วันที่: 17/7/2566 ผู้เขียน: mobdatathailand

ประมวลสถานการณ์การชุมนุมและการคุกคาม ประจำเดือนกรกฎาคม 2565

description

ตามทีรัฐบาลยังคงประกาศใช้พระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน - 31 กรกฎาคม 2565 ซึ่งนับเป็นการประกาศใช้เป็นครั้งที่ 19 และยังคงขยายระยะเวลาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2565 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2565 โดยระบุว่าโควิด-19 กลับมาระบาดอย่างรุนแรงมากขั้นทั่วโลกและประเทศไทย นอกจากนี้ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคง เรื่อง ห้ามชุมนุม การทำกิจกรรม การมั่วสุมที่ก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื่อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ฉบับที่ 15 (ประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบฯ ฉบับที่ 15) ซึ่งในประกาศได้ระบุถึงการห้ามชุมนุมและนำหลักเกณฑ์การจัดและการแจ้งการชุมนุมตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 แต่หากมีผู้ฝ่าฝืนก็ให้ใช้บทลงโทษตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯขณะเดียวกันตัวเลขผู้ถูกดำเนินคดีในข้อหาฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องแม้ว่าจะไม่มีการชุมนุมขนาดใหญ่แล้วก็ตาม โดยนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2563 มีผู้ถูกดำเนินคดีด้วยข้อหาดังกล่าวอย่างน้อย 1,465 คน ในจำนวน 645 คดี

#ภาพรวมสถานการณ์การชุม

ตามทีรัฐบาลยังคงประกาศใช้พระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน - 31 กรกฎาคม 2565 ซึ่งนับเป็นการประกาศใช้เป็นครั้งที่ 19 และยังคงขยายระยะเวลาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2565 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2565 โดยระบุว่าโควิด-19 กลับมาระบาดอย่างรุนแรงมากขั้นทั่วโลกและประเทศไทย นอกจากนี้ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคง เรื่อง ห้ามชุมนุม การทำกิจกรรม การมั่วสุมที่ก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื่อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ฉบับที่ 15 (ประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบฯ ฉบับที่ 15) ซึ่งในประกาศได้ระบุถึงการห้ามชุมนุมและนำหลักเกณฑ์การจัดและการแจ้งการชุมนุมตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 แต่หากมีผู้ฝ่าฝืนก็ให้ใช้บทลงโทษตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯขณะเดียวกันตัวเลขผู้ถูกดำเนินคดีในข้อหาฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องแม้ว่าจะไม่มีการชุมนุมขนาดใหญ่แล้วก็ตาม โดยนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2563 มีผู้ถูกดำเนินคดีด้วยข้อหาดังกล่าวอย่างน้อย 1,465 คน ในจำนวน 645 คดี

asset

@Chana La ในเดือนกรกฎาคม 2565 การชุมนุมและการแสดงออกเกิดขึ้นทั่วประเทศไม่ต่ำกว่า 94 ครั้ง แบ่งเป็นกิจกรรมการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ เพื่อเรียกร้องคืนสิทธิการประกันตัวของนักกิจกรรมทางการเมืองที่ถูกคุมขังในระหว่างพิจารณาคดีเกิดขึ้นอย่างน้อย 81 ครั้ง โดยวันที่ 27 กรกฎาคม 2565 มีการชุมนุมในรูปแบบยืนหยุดขังดาวกระจายมากกว่า 24 ครั้ง ทั่วประเทศ เช่นที่กรุงเทพฯ มีกิจกรรมที่จัดขึ้นโดยกลุ่ม ทะลุฟ้า ที่จัดที่สยามแสควร์ กลุ่ม 14 ขุนพลคนราษฎร ที่สนามกีฬาราชมังคลา กลุ่มทะลุแก๊สพิทักษ์ราษฎร ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ ขณะที่กลุ่มที่จัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องได้แก่ กลุ่มพลเมืองโต้กลับที่เกิดขึ้นเป็นครั้งที่ 81 และ กลุ่ม We, The People ที่จัดขึ้นเป็นสัปดาห์ที่ 14 ที่ท่าแพ จังหวัดเชียงใหม่ โดยกิจกรรมดังกล่าวแปรผันตรงกับ สถานการณ์การคุมขังนักกิจกรรมทางการเมืองและสถานการณ์ในเรือนจำเข้มข้นต่อเนื่อง เนื่องจากมีผู้ถูกคุมขังไม่ให้ประกันตัวเพิ่มขึ้น 9 คน เหตุจากการชุมนุมและทำกิจกรรมสาดสีหน้าที่ทำการพรรคประชาธิปัตย์ วันที่ 30 กรกฎาคม ทำให้มีผู้ถูกคุมขังระหว่างต่อสู้คดีทางการเมืองทั้งสิ้น 30 คน ส่วนบุ้งและใบปอที่ถูกคุมขังตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคม และอดอาหารเพื่อเรียกร้องสิทธิการประกันตัวตั้งแต่วันที่ 2 มิถุนายน จนได้รับการประกันตัวในวันที่ 4 สิงหาคม ซึ่งถือว่าถูกคุมขังเป็นเวลา 94 วัน อดอาหารเป็นเวลามากถึง 63 วันหรือ 2 เดือน

นอกจากนี้ การชุมนุมยังมีการเรียกร้องในประเด็นอื่นๆ ได่แก่

asset

@Chana La การชุมนุมระหว่างวันที่ 19-22 กรกฎาคม 2565 กิจกรรมชุมนุมปักหลักแคมปิ้งหน้ารัฐสภา จัดโดยกลุ่มทะลุฟ้า เพื่อจับตาสภาผู้แทนราษฎรอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี

เรียกร้องให้รัฐบาลลาออกอย่างน้อย 3 ครั้ง จัดโดยกลุ่มอิสระ ในรูปแบบคาร์ม็อบในวันที่ 3 กรกฎาคม และวันที่ 12 กรกฎาคม และกิจกรรมชุมนุมปักหลักแคมปิ้งหน้ารัฐสภา จัดโดยกลุ่มทะลุฟ้า เพื่อจับตาสภาผู้แทนราษฎรอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี ในช่วงวันที่ 19-22 กรกฎาคม

เรียกร้องประเด็นเศรษฐกิจอย่างน้อย 2 ครั้ง เช่น ชุมนุมเรียกร้องรัฐบาลแก้ไขปัญหาราคาน้ำมันและพลังงาน โดยกลุ่มประชาชนคนไทยหรือ คณะหลอมรวมประชาชน นำโดยนายจตุพร พรหมพันธุ์และนายนิติพร ล้ำเหลือในวันที่ 3 กรกฎาคม ชุมนุมยื่นหนังสือเพื่อเรียกร้องเรื่องความไม่เป็นธรรมระหว่างคนขับที่ให้บริการผ่านแพลทฟอร์มกับคนขับวินโดยกลุ่ม สมาคมผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้างแห่งประเทศไทย ในวันที่ 27 กรกฎาคม

เรียกร้องเรื่องสิ่งแวดล้อมอย่างน้อย 2 ครั้ง เช่น ชุมนุมปักหลักของกลุ่มsaveนาบอนตั้งแต่วันที่ 18-24 กรกฎาคม เรียกร้องให้หน่วยงาน

กระทรวงพลังงาน ทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ หรือ SEA ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี

asset

@Chana La ชุมนุมวันที่26กรกฎาคม65 ชาวเมียนมาร์รวมตัวต่อต้านการประหารชีวิตนักเคลื่อนไหวในเมียนมาร์ และประเด็นอื่นๆ อย่างน้อย 6 ครั้ง เช่น ชุมนุมรณรงค์การเคารพความหลากหลายทางเพศเก็บตกหลังจากเดือนไพร์ดที่ขอนแก่น และท่าแพ เชียงใหม่ ชุมนุมต่อต้านเผด็จการเมียนมาร์ที่หน้าสถานทูตเมียนมาร์ในวันที่ 3 กรกฎาคม และชุมนุมต่อต้านการประหารชีวิตนักเคลื่อนไหวในเมียนมาร์ เป็นต้น

ถึงแม้การชุมนุมขนาดใหญ่จะยังไม่มีแนวโน้มที่จะกลับมาอีกครั้ง แต่การชุมนุมขับเคลื่อนประเด็นสิทธิยังคงดำรงต่อเนื่อง ผู้ที่ออกมาชุมนุมเคลื่อนไหวถูกดำเนินคดีโดยเฉพาะกลุ่มที่มีความคิดเห็นทางการเมืองแตกต่างจากรัฐบาล อย่างไรก็ตามสถานการณ์การเมืองในเดือนสิงหาคมยังน่าจับตามอง เนื่องจากในวันที่ 24 สิงหาคม 2565 จะเป็นวันครบรอบการดำรงตำแหน่งทางการเมือง 8 ปี จึงมีแนวโน้มที่การชุมนุมเรียกร้องจะกลับมาเข้มข้นขึ้นตามสถานการณ์ทางการเมือง

#สถานการณ์คุกคามประชาชน เดือนกรกฎาคม 2565

ในกรกฎาคม ไม่พบรายงานผู้ถูกคุกคามมากนัก อาจมีสาเหตุมาจากการที่มีการจับกุมนักกิจกรรมกลุ่มทะลุฟ้าจำนวน 8 คน ทุกคนไม่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว จึงถูกนำตัวไปคุมขัง ในขณะที่อาการบุ้งและใบปอที่อดอาหารอยู่ก็แย่ลงทุกวัน ทำให้สังคมต้องจับตามองความเคลื่อนไหวดังกล่าวอย่างใกล้ชิด อย่างไรก็ตาม มีการเปิดเผยว่าประชาชนหลายรายยังคงถูกคุกคามด้วยสาเหตุต่างๆ กิจกรรมที่พบว่ามีการคุกคามประชาชนมากที่สุด คือกรณีที่ประชาชนจัดกิจกรรมจุดลงมติอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล และกิจกรรมยืนหยุดขังทั่วประเทศ ซึ่งการคุกคามในเดือนนี้มาจากเจ้าหน้าที่รัฐทั้งหมด

#การคุกคามเนื่องจากมีบุคคลสำคัญลงพื้นที่

ทีมงานพรรคก้าวไกล อย่างน้อย 4 ราย เปิดเผยว่า มีเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดสืบสวนเข้าไปพบปะกับนักกิจกรรมทางการเมืองและสมาชิกของพรรคก้าวไกลในพื้นที่ต่างๆ ทั้งในจังหวัดกำแพงเพชรและจังหวัดใกล้เคียง เพื่อสอบถามว่าจะเดินทางไปต้อนรับหรือร้องเรียนใดๆ ต่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และคณะ ในวันลงพื้นที่หรือไม่

#การคุกคามขณะทำกิจกรรมทางการเมือง

ตำรวจและฝ่ายปกครอง ได้ไปติดตามถ่ายภาพกลุ่มประชาชนค้านโรงน้ำตาลอีสาน ระหว่างลงพื้นที่ อ.เกษตรสมบูรณ์ จ.ชัยภูมิ เพื่อเก็บข้อมูลการละเมิดสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชน ในวันที่ 17 กรกฎาคม มีการจัดกิจกรรมจุดลงมติไม่ไว้วางใจรัฐบาลในหลายพื้นที่ พบว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจได้เข้ารื้อและพังจุดลงมติประชาชนไม่ไว้วางใจประยุทธ์ จันทร์โอชา บริเวณอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี จ.นครราชสีมา มีนักกิจกรรมถูกเทศกิจผลักล้มและได้รับบาดเจ็บ และมีเจ้าหน้าที่ตำรวจแจ้งให้รื้อป้ายแสดงจุดลงมติหน้าร้าน A Book With NO NAME แจ้งว่าไม่เหมาะสม นอกจากนี้ ประกอบ นักกิจกรรมนครพนมสิบ่ทน เผยว่า เขาถูก ตำรวจท้องที่และ สภ.เมือง โทรติดตามสอบถามผ่านลูกสาวมา ทั้งที่เขาไม่ได้อยู่บ้าน ไปทำงาน ตจว. และไม่รู้ ตร.มีเบอร์โทรลูกสาวได้ยังไง คาดว่า มีสาเหตุมาจากนครพนมร่วมยืนหยุดขังทั่วประเทศ 27 ก.ค. นี้ ประชาชนเมืองขอนแก่น ที่ร่วมยืนหยุดขังในวันดังกล่าว รายงานว่า ขณะทำกิจกรรม ผกก.สภ.เมืองขอนแก่น นำตำรวจเข้าควบคุมกิจกรรม,ข้อความในป้ายผ้า,เสื้อของผู้เข้าร่วม โดยขอให้หาเสื้อใส่ทับเสื้อยกเลิก 112 ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ด้วย แต่ถูกปฏิเสธ

#การคุกคามโดยไม่ทราบสาเหตุ

อาย นักกิจกรรมทางการเมือง ถูกเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบ จำนวนกว่า 6 นาย ระบุเป็นเจ้าหน้าที่สายสืบจาก สน.ลาดพร้าว แสดงหมายค้น และเข้าตรวจค้นห้องพักพร้อมกับยึดอุปกรณ์สื่อสาร รวมทั้งสอบถามข้อมูลสมุดบัญชีธนาคาร นอกจากนี้ เธอยังเปิดเผยว่า ก่อนหน้านี้ได้รับจดหมายข่มขู่เป็นจำนวน 2 ฉบับ เนื้อหาของจดหมายทั้งสองฉบับเป็นภาพของเจ้าตัวขณะทำกิจกรรมอยู่ในม็อบ พร้อมกับมีการพิมพ์ข้อความกล่าวโทษไว้ รวมทั้งกล่าวพาดพิงบุพการีทำนองว่า “ให้สั่งสอนลูกด้วย เดี๋ยวได้ส่งข้าวให้ลูกในคุก”

#แนวโน้มการคุกคามในเดือนสิงหาคม 2565

จากการติดตามสถานการณ์การชุมนุมในแต่ละเดือน แม้แต่การชุมนุมเชิงสัญลักษณ์ที่มีผู้เข้าร่วมไม่กี่คน พบว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจจะวางกำลังอย่างแน่นหนาเพื่อจับตามองและขัดขวางการทำกิจกรรมของมวลชน หลายครั้งที่จำนวนเจ้าหน้าที่นั้นมีมากกว่าผู้ชุมนุมเสียอีก แม้ว่าการชุมนุมจะไม่ได้ทวีความเข้มข้นขึ้น แต่ผู้ที่ถูกคุกคามอย่างสม่ำเสมอ ยังคงเป็นนักกิจกรรมหน้าเดิมที่ถูกจับตามองอยู่แล้ว รูปแบบการคุกคามที่พบมากที่สุด คือการตามไปสอดส่องถึงบ้าน รุกล้ำพื้นที่ส่วนตัว อย่างไรก็ตาม จำนวนผู้ถูกคุกคามที่ได้รับการรายงานยังเป็นจำนวนอย่างน้อยเท่านั้น ในเดือนสิงหาคม หากความเข้มข้นทางคดีและการคุมขังผู้ต้องหาทางการเมืองคงที่ คาดว่า น่าจะมีการรายงานจำนวนผู้ถูกคุกคามจากเจ้าหน้าที่รัฐเพิ่มขึ้น

#สถานการณ์คดีประจำเดือนกรกฎาคม 2565

สถานการณ์การดำเนินคดีกับประชาชนยังคงดำเนินไปอย่างเข้มข้น ในเดือนกรกฎาคมนี้ มีผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ในส่วนของคดีมาตรา 112 ยังมีคดีใหม่เป็นระยะ รวมทั้งต้องจับตาคำพิพากษาในคดีที่อยู่ในชั้นศาลจำนวนมาก ขณะที่คดีในข้อหา พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ นอกจากจะมีการสั่งยกฟ้อง และสั่งไม่ฟ้องคดี ยังมีการย้อนแจ้งข้อหาจากการชุมนุมที่ดินแดงในช่วงปี 2564 ด้วย

จากการติดตามของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ตั้งแต่เริ่มการชุมนุมของ “เยาวชนปลดแอก” เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2563 จนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2565 มีประชาชนที่ถูกดำเนินคดีจากสถานการณ์ชุมนุมและการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ไปแล้วอย่างน้อย 1,843 คน ในจำนวน 1,108 คดี ในจำนวนนี้ เป็นกลุ่มเยาวชนที่อายุต่ำกว่า 18 ปี จำนวน 282 ราย เมื่อเปรียบเทียบสถิติคดีกับช่วงสิ้นเดือนมิถุนายน 2565 มีผู้ถูกดำเนินคดีรายใหม่เพิ่มขึ้น 11 คน คดีเพิ่มขึ้น 13 คดี (นับเฉพาะผู้ถูกกล่าวหาที่ไม่เคยถูกดำเนินคดีมาก่อน) หากนับจำนวนบุคคลที่ถูกดำเนินคดีซ้ำในหลายคดี โดยไม่หักออก แต่นำจำนวนมาเรียงต่อกันแล้ว จะพบว่ามีจำนวนการถูกดำเนินคดีไปอย่างน้อย 3,671 ครั้ง

สำหรับสถิติการดำเนินคดี แยกตามข้อกล่าวหาสำคัญ ได้แก่

1. ข้อหา “หมิ่นประมาทกษัตริย์” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 มีผู้ถูกกล่าวหาอย่างน้อย 208 คน ในจำนวน 224 คดี

2. ข้อหา “ยุยงปลุกปั่น” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 มีผู้ถูกกล่าวหาอย่างน้อย 126 คน ในจำนวน 39 คดี

3. ข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ มีผู้ถูกกล่าวหาอย่างน้อย 1,465 คน ในจำนวน 645 คดี (นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2563)

4. ข้อหาตาม พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ อย่างน้อย 107 คน ในจำนวน 75 คดี

5. ข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ อย่างน้อย 140 คน ในจำนวน 160 คดี

มีคำพิพากษา คดีของ บุญมา (นามสมมติ) กรณีถูกกล่าวหาเป็นแอดมินเพจเฟซบุ๊ก “รับสมัคร นักรบ กองทัพประชาชน ล้มล้างสถาบันกษัตริย์ไทยและสมุนเผด็จการ” ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ลงโทษจำคุก 3 ปี แต่รับสารภาพ จึงลดโทษเหลือจำคุก 1 ปี 6 เดือน บุญมาถูกนำตัวไปคุมขังไว้ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯและได้รับการปล่อยตัวตามคำสั่งศาลฎีกาในวันที่ 26 ส.ค. 2565

6. ข้อหาละเมิดอำนาจศาล อย่างน้อย 35 คน ใน 19 คดี และคดีดูหมิ่นศาล อย่างน้อย 25 คน ใน 6 คดี

จากจำนวนคดี 1,108 คดีดังกล่าว มีจำนวน 210 คดี ที่สิ้นสุดไปแล้ว โดยมากเป็นคดีที่ผู้ถูกกล่าวหายินยอมให้เปรียบเทียบปรับในชั้นตำรวจ หรือในชั้นศาล ในจำนวนนี้มีกรณีอัยการสั่งไม่ฟ้องจำนวน 21 คดี