ในเดือนพฤษภาคมนี้ มีการชุมนุมเกิดขึ้นอย่างน้อย 41 ครั้ง เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน อย่างน้อย 9 ครั้ง แม้การเลือกตั้งจะผ่านพ้นไปแล้ว แต่การที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ยังไม่รับรองผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ ทำให้มีการชุมนุมในประเด็นนี้อยู่ อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่มีการชุมนุมมากที่สุด ยังคงเป็นประเด็นเรียกร้องสิทธิในการประกันตัว โดยมีการชุมนุมในประเด็นดังกล่าว อย่างน้อย 27 ครั้ง เป็นกิจกรรมยืนหยุดขัง บริเวณหน้าศาลฎีกา กรุงเทพฯ อย่างน้อย 23 ครั้ง และยืนหยุดทรราช บริเวณท่าแพ จ.เชียงใหม่ อย่างน้อย 1 ครั้ง
จากกรณี หยก ธนลภย์ (สงวนนามสกุล) เด็กอายุ 15 ปี ผู้ถูกดำเนินคดีด้วยมาตรา 112 ที่อายุน้อยที่สุด เธอถูกควบคุมตัวที่บ้านปราณี จ.นครปฐม ตั้งแต่วันที่ 29 มี.ค. 2566 ก่อนที่หยกจะได้รับการปล่อยตัวในวันที่ 18 พ.ค. 2566 จึงมีกลุ่มนักเคลื่อนไหวร่วมกันจัดกิจกรรมเพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวหยกอย่างน้อย 3ครั้ง เป็นกิจกรรม “เดินเพื่อเพื่อน” ของกลุ่มโมกหลวงริมน้ำ ซึ่งเป็นการเดินทางจากศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง โดยมีการปราศรัยเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมที่จุดพักต่างๆระหว่างทางไปบ้านปรานี จ.นครปฐม รวมถึงมีการยื่นรายชื่อของประชาชนกว่า 5,000 รายชื่อที่ศาลเยาวชนและครอบครัวกลางด้วย นักกิจกรรมอิสระ เช่น ทานตะวัน ตัวตุลานนท์, แบม อรวรรณ และสายน้ำ ร่วมกันจัดกิจกรรม “ใครใคร่สาด สาด ใครใคร่ด่า ด่า #saveหยก” ที่ สน.สำราญราษฎร์ จุดประสงค์เพื่อสอบถามผู้กำกับของ สน. ดังกล่าว เรื่องการแจ้งข้อหาเพิ่มขณะหยกยังถูกควบคุมตัวอยู่ ซึ่งกิจกรรมนี้มีการปะทะกันระหว่างตำรวจกับผู้ชุมนุม ตำรวจได้ใช้ความรุนแรงในการจับกุมตัวนักกิจกรรมทั้ง 9 คน ก่อนแจ้งข้อกล่าวหาภายหลังกลุ่มเกียมพัฒนาประชาธิปไตย จัดกิจกรรม “ยืนหยุดขัง #saveหยก” เป็นเวลา 112 นาที เพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวหยกออกมาเรียนหนังสือ บริเวณหน้าโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ซึ่งเป็นโรงเรียนของหยกเอง ปรากฏว่า หลังจัดกิจกรรม มีรายงานว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 2 คน ถูกครูเรียกไปพบเพื่อตักเตือนด้วย
หลังการเลือกตั้ง สิ่งที่สังคมจับตามองอย่างยิ่งก็คือการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ และการโหวตนายกรัฐมนตรี ซึ่งการโหวตนายกรัฐมนตรีนั้น หากไม่สมารถรวบรวมเสียง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสภาให้มากกว่า 375 เสียง ก็จำเป็นต้องได้เสียงจากสมาชิกวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2560 ทำให้ ประเด็นเกี่ยวกับการเลือกตั้ง มีการชุมนุมรองลงมา อย่างน้อย 5 ครั้ง ซึ่งเป็นการเรียกร้องให้ ส.ว. เคารพเสียงของประชาชน ด้วยการโหวตนายกรัฐมนตรีที่มาจากพรรคเสียงข้างมากทั้งหมด ได้แก่ ประชาชนจังหวัดลำปาง จัดกิจกรรมแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ขานชื่อ ส.ว. 250 คน พร้อมจุดเทียน โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมประมาณ 20 คนเครือข่ายผู้รักประชาธิปไตยแพร่ จัดกิจกรรมแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ เพื่อถามถึงการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีของ ส.ว.ชมรมประชาธิปไตย สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นัดหมายแสดงสัญลักษณ์ “ส.ว.ต้องเคารพเจตนารมณ์ของประชาชน” และเปิดโหวตเสียงประชาชน “ส.ว.ควรเคารพเสียงประชาชน โดยโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีตามเสียงข้างมากของส.ส.”คณะราษฎรล้านนาและสามัญชนเหนือ จัดกิจกรรมคาราวานร่างรัฐธรรมนูญในฝัน “คนเชียงใหม่อยากฝากอะไรถึงส.ว.” ภายในงานมีการทำพิธีจุดธูปสาบแช่งตามวัฒนธรรมล้านนา และมีกิจกรรมการเขียนป้ายเพื่อส่งข้อความถึง ส.ว. ด้วยกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม จัดกิจกรรม "อย่าให้ใครขโมยความฝันและความหวังของเรา ส.ว.ต้องไม่สวนมติประชาชน" ประกอบด้วยวงเสวนา 2 วง และมีการอ่านจดหมายเปิดผนึก บริเวณหน้ารัฐสภา ซึ่งในเวลาเดียวกัน มีกลุ่มมวลชนอิสระ นำโดยสายน้ำ และอาย มาชูป้ายด่า ส.ว. และคัดค้านมาตรา 112 มีผู้มาร่วมฟังเสวนาบางคนไม่เห็นด้วยกับกิจกรรมดังกล่าว การ์ดของงานจึงขอให้กลุ่มมวลชนยุติกิจกรรม จากนั้นได้มีการโปรยกระดาษที่มีการเรียกร้องให้ ส.ว. เคารพเสียงของประชาชนกันด้วย
ประเด็นต่อมา คือการจัดงานรำลึกถึงเหตุการณ์สำคัญต่างๆ ซึ่งมีการชุมนุมในประเด็นดังกล่าวอย่างน้อย 3 ครั้ง ได้แก่ งานรำลึกครบรอบ 13 ปี เหตุการณ์สลายการชุมนุมคนเสื้อแดง จัดโดยคณะประชาชนทวงความยุติธรรม บริเวณแยกราชประสงค์ ในงานจะมีถวายสังฆทาน และฉายวิดีทัศน์เพื่อสรุปเหตุการณ์ โดยมีพิธีจุดเทียนรำลึกถึงผู้เสียชีวิตในตอนท้าย มูลนิธิผสานวัฒนธรรม จัดงานรำลึก “4 ปี สยาม ธีรวุฒิ” หนึ่งในผู้ลี้ภัยทางการเมืองถูกบังคับสูญหาย บอกเล่าเส้นทางการต่อสู้เพื่อความยุติธรรมของครอบครัวสยาม และความสำคัญของ พ.ร.บ. ทรมาน-อุ้มหายฯสหภาพคนทำงาน และประชาชน นำป้ายผ้าขนาดใหญ่ มีข้อความว่า "เอาผิด คสช. 3 ป. ต้องติดคุก" เนื่องในโอกาสวันครบรอบ 9 ปี ทำรัฐประหารโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติมาแขวนที่สกายวอล์คปทุมวัน หน้าศูนย์ศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร
ในส่วนของประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม มีการชุมนุมอย่างน้อย 1 ครั้ง ได้แก่ ประชาชนในพื้นที่ ต.รือเสาะออก อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส รวมตัวแสดงออกคัดค้านการทำเหมืองหินหินแกรนิตในพื้นที่ดังกล่าว ในเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อการขอสัมปทานเหมืองหินแกรนิต เนื่องจากกังวลในเรื่องผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ซึ่งประชาชนที่มาร่วมงานไม่มีใครเห็นด้วยเลย
นอกจากนี้ ยังมีการชุมนุมในประเด็นอื่นๆอย่างน้อย 2 ครั้ง ได้แก่ นักกิจกรรม จ.เชียงใหม่ จำนวน 6 คน ได้เดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหา “ดูหมิ่นศาลรัฐธรรมนูญ” โดยมีตำรวจทั้งในและนอกเครื่องแบบกว่า 30 นายคุมเข้มหน้า สภ. ก่อนจะมีการยึดแย่งป้ายผ้า “ปฏิรูปสถาบันตุลาการ” ที่พวกเขานำมากาง ก่อนเข้ารับทราบข้อกล่าวหา กลุ่มนักกิจกรรมได้จัด Performance Art ทุบศาลพระภูมิ เพื่อเป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ด้วยหน่วยงานเอกชน พร้อมด้วยองค์กรภาคประชาชนและองค์กรเครือข่ายต่างๆ ร่วมกันจัดกิจกรรม “Chiang Mai Pride 2023” โดยมีการจัดขบวนพาเหรดหลากสี เพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศ และมีการจัดฉายหนังกลางแปลงระหว่างการจัดงานด้วย
ในเดือนนี้ กลุ่มศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน (ศปปส.) เป็นตัวหลักในการจัดการชุมนุมอย่างน้อย 3 ครั้ง ได้แก่ จัดกิจกรรม “#save112” ถือแผ่นป้ายรณรงค์คัดค้านการแก้ไข และการยกเลิกมาตรา 112 พร้อมเปิดเพลง เรารักแผ่นดิน ระหว่างเดินขบวน ใน จ.อยุธยา และยังมีการจัดกิจกรรมยื่นหนังสือเพื่อเรียกร้องไม่ให้ประเทศสหรัฐอเมริกาเข้าแทรกแซงกิจการภายในประเทศไทย โดยเฉพาะเรื่องสถาบันกษัตริย์อย่างน้อย 2 ครั้ง บริเวณสถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ในกรุงเทพ และ จ.เชียงใหม่
สถานการณ์คดีและการคุกคามประชาชน ประจำเดือนพฤษภาคม 2566
ในเดือนพฤษภาคม 2566 ก่อนการเลือกตั้งจะเกิดขึ้น ซูซาน ไวลด์ ส.ส.เดโมแครต สหรัฐอเมริกา ได้เสนอร่างมติสภาผู้แทนราษฎร 369 (H.Res. 369) เข้าไปที่สภาผู้แทนราษฎรของสหรัฐอเมริกา เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลไทยปกป้องและยืนหยัดในประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน หลักนิติธรรม สิทธิในเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและเสรีภาพในการแสดงออก ในร่างนั้นมีการเรียกร้องให้แก้ไขกฎหมายที่ถูกนำมาใช้เพื่อจำกัดสิทธิประชาชนก่อนเลือกตั้ง เช่น มาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ รวมถึงเรียกร้องให้ปล่อยตัวผู้ต้องขังทางการเมืองด้วย เมื่อการเลือกตั้งผ่านพ้นไปแล้ว การจัดตั้งรัฐบาลใหม่จึงเป็นสิ่งที่สังคมให้ความสนใจอย่างมาก
อย่างไรก็ตาม ในเดือนนี้ มีผู้ถูกดำเนินคดีในมาตรา 112 เพิ่มขึ้นอีก 7 คดี เป็นเด็กและเยาวชน 3 คน หนึ่งในนั้นถูกดำเนินคดีขณะอายุเพียง 14 ปี 1 เดือนเศษ ซึ่งถือว่าเป็นเด็กที่อายุน้อยที่สุดที่ถูกดำเนินคดีในมาตราดังกล่าว ในส่วนของข้อหา พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ มีการแจ้งข้อกล่าวหาแก่ประชาชนเพิ่ม 1 คน ขณะที่แนวทางการตัดสิน ส่วนใหญ่ยังคงเป็นการยกฟ้อง
ตั้งแต่เริ่มการชุมนุมของ “เยาวชนปลดแอก” เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2563 จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2566 มีประชาชนที่ถูกดำเนินคดีจากสถานการณ์ชุมนุมและการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ไปแล้วอย่างน้อย 1,914 คน ในจำนวน 1,218 คดี มีคดีที่สิ้นสุดไปแล้ว 359 คดี คงเหลือคดีอีกกว่า 859 คดี ที่ยังดำเนินอยู่ในกระบวนการชั้นต่างๆ
ในจำนวนคดีดังกล่าว เป็นคดีของเด็กและเยาวชนที่อายุต่ำกว่า 18 ปี จำนวน 286 ราย ใน 215 คดี โดยแยกเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี จำนวน 43 คน และเยาวชนอายุระหว่าง 15-18 ปี จำนวน 243 คน ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับคดีในเดือนเมษายน 2566 มีผู้ถูกดำเนินคดีรายใหม่เพิ่มขึ้นจำนวน 12 คน คดีเพิ่มขึ้น 15 คดี (นับเฉพาะผู้ถูกกล่าวหาที่ไม่เคยถูกดำเนินคดีมาก่อน) หากนำจำนวนบุคคลที่ถูกดำเนินคดีซ้ำมาเรียงต่อกันแล้ว จะพบว่ามีจำนวนการถูกดำเนินคดีไปอย่างน้อย 3,851 ครั้ง
ซึ่งในเดือนนี้ มีการดำเนินคดีกับนักกิจกรรม 9 คน ที่เข้าร่วมชุมนุม “ใครใคร่ด่าด่า ใครใคร่สาดสาด” บริเวณ สน.สำราญราษฎร์ เพื่อสอบถามผู้กำกับประจำ สน. ดังกล่าว กรณีมีข่าวว่าได้แจ้งข้อหา หยก เยาวชนอายุ 15 ปี เพิ่ม มีการปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่ ทำให้นักกิจกรรมทั้ง 9 คนถูกจับกุม หลายคนได้รับบาดเจ็บตามร่างกาย พวกเขาถูกแจ้งข้อหาทั้งหมด 4 ข้อหา และถูกควบคุมตัวที่ สน. 2 วัน ก่อนจะได้รับการประกันตัว
สำหรับสถิติการดำเนินคดี แยกตามข้อกล่าวหาสำคัญ ได้แก่
1. ข้อหา “หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112มีผู้ถูกกล่าวหาอย่างน้อย 250 คน ในจำนวน 269 คดี
ในเดือนนี้ มีผู้ถูกดำเนินคดีเพิ่มจากเดือนเมษายนอย่างน้อย 8 คน ในจำนวน 7 คดี เป็นการดำเนินคดีในชั้นสอบสวน 3 คน ได้แก่ ธีรเมธ (สงวนนามสกุล) นักกิจกรรมซึ่งเป็นผู้พิการทางสติปัญญาด้วย ได้รับหมายเรียกให้ไปรับทราบข้อกล่าวหาที่ จ.พัทลุง ทนายความผู้รับมอบอำนาจจึงเดินทางไป สตช. ขอให้มีคำสั่งให้พนักงานสอบสวนในคดีนี้เดินทางมาสอบสวนนอกพื้นที่แทนทรงพล สนธิรักษ์ เดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหา จากกรณีชู 3 นิ้วในพิธีรับปริญญา และการให้สัมภาษณ์ในเพจ “ทะลุมข” และ “The Isaan Record” รวมถึงการเข้าร่วมชุมนุมกับกลุ่มต่างๆ ในช่วงปี 2563 และ 2564 ชรัน” (นามสมมติ)ถูกจับกุมจากอำเภอนอกจากนี้ ยังมีการแจ้งข้อหาดังกล่าวแก่ เมย์ (นามสมมติ) เยาวชนอายุ 16 ปี ซึ่งขณะเกิดเหตุ เธอมีอายุเพียง 14 ปี 1 เดือนเศษ จึงกลายเป็นเด็กอายุน้อยที่สุดที่ถูกดำเนินคดีในข้อหาตามมาตรา 112 กรณีโพสต์เฟซบุ๊คเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของกษัตริย์ และยังพบรายงานเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ถูกดำเนินคดีมาตรา 112 ที่ สภ.เมืองพิษณุโลก อีกหนึ่งราย แต่ยังไม่ทราบรายละเอียดในคดี
มีการสั่งฟ้องคดีเพิ่มอย่างน้อย 5 คน ในจำนวน 4 คดี ได้แก่ พริษฐ์ ชิวารักษ์ กรณีโพสต์ข้อความและภาพในเฟซบุ๊กเกี่ยววิพากษ์วิจารณ์กับการถอนประกันนักกิจกรรมของศาลจังหวัดธัญบุรี และ ศาลอาญารัชดา เมื่อวันที่ 9 ส.ค. 2564 กิตติคุณ ธรรมกิติราษฎร์ และ ธิดาพร ชาวคูเวียงกรณีทำแคมเปญโฆษณาลาซาด้า 5.5 ร่วมกับ “นารา เครปกะเทย” เมื่อช่วงเดือนพฤษภาคม 2565 อัยการระบุว่าทำโฆษณาเจตนาล้อเลียนสมาชิกราชวงศ์ต้นไผ่ (นามสมมติ) เขาถูกสั่งฟ้องทั้งหมด 2 คดี รวม 20 กรรม จากกรณีถูกกล่าวหาว่าใช้บัญชีเฟซบุ๊ก “ศักดินาปรสิต – Parasite Monarchy” และบัญชีทวิตเตอร์ “Guillotine Activists for Democracy” และ “Guillotine2475” โพสต์เนื้อหาเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ในระหว่างเดือนพฤศจิกายน ปี 2564 ถึงเดือนมีนาคม 2565 อัยการระบุว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการปลุกปั่นให้ประชาชนเข้าใจผิดและจูงใจให้ต่อต้านสถาบันกษัตริย์เค (นามสมมติ) เยาวชนอายุ 17 ปี (ขณะเกิดเหตุ) ถูกอัยการสั่งฟ้องกรณีถูกกล่าวหาว่าได้ยิงหนังสติ๊กและเผาซุ้มเฉลิมพระเกียรติ บริเวณดินแดง สืบเนื่องจากการชุมนุมของกลุ่มทะลุแก๊สเมื่อวันที่ 6 ก.ย. 2564
ในเดือนนี้ มีคำพิพากษาออกมาทั้งหมด 8 คดี เป็นคดีที่จำเลยให้การรับสารภาพ 5 คดี ได้แก่ สายชล (นามสมมติ) กรณีเผยแพร่คลิปวิดีโอในแอพพลิเคชัน TikTok ลิปซิงค์เพลง “พระราชาในนิทาน” ช่วงเดือน ส.ค. 2564 ศาลพิพากษาลงโทษจำคุก 3 ปี ลดโทษลงกึ่งหนึ่ง เหลือจำคุก 1 ปี 6 เดือน ให้รอการลงโทษจำคุกไว้ 2 ปี กำหนดให้คุมประพฤติ 1 ปี ปาฏิหาริย์ (สงวนนามสกุล) กรณีแสดงความคิดเห็นบนโพสต์เฟซบุ๊กของ Somsak Jeamteerasakul เกี่ยวกับข่าวลือเรื่องการประชวรของรัชกาลที่ 10 เมื่อวันที่ 12 พ.ค. 2564ศาลพิพากษาจำคุก 3 ปี ลดโทษลงกึ่งหนึ่ง คงจำคุก 1 ปี 6 เดือน แต่ได้รับการประกันตัว ประชาชน1 คนกรณีคอมเมนต์แสดงความคิดเห็นท้ายไลฟ์สดเพจ “ศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน”ศาลพิพากษาจำคุก 3 ปี ให้การรับสารภาพ ลดโทษกึ่งหนึ่ง เหลือโทษจำคุก 1 ปี 6 เดือน สุภิสรา (นามสมมติ) กรณีโพสต์เฟซบุ๊ค 4 ข้อความ ศาลพิพากษาจำคุกกรรมละ 3 ปี ลดเหลือกรรมละ 1 ปี 6 เดือน รวมจำคุก 4 ปี 24 เดือน รอการลงโทษไว้ 2 ปีทั้งนี้ ยังมี เวหา แสนชนชนะศึก กรณีใช้บัญชีทวิตเตอร์ “ฟ้าฝน ver.เกรี้ยวกราด” ทวีตข้อความเล่าประสบการณ์การถูกคุมขังในคุกเรือนจำทวีวัฒนา ช่วงปี 2564 ศาลมีคำพิพากษาให้ลงโทษทั้ง 3 กระทง จำคุกกระทงละ 3 ปี ลดโทษเหลือกระทงละ 1 ปี 6 เดือน รวมจำคุก 3 ปี 18 เดือน โดยไม่รอลงอาญา และไม่อนุญาตให้ประกันตัว เวหาจึงถูกนำตัวไปคุมขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพตั้งแต่วันที่ 18 พ.ค. 2566 นอกจากนี้ ยังมีกรณี ไวรัส (นามสมมติ) ที่โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก 3 ข้อความ และติ๊กต็อก 2 ข้อความ มีเนื้อหาเกี่ยวกับรัชกาลที่ 9 และ 10 ระหว่างวันที่ 30 เม.ย. ถึง 7 พ.ค. 2564 ถูกสั่งฟ้องรวม 5 กรรม และให้การรับสารภาพในบางกรรมเท่านั้น ศาลพิพากษาลงโทษจำคุก 15 ปี ลดโทษลงกึ่งหนึ่ง คงลงโทษจำคุก 5 ปี 30 เดือน รอการลงโทษ 3 ปี พร้อมยึดโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลาง
ในส่วนของผู้ที่ต่อสู้คดีนั้น มีคำพิพากษายกฟ้อง 2 คดี ได้แก่ ศิวัญชลี วิธญเสรีวัฒน์ หรือรามิล กรณีแสดง Performance art หน้าป้ายมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2564 โดยเขาถูกกล่าวหาว่าเคลื่อนไหวท่าทางต่างๆ เช่น ท่าครุฑ และนอนหงายพร้อมใช้เท้าชี้ไปทางพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 10 ศาลระบุว่า พยานหลักฐานโจทก์ชี้ไม่ได้ว่าจำเลยแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อกษัตริย์นรินทร์ (สงวนนามสกุล) กรณีถูกกล่าวหาว่านำสติกเกอร์ “กูkult” ไปติดบนคาดตาบนรูปรัชกาลที่ 10 หน้าศาลฎีการะหว่างที่มีการชุมนุม วันที่ 19 ก.ย. 2563 คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาว่ามีความผิด สั่งลงโทษจำคุก 3 ปี เนื่องจากเป็นการแสดงความยิ่งใหญ่เหนือกษัตริย์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง ชี้นรินทร์แต่งกายไม่เหมือนคนร้าย
นอกจากการนำคดีมาตรา 112 เข้าสู่กระบวนการพิจารณาอย่างต่อเนื่อง โดยยังไม่มีรายงานว่ามีคดีที่อัยการสั่งไม่ฟ้องเลย สิ่งที่น่ากังวลอีกประการคือแนวทางการตีความมาตรา 112 อย่างกว้างขวาง ทั้งนี้ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights: ICCPR) ที่ประเทศไทยเป็นรัฐภาคี ได้ให้การคุ้มครองบุคคลใช้สิทธิและเสรีภาพการแสดงออกภายใต้ข้อ 19 และสิทธิและเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบภายใต้ข้อ 21 อีกทั้ง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ได้ระบุถึงข้อห่วงกังวลต่างๆ เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการหมิ่นพระมหากษัตริย์ทั่วโลก โดยกล่าวว่า บุคคลสาธารณะทุกคน รวมถึงผู้ที่มีอำนาจสูงสุดทางการเมือง ล้วนเป็นผู้ที่ควรถูกวิพากษ์วิจารณ์ได้อย่างชอบธรรม และการต่อต้านคัดค้านทางการเมือง รวมถึงการวิพากษ์วิจารณ์สถาบันของรัฐนั้นไม่ควรเป็นเรื่องต้องห้าม แม้ในกรณีที่ข้อกล่าวหาเกี่ยวกับการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนั้นอาจถูกมองว่าเป็นโทษที่เกี่ยวข้องกับการหมิ่นประมาท คณะกรรมการฯ ได้ลงความเห็นว่า “โทษจำคุกไม่ใช่เป็นการลงโทษที่เหมาะสมในทุกกรณี”
2. ข้อหา “ยุยงปลุกปั่น” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116มีผู้ถูกกล่าวหาอย่างน้อย 130 คน ในจำนวน 41 คดี
3. ข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ มีผู้ถูกกล่าวหาอย่างน้อย 1,469 คน ในจำนวน 663 คดี
ในเดือน มีการดำเนินคดีกับประชาชนในข้อหาดังกล่าวเพิ่ม 1 คน ได้แก่ ชลธิชา คุ้มจันทร์อัด หญิงท้องแก่ซึ่งใกล้กำหนดคลอดเต็มที ถูกตำรวจจับกุมตามหมายจับจากพัทยา มาที่ สน.พญาไท จากกรณีชุมนุมม็อบ21ตุลา63 และยังเคยถูกแจ้งข้อกล่าวหาฝ่าฝืนประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงด้วย เธอได้รับการประกันตัวภายหลัง
อย่างไรก็ตาม คำพิพากษาในข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ยังคงแยกเป็น 2 แนวทาง นั่นคือ ยกฟ้อง และมีความผิดตามฟ้อง ซึ่งในเดือนพฤษภาคม มีคำพิพากษาออกมา 4 คดี เป็นคำพิพากษายกฟ้อง 1 คดี ได้แก่ ชลธิชา แจ้งเร็ว กรณีจัดการชุมนุมเมื่อวันที่ 24 ก.ย. 2563 หรือม็อบไปสภาไล่ขี้ข้าศักดินา บริเวณด้านหน้าของรัฐสภา นอกจากนั้น เป็นคำพิพากษาว่ามีความผิดตามฟ้องทั้งหมด ได้แก่ นวพล ต้นงาม และปนัดดา ศิริมาศกูล กรณีร่วมทำกิจกรรมยื่นหนังสือถึงพรรคร่วมรัฐบาลให้ลาออก ที่หน้าที่ทำการพรรคพลังประชารัฐ เมื่อวันที่ 30 ก.ค. 2564 ศาลพิพากษาจำคุก 1 ปี ปรับ 10,000 บาท และ ปรับ 200 บาท ในความผิดฐานใช้เครื่องขยายเสียง ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง จำคุก 6 เดือน ปรับ 5,100 บาท รอการลงโทษ 1 ปี ฮัสซาน ทิ้งปากถ้ำ, ธีระเทพ จิตหลัง และ ศุภวิชญ์ แซะอามา กรณีร่วมกิจกรรมคาร์ม็อบสตูล เมื่อวันที่ 10 ส.ค. 2564 ศาลพิพากษาว่ามีความผิดตามฟ้อง ให้รอการกำหนดโทษ 1 ปี วรัญญู คงสถิตย์ธรรม, มกรพงษ์ ทรัพย์ประเสริฐ และ เมธานุช กอผา จากกิจกรรม “CAR MOB KORAT คาราวานไล่เผด็จการ” เมื่อวันที่ 23 ก.ค. 2564 และคดีชุมนุมของกลุ่ม Korat Movement หน้าตำรวจภูธรภาค 3 ทั้งสองคดีศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง แต่อัยการยื่นอุทธรณ์คดีต่อ ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษา ดังนี้ กรณีเหตุชุมนุม ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น และเหตุคาร์ม็อบโคราช 23 ก.ค. 2564 ศาลพิพากษาแก้ ให้จำเลย ที่ 1 และ 2 มีความผิดร่วมกันชุมนุมทำกิจกรรมเสี่ยงต่อการแพร่โรค ปรับคนละ 2,000 บาท ส่วนจำเลยที่ 3 ให้ยกฟ้อง
ที่ผ่านมา มีการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เพื่อดำเนินคดีผู้ใช้สิทธิและเสรีภาพในการชุมนุมเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะกลุ่มที่วิพากษ์วิจารณ์การบริหารงานของรัฐบาล ซึ่งการแสดงออกดังกล่าว ได้รับการคุ้มครองภายใต้ ข้อ 21 ของ ICCPR เสรีภาพในการแสดงออกและในข้อมูล ภายใต้ข้อ 19 ของ ICCPR เสรีภาพในการเคลื่อนไหว ภายใต้ข้อ 12 ของ ICCPR และสิทธิในการที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารรัฐกิจ ภายใต้ข้อ 25 ของ ICCPR อย่างไรก็ตาม การดำเนินคดีเหล่านั้นต่อประชาชนไม่ถือว่ามีความจำเป็นและได้สัดส่วน และข้อที่ 4 ของ ICCPR จะให้รัฐภาคีสามารถเลี่ยงพันธกรณีของตนภายใต้ ICCPR ได้เท่าที่จำเป็นและได้สัดส่วนตามสถานการณ์ฉุกเฉินของสถานการณ์ โดยประเทศไทยได้แจ้งให้เลขาธิการสหประชาชาติได้รับรู้ มีผลบังคับใช้วันที่ 26 มี.ค. 2563 ถึง 30 มิ.ย. 2563 ซึ่งไม่ได้ทำการแจ้งเลขาธิการสหประชาชาติเพิ่มเติมเกี่ยวกับการขยายเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ประเทศไทยจึงไม่ได้มีการใช้สิทธิในการเลี่ยงพันธกรณีภายใต้ ICCPR หลังจากวันที่ 30 มิ.ย. 2563
4. ข้อหาตาม พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ มีผู้ถูกกล่าวหาอย่างน้อย 147 คน ในจำนวน 80 คดี
มีการดำเนินคดีกับประชาชนเพิ่ม 1 คดี ได้แก่ ฉัตรชัย พุ่มพวง, พริม มณีโชติ และสุรัช กีรี กลุ่มแรงงาน ได้เดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหาตาม พ.ร.บ.ชุมนุมฯ กรณีเข้าร่วมการชุมนุมวันแรงงานสากล สุกรีได้ชำระค่าปรับ 2,100 บาท ทำให้คดีสิ้นสุดลง ส่วนอีก 2 คนยังยืนยันสู้คดีต่อ เพื่อพิทักษ์สิทธิของประชาชนผู้ใช้แรงงานในการเดินขบวนวันดังกล่าวทุกปี
5. ข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มีผู้ถูกกล่าวหาอย่างน้อย 176 คน ในจำนวน 194 คดี
มีการแจ้งข้อกล่าวหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 16 ร่วมกับข้อหาหมิ่นประมาท และดูหมิ่นเจ้าพนักงาน แก่ นพ.สุภัทร์ สุวรรณฮากิจ ประธานชมรมแพทย์ชนบท กรณีถูกกล่าวหาว่าเพจโพสต์ข้อความปลุกปั่นให้ข้อมูลเท็จ และกล่าวหาว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้สั่งให้ปิดประตูเพราะมีการชุมนุม ทำให้เขาต้องเดินทางมารับทราบข้อกล่าวหาที่ สภ.นนทบุรี
ในเดือนนี้ มีคำพิพากษาออกมา 3 คดี เป็นคำพิพากษายกฟ้อง 2 คดี ได้แก่ พรรณิการ์ วานิช กรณีโพสต์ข้อความช่วง ปี 2556-2557 ซึ่งต่อมามีการเเจ้งความว่าข้อความดังกล่าวนำเพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยาซึ่งเป็นบทกวีมีลักษณะพาดพิงสถาบัน งามแสนหลวง สิงห์เฉลิม กรณีโพสต์ข้อความว่าอาจมีการยิงแก๊สน้ำตาออกมาจากบริษัทบุญรอดฯ ระหว่างการสลายการชุมนุมของราษฎรบริเวณใกล้รัฐสภา เมื่อวันที่ 17 พ.ย. 2563 ซึ่งทั้ง 2 คดี ศาลวินิจฉัยไปในทางเดียวกันว่าข้อความดังกล่าวไม่ใช่การนำเข้าข้อมูลเท็จทั้งหมดหรือบางส่วนเข้าสู่ระบบ ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายหรือตื่นตระหนกแก่สังคม นอกจากนี้ ยังมีคดีที่ศาลอุทธรณ์แก้คำพิพากษาศาลชั้นต้น 1 คดี ได้แก่ นพวรรณ สุวรรณ์ กรณีแชร์ข้อความ พร้อมภาพจากสื่อไทยรัฐ ลงในกลุ่มในเฟซบุ๊ก “ตลาดนัดคนเมืองน่าน” ระบุว่ามีการตรวจพบเชื้อไวรัสตัวใหม่ชื่อ H3N2 จากวูฮั่น ประเทศจีน ศาลอุทธรณ์แก้คำพิพากษา จากเดิมลงโทษจำคุก 8 เดือน ไม่รอลงอาญา แก้เป็นลงโทษปรับ 60,000 บาท และลด 1 ใน 3 เหลือโทษปรับ 40,000 บาท
6. ข้อหาละเมิดอำนาจศาล มีผู้ถูกกล่าวหาอย่างน้อย 36 คน ใน 20 คดี และคดีดูหมิ่นศาล อย่างน้อย 34 คน ใน 10 คดี
มีการดำเนินคดีกับประชาชนเพิ่มอย่างน้อย 6 คน ใน 1 คดี ได้แก่ สิทธิ์พร ดิษฐเจริญ, ณัฏฐชัย ศรีเจริญ, พิชญ์สินี ชัยทวีธรรม, วิทยา ไชยคําหล้า, ธีราภรณ์ พุดทะสี และ ธนาดล จันทราชกรณีทำกิจกรรมประท้วงศาลรัฐธรรมนูญกรณีวินิจฉัยคดี 8 ปี การดำรงตำแหน่งของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่จังหวัดเชียงใหม่
ไม่เพียงเท่านั้น ยังมีภาคเอกชนฟ้องประชาชนที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ในข้อหาหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาทั้งทางแพ่งและทางอาญาด้วย ได้แก่ ธนาพล อิ๋วสกุล ถูกบริษัทท็อปนิวส์ฟ้องร้องจากการโพสต์ข้อความทำนองว่าท็อปนิวส์เผยแพร่ข่าวเฟคนิวส์ เรียกค่าเสียหาย 20 ล้านบาทสฤณี อาชวานันทกุล ถูกบริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ ฟ้องในข้อหาดังกล่าว โดยเรียกค่าเสียหาย 100 ล้านบาท ซึ่งก่อนหน้านั้น มีนักการเมืองหลายคนถูกฟ้องด้วยข้อหาเดียวกัน เช่น ส.ส.รังสิมันต์ โรม, ส.ส.เบญจา แสงจันทร์ และ นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม
ผู้ถูกคุมขังระหว่างดำเนินคดี ประจำเดือนพฤษภาคม 2566
ในเดือนพฤษภาคมนี้ ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง มีคำสั่งให้ปล่อยตัว หยก เยาวชนวัย 15 ปี เหตุถูกกล่าวหาจากการแสดงออกระหว่างกิจกรรม13ตุลาหวังว่าสายฝนจะพาล่องลอยไป ที่ลานเสาชิงช้า หยกถูกคุมขังที่บ้านปรานี จ.นครปฐม มาตั้งแต่วันที่ 29 มี.ค. 2566 และได้รับการปล่อยตัว วันที่ 18 พ.ค. 2566 รวมระยะเวลาถูกคุมขัง 51 วัน ซึ่งหยกมีอาการเจ็บป่วยคือผื่นแดงขึ้นทั่วร่างกายจากสภาพแวดล้อมที่ไม่ถูกสุขลักษณะในบ้านปรานี จ.นครปฐม แต่ก็มีการสั่งคุมขัง เวหา แสนชนชนะศึก ในมาตรา 112 กรณีใช้บัญชีทวิตเตอร์ “ฟ้าฝน ver.เกรี้ยวกราด” ทวีตข้อความเล่าประสบการณ์การถูกคุมขังในคุกเรือนจำทวีวัฒนา เมื่อช่วงปี 2564 ศาลตัดสินจำคุก 3 ปี 18 เดือน โดยไม่รอลงอาญา ชรัน (นามสมมติ)ในข้อหาตามมาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (3)กรณีแชร์ข้อความในเฟซบุ๊ค เขาถูกคุมขังระหว่างสอบสวนตั้งแต่วันที่ 22 พ.ค. 2566 และได้รับการปล่อยตัวในวันที่ 31 พ.ค. 2566 รวมเวลาถูกคุมขัง 9 วัน
ทำให้ในเดือนนี้ มีผู้ที่ถูกคุมขังระหว่างต่อสู้คดีทั้งหมด 7 คน ได้แก่
พฤติการณ์ | วันที่ถูกคุมขัง | รวม | ยื่นประกัน | |
---|---|---|---|---|
1. ถิรนัย 2. ชัยพร | ถูกกล่าวหากรณีครอบครองระเบิดปิงปองก่อนการชุมนุม #ม็อบ29สิงหา64 ต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุก 6 ปี รับสารภาพ ลดเหลือจำคุก 3 ปี อยู่ระหว่างอุทธรณ์คำพิพากษา | 15 ก.พ. 2566 | 105 | 5 |
3. ทัตพงศ์ เขียวขาว | ถูกจับกุมหลังเดินทางผ่านด่านเช็กประวัติช่วงการประชุม APEC 2022 ที่สถานีรถไฟฟ้า BTS ราชเทวี ตามหมายจับและถูกกล่าวหาครอบครองวัตถุระเบิด ระหว่างการชุมนุมของกลุ่มทะลุแก๊ซ ที่ถนนราชปรารภ เมื่อวันที่ 21 พ.ย. 2564 หลังอัยการมีคำสั่งฟ้องวันที่ 1 มี.ค. 2566 เขาไม่ได้รับการประกันตัว และวันที่ 31 พ.ค. 2566 ศาลพิพากษาจำคุก 6 ปี ลดเหลือ 3 ปี โดยไม่รอลงอาญา | 1 มี.ค. 2566 | 91 | 10 |
4. ชนะดล | ถูกคุมขังภายหลังถูกอัยการสั่งฟ้องในคดีครอบครองระเบิด จากเหตุชุมนุมแยกอโศกดินแดง วันที่ 20 ส.ค. 2564 | 15 มี.ค. 2566 | 77 | 4 |
ศาลอาญามีนบุรีไม่ให้ประกันตัว ภายหลังถูกอัยการสั่งฟ้องในข้อหามาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จากการโพสต์เฟซบุ๊กจำนวน 12 ข้อความ | 27 มี.ค. 2566 | 65 | ไม่ทราบข้อมูล | |
7. สุวิทย์ | ศาลฎีกาไม่ให้ประกันตัว ภายหลังศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ลงโทษจำคุก 1 ปี 2 เดือน ไม่รอลงอาญา ในคดีครอบครองระเบิดปิงปอง กรณีม็อบ10สิงหา2564 | 24 เม.ย. 2566 | 37 | ไม่ทราบข้อมูล |
8. เวหา แสนชนชนะศึก | ศาลอาญาพิพากษาจำคุกกระทงละ 3 ปี ให้การรับสารภาพ ลดโทษเหลือกระทงละ 1 ปี 6 เดือน รวม 3 กระทง ลงโทษจำคุก 3 ปี 18 เดือน โดยไม่รอลงอาญา ศาลอุทธรณ์ไม่อนุญาตให้ประกันตัว | 22 พ.ค. 2566 | 9 | 1 |
นอกจากนี้ ยังมีผู้ต้องขังที่คดีถึงที่สุดแล้วอย่างน้อย 8 คน ได้แก่ อัญชัญ (ม.112), ศุภากร (พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ), ณัฐชนน (ครอบครองวัตถุระเบิด), พลทหารเมธิน (ม.112), กฤษณะ และวรรณภา (คดีสหพันธรัฐไท ข้อหาอั้งยี่), ปริทัศน์ (ม.112) และ คทาธร (ครอบครองวัตถุระเบิด)ซึ่งศาลได้มีคำพิพากษาหลังจากคทาธรและคงเพชรตัดสินใจรับสารภาพทุกข้อกล่าวหา ศาลสั่งจำคุกคทาธร 1 ปี 3 เดือน 15 วัน และปรับ 1,925 บาท ส่วนคงเพชรลงโทษจำคุก 10 เดือน 10 วัน และปรับ 450 บาท พร้อมริบวัตถุระเบิด อาวุธมีด และถุงผ้า ทั้งสองตัดสินใจว่าจะรับโทษจนครบกำหนด
ทั้งนี้ สิทธิในการได้รับการประกันตัวเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานภายใต้หลักการที่จะต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยที่ถูกกล่าวหานั้นเป็นผู้บริสุทธิ์ ซึ่งถูกรับรองภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อที่ 11 (1) ระบุว่าทุกคนที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิด ทางอาญา มีสิทธิที่จะได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อน ว่าบริสุทธิ์จนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่ามีความผิดตาม กฎหมายในการพิจารณาคดีที่เปิดเผย ซึ่งตนได้รับ หลักประกันที่จำเป็นทั้งปวงสำหรับการต่อสู้คดี และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ข้อที่ 14(2) ระบุว่า บุคคลทุกคนซึ่งต้องหาว่ากระทำผิดอาญา ต้องมีสิทธิได้รับการสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะพิสูจน์ตามกฎหมายได้ว่ามีความผิด ซึ่งประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคี โดยการภาคยานุวัติเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2539 และมีผลบังคับใช้กับไทยเมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2540
สถานการณ์คุกคามประชาชน ประจำเดือนพฤษภาคม 2566
ในเดือนนี้ ไม่พบรายงานผู้ถูกคุกคามมากนัก แต่มีรายงานการคุกคามเด็กและเยาวชนเพิ่ม จากกรณี หยก เยาวชนอายุ 15 ปี ที่ถูกนำตัวไปคุมขังที่บ้านปรานี จ.นครปฐม ตามข้อหามาตรา 112 จึงมีนักเคลื่อนไหวออกมาจัดกิจกรรมเพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวหยก เป็นเหตุให้ถูกคุกคาม กลุ่มโมกหลวงริมน้ำ จัดกิจกรรมเดินเพื่อเพื่อน จากบริเวณหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง กรุงเทพฯ ไปยังบ้านปรานี ที่อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ในวันเดียวกันนั้น ผอ.บ้านปรานี สั่งงดเยี่ยมญาติเป็นเวลา 5 วัน อ้างว่าเพื่อความปลอดภัยของเด็กและเยาวชนในการดูแล ทั้งนี้ ผอ.สถานพินิจฯ กรุงเทพมหานคร ยังออกคำสั่งไม่ให้ที่ปรึกษาทางกฎหมายของหยกเข้าเยี่ยม ระบุว่าไม่ใช่ทนายความตามที่ศาลแต่งตั้ง แม้จะเป็นทนายความอื่นที่หยกเป็นผู้เสียหายก็ตาม
หลังจากจัดกิจกรรมยืนหยุดขังจากเพื่อนหยกในโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ มีรายงานว่า นักเรียนชั้น ม.4 จำนวน 2 คน ที่เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว ถูกครูเรียกไปตักเตือนเรื่องการติดป้ายในโรงเรียน รวมถึงบอกว่าครั้งนี้จะไม่หักคะแนน แต่ต้องเรียกผู้ปกครองมาพูดคุยด้วย
นอกจากการจัดกิจกรรมเพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวหยก ยังมีรายงานจาก ทานตะวัน ตัวตุลานนท์ ว่ามีตำรวจนอกเครื่องแบบเข้าไปถ่ายรูปนักกิจกรรมในงานรำลึก ครบรอบ 13 ปี ผู้เสียชีวิตจากการสลายการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ก่อนที่จะถูกมวลชนกดดันจนตำรวจนายนั้นยอมลบรูป
ไม่เพียงแต่การคุกคามจากการจัดกิจกรรมทางการเมืองเท่านั้น ยังมีการคุกคามโดยไม่ทราบสาเหตุ กรณี เงินตา คำแสน ออกมาเปิดเผยว่า เธอถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจที่อ้างว่ามาจาก สน.ลาดพร้าว และชุดสืบสวนของกองบังคับการตำรวจนครบาล 4 ผลัดเปลี่ยนกันมาพบที่บ้านต่อเนื่องกันเป็นเวลาร่วม 1 เดือนครึ่ง โดยไม่ชัดเจนว่าเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายใด
อย่างไรก็ตาม พบรายงานอีกว่า เอ (นามสมมติ) ถูกบังคับให้เซ็นบันทึกข้อตกลง (MOU) กับกลุ่มบุคคลที่อ้างตนว่าเป็น “กองทัพมินเนี่ยน” ที่มีนายทหารเกี่ยวข้องด้วย เพื่อแลกกับการไม่เข้าแจ้งความดำเนินคดีมาตรา 112 หลังตนเองถูกแคปภาพที่เคยไปคอมเมนต์ในเฟซบุ๊กเพจหนึ่งเมื่อช่วงเดือน เม.ย. 2566 โดยเอถูกนายทหารรายหนึ่งส่งอีเมลไปหาหัวหน้างานเพื่อร้องเรียนเกี่ยวกับพฤติกรรมของเธอ ในวันเซ็นข้อตกลง ก็มีหญิงซึ่งอ้างตนเองว่าเป็น “กองทัพมินเนี่ยน” และบุคคลซึ่งคาดว่าเป็นนายทหาร 3 คน โดยทั้งหมดแต่งกายนอกเครื่องแบบ ตัดผมสั้นเกรียน 3 ด้าน เดินทางมาที่สำนักงานของเธอเพื่อบังคับให้เซ็นข้อตกลง ซึ่งมีการข่มขู่ และมีเงื่อนไขให้ปฏิบัติตามหลายข้อ เช่น ต้องไปรับขบวนเสด็จ จัดทำรายงานเกี่ยวกับคุณูปการของสถาบันกษัตริย์ รวมถึงต้องจัดสอนพิเศษให้แก่เยาวชน 100 คน และบันทึกวิดีโอส่งให้กองทัพมินเนี่ยนด้วย
แนวโน้มการคุกคามประชาชน เดือนมิถุนายน 2566
จากการเปิดเผยว่า มีผู้ถูก “กองทัพมินเนี่ยน” บังคับให้เซ็น MOU เพื่อแลกกับการไม่ฟ้องคดีตามมาตรา 112 นอกจากจะเป็นข้อพิสูจน์ว่ามีการใช้มาตรา 112 เพื่อกลั่นแกล้งผู้เห็นต่างทางการเมืองจริง นอกจากนี้ ยังมีการคุกคามเด็กและเยาวชนเพิ่มขึ้นจากการเรียกร้องให้ปล่อยตัวหยกด้วย จึงแสดงให้เห็นว่า ประเด็นเกี่ยวกับสถาบันยังคงเป็นประเด็นอ่อนไหวที่เจ้าหน้าที่รัฐ และประชาชนกลุ่มปกป้องสถาบันยังจับตามองการแสดงออกของประชาชนอย่างหนัก การทำกิจกรรมทางการเมืองใดๆ ไม่ว่าจะเป็นการชุมนุมที่มีผู้เข้าร่วม หรือแม้แต่การปรากฏตัวของนักกิจกรรมฝั่งประชาธิปไตยก็สามารถเป็นเป้าคุกคามจากกลุ่มที่เห็นต่างได้ ในเดือนมิถุนายน คาดว่าการคุกคามจะมากขึ้นหรือน้อยลง ขึ้นอยู่กับปริมาณการชุมนุม และความเข้มข้นของประเด็นที่นำเสนอ หากมีการชุมนุมมาก ย่อมมีรายงานการคุกคามจากเจ้าหน้าที่เพื่อป้องกันการจัดกิจกรรมทางการเมืองมากตามไปด้วย