วันที่: 8/8/2566 ผู้เขียน: mobdatathailand

ประมวลสถานการณ์การชุมนุมและการคุกคาม ประจำเดือนตุลาคม 2565

description
  • ทะลุฟ้า
  • ตุลาคม

หลังรัฐบาลยกเลิกการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2565 โดยมีการนำพ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะฯ มาเป็นกฎหมายหลักในการดูแลการชุมนุมแทน อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีรายงานการดำเนินคดีที่เกี่ยวกับการชุมนุมคดีใหม่เกิดขึ้น แต่มีการนำคดีเกี่ยวกับการชุมนุมตั้งแต่ปี 2563 ขึ้นสู่ชั้นศาลอย่างต่อเนื่อง และมีคำพิพากษาในหลายคดี ในเดือนตุลาคมนี้ มีการชุมนุมและการแสดงออกเกิดขึ้นทั่วประเทศไม่ต่ำกว่า 55 ครั้ง มากกว่าเดือนกันยายนอย่างน้อย 10 ครั้ง ประเด็นที่มีการชุมนุมมากที่สุด ได้แก่ ประเด็นเรียกร้องสิทธิประกันตัวให้ผู้ต้องขังคดีทางการเมืองอย่างน้อย 32 ครั้ง มีกิจกรรมยืนหยุดขัง 31 ครั้ง แบ่งเป็นการจัดกิจกรรมโดยกลุ่มพลเมืองโต้กลับ บริเวณหน้าศาลฎีกา กรุงเทพฯ ทั้งหมด 20 ครั้ง กลุ่มอิสระ จัดกิจกรรมเรียกร้องให้ปล่อยตัวผู้ต้องขังทางการเมือง 2 ครั้ง ที่ศาลฎีกา และที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ ในต่างจังหวัด มีการจัดกิจกรรมยืนหยุดทรราชที่ลานท่าแพ จ.เชียงใหม่ ซึ่งจัดขึ้นอาทิตย์ละครั้ง ทั้งหมด 5 ครั้ง ยืนหยุดขังที่ จ.อยุธยา อีก 4 ครั้ง นอกจากนี้ กลุ่มทะลุฟ้า ยังได้จัดกิจกรรม “Free Our Friends” ยื่นหนังสือรายงานสถานการณ์การใช้กฎหมายดำเนินคดีทางการเมืองกับประชาชน และเรียกร้องให้คืนสิทธิประกันตัวให้ผู้ถูกคุมขังทางการเมืองต่อสถานทูตอเมริกาและเยอรมนี โดยมีกิจกรรมเป่าเค้กวันเกิด (opens new window)ครบรอบ 32 ปีของ แซมพรชัย ยวนยี ผู้ต้องหามาตรา 112 ที่ไม่ได้รับการประกันตัวระหว่างการพิจารณาคดีด้วย

asset

ภาพรวมสถานการณ์การชุมนุม

หลังรัฐบาลยกเลิกการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2565 โดยมีการนำพ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะฯ มาเป็นกฎหมายหลักในการดูแลการชุมนุมแทน อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีรายงานการดำเนินคดีที่เกี่ยวกับการชุมนุมคดีใหม่เกิดขึ้น แต่มีการนำคดีเกี่ยวกับการชุมนุมตั้งแต่ปี 2563 ขึ้นสู่ชั้นศาลอย่างต่อเนื่อง และมีคำพิพากษาในหลายคดี ในเดือนตุลาคมนี้ มีการชุมนุมและการแสดงออกเกิดขึ้นทั่วประเทศไม่ต่ำกว่า 55 ครั้ง มากกว่าเดือนกันยายนอย่างน้อย 10 ครั้ง

ประเด็นที่มีการชุมนุมมากที่สุด ได้แก่ ประเด็นเรียกร้องสิทธิประกันตัวให้ผู้ต้องขังคดีทางการเมืองอย่างน้อย 32 ครั้ง มีกิจกรรมยืนหยุดขัง 31 ครั้ง แบ่งเป็นการจัดกิจกรรมโดยกลุ่มพลเมืองโต้กลับ บริเวณหน้าศาลฎีกา กรุงเทพฯ ทั้งหมด 20 ครั้ง กลุ่มอิสระ จัดกิจกรรมเรียกร้องให้ปล่อยตัวผู้ต้องขังทางการเมือง 2 ครั้ง ที่ศาลฎีกา และที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ ในต่างจังหวัด มีการจัดกิจกรรมยืนหยุดทรราชที่ลานท่าแพ จ.เชียงใหม่ ซึ่งจัดขึ้นอาทิตย์ละครั้ง ทั้งหมด 5 ครั้ง ยืนหยุดขังที่ จ.อยุธยา อีก 4 ครั้ง นอกจากนี้ กลุ่มทะลุฟ้า ยังได้จัดกิจกรรม “Free Our Friends” ยื่นหนังสือรายงานสถานการณ์การใช้กฎหมายดำเนินคดีทางการเมืองกับประชาชน และเรียกร้องให้คืนสิทธิประกันตัวให้ผู้ถูกคุมขังทางการเมืองต่อสถานทูตอเมริกาและเยอรมนี โดยมีกิจกรรมเป่าเค้กวันเกิด  (opens new window)ครบรอบ 32 ปีของ แซมพรชัย ยวนยี ผู้ต้องหามาตรา 112 ที่ไม่ได้รับการประกันตัวระหว่างการพิจารณาคดีด้วย

assetasset

ในเดือนตุลาคมนี้ มีการจัดงานรำลึกวันสำคัญทางการเมืองอย่างน้อย 13 ครั้ง โดยวันที่มีการจัดกิจกรรมมากที่สุดคือ วันที่ 6 ต.ค. 2565 เนื่องจากเป็นวันครบรอบ 46 ปี เหตุการณ์สังหารหมู่ธรรมศาสตร์ 6 ต.ค. 2519 มีการจัดกิจกรรมรำลึกถึงการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของผู้เสียชีวิตในวันนั้นทั่วประเทศ อย่างน้อย 10 ครั้ง ส่วนมากเป็นการจัดกิจกรรมในมหาวิทยาลัยโดยนิสิตนักศึกษา แบ่งเป็นกิจกรรมที่กรุงเทพ 5 ครั้ง ได้แก่ งานรำลึก 46 ปี 6 ตุลา ตามหา(อ)ยุติธรรม จัดโดยเครือข่ายนักศึกษาจัดงาน 6 ตุลา บริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

asset

งาน 6 ตุลา หวังว่าเสียงลมจะพาล่องไป ณ ลานคนเมือง หน้าศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร จัดโดยกลุ่มศิลปะปลดแอกและเครือข่าย ในงานนี้การปะทะคารมกันระหว่างผู้ร่วมกิจกรรมกับนักเคลื่อนไหวทางการเมือง ขณะชูป้ายผ้าขนาดยาวมีข้อความว่า “ล้างมรดกบาป 6 ตุลา ยกเลิก 112” พิธีกรบนเวทีได้กล่าวว่า หากไม่ลดป้ายผ้าลงจะไม่แสดงดนตรีต่อ และมีการเชิญกลุ่มนักเคลื่อนไหวออกจากพื้นที่ในเวลาต่อมา ก่อนที่คณะผู้จัดจะโพสต์แถลงการณ์ขอโทษต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น, กิจกรรมจุดเทียน–วางดอกไม้ เพื่อรำลึกถึงรุ่นพี่จุฬาฯ ที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์นั้น ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กิจกรรมเกษตรรำพันสานฝันอุดมการณ์ 46ปี6ตุลา จัดโดยองค์การนิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน, กิจกรรม46ปี6ตุลา โดยจะมีการจุดเทียนรำลึก , กล่าวบทความรำลึกวีรชน 6 ตุลา , และจุดเทียน ที่มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

ในพื้นที่ต่างจังหวัดต่างจังหวัด มีการจัดงานรำลึกอย่างน้อย 5 ครั้ง ได้แก่ กิจกรรมสานแรงกล้าแห่งเสรีภาพจากพี่สู่น้อง ที่อาคารศูนย์การเรียนรู้มหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล จังหวัดนครปฐม, งานเสวนา “ประสบการณ์ ความทรงจำ และภาวะลอยนวลพ้นผิด” รำลึก 46 ปี 6 ตุลา ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, กิจกรรมตุลามาหารำลึก #OctoberOverAgain ที่มหาวิทยาลัยนเรศวร, งาน 6 ตุลา 2519 ทวนรอยเท้าแห่งวิธีที่มออุบลฯ ที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และกิจกรรม46ปี6ตุลา ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หาดใหญ่

นอกจากงานรำลึกถึงเหตุการณ์สังหารหมู่ธรรมศาสตร์แล้ว วันที่ 31 ต.ค. 2565 กลุ่มโมกหลวงริมน้ำ ได้จัดงานนิทรรศการรำลึกผู้ที่ถูกบังคับให้สูญหายทางการเมือง “Dead or Breathe” ที่บริเวณหน้าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพ โดยเป็นการแต่งกายแนวฮัลโลวีน และแสดงออกเชิงสัญลักษณ์เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว ในวันเดียวกัน กลุ่มคนเสื้อแดง (นปช.) ได้จัดกิจกรรมจุดเทียนรำลึก 16 ปี นวมทอง ไพรวัลย์ คนขับแท็กซี่ที่ขับรถแท็กซี่ชนรถถังเพื่อต่อต้านการรัฐประหาร เขาทำอัตนิวิบาตกรรมด้วยการแขวนคอที่สะพานลอยหน้าที่ทำการหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เพื่อลบคำสบประมาทของรองโฆษกคณะรัฐประหารที่ออกมาให้ข่าวทำนองว่า ไม่มีใครมีอุดมการณ์มากพอที่จะที่พลีชีพได้ ในวันที่ 31 ต.ค. 2549 ทำให้มีการรำลึกถึงนวมทองในวันดังกล่าวทุกปี และยังมีการจัดกิจกรรมปราศรัย แสดงดนตรีช่วงค่ำจากกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตยด้วย

วันที่ 25 ต.ค. 2565 เป็นวันครบรอบ 18 ปี เหตุการณ์สลายการชุมนุม ณ จังหวัด นราธิวาส อำเภอตากใบ เมื่อ 25 ตุลาคม 2547 กลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ จึงร่วมกันจัดกิจกรรม “รำลึก 18 ปี ตากใบรัฐไทยไม่ยอมจำ” โดยภายในงานมีกิจกรรมเสวนา และนิทรรศการที่เกี่ยวกับเหตุการณ์การสลายการชุมนุมตากใบ

ประเด็นที่มีการจัดกิจกรรมมรองลงมา คือประเด็นเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีออกจากตำแหน่ง โดยมีการชุมนุมอย่างน้อย 5 ครั้ง ได้แก่ กลุ่มทะลุฟ้าและเครือข่าย จัดกิจกรรม “พอกันที 8 ปีประยุทธ์” บริเวณอนุสาวรีย์ชัย ซึ่งเป็นกิจกรรมที่มีการปราศรัยในประเด็นการเลือกตั้งและวิจารณ์การบริหารของรัฐบาล บก. ลายจุด จัดกิจกรรม Flash Mob อย่างน้อย 2 ครั้ง เพื่อแสดงจุดยืนว่าไม่เห็นด้วยต่อการดำรงตำแหน่งของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และรัฐบาลชุดนี้ โดยครั้งแรกเป็นการนัดผู้ชุมนุมสวมเสื้อสีดำในวันอาทิตย์ที่โรงหนังสกาล่า และนัดผู้ชุมนุมสวมเสื้อสีดำบนรถไฟฟ้า เขาเปิดเผยว่า วางแผนจะจัดกิจกรรมแบบนี้ทุกอาทิตย์ รวมพลคนเสื้อแดงไม่เอาเผด็จการ #กูไม่เอารัฐบาลโจร จัดการชุมนุมจากกรณีศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยประยุทธ์ได้ไปต่อ ตู่อยู่เราไล่ต่อ ณ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย นอกจากนี้ ยังมีกรณีนักกิจกรรมที่จังหวัดขอนแก่นและอุบลราชธานี เดินทางไปชูป้าย #ไล่ประยุทธ์ #นายกเถื่อน ระหว่าง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบสถานการณ์น้ำท่วม ทำให้มีผู้ชุมนุมบางคนได้รับบาดเจ็บจากการปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ

มีการจัดกิจกรรมในประเด็นแรงงานอย่างน้อย 2 ครั้ง ได้แก่ สหภาพคนทำงาน จัดกิจกรรม “วันงานที่มีคุณค่าสากล” ที่หน้าอาคารสำนักงานสหประชาชาติ พร้อมปราศรัยสะท้อนปัญหาในการทำงานหลายภาคส่วน รวมถึงมีการแสดงเจตจำนง 5 ข้อ เพื่อสิทธิและสวัสดิการที่ดีของผู้ใช้แรงงาน สหภาพแรงงานฮันอิล ฟอร์จิ้ง ไทยแลนด์ จัดชุมนุมย่อยเรียกร้องการปรับปรุงสวัสดิการให้แก่ลูกจ้าง แต่ตัวแทนคณะกรรมการลูกจ้างที่เข้าเจรจากับนายจ้างยังไม่สามารถตกลงกันได้ จึงมีการนัดหมายกันภายหลัง

ในส่วนของประเด็นสิทธิทำในที่ดินทำกิน มีการชุมนุมอย่างน้อย 1 ครั้ง ได้แก่ เครือข่ายสลัมสี่ภาค และขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) ร่วมกันจัดกิจกรรมเดินรณรงค์ “วันที่อยู่อาศัยโลก” เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลสร้างหลักประกันในการเข้าถึงที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยของประชาชน จากลานคนเมือง ไปยังกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กระทรวงคมนาคม และสิ้นสุดที่ทำเนียบรัฐบาล

ประเด็นอื่นๆในเดือนนี้ มีการยื่นหนังสือจากกลุ่มพลเมืองโต้กลับ ไปยังประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อให้พิจารณาเสนอเรื่องไปยังศาลปกครอง กรณีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดวันห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และนักกิจกรรมที่ถูกคุกคามได้เข้ายื่นหนังสือต่อสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุญยชนแห่งชาติ เพื่อเรียกร้องให้หยุดคุกคามประชาชน

asset

นอกจากนี้ กลุ่มศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน (ศปปส.), ศูนย์ช่วยเหลือด้านกฎหมายผู้ถูกล่วงละเมิด (bully) ทางสังคมออนไลน์ (ศชอ.) และนักรบองค์ดำ รวมตัวกันเดินทางไปทวงถามความคืบหน้า กรณียื่นหนังสือร้องเรียนว่าองค์การบริหารนิสิตจุฬาฯ (อบจ.) ก้าวล่วงสถาบันพระมหากษัตริย์ พร้อมยื่นหนังสือจี้ถึงนายกสภา อบจ. เพื่อเร่งความคืบหน้าในประเด็นดังกล่าวอีกทาง

#สถานการณ์การดำเนินคดี ประจำเดือนตุลาคม 2565

ในเดือนตุลาคมนี้ ยังไม่มีคดีใหม่เกิดขึ้นมากนัก ส่วนใหญ่จะเป็นการนำคดีเกี่ยวกับการชุมนุมตั้งแต่ปี 2563 ขึ้นสู่ชั้นศาลอย่างต่อเนื่อง และมีคำพิพากษาในหลายๆคดี อย่างไรก็ตาม แม้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ จะถูกยกเลิกไปแล้ว แต่อัยการยังมีคำสั่งฟ้องคดีอยู่ และศาลก็ทยอยมีคำพิพากษา ทั้งยกฟ้อง และตัดสินว่ามีความผิดตามที่กล่าวอ้าง สำหรับคดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 แม้จะมีการสั่งฟ้องคดีเพิ่มเพียง 2 คดี แต่แนวทางการตัดสินคดีตามมาตรา 112 ยังเป็นสิ่งที่ต้องจับตามองต่อไป รวมถึงคำพิพากษาของเยาวชนที่ถูกดำเนินคดีด้วย

ตั้งแต่เริ่มการชุมนุมของ “เยาวชนปลดแอก” เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2563 จนถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2565 มีประชาชนที่ถูกดำเนินคดีจากการชุมนุมและการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองแล้วอย่างน้อย 1,864 คน ในจำนวน 1,145 คดี เป็นกลุ่มเยาวชนที่อายุต่ำกว่า 18 ปี จำนวน 283 ราย ใน 210 คดี เมื่อเปรียบเทียบสถิติคดีกับในช่วงสิ้นเดือนกันยายน 2565 มีผู้ถูกดำเนินคดีรายใหม่เพิ่มขึ้น 4 คน คดีเพิ่มขึ้น 6 คดี (นับเฉพาะผู้ที่ไม่เคยถูกดำเนินคดีมาก่อน) หากนับจำนวนบุคคลที่ถูกดำเนินคดีซ้ำในหลายคดีโดยไม่หักออก จะพบว่ามีจำนวนการถูกดำเนินคดีไปอย่างน้อย 3,710 ครั้ง

สำหรับสถิติการดำเนินคดี แยกตามข้อกล่าวหาสำคัญ ได้แก่

1. ข้อหา “หมิ่นประมาทกษัตริย์” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 มีผู้ถูกกล่าวหาอย่างน้อย 217 คน ในจำนวน 236 คดี

มีผู้ถูกดำเนินคดีในเดือนนี้ เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 2 ราย ใน 2 คดี โดยมีจำเลยในข้อหานี้อย่างน้อย 3 คน ที่ยังถูกคุมขังระหว่างต่อสู้คดี ได้แก่ สมบัติ ทองย้อย, พรชัย ยวนยี และมิกกี้บัง จากกลุ่มทะลุฟ้า ซึ่งเป็นผู้ที่ถูกฟ้องคดีเพิ่ม จากกรณีถูกกล่าวหาว่าเผาซุ้มเฉลิมพระเกียรติและป้อมจราจร ที่บริเวณหน้าโรงเรียนราชวินิต มัธยม ในระหว่างการเข้าร่วมชุมนุมครบรอบ 15 ปี รัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2564

ในเดือนนี้ศาลมีคำพิพากษาคดีมาตรา 112 อย่างน้อย 4 คดี เป็นคำพิพากษายกฟ้อง 3 คดี ได้แก่ สุริยศักดิ์ ฉัตรพิทักษ์กุล อดีตแกนนำ นปช. ซึ่งเป็นคดีตกค้างจากยุค คสช. เขาเคยถูกจับในข้อหาก่อการร้ายจากการชุมนุมปี 2553 ร่วมกับประชาชนอีก 8 คน ต่อมาอัยการไม่ฟ้อง มีเพียงสุริยศักดิ์คนเดียวที่ถูกอายัดตัวและแจ้ง ม.112 เป็นคดีดังกล่าว18 วารี (นามสมมติ) ถูกกล่าวหาว่านำภาพข้อความจากทวิตเตอร์เกี่ยวกับการเลือกปกป้องกษัตริย์ของตำรวจและนำมาโพสต์ลงเฟซบุ๊กส่วนตัว รวมถึงการโพสต์รูปการ์ตูนล้อเลียนตำรวจในคอมเมนต์ และการแชร์โพสต์เฟซบุ๊กวิจารณ์ประยุทธ์ที่สั่งปิดกั้นเพลงของ R.A.D19 พิพัทธ์ (สงวนนามสกุล) เขาถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้โพสต์ภาพพระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่ 10 และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ พร้อมใส่ข้อความแทรกบนภาพ 2 ประโยค ในกลุ่มเฟซบุ๊กชื่อ “รอยัลลิสต์มาร์เก็ตเพลส” ทั้ง 3 คดี ถูกยกฟ้องด้วยเหตุพยานหลักฐานฝ่ายโจทก์ไม่น่าเชื่อถือ มีความขัดแย้งกัน จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย ส่วนคดีที่ถูกพิพากษาว่ามีความผิด ได้แก่ ภัคภิญญา (สงวนนามสกุล) กรณีถูกกล่าวหาว่าแชร์โพสต์ในทำนองหมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ จำนวน 6 โพสต์ ศาลจังหวัดนราธิวาสมีคำพิพากษาลงโทษ 3 กรรม กรรมละ 3 ปี รวมเป็นโทษจำคุก 9 ปี โดยไม่รอลงอาญา ชี้จำเลยเป็นผู้ใช้เฟซบุ๊กจริง ข้อความเจตนาสื่อถึง ร.10 ในแง่ดูหมิ่นและอาฆาตมาดร้าย ต่อมา ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัวเพื่อต่อสู้คดีในชั้นอุทธรณ์ ในปัจจุบัน ศาลนิยมมีคำพิพากษาลงโทษจำคุกกรรมละ 3 ปี ซึ่งเป็นโทษขั้นต่ำที่สุดต่อกรรมที่มาตรา 112 กำหนดไว้

นอกจากนี้ยังมีการสืบพยานเยาวชน เพชร ธนกร กรณีปราศรัยในการชุมนุม "คนนนท์ท้าชนเผด็จการ" บริเวณท่าน้ำนนทบุรี เมื่อ 10 ก.ย. 2563 จนเสร็จสิ้น กำหนดนัดฟังคำพิพากษาวันที่ 22 พ.ย. 2565 โดยคดีของเพชรจะเป็นคดีมาตรา 112 ของเยาวชนคดีแรกที่มีคำพิพากษาซึ่งกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights: ICCPR) ที่ประเทศไทยเป็นรัฐภาคี ได้ให้การคุ้มครองบุคคลใช้สิทธิและเสรีภาพการแสดงออกภายใต้ข้อ 19 และสิทธิและเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบภายใต้ข้อ 21 อีกทั้ง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ได้ระบุถึงข้อห่วงกังวลต่างๆ เกี่ยวกับกฏหมายว่าด้วยการหมิ่นพระมหากษัตริย์ทั่วโลก โดยกล่าวว่า บุคคลสาธารณะทุกคน รวมถึงผู้ที่มีอำนาจสูงสุดทางการเมือง ล้วนเป็นผู้ที่ควรถูกวิพากษ์วิจารณ์ได้อย่างชอบธรรม และการต่อต้านคัดค้านทางการเมือง รวมถึงการวิพากษ์วิจารณ์สถาบันของรัฐนั้นไม่ควรเป็นเรื่องต้องห้าม แม้ในกรณีที่ข้อกล่าวหาเกี่ยวกับการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนั้นอาจถูกมองว่าเป็นโทษที่เกี่ยวข้องกับการหมิ่นประมาท คณะกรรมการฯ ได้ลงความเห็นว่า “โทษจำคุกไม่ใช่เป็นการลงโทษที่เหมาะสมในทุกกรณี”

2. ข้อหา “ยุยงปลุกปั่น” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 มีผู้ถูกกล่าวหาอย่างน้อย 127 คน ในจำนวน 39 คดี

อัยการมีคำสั่งฟ้องคดีของ กตัญญู หมื่นคำเรือง ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (3) จากกรณีโพสต์ประชาสัมพันธ์ในเพจเฟซบุ๊กของ กลุ่ม “ทะลุฟ้า” เมื่อวันที่ 10 และ 12 ส.ค. 2564 มีเนื้อหาเกี่ยวกับการเชิญชวนไปร่วมการชุมนุมม็อบ11สิงหา “ไล่ทรราช” และ ม็อบ13สิงหา “ศุกร์13ไล่ล่าทรราช” ที่บริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ โดยศาลอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว โดยให้วางหลักทรัพย์ 25,000 บาท คดีนี้มีประชาชนทั่วไปจากศูนย์ช่วยเหลือด้านกฎหมายผู้ถูกล่วงละเมิด bully ทางสังคมออนไลน์” (ศชอ.) เป็นผู้กล่าวหา และมีคำพิพากษาคดีของ ทิวากร วิถีตน กรณีโพสต์เฟซบุ๊กเชิญชวนให้บุคคลทั่วไปเข้ามาลงชื่อในเว็บไซต์ Change.org ล่ารายชื่อคนที่ต้องการทำประชามติให้เลือกว่าจะคงไว้หรือยกเลิกระบอบกษัตริย์ พร้อมมีข้อความบนลายพื้นในหน้าแคมเปญว่า “เราฝันถึงระบอบสาธารณรัฐ/สหพันธรัฐที่ไม่ต้องมีกษัตริย์” ศาลจังหวัดลำปางมีคำพิพากษาลงโทษตามมาตรา 116 จำคุก 3 ปี แต่ให้รอการลงโทษจำคุกมีกำหนด 3 ปี เนื่องจากไม่เคยมีโทษจำคุกมาก่อน3. ข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ มีผู้ถูกกล่าวหาอย่างน้อย 1,469 คน ในจำนวน 662 คดี (นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2563)

หลัง พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ยุติการประกาศใช้ครบ 1 เดือน มีผลตั้งแต่ 30 ก.ย. 2565 เป็นต้นไป ได้มีการนำพ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะฯ มาเป็นกฎหมายหลักในการดูแลการชุมนุมแทน ขณะนี้ ยังไม่มีรายงานการดำเนินคดีที่เกี่ยวกับการชุมนุมคดีใหม่เกิดขึ้น แต่ยังมีการสั่งฟ้องคดีในข้อหา พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ จากการร่วมชุมนุมเมื่อปี 2564 อย่างน้อย 2 คดี ได้แก่ นักกิจกรรม 4 ราย กรณีจัดและเข้าร่วมกิจกรรมคาร์ม็อบ15สิงหา ขบวนกี 3 ที่ซอยสีลม 2 ไปจนถึงห้าแยกลาดพร้าว เมื่อวันที่ 15 ส.ค. 2564 และนักกิจกรรม-ประชาชน 4 ราย กรณีชุมนุมหน้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพ เมื่อวันที่ 13 ต.ค. 2564 ศาลมีคำสั่งให้ประกันตัว วางหลักทรัพย์ 35,000 บาท พร้อมกำหนดเงื่อนไขห้ามกระทำการในทำนองเดียวกันนี้อีก

ในส่วนของคำพิพากษาคดี พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ มีคำพิพากษาอย่างน้อย 9 คดี เป็นคำพิพากษายกฟ้อง อย่างน้อย 6 คดี ได้แก่ สมาชิกกลุ่ม “ขอคืนไม่ได้ขอทาน” 4 ราย จากกรณีปักหลักค้างคืนรอพบ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อยู่ใกล้ทำเนียบรัฐบาล ที่บริเวณหน้าศาลกรมหลวงชุมพรฯ ถนนพระราม 5 เพื่อเรียกร้องนายกรัฐมนตรี ช่วยแก้กฎหมายเรื่องเงินประกันสังคม26 วิชพรรษ ศรีกสิพันธุ์ สมาชิกกลุ่ม We volunteer กรณีชุมนุมต้านรัฐประหาร ของ มิน อ่อง หลาย หน้าสถานทูตเมียนมาร์ในไทย เมื่อ 1 ก.พ. 2564 คดีนี้ศาลยกฟ้อง พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ แต่ลงโทษตามข้อหา พ.ร.บ.โรคติดต่อ ระบุว่าวิชพรรษไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงานควบคุมโรค เป็นเงิน 10,000 บาท แต่เนื่องจากเขาถูกคุมขัง 1 คืน จึงลดค่าปรับเหลือ 9,500 บาท อภิสิทธิ์ ทรัพย์นภาพันธ์ กรณีเข้าร่วมชุมนุม21ตุลาไปอนุสาวรีย์ชัย จิรารัตน์ มูลศิริ และประวิทย์ อัศวสิริมั่นคง กรณีคาร์ม็อบแม่สอด ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 1 ส.ค. 2564 นักศึกษาและนักกิจกรรม 7 ราย กรณีชุมนุมหน้า สภ.เมืองขอนแก่น ให้กำลังใจนักกิจกรรม “ราษฎรโขงชีมูล” ที่เข้ารับทราบข้อกล่าวหาในคดีชุมนุมและแสดงออกทางการเมืองรวม 3 คดี เมื่อวันที่ 22 มี.ค. 2564 และมีคำพิพากษายกฟ้องคดีของ แซน นักเรียนมัธยมปลาย กรณีร่วมชุมนุมกับกลุ่ม “ราษฎร” เมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2564 เรียกร้องให้ครูและตำรวจขอโทษกรณีคุกคามนักเรียนที่ลงชื่อไปค่าย “ราษฎรออนทัวร์” ขณะถูกดำเนินคดี เธออายุ 15 ปี ทั้งนี้ คดีส่วนมากที่ศาลยกฟ้อง พรก ฉุกเฉินฯ ระบุว่า การชุมนุมนั้นอยู่ในพื้นที่โล่ง ไม่เป็นสถานที่แออัด

คดีที่มีคำพิพากษาว่ามีความผิด อย่างน้อย 3 คดี เป็นโทษปรับอย่างเดียว 1 คดี ได้แก่ นักกิจกรรม 5 ราย กรณีม็อบมุ้งมิ้ง ชุมนุมปราศรัยหน้ากองทัพบก เมื่อวันที่ 20 ก.ค. 2563 ศาลสั่งปรับจำเลยคนละ 20,000 บาท และปรับข้อหาใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาตคนละ 200 บาท เนื่องจากจำเลยให้การเป็นประโยชน์ ลดโทษให้ 1 ใน 4 คงเหลือโทษปรับคนละ 15,150 บาท โทษปรับและโทษจำคุก 2 คดี ได้แก่ วิทย์สรัช กรณีถูกกล่าวหาว่าใช้โทรโข่งในลักษณะเป็นการชักชวนยุยงให้ผู้ร่วมชุมนุมขว้างปาก้อนหินใส่ตำรวจ ในม็อบ7สิงหา64 ที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ศาลพิพากษาจำคุก 1 ปี และปรับ 15,000 บาท ลดโทษลงหนึ่งในสาม จำคุก 8 เดือน และปรับ 10,000 บาท เนื่องจากจำเลยไม่เคยกระทำความผิดมาก่อน จึงให้คุมประพฤติ และรอลงอาญา มีกำหนด 2 ปี อนุรักษ์ แก้ไข และทองแสง ไชยแก้ว กรณีร่วมกิจกรรมคาร์ม็อบของกลุ่มอุตรดิตถ์ปลดแอก เพื่อขับไล่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 15 ส.ค. 2564 ศาลพิพากษาว่ามีความผิดตามฟ้อง ลงโทษจำคุก 2 เดือนโดยที่ไม่รอลงอาญา จากนั้น ศาลมีคำสั่งให้ประกันตัวจำเลยทั้งสองในชั้นอุทธรณ์ โดยวางเงินประกันเป็นเงินคนละ 30,000 บาท ซึ่งคดีนี้เป็นคดีแรกของ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาลงโทษจำคุก โดยไม่รอลงอาญา

นอกจากนี้ ยังมีคำสั่งไม่ฟ้องคดี อย่างน้อย 2 คดี ได้แก่ จิรโชติ ภูมิสิทธิ์พงษ์ กรณีจัดกิจกรรมคาร์ม็อบ “คนเชียงรายไม่ทน” บริเวณสวนตุงและโคมจังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 1 ส.ค. 2564 เนื่องจากพฤติการณ์ไม่เสี่ยงโควิด และข้อหาบีบแตรก็หมดอายุความไปแล้ว35 นักกิจกรรม-ประชาชน รวม 13 ราย จากการชุมนุมที่ใช้ชื่อว่า “ศุกร์13ไล่ล่าทรราช” หรือม็อบ13สิงหา64 ซึ่งจัดขึ้นโดยกลุ่มทะลุฟ้า ที่บริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ อัยการชี้ไม่มีพยานหลักฐานว่าทั้ง 13 คนเป็นผู้จัดกิจกรรม เพียงขึ้นเวทีปราศรัยเท่านั้น ไม่มีพฤติการณ์ยุยงให้เกิดความไม่สงบ และกิจกรรมเกิดขึ้นในที่โล่งกว้าง

ถึงแม้ในปัจจุบัน มีการประกาศยุติการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ แล้ว แต่หลายคดียังอยู่ในชั้นสืบสวน อัยการและศาล อัยการสามารถใช้อำนาจตามมาตรา 21 ของพ.ร.บ.องค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. 2553 ที่กำหนดว่าเมื่อพนักงานอัยการเห็นว่าการฟ้องคดีอาญาจะไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชน หรือจะมีผลกระทบต่อความปลอดภัยหรือความมั่นคงของชาติ หรือต่อผลประโยชน์อันสําคัญของประเทศ อัยการสูงสุดมีอํานาจสั่งไม่ฟ้องได้ โดยอำนาจดังกล่าวนั้นรวมถึงการถอนฟ้อง ถอนอุทธรณ์ หรือถอนฎีกาด้วย

ที่ผ่านมา มีการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เพื่อดำเนินคดีผู้ใช้สิทธิและเสรีภาพในหารชุมนุมเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะกลุ่มที่วิพากษ์วิจารณ์การบริหารงานของรัฐบาล ซึ่งได้รับการคุ้มครองภายใต้ ข้อ 21 ของ ICCPR เสรีภาพในการแสดงออกและในข้อมูล ภายใต้ข้อ 19 ของ ICCPR เสรีภาพในการเคลื่อนไหว ภายใต้ข้อ 12 ของ ICCPR และสิทธิในการที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารรัฐกิจ ภายใต้ข้อ 25 ของ ICCPR อย่างไรก็ตาม การดำเนินคดีดังกล่าวนั้นไม่ถือว่ามีความจำเป็นและได้สัดส่วน

ในหลายคดีที่อัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องหรือศาลมีคำพิพากษายกฟ้องนั้นเนื่องจากไม่มีหลักฐานว่ากิจกรรมทางการเมืองที่ถูกดำเนินคดีภายใต้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ นำไปสู่การแพร่ระบาดของโควิด-19 มากขึ้น

รวมถึง ข้อที่ 4 ของ ICCPR จะให้รัฐภาคีสามารถเลี่ยงพันธกรณีของตนภายใต้ ICCPR ได้เท่าที่จำเป็นและได้สัดส่วนตามสถานการณ์ฉุกเฉินของสถานการณ์ โดยประเทศไทยได้แจ้งให้เลขาธิการสหประชาชาติได้รับรู้ มีผลบังคับใช้วันที่ 26 มี.ค. 2563 ถึง 30 มิ.ย. 2563 ซึ่งไม่ได้ทำการแจ้งเลขาธิการสหประชาชาติเพิ่มเติมเกี่ยวกับการขยายเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ประเทศไทยจึงไม่ได้มีการใช้สิทธิในการเลี่ยงพันธกรณีภายใต้ ICCPR หลังจากวันที่ 30 มิถุนายน 2563

4. ข้อหาตาม พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ อย่างน้อย 107 คน ในจำนวน 75 คดี

5. ข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ อย่างน้อย 154 คน ในจำนวน 174 คดี

ในเดือนนี้ มีคำพิพากษาคดีตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ อย่างน้อย 2 คดี ได้แก่ ประชาชนจำนวน 11 ราย กรณีแชร์โพสต์ข้อความจากเพจ “KonthaiUk” (คนไทยยูเค) วิพากษ์รัฐบาลและนายกรัฐมนตรี โดยไม่ได้เขียนข้อความประกอบ ทั้งหมดถูกฟ้องจากการแชร์ข้อความต่างกันไป รวม 3 โพสต์ ศาลพิพากษาจำคุก 1 ปี ลดเหลือ 8 เดือน ไม่รอลงอาญา 3 ราย ศาลอนุญาตให้ประกันจำเลยทั้ง 3 วงเงินคนละ 50,000 บาท ในระหว่างอุทธรณ์ และยกฟ้องอีก 8 ราย เนื่องจากศาลเห็นว่าเป็นเพียงการกระทบกระเทียบรัฐบาล วิวัฒน์ (สงวนนามสกุล) กรณีนำเข้าและเผยแพร่ข้อความลงบนเพจเฟซบุ๊ก 3 ข้อความถึงพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ เมื่อวันที่ 15 ก.ค. 2563, 20 ส.ค. 2563 และ 21 ส.ค. 2563 ศาลฎีกาพิพากษาปรับกระทงละ 3,000 บาท รวมเป็น 9,000 บาท ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงเหลือค่าปรับ 4,500 บาท ลงโทษจำคุก 18 เดือน โทษจำคุกให้รอการลงโทษ 2 ปี ข้อหาหลักๆที่ศาลระบุในคำพิพากษาคือ เผยแพร่หรือส่งต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ หรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน ตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(2)

ศาลนิยมนำเหตุผลดังกล่าวมาใช้ลงคำพิพากษาผู้ถูกดำเนินคดีตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ซึ่งตัวบทมีขอบเขตการตีความที่กว้างขวาง และนิยมถูกนำมาดำเนินคดีกับผู้ใช้สิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกทางออนไลน์ ซึ่งส่วนมากเป็นความผิดในเชิงเนื้อหามากกกว่าการกระทำความผิดเกี่ยวกับตัวระบบ แสดงให้เห็นว่าการนำมาใช้นั้นไม่ถูกต้องตามเจตนารมณ์ของตัวกฎหมายและทำให้มองได้ว่า ข้อกฎหมายดังกล่าวถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือของรัฐในการจำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชน ซึ่งขัดต่อหลักเสรีภาพในการแสดงออกและในข้อมูล ภายใต้ข้อ 19 ของ ICCPR ที่รัฐไทยเป็นภาคี

6. ข้อหาละเมิดอำนาจศาล อย่างน้อย 36 คน ใน 20 คดี และคดีดูหมิ่นศาล อย่างน้อย 27 คน ใน 7 คดี

เงินตา คำแสน และจิรัชยา สกุลทอง ถูกอัยการสั่งฟ้องคดีดูหมิ่นศาล จากกรณีปราศรัยวิจารณ์การทำงานของศาลระหว่างกิจกรรมเรียกร้องสิทธิการประกันตัวของ “บุ้ง-ใบปอ” ที่หน้าศาลแพ่งกรุงเทพใต้ เมื่อวันที่ 15 ก.ค. 2565 โดยทั้งคู่ได้รับการประกันตัวในชั้นพิจารณาคดี

จากจำนวนคดี 1,145 คดีดังกล่าว มีจำนวน 268 คดี ที่สิ้นสุดไปแล้ว โดยเป็นคดีที่เป็นการปรับในชั้นสอบสวนหรือชั้นศาลจำนวน 156 คดี และมีคดีอัยการสั่งไม่ฟ้องจำนวน 35 คดี เท่ากับยังมีคดีอีกกว่า 87 7 คดี ที่ยังดำเนินอยู่ในกระบวนการชั้นต่างๆ

#ผู้ถูกคุมขังระหว่างต่อสู้คดี

ในเดือนตุลาคม ไม่มีการปล่อยตัวผู้ต้องขังคนใด และมีการคุมขังมิกกี้ บัง เพิ่มอีก 1 คน เขาถูกกล่าวหาว่าเผาซุ้มเฉลิมพระเกียรติเมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2564 โดยถูกกล่าวหาในมาตรา 112 ด้วย ทำให้เดือนนี้ มีผู้ถูกคุมขังระหว่างต่อสู้คดีรวมทั้งหมด 11 คน ดังนี้

ทั้งนี้ สิทธิในการได้รับการประกันตัวเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานภายใต้หลักการที่จะต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยที่ถูกกล่าวหานั้นเป็นผู้บริสุทธิ์ ซึ่งถูกรับรองภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อที่ 11 (1) ระบุว่า ทุกคนที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิด ทางอาญา มีสิทธิที่จะได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อน ว่าบริสุทธิ์จนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่ามีความผิดตาม กฎหมายในการพิจารณาคดีที่เปิดเผย ซึ่งตนได้รับ หลักประกันที่จำเป็นทั้งปวงสำหรับการต่อสู้คดี และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ข้อที่ 14(2) ระบุว่า บุคคลทุกคนซึ่งต้องหาว่ากระทำผิดอาญา ต้องมีสิทธิได้รับการสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะพิสูจน์ตามกฎหมายได้ว่ามีความผิด ซึ่งประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคี โดยการภาคยานุวัติเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2539 และมีผลบังคับใช้กับไทยเมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2540

#สถานการณ์การคุกคามประชาชน

ในเดือนตุลาคมนี้ มีรายงานการคุกคามประชาชนอย่างน้อย 38 ราย ซึ่งเป็นจำนวนที่เพิ่มขึ้นจากเดือนที่ผ่านมา หลายกรณีมีการใช้ความรุนแรงจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ จนเกิดอันตรายต่อร่างกายและความปลอดภัยของนักกิจกรรม นอกจากนี้ ยังมีการเปิดเผยว่าประชาชนหลายรายยังคงถูกคุกคามด้วยสาเหตุต่างๆ โดยสามารถจำแนกรูปแบบการคุกคามได้ดังนี้

การคุกคามเนื่องจากมีบุคคลสำคัญลงพื้นที่

สมาชิกราชวงศ์

รัชกาลที่ 10 และพระราชินี มีกำหนดการเสด็จมัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี อ.เมืองปัตตานี จ.ปัตตานี ในวันที่ 9 ต.ค. 2565 ส่งผลให้นักกิจกรรมในพื้นที่ภาคใต้ไม่น้อยกว่า 10 ราย ถูกตำรวจ-ทหารบุกไปเยี่ยมเยียนถึงบ้าน เพื่อตรวจสอบความเคลื่อนไหว ทั้งช่วงก่อน-หลังการเสด็จ ทั้งที่นักกิจกรรมหลายรายยังไม่ทราบว่ามีกำหนดการดังกล่าวด้วยซ้ำ โดยพฤติการณ์ของเจ้าหน้าที่คือไปหานักกิจกรรมที่บ้าน บางรายเจ้าหน้าที่นำกำลังไปหามากกว่า 10 นาย พร้อมอาวุธปืน ทำให้เขารู้สึกตกใจ41 นัท นักกิจกรรมจากกลุ่มเยาวรุ่นทะลุเพดาน กล่าวว่า เมื่อวันที่ 23 ต.ค. 2565 เขาถูกเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบติดตามคุกคามตั้งแต่ปากซอยบ้านจนถึงลานคนเมือง เพราะวันดังกล่าวมีขบวนเสด็จของรัชกาลที่ 10 และราชินี เนื่องในโอกาสวันปิยมหาราช42

นายกรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรี

วันที่ 4 ต.ค. เป็นวันที่พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสถานการณ์น้ำท่วมจังหวัดขอนแก่นและอุบลราชธานี ก่อนถึงเวลาลงพื้นที่ มีรายงานว่า นักกิจกรรมชาวอุบลราชธานี หลายราย ถูกตำรวจไปหาหรือเฝ้าถึงที่พัก รวมถึงโทรหาเพื่อเช็คว่าจะจัดกิจกรรมหรือไม่ หรือเช็คพิกัดที่อยู่ ในวันดังกล่าว มีรายงานข่าวว่าตำรวจจังหวัดอุบลราชธานีตั้งด่านหลายจุด ประชาชนหลายคนที่เตรียมไปแสดงออกว่าไม่ต้อนรับนายกขณะลงพื้นที่ ถูกตำรวจสกัดให้อยู่บริเวณแยกอุบลฯ-วารินฯ และยังขู่ว่า หากใครแสดงสัญลักษณ์หรือตะโกนอะไรจะจับทันที ระหว่างนั้น ตำรวจพยายามตรวจสอบและเข้าค้นตัวประชาชนมากกว่า 10 ราย และมีการยึดป้ายกระดาษที่เขียนข้อความวิจารณ์พล.อ. ประยุทธ์ รวมถึงกระดาษเปล่าในกระเป๋าของ ออฟ นักกิจกรรม ด้วย เขาเปิดเผยว่า เขาได้ตะโกนถามพลเอกประยุทธ์ระหว่างที่นั่งรถผ่านว่า “มาให้ลำบากคนอื่นทำไม” ก่อนที่จะถูกตำรวจ 2 นายรีบวิ่งมาล็อคแขนไม่ให้ชูสามนิ้ว และล็อคคอ ใช้มือปิดทั้งปากทั้งจมูกเพื่อไม่ให้ตะโกนอะไรอีก ก่อนพยายามกดตัวเขาลง นอกจากนี้ ต้าร์(นามสมมติ) ถูกตำรวจ 2 นาย กดตัวลงกับพื้น ขณะพยายามชู 3 นิ้ว และตะโกนไล่ประยุทธ์ ณัฐวุฒิ เขาถูกตำรวจก็ข่มขู่ขณะไลฟ์สดว่า หากเห็นหน้าตำรวจจะแจ้งข้อหาตามกฎหมาย PDPA ณัฐถ่ายเหตุการณ์ต่างๆไว้ นอกจากนี้ เขายังถูกตำรวจข่มขู่ว่าจะใช้กำลังเข้าจับกุมหากไม่หยุดไลฟ์และลบคลิปเหตุการณ์ทั้งหมด ทำให้เขารู้สึกไม่ปลอดภัยจนต้องยอมลบคลิปดังกล่าว อย่างไรก็ตาม แม้แต่นักกิจกรรมที่ไม่ได้เคลื่อนไหวในวันนั้นอย่างน้อย 4 ราย ก็ถูกตำรวจโทรสอบถาม ตามไปตรวจสอบที่อยู่ถึงบ้าน เฝ้าหน้าหอพัก ประชาชนทั่วไปยังถูกห้ามใส่เสื้อแดงด้วย43

ในวันเดียวกันนั้น นักกิจกรรมในจังหวัดขอนแก่นจากหลากหลายกลุ่มรวมแล้วประมาณ 20 คน ได้เดินทางไปชูป้ายข้อความต่าง ๆ อย่าง “นายกฯ เถื่อน” “ประยุทธ์ออกไป” “หยุดโครงการผันน้ำ โขง เลย ชี มูล” ที่บริเวณซอยด้านข้างวัดศรีสะอาด โดยมีกำลังตำรวจหลายสิบนายพร้อมรถตู้ ตั้งแถวปิดกั้นทางเข้าประตูวัดด้านข้าง แม้พล.อ.ประยุทธ์ จะออกจากบริเวณนั้นไปแล้ว ตำรวจยังไม่ยอมให้นักกิจกรรมออกจากพื้นที่ ทั้งยังมีการนำกล้องขนาดเล็กตามถ่ายนักกิจกรรมในระยะประชิด และปฏิเสธที่จะลบรูป ขณะนั้น เกิดเหตุชุลมุนเมื่อตำรวจในเครื่องแบบเข้ามาอุ้มตัว อะตอม ชานน อาจณรงค์ ออกไป ทำให้เพื่อนนักกิจกรรมช่วยกันดึงกลับมา ระหว่างนั้นนอกเครื่องแบบได้เข้าล็อคคอและชกเข้าที่บริเวณใบหน้าของ ไนท์ ภานุพงศ์ ศรีธนานุวัฒน์ ก่อนวิ่งหนีเข้าไปหลังแนวตำรวจในเครื่องแบบ ทั้งสองจึงเข้าแจ้งความเรื่องถูกทำร้ายร่างกายที่ สภ.บ้านเป็ด44

วันที่ 12 ต.ค. 2565 ระหว่าง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ เดินทางไปติดตามสถานการณ์น้ำท่วมที่ จ.ศรีสะเกษ มีตำรวจพยายามกดดันช่างซ่อมรถและรปภ.หอพักของ ทราย (นามสมมติ) เพื่อบอกผ่าน รปภ.ไปว่า “ไม่อยากให้ไปรับนายเขาอีก นายเขาจะมา” ทั้งนี้ ทรายคาดว่า เธอน่าจะถูกติดตามตั้งแต่วันที่ พล.อ.ประยุทธ์ เดินทางมาอุบลฯ วันที่ 4 ต.ค. 2565 วันดังกล่าวทรายเดินทางไปดูสถานการณ์ และถูกตำรวจบังคับถ่ายภาพบัตรประชาชนพร้อมกับเพื่อน 3 ราย ในวันเดียวกัน ฉัตรชัย แก้วคำปอด นักกิจกรรมคณะอุบลปลดแอก แจ้งว่า มีตำรวจ สภ.เดชอุดม โทรศัพท์มาหา จากนั้น ตำรวจนอกเครื่องแบบ 2 นาย ก็มาเฝ้าเขาที่บ้านตั้งแต่ 08.00 น. และติดตามอยู่ตลอดวัน จนถึงเวลา 16.00 น.45 นอกจากนี้ ในวันที่ 17 ต.ค. 2565 พล.อ.ประวิตร มีกำหนดการลงตรวจราชการในจังหวัดสุราษฎร์ธานี แต่มีรายงานว่าสมาชิกกลุ่มฅนสุราษฎร์จะไม่ทน อย่างน้อย 2 ราย ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจติดตามไปสอบถามข้อมูลความเคลื่อนไหวถึงบ้าน โดยมีการขอไม่ให้ทำกิจกรรมขณะ พล.อ.ประวิตร ลงพื้นที่ ขณะเดียวกัน ยังมีผู้ถูกตำรวจโทรสอบถามข้อมูลอีกอย่างน้อย 1 ราย46

การคุกคามขณะทำกิจกรรมทางการเมือง

เบลล์ นักกิจกรรมกลุ่ม Korat Movement เปิดเผยว่า ถูกตำรวจเข้ายื้อแย่งป้าย “ไปไหนมาไหน ก็เป็นภาระ” ขณะทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ บริเวณสามแยกปักธงชัย ก่อนเขาจะคุมตัวไปที่สภ.โพธิ์กลาง เบลล์ถูกแจ้งข้อหาและปรับฐานไม่พกพาบัตรประชาชน 100 บาท47

การคุกคามโดยไม่ทราบสาเหตุ

บีม ณัฐกรณ์ ชูเสนาะ นักกิจกรรมวัย 18 ปี ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.ทองหล่อ ติดตามคุกคามตั้งแต่เมื่อวันที่ 15 ต.ค. 2565 ซึ่งเป็นวันที่มีขบวนเสด็จผ่านบริเวณหน้าที่พัก โดยทางตำรวจได้โทรศัพท์มาหาบีมและผู้ปกครองอยู่บ่อยครั้ง เพื่อที่จะสอบถามว่าบีมอยู่บ้านหรือไม่ และมีแผนจะทำกิจกรรมใดๆ หรือเปล่า ทั้งยังมานั่งเฝ้าบริเวณหน้าที่พักด้วย ทางตำรวจพยายามพูดให้เข้าใจว่า เหตุผลที่พวกเขาต้องมาจับตาดูพฤติกรรมของบีม เพราะ “นายสั่ง” เนื่องจากมีข้อมูลว่าบีมเป็นหนึ่งในผู้มีรายชื่อเฝ้าระวังระดับสีแดง จึงอยากให้บีมรับโทรศัพท์ทุกครั้งที่ตำรวจโทรหา รวมถึงต้องการให้บีมเป็นฝ่ายรายงานความเคลื่อนไหวของตนให้ทราบเองอีกด้วย48

พิมพ์ นักกิจกรรมอิสระ เปิดเผยว่า เธอถูกบุคคลนิรนามกระชากสายคลัตช์รถมอเตอร์ไซค์จนเป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุ ทั้งที่รถคันดังกล่าวเป็นรถที่เพิ่งเปลี่ยนใหม่ เนื่องจากรถมอเตอร์ไซค์คันเก่าของเธอเคยถูกตัดสายเบรคมาแล้วครั้งหนึ่ง ซึ่งเป็นช่วงที่พิมพ์ได้ทำกิจกรรมการเมืองในประเด็นผู้ถูกบังคับสูญหาย โดยในครั้งนั้นก็ไม่อาจสืบทราบได้ว่าเป็นฝีมือของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใด49 นอกจากนี้ ยังมีกรณีนักกิจกรรมเด็กอายุ 13 ปี เอีย ถูกกลุ่มชายไม่ทราบชื่อจำนวน 6 คน คนกลุ่มนี้มีอาวุธปืนขนาดสั้นไม่ทราบรุ่นและยี่ห้อพกติดตัวมาด้วย ข่มขู่และทำร้ายร่างกายระหว่างขับขี่รถจักรยานยนต์บริเวณพระราชวังจิตรลดาฯ เมื่อเวลาประมาณ 03:30 น. ของวันที่ 22 ต.ค. เขาถูกต่อยจนปากแตก และสังเกตเห็นว่าตำรวจวังที่ยืนรักษาการณ์บริเวณนั้นไม่เข้ามาให้ความช่วยเหลือเขาเลย เอียได้ไปแจ้งความในเวลาต่อมา50 ในวันที่ 27 ต.ค. 2565 พิมพ์และเอีย รวมถึงนักกิจกรรมกลุ่ม saveบางกลอย อีก 1 คน ได้เดินทางมายื่นหนังสือถึงคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เพื่อเรียกร้องการคุ้มครองและยุติการคุกคามนักกิจกรรมและเยาวชนจากเจ้าหน้าที่รัฐและผู้เห็นต่าง ซึ่งทาง กสม. กล่าวว่าจะติดต่อประสานงานไปยังเจ้าหน้าที่ตำรวจเกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าวต่อไป51

ปฏิญญาว่าด้วยสิทธิและความรับผิดชอบของปัจเจก กลุ่มคน และองค์กรทางสังคมในการส่งเสริมและคุ้มครอง สิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานอันเป็นที่ยอมรับในทางสากล (“ปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยนักปกป้อง สิทธิมนุษยชน”)ได้รับรองสิทธิในการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนเป็นรายบุคคล หรือ ทำงาน เป็นกลุ่มร่วมกับบุคคลอื่น52 นักปกป้องสิทธิมนุษยชนจึงอาจมีเพศสภาพใด มีอายุใด และอาจมีอาชีพใด ๆ ก็ได้ ปฏิญญาว่าด้วยนักปกป้องสิทธิมนุษยชนยอมรับว่า บุคคลหรือกลุ่มบุคคลมี สิทธิดำ เนินกิจกรรมด้านสิทธิมนุษยชนโดยไม่ต้องกลัวจะถูกตอบโต้ นักปกป้องสิทธิมนุษยชนได้รับการคุ้มครอง ในแง่สิทธิทางพลเรือนและการเมืองตามกติกา ICCPR รวมทั้งเสรีภาพในการแสดงออก ความเห็น การชุมนุม โดยสงบ และการสมาคม อีกทั้งยืนยันสิทธิและพันธกรณี ขั้นพื้นฐานของรัฐที่จะต้องคุ้มครองเพื่อต่อต้านการละเมิด, การข่มขู่, การตอบโต้ หรือ การเลือกปฏิบัติที่ไม่พึงประสงค์53 โดยรัฐต้องรับผิดชอบใช้มาตรการเพื่อคุ้มครองบุคคลที่ถูกละเมิดสิทธิ เนื่องจากการดำเนินกิจกรรมของตน ในบริบทของขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยในปัจจุบัน

#แนวโน้มการคุกคามในเดือนพฤศจิกายน 2565

ในเดือนตุลาคมนี้ พบว่า การคุกคามขณะบุคคลสำคัญลงพื้นที่มีจำนวนมากที่สุด และเป็นกรณีที่มีการใช้ความรุนแรงเพื่อขัดขวางและจำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชนทุกเพศทุกวัยที่เห็นต่างจากรัฐบาล โดยเจ้าหน้าที่จะมีการข่มขู่ประชาชนไม่ให้แสดงออกในแง่ลบ และวางกำลังอย่างแน่นหนา ทำให้ผู้ถูกทำร้ายร่างกายอย่างน้อย 4 ราย ต้องเข้าแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อทำการสืบสวนสอบสวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ในจำนวนนี้ มีนักกิจกรรมเด็กที่มีอายุเพียง 13 ปีด้วย ซึ่งการกระทำของเจ้าหน้าที่แสดงให้เห็นถึงปัญหาเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพในประเทศไทย สิ่งที่ประชาชนสามารถแสดงออกได้ถูกทำให้แคบลงเรื่อยๆ จากการยืนถือป้ายยืนเฉยๆ ก็เป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่เข้าจับกุมและควบคุมตัวไปสถานีตำรวจได้ หรือการที่เจ้าหน้าที่ยึดแม้กระทั่งกระดาษเปล่าในกระเป๋าของประชาชน

ดังนั้น จึงสามารถประเมินแนวโน้มการคุกคามในเดือนพฤศจิกายนได้ว่า การคุกคามจะทวีความเข้มข้น และมีแนวโน้มว่าจะมีการใช้ความรุนแรงมากขึ้นกว่าเดิม การจัดกิจกรรมในประเด็นทางการเมืองทุกรูปแบบ โดยนักกิจกรรมกลุ่มเล็กๆหรือแม้แต่จะมีผู้จัดกิจกรรมเพียงคนเดียวก็ตาม จะยังคงถูกเพ่งเล็งและขัดขวางโดยเจ้าหน้าที่รัฐ รวมไปถึงการแสดงออกทางการเมืองระหว่างที่บุคคลสำคัญลงพื้นที่ด้วย