วันที่: 4/9/2567 ผู้เขียน: mobdatathailand

ประมวลสถานการณ์การชุมนุมเดือนมกราคม พ.ศ. 2564

description

ก้าวขึ้นปีใหม่ 2564 ประเทศไทยตกอยู่ภายใต้การล็อคดาวน์อย่างกลายๆ อันเป็นผลจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ระลอกที่ 2 การชุมนุมเพื่อแสดงออกทางการเมืองเหมือนว่าจะต้องหยุดชะงักไปเช่นเดียวกับช่วงการแพร่ระบาดระลอกแรก แต่ก็เพียงอึดใจเดียว เพราะกลุ่มกิจกรรมมต่างๆ ยังคงเดินหน้าเรียกร้องในประเด็นสำคัญอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มที่การชุมนุมจะขยายไปยังประเด็นทางสังคมต่างๆ ไม่ว่าจะเรื่องนโยบายการจัดหาวัคซีน, มาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ หรือการให้กำลังใจผู้ที่ถูกจับกุมดำเนินคดีทางการเมือง เพื่อแสดงออกถึงความไม่เห็นด้วยในการใช้คดีปิดปากผู้ใช้เสรีภาพ

ภาพรวมการชุมนุม

ก้าวขึ้นปีใหม่ 2564 ประเทศไทยตกอยู่ภายใต้การล็อคดาวน์อย่างกลายๆ อันเป็นผลจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ระลอกที่ 2 การชุมนุมเพื่อแสดงออกทางการเมืองเหมือนว่าจะต้องหยุดชะงักไปเช่นเดียวกับช่วงการแพร่ระบาดระลอกแรก แต่ก็เพียงอึดใจเดียว เพราะกลุ่มกิจกรรมต่างๆ ยังคงเดินหน้าเรียกร้องในประเด็นสำคัญอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มที่การชุมนุมจะขยายไปยังประเด็นทางสังคมต่างๆ ไม่ว่าจะเรื่องนโยบายการจัดหาวัคซีน, มาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ หรือการให้กำลังใจผู้ที่ถูกจับกุมดำเนินคดีทางการเมือง เพื่อแสดงออกถึงความไม่เห็นด้วยในการใช้คดีปิดปากผู้ใช้เสรีภาพ  

ชุมนุมแล้ว 47 ครั้ง มีคดีเพิ่มไม่น้อยกว่า 7 คดี 

เท่าที่ติดตามสังเกตการณ์การชุมนุม นับตั้งแต่วันที่ 1-31 มกราคม 2564 การชุมนุมเกิดขึ้นไม่น้อยกว่า 47 ครั้ง  ใน  จังหวัดทั่วประเทศ ดังนี้ กรุงเทพมหานคร 35 ครั้ง, ปทุมธานีและร้อยเอ็ด 4 ครั้ง, สมุทรปราการ 2 ครั้ง (ซ้ำ 1 ครั้งเนื่องจากเป็นการเคลื่อนขบวนจากกรุงเทพมหานคร), ราชบุรี 1 ครั้ง (ซ้ำ 1 ครั้งเนื่องจากเป็นการเคลื่อนขบวนเข้ากรุงเทพมหานคร) และอุบลราชธานี, ชัยภูมิและชลบุรี 1 ครั้ง  จากการชุมนุมทั้งหมด 47 ครั้ง มี 7 ครั้งที่มีการดำเนินคดีตามมา โดยข้อกล่าวหาหลักยังเป็นการฝ่าฝืนข้อกำหนดเรื่องห้ามชุมนุมที่ออกตามความ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เป็นคดีที่มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ 

นอกจากนี้ยังมีข้อกฎหมายใหม่ที่ถูกหยิบมาดำเนินคดีกับการแสดงออก คือ ข้หาตาม พ.ร.บ.ธง พ.ศ. 2522 จากการชุมนุมที่สภ.คลองหลวงเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2564 รวมทั้งกฎหมายหน้าเดิมที่ใช้ผิดวัตถุประสงค์ซ้ำแล้วซ้ำเล่า คือ พ.ร.บ.ความสะอาดฯ ก็ถูกใช้อีก 2 ครั้ง จากการชุมนุมของนักเรียนเลววันที่ 8 มกราคม 2564 และการใช้รถยนต์เก่าจากการชุมนุมของแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมวันที่ 11 มกราคม 2564  

ลำดับ 

กลุ่มหรือบุคคลที่จัดกิจกรรม 

วันที่จัดกิจกรรม 

จังหวัด 

สถานที่ที่จะจัดกิจกรรม 

วัตกุประสงค์ของกิจกรรม 

 คดี 

ขอคืนไม่ได้ขอทาน 

4-Jan-21 

กรุงเทพมหานคร 

ทำเนียบรัฐบาล 

เรียกร้องให้รัฐบาลคืนเงินเบี้ยคนชรา 

 กีดขวางทางจราจร 

ขอคืนไม่ได้ขอทาน 

4-Jan-21 

กรุงเทพมหานคร 

ทำเนียบรัฐบาล 

เรียกร้องให้รัฐบาลคืนเงินเบี้ยคนชรา 

 พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ 

นักเรียนเลว 

8-Jan-21 

กรุงเทพมหานคร 

กระทรวงศึกษาธิการ 

เรียนออนไลน์หน้ากระทรวงฯ 

 พ.ร.บ.ความสะอาดฯ(ปรับ) 

แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม 

11-Jan-21 

ปทุมธานี 

สภ.คลองหลวง 

ให้กำลังใจผู้ถูกดำเนินคดี 

 ใช้รถยนต์เก่า (ปรับ) 

แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม 

15-Jan-21 

ปทุมธานี 

สภ.คลองหลวง 

ให้กำลังใจผู้ถูกดำเนินคดี 

พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ, พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ, พ.ร.บ.ธงชาติฯและใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต 

การ์ดปลดแอก 

16-Jan-21 

กรุงเทพมหานคร 

เกาะพญาไท อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ 

รณรงค์มาตรา 112  

พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และพ.ร.บ.โรคติดต่อฯ 

การ์ดปลดแอก 

16-Jan-21 

กรุงเทพมหานคร 

สามย่านมิตรทาวน์ 

เรียกร้องให้ปล่อยตัว 

พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และพ.ร.บ.โรคติดต่อฯ 

เรียกร้องประเด็นโควิด 19 : เงินเยียวยาและวัคซีน  

เดือนมกราคม 2564 “ราษฎร” กลุ่มที่มีบทบาทหลักในการนัดหมายชุมนุมใหญ่ประกาศ “พักการชุมนุมใหญ่” เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ขณะที่ผู้ชุมนุมเปลี่ยนวิธีการแสดงออกเป็นการแขวนป้ายผ้าตามที่สาธารณะ แต่ยังมีการนัดหมายชุมนุมขนาดย่อมอยู่เนืองๆ จากเครือข่ายนักกิจกรรมอื่นๆ เพราะเดือนนี้นักกิจกรรมต้องเดินสายไปรายงานตัวเพื่อรับทราบข้อกล่าวหาในคดีทางการเมืองทั้งที่เกิดขึ้นจากการชุมนุมและเหตุอื่นๆ ทำให้มีการชุมนุม 15 ครั้งจากจำนวน 47 ครั้งเป็นลักษณะการชุมนุมเพื่อให้กำลังใจผู้ที่ถูกดำเนินคดีหรือนักกิจกรรมตามสน.ต่างๆ เช่น การรวมพลให้กำลังใจภัสราวลีและพงศธร แกนนำราษฎรที่สน.พหลโยธินเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2564 

ข้อเรียกร้องหลักของการชุมนุมในเดือนมกราคม 2564 หนีไม่พ้นเรื่องโควิด 19 โดยการชุมนุม 19 ครั้งจากจำนวน 47ครั้งเป็นที่เกี่ยวข้องกับบทบาทของรัฐในช่วงเวลานี้ เมื่อเปรียบเทียบกับการชุมนุมเพื่อเรียกร้องการเยียวยาโควิด 19 ระลอกแรกในช่วงเดือนมิถุนายน 2563 กับระลอกที่ 2 ในเดือนนี้แล้ว เห็นได้ว่า กลุ่มที่เคยออกมาเรียกร้องยังคงเดินหน้าเรียกร้องเช่นเดิม เช่น กลุ่ม “ขอคืนไม่ได้ขอทาน” ที่ยังยืนยันว่า สำนักงานประกันสังคมจะต้องนำเงินบำนาญชราภาพมาใช้ในการเยียวยาแรงงานเป็นการเฉพาะหน้าก่อน ข้อเรียกร้องนี้มีมาเป็นเวลา 8 เดือนล้ว แต่ยังไม่ประสบผล

asset

การชุมนุมของกลุ่มขอคืนไม่ได้ขอทานหน้าทำเนียบรัฐบาลเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2564 ภาพโดย ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน

อีกกลุ่มหนึ่งคือ เครือข่ายแรงงานจากที่ต่างๆ เช่น สหภาพแรงงานสิ่งทอฯและสหภาพแรงงานย่านรังสิตและใกล้เคียงที่เคยเรียกร้องให้รัฐบาลเยียวยาเงินให้แก่แรงงานอย่าง “ถ้วนหน้า” ในเดือนมกราคม 2564 พวกเขาก็ต้องออกมาย้ำข้อเรียกร้องการเยียวยาถ้วนหน้าที่ “ไม่ต้องพิสูจน์ความจน” อีกครั้ง แต่ในรอบนี้การเคลื่อนไหวของกลุ่มแรงงานมีผู้เรียกร้องหน้าใหม่ เช่น สหภาพแรงงานนักออกแบบฯ ศิลปินและเยาวชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากวิกฤติเศรษฐกิจเข้าร่วมด้วย 

asset

เครือข่ายแรงงานรวมตัวชุมนุมเรียกร้องการเยียวยาถ้วนหน้าหน้าทำเนียบรัฐบาลเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2564 ภาพโดย ประชาไท

ข้อเรียกร้องเรื่องการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ฯ ก็เกี่ยวข้องกับสถานการณ์โควิดด้วย มีการตั้งคำถามเรื่องการนำพระราชทรัพย์อันเป็นสมบัติแผ่นดินโอนเป็นสมบัติส่วนพระองค์และความสมเหตุสมผลของการนำภาษีประชาชนไปใช้ในกิจการที่เกี่ยวข้องกับสถาบันกษัตริย์ฯ  ซึ่งเป็นเรื่องที่ค่อนข้างห่างตัวประชาชนทั่วไป แต่เมื่อไทยต้องประสบกับวิกฤติโควิด 19 ระลอกที่ 2 ประเด็นงบประมาณของสถาบันกษัตริย์ฯ กลายเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวขึ้น เครือข่ายแรงงานเรียกร้องให้ตัดงบประมาณสถาบันกษัตริย์ฯ และงบประมาณของกองทัพเพื่อใช้ในการเยียวยาประชาชน 

แม้ในตอนแรกราษฎรจะประกาศไม่นัดชุมนุมใหญ่ แต่เมื่อสังคมประสบปัญหาอย่างหนัก การชุมนุมที่ประกาศโดยราษฎรก็มีขึ้นครั้งแรกของปีในวันที่ 22 มกราคม 2564 ที่กระทรวงการคลัง เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลเยียวยาประชาชนแบบถ้วนหน้า การชุมนุมครั้งนี้ราษฎร นำโดยภาณุพงศ์ จาดนอก หรือไมค์ และเครือข่ายแรงงาน ภาณุพงศ์ปรากฏตัวอย่างต่อเนื่องในการชุมนุมของกลุ่มแรงงาน ก่อนหน้านี้ในเดือนมิถุนายน 2563 เขาเคยเข้าร่วมเรียกร้องกับกลุ่มแรงงานให้ยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และการเยียวยาคนละ 5,000 บาท ให้กับทุกคนจนถึงสิ้นปี 2563 แต่ข้อเรียกร้องไม่ประสบผล

asset

การชุมนุมเรียกร้องการเยียวยาถ้วนหน้าของม็อบราษฎรที่กระทรวงการคลัง วันที่ 22 มกราคม 2564 ภาพโดย ประชาชาติธุรกิจ

นอกจากนี้ยังมีเรื่องการจัดหาวัคซีน ที่พริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือเพนกวิน ตั้งข้อสังเกตถึงความล่าช้าและความไม่โปร่งใสต่อสาธารณะเรื่องการจัดหาวัคซีนอันเกี่ยวพันกับ บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ ที่มีพระมหากษัตริย์ถือหุ้นอยู่ 100 เปอร์เซ็นต์ สถานการณ์ดังกล่าวทำให้เรื่องที่เคยเป็นรายละเอียดบนเวทีปราศรัยกลายเป็นประเด็นที่เชื่อมโยงกับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างเป็นรูปธรรมโดยมีโควิด 19 เป็นตัวเร่งให้ประเด็นเหล่านี้ชัดเจนขึ้น 

ปราบปรามหนักหลังชักธงแดง 112 ที่สภ.คลองหลวง 

หลังตำรวจใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุมในเดือนตุลาคม 2563 แต่ไม่สามารถปราบปรามหรือหยุดยั้งการชุมนุมได้ ทั้งแนวโน้มการชุมนุมยังขยายตัวต่อเนื่อง ทำให้รัฐเปลี่ยนรูปแบบการปราบปรามด้วยกำลังเป็นการปล่อยให้จัดการชุมนุมจนสำเร็จและดำเนินคดีตามหลัง อย่างไรก็ตามยังมีการใช้กำลังปราบปรามผู้ชุมนุมอยู่เนืองๆ โดยมีเหตุเกี่ยวเนื่องเป็นการเฉพาะกับกลุ่ม We Volunteer อย่างน้อย 3 ครั้ง คือ การชุมนุมที่หน้ารัฐสภาวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563 และการเก็บกู้ลวดหนามที่อุรุพงษ์วันที่ 8 ธันวาคม 2563 และ #ม็อบย่างกุ้ง ช่วยเกษตรกรที่สนามหลวงวันที่ 31 ธันวาคม 2563 

ในเดือนมกราคม 2564 ยังคงมีการใช้กำลังตำรวจเข้าสลายการชุมนุมอยู่ ไม่น้อยกว่า 5 ครั้ง โดยสองครั้งแรกเป็นการสลายการชุมนุมของกลุ่มขอคืนไม่ได้ขอทาน  กิจกรรมของกลุ่มนี้เป็นการแสดงออกของกลุ่มคนครั้งละไม่กี่คน นำโดยบูรณ์ อารยพล และเพื่อน บางครั้งมีเพียงบูรณ์เพียงคนเดียวที่ไปแสดงออก วันที่ 4 และ 5 มกราคม 2564 บูรณ์และพวกถูกควบคุมตัวโดยตำรวจสน.ดุสิต การจับกุมแกนนำในการชุมนุมขนาดเล็กเช่นนี้กลายเป็นการสลายการชุมนุมโดยสภาพ

ตำรวจปล่อยให้บูรณ์และเพื่อนชุมนุมค้างคืนได้หลายวันที่ทำเนียบรัฐบาลและมีการเจรจาหลายครั้ง จนกระทั่งวันที่ 4 มกราคม 2564 จึงตัดสินใจจับกุมบูรณ์และเพื่อนนรวม 2 คน และตั้งข้อกล่าวหาฐานกีดขวางทางสาธารณะที่มีโทษปรับเท่านั้น หลังรับทราบข้อกล่าวหาบูรณ์ยังกลับไปปักหลักชุมนุมต่อ คราวนี้ถูกจับกุมอีกครั้งและตั้งข้ออกล่าวหาฐานฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ที่มีโทษหนักขึ้น  

assetasset

บูรณ์ถูกจับกุมขณะชุมนุมที่หน้าทำเนียบรัฐบาลเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2564 ภาพโดย มติชนออนไลน์

การสลายการชุมนุมโดยใช้กำลังอย่างรุนแรง เริ่มขึ้นสืบเนื่องจากเหตุการณ์วันที่ 14 มกราคม 2564 แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมประกาศรวมพลให้กำลังใจชยพล ดโนทัย หรือ เดฟ ที่ต้องเข้ารายงานตัวที่ สภ.คลองหลวง กรณีที่มีการออกหมายจับผิดคน ศาลจังหวัดธัญบุรีได้ออกหมายจับชยพลเป็นผู้ต้องหาร่วมกับสิริชัย นาถึง หรือ ฮิวโก้ ในข้อหามาตรา 112 จากการพ่นสีที่พระบรมฉายาลักษณ์ของพระบรมวงศานุวงศ์และป้ายมหาวิทยาลัย แต่วันเวลาเกิดเหตุคดีนี้ ชยพลอยู่ที่บ้านในจังหวัดสงขลา ในกิจกรรมผู้ชุมนุมได้นำ “แพะ” มาใช้ในการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์  มีการนำผ้าสีแดงมีข้อความ 112 ไปคลุมไว้ที่ตัวแพะ หลังการรายงานตัวเสร็จสิ้น มีผู้ชุมนุมนำผ้าสีแดงข้อความ 112 ชักขึ้นเสาธงแทนธงชาติหน้าสถานีตำรวจ  

ต่อมาวันที่ 16 มกราคม 2564 พล.ต.อ.สุวัฒน์ ยอดสุข ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติแถลงข่าว ทำนองเปิด “ไฟเขียว” ให้ใช้กำลังในการปราบปรามผู้ชุมนุมอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากเหตุการชักธงแดง 112 ที่ทางการเชื่อว่า เป็นการกระทำของกลุ่ม We Volunteer การเผยแพร่รายงานข่าวเกิดขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกันกับช่วงที่กลุ่ม “การ์ดปลดแอก” นัดหมายที่เกาะพญาไท อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เพื่อกางป้ายผ้ายาว 112 เมตร กิจกรรมนี้แม้มีผู้เข้าร่วมบางตา แต่ตำรวจใช้กำลังในเครื่องแบบหลายร้อยนายเข้าจับกุมและยึดป้ายผ้า อ้างเหตุควบคุมโรคโควิด 19  โดยควบคุมตัวผู้ชุมนุมในที่เกิดเหตุ 2 คนและมีหมายเรียกตามมาในภายหลังอีกจำนวนหนึ่ง 

assetasset

ภาพโดย ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน

asset

ภาพโดย ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน

asset

ภาพโดย มติชนออนไลน์

ต่อมาผู้ชุมนุมจึงเคลื่อนตัวไปชุมนุมเรียกร้องให้ปล่อยตัวผู้ถูกคุมตัวทั้ง 2 คนที่หน้าสน.พญาไท ตำรวจได้ยื่นคำขาดว่า หากไม่เลิกจะนำกำลังพลเข้าล้อม และใช้กำลังตำรวจชุดควบคุมฝูงชนหลายร้อยนายตั้งแถวปิดถนนโดยรอบ เป็นอีกครั้งที่ผู้ชุมนุมยอมถอยแต่ไม่ยอมจำนนเมื่อพวกเขานัดชุมนุมอีกครั้งในช่วงเย็นของวันเดียวกันที่บริวเณแยกสามย่าน และตำรวจยังคงระดมกำลังหลายร้อยนายปิดล้อมและการกวาดจับต่อเนื่อง จากการสังเกตการณ์พบว่า ในที่เกิดเหตุมีการคุมตัวประชาชนไม่น้อยกว่า 4 คน ขณะที่มีการคุมตัวบรรณาธิการช่าวไทยพีบีเอสที่อยู่ในเหตุการณ์ด้วย ก่อนจะปล่อยตัว ณ ที่นั้น

asset

ภาพโดย @iLawFX 

การสลายการชุมนุมขนาดเล็กต่อเนื่องถึง 3 ครั้งในวันเดียวกัน โดยไม่มีเหตุผลใดที่จะอธิบายได้ และไม่ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ แสดงให้เห็นถึงท่าทีแบบใหม่ของตำรวจ ที่จะไม่ยอม “ผ่อนปรน” ให้การชุมนุมเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะเมื่อเป็นการชุมนุมที่เกี่ยวข้องกับประเด็น “มาตรา 112” และประเด็นสถาบันพระมหากษัตริย์ พร้อมกับการเฝ้าระวัง “เสาธง” หน้าสถานีตำรวจอย่างเข้มงวดขึ้นมากเมื่อมีการนัดหมายรวมตัวกัน  

และการใช้กำลังเพื่อ “ขีดเส้น” เสรีภาพการชุมนุมระลอกใหม่ของตำรวจ ในเดือนมกราคม 2564 ก็เป็นการตีเส้นที่แทบไม่มีกฎหมายใดรองรับนอกจากการอ้าง “โควิด” ระลอกสอง ซึ่งเป็นการใช้กฎหมายผิดเจตนารณ์อย่างชัดเจน เมื่อใดก็ตามที่ความร้ายแรงของการระบาดบรรเทาลงและมาตรการควบคุมโรคเริ่มผ่อนคลายได้  เมื่อนั้นเส้นที่ขึงอยู่ก็คงถูกท้าทายอย่างหนักจากคนที่กำลังอึดอัดอย่างมากกับเส้นที่ถูกขีดขึ้นใหม่นี้เช่นกัน