วันที่: 13/9/2567 ผู้เขียน: mobdatathailand

ประมวลสถานการณ์การชุมนุม เดือนเมษายน 2564

description

ในช่วงเดือนเมษายน 2564 สถานการณ์โควิด-19 กลับมาระบาดเป็นระลอกที่สามในประเทศไทย ส่งผลให้การชุมนุมใหญ่ไม่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตามด้วยสถานการณ์การดำเนินคดีทางการเมืองที่ยังมีอย่างต่อเนื่อง ทำให้การชุมนุมยังคงดำเนินต่อไปในรูปแบบ #ยืนหยุดขัง เพื่อเรียกร้องปล่อยตัวผู้ต้องขังทางการเมือง  ทั้งนี้มีข้อสังเกตว่า คดีความของผู้ถูกดำเนินคดีจาการแสดงออกและการชุมนุมเข้าสู่ชั้นศาลอย่างรวดเร็วในช่วงเวลาที่ผ่านมา เช่น การสั่งฟ้องคดีของผู้ชุมนุมจากหมู่บ้านทะลุฟ้า เเละกลุ่ม We Volunteer เป็นต้น ทำให้สถานการณ์การแสดงออกและการชุมนุมเกิดขึ้นทั้งสิ้นไม่ต่ำกว่า 180 ครั้ง เพิ่มขึ้นจากการชุมนุมเมื่อเดือนมีนาคมกว่าเท่าตัว มีการดำเนินคดีภายหลังการชุมนุม อย่างน้อย 2 ครั้งในเดือนเมษายน

ภาพรวมสถานการณ์การชุมนุมเดือนเมษายน พ.ศ. 2564

ในช่วงเดือนเมษายน 2564 สถานการณ์โควิด-19 กลับมาระบาดเป็นระลอกที่สามในประเทศไทย ส่งผลให้การชุมนุมใหญ่ไม่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตามด้วยสถานการณ์การดำเนินคดีทางการเมืองที่ยังมีอย่างต่อเนื่อง ทำให้การชุมนุมยังคงดำเนินต่อไปในรูปแบบ #ยืนหยุดขัง เพื่อเรียกร้องปล่อยตัวผู้ต้องขังทางการเมือง  ทั้งนี้มีข้อสังเกตว่า คดีความของผู้ถูกดำเนินคดีจาการแสดงออกและการชุมนุมเข้าสู่ชั้นศาลอย่างรวดเร็วในช่วงเวลาที่ผ่านมา เช่น การสั่งฟ้องคดีของผู้ชุมนุมจากหมู่บ้านทะลุฟ้า เเละกลุ่ม We Volunteer เป็นต้น  จากการสังเกตการณ์และบันทึกข้อมูลโดย Amnesty International Thailand และ ILAW ผ่านโครงการ Mob Data ในเดือนมีนาคม 2564 สามารถสรุปได้ว่า   

  • สถานการณ์การแสดงออกและการชุมนุมเกิดขึ้นทั้งสิ้นไม่ต่ำกว่า 180 ครั้ง เพิ่มขึ้นจากการชุมนุมเมื่อเดือนมีนาคมกว่าเท่าตัว มีการดำเนินคดีภายหลังการชุมนุม อย่างน้อย 2 ครั้งในเดือนเมษายน  

  • ศูนย์ทนายรายงานว่า ตั้งแต่การชุมนุมเดือนกรกฎาคม 2563 - เมษายน 2564 มีประชาชนที่ถูกดำเนินคดีจากสถานการณ์ชุมนุมทางการเมืองและการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองแล้วอย่างน้อย 635 คน ในจำนวน 301 คดี 

  • มีผู้ถูกดำเนินคดีด้วย ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เพิ่มขึ้น ไม่ต่ำกว่า 6 คน ใน 7 คดี โดยส่วนใหญ่เป็นคดีที่ประชาชนเป็นผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษ และเฉพาะสภ.บางแก้วที่เดียว มีผูู้ถูกดำเนินคดี   

  • ตั้งแต่ปี 2563 – 2564 มีผู้ถูกคุมขังทางการเมืองทั้งสิ้น 29 คน  มี 17 คน ที่ถูกคุมขังจากคดีมาตรา 112  ต่อมา ในเดือนเมษายน - ต้นเดือนพฤษภาคม ศาลให้ประกันตัวอย่างน้อย 11 คน รวมถึงแกนนำราษฎร อาทิ ปติวัฒน์ สาหร่ายแย้ม, สมยศ พฤกษาเกษมสุข, จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา,ปิยรัฐ จงเทพ และ ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล จนถึงปัจจุบันจำนวนผู้ที่ยังถูกคุมขังทั้งสิ้น 18 คน (ข้อมูลล่าสุดวันที่ 11 พฤษภาคม 2564) 

  • สถานการณ์โควิดกลับมาระบาดระลอกที่ 3 และ กฎหมายที่เกี่ยวข้องถูกใช้เป็นเครื่องมือในการสกัดกั้นการ แสดงออกและการชุมนุม นอกจากพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 และกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์อื่นเเต่ถูกใช้เพื่อจำกัดการชุมนุม เช่น พระราชบัญญัติควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ. 2493 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 และ พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 ยังคับถูกบังคับใช้อย่างต่อเนื่อง เมื่อมีการแสดงออกและการชุมนุมในเดือนเมษายน หลังจากโควิดกลับมาระบาดอีกครั้ง จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจจะเข้ามาสังเกตการณ์และอ้างประกาศเพิ่มเติมเพื่อแจ้งประกาศห้ามชุมนุม โดยเฉพาะพื้นที่ในเขตสีแดงซึ่งเป็นพื้นที่ควบคุม อาทิ กรุงเทพฯ ทำให้หลายกลุ่มพยายามปรับแผนการแสดงออก เช่น กลุ่มพลเมืองโต้กลับ ที่ทำกิจกรรม หยุด ยืน ขัง เมื่อมีข้อกำหนดจากกทม.ออกตามความในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ฉบับที่ 20 ช่วง 16 เมษายน 2564 ที่จำกัดการรวมกลุ่มไม่เกิน 50 คน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ปลายเดือนเมษายนได้มีการออกประกาศของกรุงเทพฯ ฉบับที่ 26 

  • ผู้ถูกดำเนินคดีจากการแสดงออกและการชุมนุมในเดือนเมษายนถูกดำเนินคดีจากการชุมนุมของกลุ่ม “ไทยไม่ทน สามัคคีประชาชน เพื่อประเทศไทย” ที่นำโดยจตุพร พรหมพันธ์ุ โดยการออกหมายเรียกผู้ร่วมปราศรัยและชุมนุมในวันที่ 4-5 เม.ย. 64 อย่างน้อย 32 คน ในคดีฝ่าฝืนพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน และ พระราชบัญญัติโรคติดต่อ และคดีจากการชุมนุม #ม็อบ15เมษา จัดโดยหมู่บ้านทะลุฟ้า ที่ทำเนียบรัฐบาล ของกลุ่ม UNME of Anarchy มีการออกหมายเรียกอย่างน้อย 4 คน โดยมีข้อกล่าวหา 3 ข้อ ได้แก่ ความผิดตามมาตรา 9 แห่งพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ประกอบกับประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคง (ฉบับที่ 5) 2. ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อซึ่งเป็นการกระทำความผิดตามประกาศกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 20) 3. ฝ่าฝืน พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ  

asset

#ม็อบ4เมษา : สามัคคีประชาชน ภาพโดย Mob Data Thailand

asset

#ม็อบ5เมษา : สามัคคีประชาชน Mob Data Thailand

assetassetasset

#ม็อบ15เมษา : #รดน้ำกดหัวประยุทธ์ ภาพโดย Mob Data Thailand

  • แนวโน้มคดี “ละเมิดอำนาจศาล” จากการแสดงออกเพื่อเรียกร้องสิทธิการประกันตัวให้ผู้ถูกคุมขังทางการเมือง สืบเนื่องจากสถานการณ์ที่แกนนำคณะราษฎรและประชาชนถูกดำเนินคดีและศาลสั่งฟ้องคดีจนนำไปสู่การคุมขังระหว่างพิจารณาคดีเพิ่มจำนวนมากขึ้น รวมไปแกนนำที่ถูกคุมขังประกาศอดอาหารประท้วงเรียกร้องสิทธิประกันตัวเพื่อสู้คดีโดยมี 

เพนกวิน พริษฐ์ ชิวารักษ์ เริ่มอดอาหาร เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2564 ถูกคุมขังตั้งแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564 

รุ้ง ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล อดอาหารวันที่ 30 มีนาคม 2564 ถูกคุมขังตั้งแต่วันที่ 6 มีนาคม 2564 ได้รับการประกันตัววันที่ 6 พฤษภาคม 2564 โดยมีเงื่อนไขห้ามทำกิจกรรมที่ทำให้เสื่อมเสียถึงสถาบันพระมหากษัตริย์  

ฟ้า พรหมศร วีระธรรมจารี อดอาหาร วันที่ 27 เมษายน 2564 ถูกคุมขังตั้งแต่วันที่ 17 มีนาคม 2564 และได้รับการประกันตัววันที่ 11 พฤษภาคม 2564 โดยมีเงื่อนไขห้ามทำกิจกรรมที่ทำให้เสื่อมเสียถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ และติดเครื่องติดตามตัว หรือ Electronic Monitoring 

แฟรงค์ ณัฐนนท์ ไชยมหาบุตร อดอาหาร วันที่ 24 เมษายน 2564 ถูกคุมขังตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564  

ด้วยสถานการณ์ดังกล่าวถึงแม้สถานการณ์โควิด-19 จะกลับมาระบาดอีกครั้ง แต่ประชาชนยังคงแสดงออกถึงความไม่พอใจและร่วมเรียกร้องสิทธิประกันตัวภายใต้กิจกรรม “ยืน หยุด ขัง ดาวกระจาย” โดยเริ่มต้นกิจกรรมโดย กลุ่มพลเมืองโต้กลับ ตั้งแต่ วันที่ 22 มีนาคม 2564 ที่บริเวณหน้าศาลฎีกา เรื่อยมา จนทำให้มีประชาชนเข้าร่วมมากขึ้นโดยมีลักษณะดาวกระจายบริเวณหน้าศาลในพื้นที่ต่างจังหวัด เมื่อต้นเดือนเมษายนกลับมามีโควิดระบาด กิจกรรมยังคงดำเนินต่อเนื่องในหลายจังหวัด โดยมีการเว้นระยะห่าง และมีการจำกัดจำนวนคนเข้าร่วมตามแต่ละพื้นที่ 

asset

#ม็อบ11เมษา : ยืนหยุดขัง ภาพโดย Mob Data Thailand

asset

#ม็อบ13เมษา : #ยืนหยุดขัง ภาพโดย Mob Data Thailand

นอกจากกิจกรรมยืน หยุด ขัง ยังมีประชาชนที่ออกมาแสดงออก บ้างร่วมอดอาหารและปักหลักอยู่หน้าศาลเพื่อเรียกร้องสิทธิการประกันตัวกับองค์กรตุลาการส่งผลให้มีการจับกุมและดำเนินคดีผู้ทำกิจกรรมที่หน้าศาลอย่างต่อเนื่อง ไม่ต่ำกว่า 10 คดี รวมไปถึง การดำเนินคดีตามมาตรา 112 พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์์ฯ และเปรียบเทียบปรับในข้อหาตาม พ.ร.บ.ความสะอาดฯ ในอย่างน้อย 5 คดี  

asset

#ม็อบ26เมษา : #อดพร้อมเพื่อน ภาพโดย Mob Data Thailand

จากข้อมูลของศูนย์ทนายฯ พบว่า ที่ศาลอาญา มีการตั้งเรื่องพิจารณาคดีละเมิดอำนาจศาลแล้ว อย่างน้อย 5 คดี จากสถานการณ์การชุมนุมในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายนที่ผ่านมา ได้แก่ การลุกขึ้นอ่านแถลงการณ์วิจารณ์กระบวนการยุติธรรมและประกาศอดอาหารในห้องพิจารณาคดีของเพนกวิน-พริษฐ์ การถ่ายภาพในห้องพิจารณาของแกนนำราษฎร ครูใหญ่-อรรถพล ไบร์ท-ชินวัตร และฟอร์ด- อนุรักษ์ การทำกิจกรรมเรียกร้องให้ปล่อยเพื่อนเราเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2564 ของเลิศศักดิ์ บริเวณหน้าศาลอาญา และการทำกิจกรรม”ราชอยุติธรรม”หน้าศาลอาญา เช่นกัน เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2564 ซึ่งจัดโดยกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม และนายชินวัตร จันทร์กระจ่าง แกนนำกลุ่มราษฎรนนทบุรี  

assetassetasset

#ม็อบ29เมษา : #Saveเพนกวิน ภาพโดย Mob Data Thailand

การดำเนินคดีกับเด็ก  

จากรายงานของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ตั้งแต่ปี 2563 มีเยาวชนถูกดำเนินคดีจากการแสดงออกและชุมนุมทางการเมือง แล้วทั้งสิ้นอย่างน้อย 39 ราย ใน 36 คดี  

เฉพาะเดือนเมษายน มีเด็กถูกดำเนินคดีจากการแสดงออกและการชุมนุมไม่ต่ำกว่า 6 คน ใน 2 คดี ส่วนใหญ่เป็นความผิดฝ่าฝืนพรก.ฉุกเฉิน และกฎหมายอื่นที่ถูกนำมาใช้เพื่อวัตุประสงค์ในการควบคุมการชุมนุม ได้แก่ พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาด้วยเครื่องขยายเสียงฯ และ พ.ร.บ.รักษาความสะอาดฯ คดีดังกล่าวคือการชุมนุมจากกิจกรรมแจกก้อย 112 จาน เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2564  บริเวณลานสเกตนคร หน้าบึงพลาญชัย จังหวัดร้อยเอ็ด โดยนักกิจกรรม 12 ราย เป็นเยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี 5 ราย ถูกดำเนินคดีตามข้อหาข้างต้น รวมถึงพ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ  

ส่วนคดีที่ 2 เกิดขึ้นจากการชุมนุมวันที่ 2 พฤษภาคม 2564 จัดโดยกลุ่ม REDEM บริเวณหน้าศาลอาญา ถ. รัชดา ภายหลังจากการยุติการชุมนุมในเวลาประมาณ 18.30 น. เจ้าหน้าที่ควบคุมฝูงชนได้เข้าสลายการชุมนุมและยึดพื้นที่ และเกิดการประทะกันระหว่างผู้ชุมนุมที่ยังคงอยู่ในพื้นที่กับเจ้าหน้าที่ฯ จากศูนย์ทนายฯรายงานว่ามีผู้จับกุมทั้งสิ้น 4 คน เป็นเยาวชนอายุ 16 ปี 1 คน ซึ่งถูกตั้งข้อกล่าวหาทั้งสิ้น 6 ข้อกล่าวหา ฝ่าฝืน พรก.ฉุกเฉิน และความผิดอื่นๆตามประมวลกฎหมายอาญาซึ่งอาจมีโทษจำคุกสูงสุดถึง 5 ปี หลังจากทำบันทึกการจับกุม เยาวชนถูกไต่สวนการจับกุมที่ศาลเยาวชนและครอบครัวกลางมีคำสั่งว่าการจับกุมของเจ้าหน้าที่ชอบแล้ว และให้ควบคุมตัวผู้ต้องหาไว้ ที่ปรึกษากฎหมายจึงยื่นขอประกันตัวชั่วคราว ศาลเยาวชนและครอบครัวกลางฯ มีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว แต่ด้วยคดีนี้มีหลายข้อหา จึงกำหนดหลักประกันจำนวน 10,000 บาท