหตุการณ์การเสียชีวิตของ บุ้ง เนติพร เสน่ห์สังคม นักกิจกรรมทางการเมืองในระวางที่อยู่ในการควบคุมของราชทัณฑ์จากที่กล่าวมาข้างต้นนั้นทำให้ประเด็นที่มีการชุมนุมหรือรวมกลุ่มในการแสดงออกในรูปแบบต่างที่จำนวนมากที่สุดคือ การรวมกลุ่มจัดกิจกรรมแสดงความไว้อาลัยแด่ บุ้ง เนติพร เสน่ห์สังคม และประเด็นอื่นๆ ตามลำดับ ดังนี้

การรวมกลุ่มหรือชุมนุมจัดกิจกรรมเพื่อไว้อาลัยต่อการเสียชีวิตของบุ้ง เนติพร เสน่ห์สังคม

ในวันที่ 14 พฤษภาคม 2567 หลังจากมีการยืนยันการเสียชีวิตของ บุ้ง เนติพร จาก โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ในวันดังกล่าวก็ได้มีการประกาศจัดกิจกรรมเพื่อไว้อาลัยต่อการเสียชีวิต ของบุ้ง เนติพร ไม่น้อยกว่า 10 แห่ง

asset

ภาพ Faozee Lateh

อาทิ เช่น ในจังจังหวัดกรุงเทพฯ มีการนัดหมายทำกิจกรรม 2 แห่ง คือ กิจกรรมแห่งแรกคือ กิจกรรมยืน 1.12 ชั่วโมงและจุดเทียนไว้อาลัยบุ้ง เนติพร บริเวณประตูด้านหลังศาลอาญากรุงเทพใต้ในเวลาประมาน 17.00 น. โดยบรรยากาศการรักษาความปลอดภัย เจ้าหน้าที่ของศาลอาญากรุงเทพใต้ได้ปิดประตูทางเข้าออกและคัดกรองบุคคลเข้าออกในพื้นที่ศาล ขณะที่พันตำรวจเอก รัฐธนนท์ เอกฐิติกุลพัทธ์ ผู้กำกับการสถานีตำรวจนครบาลยานนาวา ได้จัดกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งในและนอกเครื่องแบบ เฝ้าระวังและสังเกตการณ์ความเคลื่อนไหวกลุ่มผู้ชุมนุม โดยมีช่วงหนึ่งทางผู้กำกับ สน.ยานนาวา ได้เข้าไปพูดคุยกับแกนนำ และแจ้งให้ทราบถึงขอบเขตข้อกฎหมายในกิจกรรมการชุมนุม ต่อมากิจกรรมแห่งที่สอง คือกิจกรรมจุดเทียนไว้อาลัยบริเวณหน้าศาลอาญารัชดาเวลาประมาน 17.00 น.นำโดย นางสาวพูนสุข พูลสุขเจริญ ทนายความจากศูนย์ทนายเพื่อสิทธิมนุษยชน โดยในกิจกกรมได้มีการวางเทียนเป็นชื่อบุ้งและมีการสลับกันปราศรัย โดยมีประชาชนเข้าร่วมไม่น้อยกว่า 70 คน ซึ่งบริเวณรอบมีตำรวจจาก สน.พหลโยธิน คอยอำนวยความสะดวกทางด้านจราจร

นอกจากจากการจัดกิจกรรมในพื้นที่กรุงเทพฯแล้วยังมีกิจกรรมในต่างจังหวัดในวันเดียวกันอีกอย่างน้อย 8 แห่ง ได้แก่จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีการจัดกิจกรรมที่ลานประตูท่าแพโดยมีประชนเข้าร่วมอย่างน้อย 50 คน ก่อนเริ่มกิจกรรมได้มีการแจกเทียนสีขาวและดำให้กับผู้ที่มาร่วมงาน ต่อด้วยการล้อมวงจุดเทียนแยกออกเป็นหลายวงและจุดเทียนเป็นคำว่าบุ้งอย่างพร้อมใจกัน มีการพูดกล่าวถึงการจากไปของบุ้งและอ่านบทกลอน นอกจากนี้ยังมีการจัดกิจกรรมที่จังหวัดลำปาง บริเวณห้าแยกอนาฬิกา โดยกลุ่มพิราบขาวเพื่อมูลชน จังหวัดเชียงราย บริเวณอนุสาวรีย์พญามังราย จังหวัดขอนแก่น บริเวณอนุเสาวรีย์ประชาธิปไตย ปทุมธานี บริเวณโรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดแพร่ บริเวณศาลากลางจังหวัดและจังหวัดนครราชสีมา ที่ ลานย่าโม

จากเหตุการณ์ที่ต่อเนื่องกัน ในวันที่ 27 พฤษภาคม 2567 เวลา 13.00 น. ที่ สน.ห้วยขวาง กลุ่มนักกิจกรรมนำภาพ บุ้ง เนติพร ไปสอบปากคำเพิ่มเติม คดี พกสี พกหน้ากาก ไปกระชากกวีซีไรต์ สวะแห่งชาติ เรียกร้องถอดถอนศิลปินแห่งชาติ สว. เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ที่หน้ากระทรวงวัฒนธรรม กลุ่มนักกิจกรรมที่ถูกดำเนินในคดีนี้ได้นำรูปภาพของนางสาวนิติพรเดินทางเข้าไปสอบปากคำเพิ่มเติมด้วย โดยทางพนักงานสอบสวน สน. ห้วยขวาง ได้เปิดเผยกับกลุ่มนักกิจกรรมว่า จะไม่สั่งฟ้องนางสาวเนติพรเพราะว่าเสียชีวิตแล้ว ซึ่งในคดีคดีนี้ มีนักกิจกรรมจำนวน 15 คน ถูกดำเนินคดีหนึ่งในนั้นคือ บุ้ง เนติพร

ประเด็นเรียกร้องสิทธิในการประกันตัวเป็นประเด็นที่มีการชุมนุมต่อเนื่องและบางพื้นที่กลับมาทำกิจกรรมอีกครั้งสืบนเนื่องจากการเสียชีวิตของบุ้งเนติพร กิจกรรมยืนหยุดทรราช จังหวัดเชียงใหม่ รวมแล้วเดือนนี้มีการชุมนุมประเด็นเรียกร้องสิทธิในการประกันตัวอย่างน้อย 6 ครั้ง

ชุมนุมเรียกร้องสิทธิในการประกันตัว

ประเด็นที่มีการชุมนุมต่อเนื่องในทุก ๆ เดือน และต่อเนื่องจากประเด็นการเสียชีวิตของ บุ้ง เนติพร คือประเด็นการเรียกร้องสิทธิในการประกันซึ่งในเดือนนี้มีการชุมนุมในประเด็นดังกล่าวอย่างน้อย 6 ครั้ง ดังนี้

asset

ภาพ แมวส้ม

สำนักข่าวประชาไท รายงานว่าการชุมนุมของนักกิจกรรมอิสระ ชื่อกิจกรรม ซอยข้าวสารอยู่ไหน เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2567 ที่บริเวณเกาะกลางวงเวียน ถ.รามบุตรี หรือ เกาะกลางถนน บริเวณถนนสิบสามห้าง (หลังบางลำภู ใกล้ถนนข้าวสาร) เขตพระนคร กรุงเทพฯ กลุ่มทะลุแก๊ซ นำโดย จิรภาส กอรัมย์ หรือ แก๊ป, คทาธร ดาป้อม หรือ ต๊ะ และประชาชน 20 คน จัดกิจกรรม ยืนหยุดขัง 112 นาที บริเวณดังกล่าว โดยผู้จัดระบุวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมว่าเป็นการยืนยึดขังเรียกร้องให้มีการคืนสิทธิ์ประกันตัวกับผู้ต้องขังทางการเมือง โดยคทาธร และเพื่อนอีก 2 คน สวมชุด PPE ยืนกางแขน บริเวณวงเวียน ให้ประชาชนไปมาได้แสดงความสนใจ โดยบนชุด PPE นั้นมีข้อความพ่นสีว่า “ปล่อยเพื่อนเรา คืนสิทธิ์ประกันตัว เลือดแลกเลือด” ส่วนประชาชนคนอื่นได้ยืนถือป้ายผ้าขนาดใหญ่ ข้อความ “ยกเลิก 112 Stop Pre-Tail detention For Political Prisoners” รวมไปถึงถือดอกทานตะวัน และรูปผู้ ต้องขังทางการเมือง

ต่อมาคือกิจกรรมยืนหยุดทรราช สัปดาห์ที่ 88 และ 89 ที่จัดขึ้นในวัน ที่ 18 และ 25 พฤษภาคม 2567 ตามลำดับ บริเวณลานท่าแพ โดยกลุ่ม We, The People ซึ่งก่อนหน้านี้กิจกรรมดังกล่าวได้ยุติตั้งแต่เดือนมีนาคมเนื่องสภาพอากาศที่ไม่ดี และได้มีการกลับมาจัดกิจกรรมขึ้นอีกครั้ง เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2567 เนื่องจากการเสียชีวิตของบุ้ง เนติพร เป็นเวลา 1 ชั่วโมง 12 นาที เพื่อตอกย้ำถึงสิทธิการประกันตัวอันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของพลเมืองและเรียกร้องให้มีการปล่อยนักโทษทางการเมือง - ยกเลิก 112 พร้อมทั้งไว้อาลัยให้กับการจากไปของ บุ้ง เนติพร

การชุมนุมของนักกิจกรรมกลุ่มทะลุวัง นำโดย 21 พฤษภาคม 2567 เวลา 11.20 น. คทาธร ถือป้ายข้อความ ปฏิรูปขบวนการยุติธรรม และรูปภาพ เนติพร เสน่ห์สังคม หรือบุ้งทะลุวัง นักกิจกรรมที่เสียชีวิตในระหว่างที่ถูกคุมขังในเรื่องจำจากคดีมาตรา 112 ที่บริเวณริมประตู 3 ทำเนียบรัฐบาล ก่อนเดินเข้ามาในพื้นที่ประตู 1 ของทำเนียบรัฐบาล ซึ่งเป็นประตูที่ไม่อนุญาตให้บุคคลภายนอกเข้าออก เป็นประตูเฉพาะรถรัฐมนตรี และนายกรัฐมนตรีใช้เข้าออก รายงานข่าวระบุด้วยว่าตำรวจที่รักษาการในทำเนียบรัฐบาลรีบนำกุญแจล็อคประตูทางเข้าตึกไทยคู่ฟ้าทันที ขณะที่หน้าประตู 1 มีตำรวจควบคุมฝูงชนพร้อมโล่ตั้งแนวป้องกันนักกิจกรรมไม่ให้เดินเข้ามาในชั้นในของทำเนียบรัฐบาล และระหว่างนั้น ตำรวจได้ปิดประตูทางเข้าประตู 1 ป้องกันไม่ให้นักกิจกรรมออกไปข้างนอก ก่อนทีตำรวจได้เปิดประตู ทำให้บรรยากาศคลี่คลาย นักกิจกรรมกลุ่มทะลุวัง จึงเดินกลับไปอยู่ฝั่งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการหรือ ก.พ.ร. เพื่อไปแถลงข่าวกับกลุ่มทะลุฟ้า ขณะที่ตำรวจยังวางแนวกำลังแน่นด้านหน้าของทำเนียบรัฐบาล ซึ่งกลุ่มทะลุฟ้าได้นัดทำกิจกรรมในวันเดียวกันเพื่อทวงถามความคืบหน้าจากรัฐบาลทั้งปมตรวจสอบการเสียชีวิตให้เกิดความโปร่งใสและชัดเจนโดยเร็ว ให้ผู้ต้องขังซึ่งคดียังไม่ถึงที่สุดได้รับสิทธิในการประกันตัว ชะลอการดำเนินคดี การจับกุมคุมขังบุคคลในคดีการเมือง และเร่งรัดการออกกฎหมายนิรโทษกรรมประชาชน

และต่อเนื่องกันคือการจัดกิจกรรมของกลุ่ม 24 มิถุนา ภายใต้ชื่อกิจกรรมนิรโทษกรรมให้คนเป็นคืนความยุติธรรมให้คนตาย ซึ่งมีการเดินขบวนจากสถานีบริการน้ำมันข้างกระทรวงยุติธรรมเพื่อไปยื่นหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม

ประเด็นแรงงานและรัฐสวัสดิการ

ในเดือนพฤษภาคมมีการชุมนุมในประเด็นเกี่ยวกับกับแรงงานและเรียกร้องรัฐสวัสดิการ อย่างน้อย 7 ครั้ง และเนื่องจากทุกวันที่ 1 ของเดือนพฤษภาคมเป็นวันแรงงานแห่งชาติ จึงมีการชุมนุมในวันดังกล่าวถึง 5 การชุมนุม ดังนี้

สำนักข่าวไทยพีบีเอส รายงานว่ามีการชุมนุมของสภาองค์การลูกจ้าง 18 องค์กร เรียกร้องให้รัฐบาลรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิ์ในการรวมตัวของแรงงาน รวมถึงมาตรา 98 ที่ว่าด้วยเรื่องของสิทธิในการรวมตัวและการเจรจาต่อรองของแรงงานเพื่อประโยชน์ของแรงงาน ซึ่งได้เดินขบวนจากแยก จปร.ถนนราชดำเนินนอก ไปลานคนเมือง

ขณะที่เครือข่ายผู้ใช้แรงงาน พรรคก้าวไกล ได้มาร่วมเดินขบวนกับสภาองค์การลูกจ้าง โดยมี 2 ข้อเรียกร้องหลักที่ยื่นต่อรัฐบาลให้ดำเนินการเร่งด่วน ทั้งการขอให้ผลักดัน พ.ร.บ.สหภาพแรงงานฉบับก้าวไกล และขยายสิทธิวันลาคลอด 180 วัน

asset

ภาพ ประชาไท

นอกจากนี้บริเวณถนนพิษณุโลกกลุ่มเครือข่ายแรงงานย่านรังสิตและใกล้เคียง กลุ่มแรงงานข้ามชาติ 'Bright Future' และเครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชนได้นัดหมายรวมตัวกันจากนั้น ตั้งขบวนเดินหน้าไปที่ทำเนียบรัฐบาลเวลาประมาณ 9.45 น. ขบวนการแรงงานเดินขบวนถึงเชิงสะพานชมัยมรุเชฐ แต่ถูกสกัดโดยแนวกั้นตำรวจชุดสีกากี ธนพร วิจันทร์ เครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน ระบุว่า เบื้องต้นทางกลุ่มแรงงาน ก็มีข้อเรียกร้องเดิมด้วย เช่น การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ วันลาคลอด 180 วัน รับ อนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 และ 98 และอื่นๆ

ทั้งนี้ยังมีกิจกรรมที่ถูกจัดขึ้นในต่างจังหวัดเช่นเครือข่ายแรงงานภาคเหนือ จัดกิจกรรมเดินขบวนและเวทีดนตรี ศิลปะ พื้นที่แสดงข้อเรียกร้องของคนใช้แรงงาน และในจังหวัดสงขลาสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ จัดกิจกรรมเดินขบวนของกลุ่มผู้ใช้แรงงานทั้งแรงงานไทย และแรงงานข้ามชาติ เช่นแรงงานชาวเมียนมา โดยเคลื่อนขบวนจาก หน้าสถานีรถไฟหาดใหญ่ ไปรวมกันที่ถนนเสน่หานุสรณ์ หน้าโรงแรมลีการ์เด้นพลาซ่า อ่านแถลงการณ์ข้อเรียกร้องของแรงงานทั้งแรงงานไทยและแรงงานต่างชาติ ให้รัฐบาลแก้ปัญหาเร่งด่วน เช่น ปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 712 บาทเท่ากันทั้งประเทศ ซึ่งขณะนี้มีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำแค่ 8 จังหวัดและไม่เท่ากัน ปรับเงินเดือนและบัญชีโครงสร้างเงินเดือน พนักงานรัฐวิสาหกิจ

นอกจากประเด็นแรงงานยังมีประเด็นชุมนุมเรียกร้องรัฐสวัสดิการ กลุ่มขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม P-move เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2567 บริเวณหน้ากระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เพื่อทวงถามและกดดันเนื่องจากมติคณะกรรมการแก้ไขปัญหาพีมูฟ วันที่ 30 เมษายน 2567 เห็นชอบตามมติคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนสวัสดิการโดยรัฐ วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567 และมีมติให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวง ที่เกี่ยวข้อง นำเรื่องเข้าประชุมคณะรัฐมนตรีให้ทันงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2568

และเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2567 ประชาชนรวมตัวยื่นหนังสือถึง วราวุธ ศิลปอาชา สส.พรรคชาติไทยพัฒนา และรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ขอให้มีการบังคับใช้เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุถ้วนหน้า เดือนละ 1,000 บาททันที เพื่อช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น

การชุมนุมจัดกิจกรรมรำลึกเหตุการณ์สำคัญ

เนื่องจากวันที่ 19 พฤษภาคม เป็นวันครบรอบการสลายการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงเมื่อปี 2553 จึงมีจัดกิจกรรมเพื่อรำลึกการสูญเสียในวันดังกล่าวในสองจังหวัดคือ ในกรุงเทพฯ ที่แยกราชประสงค์ เขตปทุมวันซึ่งมีการตั้งเวทีบนถนนราชดำริ หน้าห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์ตั้งแต่ช่วงบ่าย พร้อมติดป้ายไวนิลขนาดใหญ่ห้อยลงจากสะพานลอย มีการนำภาพผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าว รวมถึง นางสาวเนติพร เสน่ห์สังคม หรือบุ้ง จัดเรียงจากนั้น มีการอ่านรายชื่อผู้เสียชีวิตญาติ, อดีตแกนนำ นปช. และนักวิชาการ ร่วมกันถวายจตุปัจจัยไทยธรรม ได้แก่ นางธิดา ถาวรเศรษฐ, นายแพทย์ เหวงโตจิราการ อดีตแกนนำ นปช. และศาสตราจารย์ ดร.อนุสรณ์ อุณโณ อาจารย์คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

และกิจกรรมในจังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้ชื่องาน ‘14 ปี พฤษภามหาโหด 5,153 วัน กูยังไม่ลืม’ ที่ลานท่าแพเชียงใหม่เพื่อรำลึกเหตุการณ์สลายการชุมนุมของกลุ่ม นปช. ที่แยกราชประสงค์เมื่อปี 2553 ภายในงานมีการนำรูปภาพของผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ พร้อมกับแผ่นป้ายข้อความถึงผู้กระทำผิดมาวางเรียงต่อกัน ช่วงนึงของการจัดงานมีการโชว์ Performance Art แบกโรงศพจำลองสีแดงเดินรอบบริเวณลานท่าแพ เพื่อเป็นการประนามการกระทำอันโหดเหี้ยมและเรียกร้องให้ผู้กระทำผิดได้รับโทษ

อีกทั้งในเดือนนี้ยังเป็นเดือนที่ครบรอบการทำรัฐประหารของคณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือ คสช. กลุ่มทะฟ้า และวงสามัญชนร่วมกับภาคประชาสังคม เพื่อจัดกิจกรรมเพื่อพูดคุยเหตุการณ์ต่างๆ 10 ปีกลังจากการทำรัฐประหารครั้งนั้น ซึ่งกิจกรรมได้จัดขึ้น อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา กรุงเทพฯ

สุดท้ายคือกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด 6 หมู่บ้าน จ.เลย จัดงานบุญภูทับฟ้า ภูซำป่าบอน และภูเหล็ก ครั้งที่ 15 เพื่อรำลึก 10 ปี 15 พฤษภาทมิฬ วันขนแร่ทองคำด้วยอำนาจเถื่อน พร้อมประกาศภารกิจ 5 ด้าน เพื่อ ฟื้นฟูเหมือง

การชุมนุมในประเด็นทรัพยากรณ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ในเดือนนี้มีการชุมนุมในประเด็นทรัพยากรณ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างน้อย 1 ครั้ง คือ การชุมนุมของเครือข่ายชุมชนและชาวบ้านกลุ่มรักษ์เขากะลา เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ.2567รวมกลุ่มออกมาเคลื่อนไหวคัดค้านเวทีการประชุมรับฟังความเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชนครั้งที่ 2 (EIA) ของโครงการทำเหมืองหินอุตสาหกรรมชนิดหินปูน เพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง ศาลาประชาคม หมู่ที่ 10 ตำบลเขากะลา อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งจัดโดยบริษัท ตถาตาสิ่งแวดล้อม จำกัด (บริษัทที่ปรึกษาสิ่งแวดล้อม) คำขอประทานบัตรที่ 3/2565 หมายเลขหลักหมายเลขเขตเหมืองแร่ที่ 32335 ของบริษัท 347 ดีเวลลอปเปอร์ จำกัด

การชุมนุมในประเด็นอื่น ๆ

เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2567 เนื่องในวาระวัน ‘นักบา’ (Nakba) มีการเดินขบวนของประชาชนในปกรุงเทพฯ ไปยัง 3 สถานทูต ได้แก่ อังกฤษ เยอรมนี และสหรัฐฯ โดยมีข้อเรียกร้องสำคัญคือประเทศเหล่านี้ต้องยุติการสนับสนุนประเทศอิสราเอล ทั้งด้านอาวุธยุทโธปกรณ์ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวปาเลสไตน์ ในฉนวนกาซา ‘นักบา’ หรือ ‘นักบะห์’ ในภาษาอาระบิก หมายถึง ‘เดือนแห่งหายนะ’ เพราะว่าย้อนไปเมื่อปี 2491 หรือ ค.ศ. 1948 ซึ่งเสมือนเป็นจุดเริ่มต้นของข้อพิพาทดินแดนระหว่างอิสราเอล และปาเลสไตน์ และทำให้ชาวปาเลสไตน์จำนวนราว 720,000-750,000 คนต้องอพยพออกจากบ้านเกิด และเป็นจุดเริ่มต้นของข้อพิพาทและสงครามที่ยืดเยื้อยาวนานมาจนปัจจุบัน8

และเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2667 ในจังหวัดเชียงใหม่ เกิดการแสดงออกเรียกร้องเพื่อให้สหรัฐฯ ยุติการสนับสนุนการอิสราเอลทำสงครามในปาเลสไตน์ ณ สถานกงสุลใหญ่สหรัฐอเมริกาซึ่งจัดโดยองค์กรสังคมนิยมแรงงาน เพื่อประณามระบอบการปกครองไซออนิสต์ของอิสราเอลที่ก่ออาชญากรรมฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ปาเลสไตน์

และสุดท้ายคือการชุมนุมของกลุ่มเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท) และ ศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน (ศปปส.)ที่มีการชุมนุมปักหลัก บริเวณเชิงสะพานชมัยมรุเชษฐ ข้างทำเนียบรัฐบาล ตั้งแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2567 ซึ่งก่อนหน้านี้มีการแจ้งชุมนุมสาธารณะไว้กับ พ.ต.อ.วันชัย วงศ์วาณิชอนันต์ ผกก.สน.ดุสิต ว่า จะชุมนุมเป็นเวลา 1 เดือน ยุติในวันที่ 2 มีนาคม 2567 แต่ยังมีการปักหลักต่อเนื่อง จนถึง 29 พฤษภาคม 2567 โดยมีข้อเรียกร้องของ คือ 1. ให้นำตัวนายทักษิณกลับเข้าเรือนจำ 2. ให้หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องต้องถูกลงโทษกรณีช่วยเหลือนายทักษิณ 3. เรียกร้องให้ผู้ตรวจการแผ่นดินออกมาชี้แจงกรณีที่ทางกรมราชทัณฑ์ บอกว่า ได้ขึ้นไปพบนายทักษิณชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ 4. เรียกร้องไปยังบุคลากรด้านกฎหมาย ให้แสดงจุดยืน กรณีของนายทักษิณ ว่าเป็นการทำลายระบบยุติธรรม หรือไม่ 5. เชิญชวนประชาชนเข้าชื่อประชาชน 2 หมื่นรายชื่อ เพื่อดำเนินการกับ ป.ป.ช.ที่ไม่ตรวจสอบผู้กระทำความผิด กรณีช่วยเหลือนายทักษิณ

ภาพรวมคดีในเดือนพฤษภาคม

จากการติดตามของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ตั้งแต่เริ่มการชุมนุมของ “เยาวชนปลดแอก” เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2563 จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2567 มีประชาชนที่ถูกดำเนินคดีจากสถานการณ์ชุมนุมและการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ไปแล้วอย่างน้อย 1,954 คน ในจำนวน 1,296 คดีทั้งศาลมีคำพิพากษาในคดีมาตรา 112 อีกกว่า 10 คดี และคดี พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ อีก 4 คดี โดยมีคดีสำคัญได้แก่ คดี “ธนพร” แม่ลูกอ่อนวัย 24 ปี จากจังหวัดอุทัยธานี ผู้ถูกฟ้องจากการไปแสดงความคิดเห็นใต้โพสต์เฟซบุ๊กของเพจซึ่งเผยแพร่ภาพตัดต่อของรัชกาลที่ 8 และรัชกาลที่ 9 เมื่อช่วงปี 2564 คดีนี้เธอให้การรับสารภาพ โดยไม่มีทนายความในชั้นสอบสวน ต่อมาศาลอาญาตลิ่งชันพิพากษาจำคุก 4 ปี ให้การรับสารภาพ ลดโทษเหลือ 2 ปี และให้รอการลงโทษไว้ แต่อธิบดีผู้พิพากษาศาลได้ทำความเห็นแย้งว่าไม่ควรให้รอการลงโทษ และอัยการก็ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อมา โดยศาลอุทธรณ์ได้แก้คำพิพากษา โดยเห็นว่าการกระทำของจำเลยเป็นการก้าวล่วง ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสถาบันกษัตริย์ จึงไม่ให้รอลงอาญา โดยเธอยังได้รับการประกันตัวระหว่างฎีกาท้ายที่สุด เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2567 ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาเห็นตามศาลอุทธรณ์ ทำให้ธนพรถูกนำตัวไปคุมขังที่ทัณฑสถานหญิงธนบุรีในฐานะผู้ต้องขังคดีถึงที่สุด โดยเท่าที่ทราบข้อมูล คดีนี้นับเป็นคดีมาตรา 112 ในช่วงหลังปี 2563 คดีที่ 2 ที่มีคำพิพากษาในชั้นศาลฎีกา โดยทั้งสองคดีเป็นคดีที่จำเลยให้การรับสารภาพ แต่ศาลฎีกาพิพากษาไม่รอลงอาญา

ทำให้จนถึงเดือนพฤษภาคม 2567 ยังคงมีผู้ถูกคุมขังในเรือนจำจากการแสดงออกทางการเมือง หรือมีมูลเหตุเกี่ยวข้องกับการเมือง รวมจำนวนอย่างน้อย 42 คน (เป็นคดีมาตรา 112 จำนวน 26 คน) แยกเป็น ผู้ต้องขังที่ไม่ได้รับการประกันตัวระหว่างการต่อสู้คดี อย่างน้อย 24 คน (เป็นคดีตามมาตรา 112 จำนวน 17 คน) เยาวชน 1 คน ถูกคุมขังในสถานพินิจฯ ตามคำสั่งมาตรการพิเศษแทนการมีคำพิพากษาของศาล ในคดีมาตรา 112 ผู้ต้องขังที่คดีถึงที่สุดแล้วถูกคุมขังในเรือนจำ จำนวนอย่างน้อย 17 คน (เป็นคดีตามมาตรา 112 จำนวน 8 คน)