วันที่: 11/10/2566 ผู้เขียน: Faozee Lateh

ประมวลสถานการณ์การชุมนุมและการคุกคาม ประจำเดือนกรกฎาคม 2566

description

จากการสังเกตการณ์และบันทึกข้อมูลโดย Amnesty International Thailand และ iLaw ผ่านโครงการ Mob Data Thailand ในเดือนกรกฎาคม 2566 สามารถสรุปได้ว่ามีการชุมนุมเกิดขึ้นไม่ต่ำกว่า 73 ครั้งทั่วประเทศ ซึ่งประเด็นในการชุมนุมส่วนใหญ่จะแตกต่างจากเดือนมิถุนายนคือ ประเด็นเรียกร้องให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีตามผลการเลือกตั้งและฉันทามติของประชาชน

รายงานการชุมนุมและสถานการณ์ การคุกคาม ประจำเดือนกรกฎาคม 2566

ในช่วงเดือนกรกฎาคม 2566 สถานการณ์ทางการเมืองเริ่มกับมาเข้มข้นอีกครั้ง หลังจากมีพระราชกฤษฎีกาเปิดสมัยประชุมสภาครั้งที่หนึ่งประชุมสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ 26 ปีที่หนึ่ง หลังจากมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา และรัฐสภานัดได้ประชุมเพื่อโหวตนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของประเทศไทยครั้งที่หนึ่ง ในวันที่ 13 กรกฎาคม 2566 ท่ามกลางกระแสข่าวกระแสข่าวต่อการไม่เห็นด้วยจากสมาชิกวุฒิสภาที่จะโหวตนาย พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ จากพรรคก้าวไกลซึ่งเป็นพรรคอันกับหนึ่งที่ชนะการเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งผลโหวตออกมาปรากฎว่าเสียงเห็นชอบไม่เกินกึ่งหนึ่งของสภา หลังจากที่ก่อนหน้านี้ (12 กรกฎาคม 2566) สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อพิจารณาวินิจฉัยสมาชิกภาพของ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคและแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีพรรคก้าวไกล จากเหตุมีชื่อถือครองหุ้นบริษัทไอทีวี จำกัด (มหาชน)

asset

@Faozee

หลังจากเหตุดังกล่าวเป็นผลให้ อานนท์ นำภา ได้นัดชุมนุมทันทีในช่วงเย็นของวันดังกล่าวที่สกายวอร์คหน้าห้างมาบุญครองเพื่อเรียกรองให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาเลือกนายกรัฐมนตรีตามผลการเลือกตั้งและฉันทามติของประชาชน ภายหลังปรากฎว่าในวันดังกล่าวมีการชุมนุมเกิดขึ้นหลายจุดทั่วประเทศ ตลอดทั้งสัปดาห์จนกระทั้งวันที่ 19 กรกฎาคม 2566 ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ 7 ต่อ 2 เสียงให้รับร้องที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ขอให้วินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 82 ว่าสมาชิกภาพ ส.ส.ของ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคและแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พรรคก้าวไกล สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 101 (6) ประกอบมาตรา 98 (3) หรือไม่ จากเหตุมีชื่อถือครองหุ้นบริษัท ไอทีวี จำกัด มหาชน จำนวน 42,000 หุ้น รวมทั้งคำขอให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้นายพิธา หยุดปฏิบัติหน้าที่ไว้จนกว่าจะมีคำวินิจฉัย

จากการสังเกตการณ์และบันทึกข้อมูลโดย Amnesty International Thailand และ iLaw ผ่านโครงการ Mob Data Thailand ในเดือนกรกฎาคม 2566 สามารถสรุปได้ว่ามีการชุมนุมเกิดขึ้นไม่ต่ำกว่า 73 ครั้งทั่วประเทศ ซึ่งประเด็นในการชุมนุมส่วนใหญ่จะแตกต่างจากเดือนมิถุนายนคือ ประเด็นเรียกร้องให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีตามผลการเลือกตั้งและฉันทามติของประชาชน ประกอบด้วยหลายจังหวัดดังนี้ ในกรุงเทพมหานคร 29 ครั้ง เช่น การนัดชุมของอานนท์ นำภา ที่สกายวอร์คหน้าห้างมาบุญครองก่อนวันเลือกนายกรัฐมนตรีครั้งที่หนึ่ง

asset

@Faozee

กิจกรรมคาร์ม็อบเอาใบลาออกไปยื่นให้สมาชิดวุฒิสภาที่เป็นผู้นำเหล่าทัพ การนัดชุมนุมของคณะรณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน(ครช.)เพื่อร่วมติดตามการโหวตนายกรัฐมนตรีภายใต้แคมเปญ Respect My Vote บริเวณสวนเฉลิมพระเกียรติเกียกกาย,ชุมนุมใหญ่หน้าลานหอศิลปะและวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร, ชุมนุม 19 กรกฎาคม ณาปนกิจ ส.ว. การชุมนุมของนักศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมขจัด ส.ว.ใจทราม

asset

@Faozee

asset

@กันต์ แสงทอง

ม็อบพร้อมครั้งที่หนึ่งและครั้งที่สองที่นัดชุมนุมโดยสมบัติ บุญงามอนงค์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการชุมนุมในประเด็นดังกล่าวในต่างจังหวัด 44 ครั้ง เช่น จังหวัด เชียงใหม่ ขอนแก่น ลำปาง นครราชสีมา อุบลราชธานี สุรินทร์ พิษณุโลก พิจิตร น่าน ศรีศรีสะเกษ อยุธยา อุตรดิตถ์ นครปฐม ลำพูน เชียงราย พะเยา ร้อยเอ็ด ตาก สุราษฎร์ธานี และ นครศรีธรรมราช เป็นต้น รองลงมาคือประเด็นเรียกร้องการคืนสิทธิในการประกันตัว เช่น กิจกรรมยืนหยุดทรราชทุกวันเสาร์ จังหวัดเชียงใหม่ และกิจกรรมยืนหยุดขังครั้งที่ 3 บริเวณหน้าศาลฎีกา จังหวัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งในเดือนนี้เป็นยืนหยุดขังครั้งที่ 3 ครบ 365 วัน ในวันที่ 5 กรกฎาคม 2566 ซึ่งทางกลุ่มได้ประกาศยุติการยืนหยุดขังครั้งที่ 3 ในวันดังกล่าวเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีการชุมนุมในประเด็นสิ่งแวดล้อม ของชาวบ้านรักเขากะลา จังหวัดนครสวรรค์ ออกมาชุมนุมเพื่อ ค้านการทำ EIA โครงการเหมืองแร่ปูน ซึ่งหวั่นกระทบชาวบ้าน-สมดุลระบบนิเวศ และการชุมนุมของเครือข่ายคนฮักทุ่งกุลจังหวัดร้อยเอ็ดการทำ EIA โรงน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวล การชุมนุมในประเด็นต่างประเทศ ของชาวเมียนมาที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยรวมตัวกันเพื่อเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลเมียนมา ณ องค์การสหประชาชาติ สำนักงานประจำประเทศไทย ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพมหานคร เนื่องจากวันคล้ายวันเกิดมินอ่องลาย และ การชุมนุมของศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน

ข้อสังเกตการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ดูแลการชุมนุมตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558

ในเดือนกรกฎาคม พ.ร.บ.ชุมนุมฯถูกนำมาบังคับใช้อย่างเข้มงวดเนื่องจากมีการชุมนุมเกิดขึ้นหลายแห่งทั่วประเทศ ซึ่งมีข้อสังเกตต่อการบังคับใช้ พ.ร.บ.ชุมนุมฯ ดังนี้

การแจ้งการชุมนุมของกลุ่มเครือข่ายคนฮักทุ่งกุงลา ที่มีกำหนดการชุมนุม ณ บริเวณศาลากลางจังหวัดร้อยเอ็ด ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2566 ซึ่งต่อมาสถาณีตำราจภูธรร้อยเอ็ดซึ่งเป็นผู้รับแจ้งการชุมนุมดังกล่าว ออกหนังสือเรียนสรุปสาระการชุมนุมต่อผู้แจ้งการชุมนุม โดยข้อที่ 3 มีการอ้างคำสังคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 3/2558 ซึ่งระบุว่า “การแสดงออกในการชุมนุม ที่สุ่มเสี่ยงล่อแหลม อาจเข้าลักษณะการกระทำที่ขัดต่อคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 3/2558 ให้ผู้จัดการชุมนุมพึงระมัดระวังในการแสดงออกและควบคุมผู้ร่มชุมนุมมิให้ปฏิบัติในลักษณะขัดขวางหรือต่อต้านการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐบาล”

เนื่องจากกำหนดให้มีการประชุมรัฐสภา เพื่อพิจารณาลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี และก่อนหน้านี้หลายสื่ออ้างข้อมูลหน่วยงานความมั่นคงว่า จะมีกลุ่มนักกิจกรรมมาชุมนุมจำนวนมากที่หน้ารัฐสภา เพื่อจับตาดูการโหวตลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้วันที่ 11 กรกฎาคม 2566 กองบัญชาการตำรวจนครบาล ได้ออกประกาศคำสั่ง

การมาชุมนุมดังกล่าว อาจส่งผลกระทบต่อการรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน เพื่อประโยชน์แห่งการรักษาความปลอดภัยสาธารณะ และความสงบเรียบร้อยของประชาชน รวมถึงเพื่อให้การรบริหารการจัดการการชุมนุมสาธารณะเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงอาศัยอำนาจตามมาตรา 7 วรรคท้าย แห่งพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 ประกอบกับคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 151/2560 ลงวันที่ 28 มีนาคม 2560 และคำสั่งกองบัญชาการตำรวจนครบาลที่ 196/2566 ลงวันที่ 12 เมษายน 2566 จึงประกาศห้ามชุมนุมสาธารณะในรัศมีไม่เกิน 50 เมตร รอบรัฐสภา รายละเอียดกำหนดพื้นที่ห้ามชุมนุมและพื้นที่ชุมนุมรอบรัฐสภา ปรากฏตามเอกสารที่แนบท้าย ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 12 กรกฎาคม 2566 เวลา 06.00 น. ถึงวันที่ 15 กรกฎาคม 2566 เวลา 24.00 น.”

ขณะเดียวกันในวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 โรงเรียนราชวินิตได้ประกาศหยุดเรียน ในวันที่ 13 กรกฎาคม 2566 โดยแจ้งว่าได้รับการประสานงานจากกองบังคับการปฏิบัติการพิเศษมีความจำเป็นที่จะขอใช้พื้นที่โรงเรียนราชวินิตเพื่อเป็นที่พักคอยของกำลังพล 170 นาย ในวันดังกล่าวจนเสร็จภารกิจ ทั้งนี้ในวันที่ 13 กรกฎาคม 2566 ผู้สังเกตการณ์ชุมนุม โครงการ Mob data Thailand รายงานว่าเจ้าหน้าที่วางตู้คอนเทนเนอร์ปิดหัวถนนสามเสนฝั่งแยกเกียกกายและเลียบถนนทหาร ฝั่งติดอาคารรัฐสภา รวมทั้งมีการวางลวดหนามหีบเพลงปิดบันไดสะพานลอยแยกเกียกกายอีกด้วย

สถานการณ์การดำเนินคดีกับประชาชน ประจำเดือนกรกฎาคม 2566

เมื่อเปรียบเทียบสถิติคดีกับในช่วงสิ้นเดือนมิถุนายน 2566 มีผู้ถูกดำเนินคดีรายใหม่เพิ่มขึ้นจำนวน 2 คน คดีเพิ่มขึ้น 4 คดี (นับเฉพาะผู้ถูกกล่าวหาที่ไม่เคยถูกดำเนินคดีมาก่อน) หากนับจำนวนบุคคลที่ถูกดำเนินคดีซ้ำในหลายคดี โดยไม่หักออก แต่นำจำนวนมาเรียงต่อกันแล้ว จะพบว่ามีจำนวนการถูกดำเนินคดีไปอย่างน้อย 3,878 ครั้ง

สำหรับสถิติการดำเนินคดี แยกตามข้อกล่าวหาสำคัญ ได้แก่

1. ข้อหา “หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 มีผู้ถูกกล่าวหาอย่างน้อย 253 คน ในจำนวน 273 คดี

สถานการณ์การดำเนินคดีกับประชาชน ประจำเดือนกรกฎาคม 2566

เมื่อเปรียบเทียบสถิติคดีกับในช่วงสิ้นเดือนมิถุนายน 2566 มีผู้ถูกดำเนินคดีรายใหม่เพิ่มขึ้นจำนวน 2 คน คดีเพิ่มขึ้น 4 คดี (นับเฉพาะผู้ถูกกล่าวหาที่ไม่เคยถูกดำเนินคดีมาก่อน) หากนับจำนวนบุคคลที่ถูกดำเนินคดีซ้ำในหลายคดี โดยไม่หักออก แต่นำจำนวนมาเรียงต่อกันแล้ว จะพบว่ามีจำนวนการถูกดำเนินคดีไปอย่างน้อย 3,878 ครั้ง

สำหรับสถิติการดำเนินคดี แยกตามข้อกล่าวหาสำคัญ ได้แก่

1. ข้อหา “หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 มีผู้ถูกกล่าวหาอย่างน้อย 253 คน ในจำนวน 273 คดี

ผู้ถูกดำเนินคดี ม.112 เพิ่มขึ้น 2 คดี มีผู้ถูกคุมขังระหว่างพิจารณา 5 รายแล้วสถิติผู้ถูกดำเนินคดีมาตรา 112 เท่าที่ทราบข้อมูล เพิ่มขึ้นในเดือนที่ผ่านมาอย่างน้อย 1 คน ใน 2 คดี ได้แก่ คดีของจิรัชยา สกุลทอง หรือ “จินนี่” ซึ่งถูกกล่าวหาในข้อหานี้เป็นคดีแรก โดยเมื่อวันที่ 12 ก.ค. 2566 เธอถูกตำรวจเข้าจับกุมตัว ก่อนนำตัวไปแจ้งข้อหาที่ บก.ปอท. เหตุจากการไลฟ์สดบนเฟซบุ๊กในขณะที่กำลังเดินทางไปเข้าร่วมชุมนุม #ม็อบ25กรกฎา แห่เทียนไล่นายกฯ เมื่อวันที่ 25 ก.ค. 2565 อีกคดีหนึ่ง เป็นคดีที่ตำรวจ สน.ลุมพินี ออกหมายเรียกสองนักศึกษาธรรมศาสตร์ไปแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติม จากกรณีการ ชุมนุม #ม็อบ3กันยา2564 อ้างว่ามีเนื้อหาการปราศรัยเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ โดย “บิ๊ก” เกียรติชัย ตั้งภรณ์พรรณ ได้เข้ารับทราบข้อหาไปเมื่อวันที่ 24 ก.ค. 2566 แล้ว ตำรวจยังระบุว่ามีการออกหมายเรียกเบนจา อะปัญ อีกหนึ่งราย แต่ยังไม่ได้รับหมายแต่อย่างใด

ในช่วงเดือนที่ผ่านมา ศาลชั้นต้นทยอยมีคำพิพากษาออกมาอีกอย่างน้อย 4 คดี แยกเป็นคดีที่ต่อสู้คดี 2 คดี คือ คดีของสอง เยาวชน “เบลล์” และ “สายน้ำ” รายแรกต่อสู้คดีที่ศาลเยาวชนจังหวัดพัทลุง รายหลังต่อสู้คดีที่ศาลเยาวชนในกรุงเทพฯ โดยศาล พิพากษาว่ามีความผิดตามมาตรา 112 ทั้งคู่ ในกรณีของสายน้ำ ศาลให้รอการลงโทษไว้ แต่กรณีของเบลล์ ให้เปลี่ยนจากโทษจำคุกเป็นนำตัวไปฝึกอบรมที่ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน เป็นระยะเวลา 2 ปี แต่เขายังได้รับการประกันตัวระหว่างอุทธรณ์

ในคดีที่จำเลยให้การรับสารภาพ พบว่ามีคำพิพากษาออกมาจำนวน 2 คดี ในสองศาล ได้แก่ ศาลอาญากรุงเทพใต้ลงโทษ “อนุชา” ผู้ชู แผ่นป้ายไวนิลใน #ม็อบตำรวจล้มช้าง ให้จำคุก 1 ปี 6 เดือน โดยไม่รอการลงโทษ แต่ให้ประกันตัวระหว่างอุทธรณ์ ขณะที่ศาลอาญา พิพากษาลงโทษ “วัฒน์” กรณีโพสต์ชื่นชมการทรงงานของรัชกาลที่ 9 แต่วิพากษ์วิจารณ์รัชกาลที่ 10 ด้วยอัตราโทษ จำคุกเท่ากัน แต่กลับส่งให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเรื่องการประกันตัว และศาลอุทธรณ์ไม่อนุญาตให้ประกันตัวมาจนถึงปัจจุบัน ความไม่แน่นอนชัดเจนและลักลั่นของการสั่งประกันตัว จึงยังเป็นปัญหาสำคัญหนึ่งในคดีมาตรา 112

2. ข้อหา “ยุยงปลุกปั่น” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 มีผู้ถูกกล่าวหาอย่างน้อย 130 คน ในจำนวน 41 คดี

3. ข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ มีผู้ถูกกล่าวหาอย่างน้อย 1,469 คน ในจำนวน 663 คดี (นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2563 ที่เริ่มมีการดำเนินคดีข้อหานี้ต่อผู้ชุมนุมและทำกิจกรรมทางการเมือง)

ในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม นักกิจกรรมหลายคนทยอยได้รับหมายเรียกของ สน.พลับพลาไชย 2 ในข้อหาหลักตาม พ.ร.บ.การ ชุมนุมสาธารณะ โดยพบว่ามีการออกหมายเรียกถึง 2 คดี ผู้ถูกกล่าวหารวมถึง 19 ราย (มี 1 ราย ถูกกล่าวหาในทั้งสองคดี)

ทั้งสองคดีมีจากเหตุจากกิจกรรมในช่วงการประชุม APEC2022 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2565 แม้เหตุจะผ่านมากว่า 8 เดือนแล้วก็ตาม แต่ตำรวจเพิ่งมีการออกหมายเรียก คดีแรก คือกรณีกิจกรรมเรียกร้อง #ดวงตาพายุดาวดิน ที่บริเวณเยาวราช มีผู้ถูกดำเนินคดี 8 คน บางส่วนได้เข้ารับทราบข้อหาแล้ว คดีที่สอง คือกรณีกิจกรรมคัดค้านการประชุมเอเปค ช่วงวันที่ 15 พ.ย. 2565 มีผู้ถูกออกหมายเรียก อีก 12 คน โดยตำรวจกำหนดให้เข้ารับทราบข้อหาในวันที่ 9 ส.ค. 2566 นี้

ส่วนคดีตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ จากการชุมนุมในช่วงปี 2563-65 พบว่าเดือนที่ผ่านมา ศาลมีคำพิพากษายกฟ้องออกมาอีก 4 คดี ทั้งคดีคาร์ม็อบที่นครศรีธรรมราช, คดีคาร์ม็อบที่อุตรดิตถ์ (ศาลอุทธรณ์ภาค 6 กลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้น), คดีสาดสีและแสดงออกหน้าพรรคภูมิใจไทย และคดีเยาวชนที่ถูกจับกุมบริเวณห้างเมเจอร์รัชโยธิน ก่อนชุมนุม #ม็อบ6มีนา2564 โดยหลายคดี ศาลมีคำพิพากษาในทำนองว่ากิจกรรมยังเป็นการใช้สิทธิการชุมนุมตามรัฐธรรมนูญอีกด้วย

ในทางตรงกันข้าม ก็มีคดีชุมนุมที่ถูกฟ้องตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ที่ศาลเห็นว่ามีความผิดในเดือนที่ผ่านมาอีก 3 คดี โดยมีสองคดีที่ศาล ลงโทษปรับ และมีคดีของ “เอีย” เด็กอายุน้อยที่สุดเท่าที่ทราบว่าถูกดำเนินคดีจากการชุมนุม ศาลเห็นว่ามีความผิดในการไปร่วม ชุมนุมบริเวณดินแดง แต่เห็นว่าขณะเกิดเหตุ มีอายุ 12 ปีเศษ จึงไม่ต้องรับโทษ ให้ว่ากล่าวตักเตือนและปล่อยตัวไป

4. ข้อหาตาม พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ อย่างน้อย 162 คน ในจำนวน 82 คดี

5. ข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ อย่างน้อย 181 คน ในจำนวน 199 คดี

6. ข้อหาละเมิดอำนาจศาล อย่างน้อย 36 คน ใน 20 คดี และคดีดูหมิ่นศาล อย่างน้อย 34 คน ใน 10 คดี

จากจำนวนคดี 1,230 คดีดังกล่าว มีจำนวน 385 คดี ที่สิ้นสุดไปแล้ว เท่ากับยังมีคดีอีกกว่า 845 คดี ที่ยังดำเนินอยู่ในกระบวนการชั้นต่างๆ

ผู้ถูกคุมขังคดีทางการเมือง ประจำเดือนกรกฎาคม 2566

ตลอดเดือน กรกฎาคม ที่ผ่านมา มีผู้ถูกคุมขังระหว่างสู้คดีเพิ่มอีก 2 ราย ได้แก่ “ประวิตร” ในคดีเผาป้อมจราจร และ “วัฒน์” ในคดีมาตรา 112 เนื่องจากศาลอุทธรณ์ไม่อนุญาตให้ประกันระหว่างอุทธรณ์ แม้ว่าระหว่างพิจารณาคดีของศาลชั้นต้นทั้งสองได้รับการประกันตัวตลอดมา และไม่มีพฤติการณ์หลบหนี ส่วนผู้ต้องขังเดิมศาลก็ไม่มีคำสั่งให้ประกันแม้แต่คดีเดียว ข้อหาหลักในคดีของผู้ต้องขังยังคงเป็น 2 ข้อหาหลัก นั่นคือ มาตรา 112 และข้อหาที่เกี่ยวข้องกับวัตถุระเบิด

ประวิตร พนักงานขนสินค้า อายุ 20 ปี ถูกคุมขังระหว่างอุทธรณ์ อยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ มาตั้งแต่วันที่ 11 กรกฎาคม 2566 หลังจากศาลชั้นต้น (ศาลอาญา) พิพากษาจำคุก 12 ปี 8 เดือน ก่อนลดเหลือ 6 ปี 4 เดือน เพราะให้การรับสารภาพ ในคดีที่ถูกฟ้องว่าเผาป้อมตำรวจจราจรใต้ทางด่วนดินแดง ในการชุมนุม #คาร์ม็อบใหญ่ไล่ทรราช เมื่อวันที่ 10 ส.ค. 2564

วัฒน์ ช่างตัดผม วัย 29 ปี ถูกคุมขังระหว่างอุทธรณ์ อยู่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ มาตั้งแต่วันที่ 17 กรกฎาคม 2566 หลังจากที่ศาลชั้นต้น (ศาลอาญา) พิพากษาจำคุก 3 ปี ลดเหลือ 1 ปี 6 เดือน เพราะให้การรับสารภาพ แต่ไม่รอลงอาญา ในคดีมาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (3) ซึ่งถูกฟ้องจากการโพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กมีเนื้อหาชื่นชมในหลวงรัชกาลที่ 9 แต่วิพากษ์วิจารณ์ในหลวงรัชกาลที่ 10 เมื่อวันที่ 18 ต.ค. 2563

ในเดือนที่ผ่านมา มีผู้ถูกคุมขังในคดีการเมืองที่คดีสิ้นสุดแล้วเพิ่มอีก 1 ราย คือ “เอกชัย หงส์กังวาน” ขณะเดียวกันก็มีผู้ถูกคุมขังได้รับการปล่อยตัว 1 รายเช่นกัน นั่นคือ “คทาธร” เนื่องจากถูกคุมขังจนครบโทษแล้ว ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นผลให้จำนวนผู้ต้องขังคดีการเมืองที่สิ้นสุดกลับมาเท่าเดิม ที่อย่างน้อย 10 ราย

เอกชัย นักกิจกรรม อายุ 48 ปี ถูกคุมขังในฐานะนักโทษเด็ดขาดอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ตั้งแต่วันที่ 6 กรกฎาคม 2566 ภายหลังศาลฎีกาพิพากษายืนจำคุก 1 ปี โดยไม่รอลงอาญา ในคดีโพสต์ข้อความเล่าประสบการณ์เพศสัมพันธ์ในเรือนจำเมื่อปี 2560 ซึ่งศาลตัดสินว่าเขามีความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(4)

จนถึงปัจจุบัน (1 ส.ค. 2566) มีผู้ต้องขังคดีการเมืองถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำ อย่างน้อย 19 ราย แบ่งเป็นผู้ถูกคุมขังระหว่างต่อสู้คดี 9 ราย และเป็นผู้ต้องขังในคดีที่สิ้นสุดแล้ว (นักโทษเด็ดขาด) 10 ราย ในจำนวนผู้ต้องขังที่ยังไม่ได้รับสิทธิประกันตัวระหว่างต่อสู้คดี 9 ราย เกินครึ่ง คือ 5 ราย เป็นผู้ถูกดำเนินคดีในข้อหาตามมาตรา 112 ได้แก่ วุฒิ, เวหา, ทีปกร, วารุณี และวัฒน์ ที่เหลือเป็นผู้ถูกดำเนินคดีในข้อหาที่เกี่ยวข้องกับการครอบครองระเบิดปิงปอง จำนวน 3 ราย ได้แก่ “ธี” ถิรนัย, “มาย” ชัยพร และ “มาร์ค” ชนะดล ส่วนอีก 1 ราย คือ “ประวิตร” เป็นคดีที่ถูกกล่าวหาว่าเผาป้อมจราจร

สถานการณ์การจำกัดและการละเมิดสิทธิ และการคุกคามจากเจ้าหน้าที่รัฐจากการแสดงออกและการชุมนุม ประจำเดือนกรกฎาคม 2566

ในเดือนกรกฎาคมนี้ พบการการจำกัดและการละเมิดสิทธิในสถานศึกษาอย่างน้อย 5 ครั้ง แบ่งเป็นสาเหตุจากการแสดงออกในสิทธิเนื้อตัวร่างกาย อย่างน้อย 4 ครั้ง และการแสดงออกทางเมือง 1 ครั้ง ขณะที่ท่ามกลางกระแสการเลือกนายกรัฐมนตรีในรัฐสภา มีผลต่อกระแสการชุมนุมและแสดงออกนอกสภา ส่งผลให้มีการคุกคามโดยเจ้าหน้าที่รัฐเกิดขึ้นด้วยไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง

สถานการณ์การจำกัดและการละเมิดสิทธิจากการแสดงออกและการชุมนุม

ต่อเนื่องจากสถานการณ์ที่หยก โรงเรียนไม่อนุญาตให้เข้าเรียนได้ ต่อมา เพจนักเรียนเลว รายงานว่าเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2566 ร.ร.เตรียมอุดมพัฒนาการ แจ้งความคืบหน้าของกรณีหยกกับผู้ปกครองว่าทางโรงเรียนหารือกับหลายหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องแล้วแต่ยังไม่มีความคืบหน้าเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุไม่สงบ ซึ่งทำให้นักเรียนเสียสมาธิช่วงสอบ และคลายความข้องใจของผู้ปกครองทางร.ร.จึงอนุญาตให้หยกเข้าสอบได้และเตรียมข้อมูลด้านการเรียนเพื่อส่งต่อ

ท่ามกลางกระแสการแสดงออกผ่านเนื้อตัวร่างกาย เช่นทรงผม และ เครื่องแต่งกายกลับมาเป็นประเด็นอีกครั้ง เพจนักเรียนเลวรายงานอย่างน้อย 3 ครั้งในประเด็นดังกล่าว เช่น ที่โรงเรียนเอกชนหญิงล้วนแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ นักเรียนมัธยมปลาย ถูกพักการเรียน 1 ปี หลังแต่งไปรเวทไป ร.ร. เพียงวันเดียว โดยไม่มีการชี้แจงเป็นลายลักษณ์อักษร ที่ ร.ร. แห่งหนึ่งใน อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี นักเรียนถูกครูตัดผมกลางคาบเรียน เนื่องด้วยผมยาวเกินกำหนด นร. และมีการข่มขู่ให้ลาออก ที่ โรงเรียนย่านราชพฤกษ์ กรุงเทพฯ มีการจัดทำ MoU ข้อตกลงระหว่างโรงเรียน ผู้ปกครอง และนักเรียน โดยเนื้อหาบางส่วนระบุปรากฎข้อตกลง 20 ข้อที่บังคับเฉพาะ 2 นักเรียนและผู้ปกครอง เช่น บังคับทำตามระเบียบ ร.ร., ห้ามก้าวร้าว, ห้ามทำลายชื่อเสียง ร.ร., ห้ามติติง ร.ร. ในโซเชียลมีเดีย เป็นต้น และตอนท้ายเอกสาร ระบุว่าหากปรากฎว่า

นักเรียนและผู้ปกครองไม่สามารถปฏิบัติข้อตกลงนี้ได้ ข้าพเจ้าในฐานะผู้ปกครอง ยินยอมให้ทางโรงเรียนคัดชื่อออกจากทะเบียนโรงเรียนโดยไม่เรียกร้องสิทธิใด ๆ ทั้งสิ้นกับทางโรงเรียน

ส่วนการแสดงออกกทางการเมืองในสถานศึกษา พบว่าทางสถานศึกษาให้ยุติการทำกิจกรรม 1 ครั้ง โดย วันที่ 24 กรกฎาคม 2566 นักศึกษาคณะสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แขวนป้ายผ้า “หยุดใช้อำนาจไร้สำนึก” ก่อนถูกเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยกดดันให้ปลดป้ายผ้าดังกล่าวออก

การคุกคามจากเจ้าหน้าที่รัฐจากการแสดงออกและการชุมนุม

เพจกระบี่ไม่ทนรายงานว่า เมื่อวันที่ 13 ก.ค. 66 เวลาประมาณ 16.00 ที่จังหวัดกระบี่ ตำรวจสถานีภูธรเมืองกระบี่ จำนวน 3 นาย พร้อมด้วยอาวุธปืน เข้ามายังอาคารที่ทำการพรรคก้าวไกลกระบี่ ขณะที่ประชาชนกำลังติดตามการโหวตนายก

ผู้อยู่ในเหตุการณ์เล่าว่า รู้สึกตกใจ พวกตนก็กำลังฟังข่าวอย่างปกติ โดยก่อนหน้านี้มีเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบประมาณ 5 นายเข้ามายังสำนักงานและจึงมีตำรวจในเครื่องแบบตามเข้ามา ทางตำรวจชี้แจงว่า มาเพื่อสังเกตการณ์เท่านั้น

เพจ เฮียหมา ค้าผลไม้ โพสต์ว่า ที่จังหวัดชลบุรี เวลาประมาณ 11.40 น. เมื่อวันที่ 24 ก.ค. 2566 ตำรวจนอกเครื่องแบบเข้ามาติดตามสอบถามข้อมูลการทำกิจกรรม หลังวานนี้ทางเพจโพสต์ประชาสัมพันธ์จัดกิจกรรม “ไว้อาลัยให้กับเสียง 25 ล้านเสียง ของประชาชนไม่มีความหมาย” ในวันที่ 23 ก.ค. นี้ ที่สวนสาธารณะเทศบาลเมืองศรีราชา